ย้อนมองเวียงกุมกาม

อ่าน: 4013

(มีต้นตาลสูงชะลูดเป็นสัญญลักษณ์โดดเด่นมาก)

เมื่อ พ.ศ.1824 จุลศักราช 634 ยังมีกษัตริยาธิราชพระองค์หนึ่งชื่อว่า “เม็งราย” ครองราชย์สมบัติอยู่เมืองเชียงราย พระองค์นั้นมีเดชะสิทธิมาก คิดจะขยายอาณาเขตลงมาทางหัวเมืองทางใต้ ได้ยกพลโยธาหาญมาจากเมืองเชียงราย รบพระยาบีบา เจ้าเมืองลำพูน เมื่อ พ.ศ. 1824 ได้ชัยชนะ ครองเมืองอยู่ที่ลำพูน 2 ปี แล้วพระองค์มอบให้ขุนน้ายฟ้าอำมาตย์คนดีขึ้นครองเมืองลำพูน ส่วนพระองค์ก็โยกย้ายไปสร้างเมืองเวียงอยู่ที่ใหม่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเมืองลำพูน อยู่ที่นั่น 3 ปี สถานที่นั้นไม่เหมาะสม เป็นที่ลุ่มต่ำ ชุ่มน้ำเฉอะแฉะในฤดูฝน พระองค์จึงได้ย้ายรี้พลมาสร้างเมืองใหม่ใกล้แม่น้ำปิง (คือบริเวณบ้านเจดีย์เหลี่ยมหมู่ 1-2 ตำบลวังตาลในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 1829 ให้ชื่อว่า “เวียงกุมกามภิรารมณ์”

อ่านต่อ »


อ่างขาง ใครยังไม่เคยไป เอามือลง..

อ่าน: 5158

เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ผมเคยขับรถมาถนนสายนี้ ไปถ้ำเชียงดาว ไปฝาง ท่าตอน ไปนอนอาบน้ำแร่น้ำพุร้อนที่ฝาง แวะกินลาบขมป้าเขียว ขึ้นไปดูชนกลุ่มน้อย สมัยนั้นถนนหนทางถึงไม่แจ๋วเท่าทุกวันนี้ แต่ทิวทัศน์เต็มไปด้วยเขาสูงรอบข้างยังสวยงามมาก ชาวเขาเอาสินค้า ผลผลิตต่าง ๆ ที่น่าสนใจมาวางจำหน่าย  ครั้งล่าสุดที่ไปก็ตอนที่เขากำลังสร้างเขื่อนแม่งัด กี่ปีแล้วก็ไม่รู้สินะ มาเมื่อวานนี้ครูอึ่งรับเป็นเจ้าภาพพาตระเวน ถามว่าอยากจะไปไหน.. มีช้อยส์ให้เลือกประมาณ 4-5 แห่ง ล้วนแต่น่าสนใจทั้งนั้น แต่สุดท้ายก็มาเลือกดอยอ่างขาง เคยให้ยินกิตติศัพท์ล่ำลือแต่ยังไม่เคยเหยียบย่าง ครูอารามเป็นสารถีมือหนึ่งบึ่งไปดอยอ่างขาง ก่อนออกแวะชิมข้าวต้มที่อร่อยมาก แต่ลืมชื่อเสียแล้ว ..ถือธรรมเนียมว่าชิมไปเรื่อย ๆ ถ้าวาสนาดีก็คงมีโอกาสได้กลับมาเจี๊ยะอีก

อ่านต่อ »


ชาวเฮบุกพืชสวนโลกยามราตรีู

อ่าน: 3099

ช่วงบ่ายเมื่อวานนี้ ครูอึ่งกับครูอารามเอารถตู้มารับ บอกว่าจะมาลุย ..เอ้าลุยก็ลุย ในเมื่อวัตถุประสงค์หนึ่งที่มาคือจะมาดูต้นไม้ กล้วยไม้ เผื่อจะเจอพันธุ์ที่โดนใจ จะเล็ง ๆ ไว้เพื่อขนเอากลับไปปลูกอีสาน ตอนที่เอารถบรรทุกมาปลายเดือนหน้า เราได้รับคำแนะนำว่าที่เชียงใหม่มีจอมยุทธด้านสวนปาล์มระดับพระกาฬ มาตั้งหน้าตั้งตาปลูกปาล์มนานาชนิด ปาล์มนั้นเหมาะกับอีสานไม่น้อย เจ้าของสวนแห่งนี้เป็นผู้มีส่วนจัดการช่วยตอนที่สร้างพืชสวนโลกเป็นอย่างมาก ข้อมูลเพียงเท่านี้เราก็ตื่นใจ ตื่นเต้นตุ๊บ ๆ แล้ว ที่สำคัญมีครูอารามไปด้วย ผมนะอยากให้คนที่ชอบปลูกต้นไม้ ไปเห็นความพิเศษแปลก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในพรรณไม้เหล่านั้น ไม่ใช่อะไรหรอก จะได้มีเพื่อนร่วมอึ้งกิมกี่ อึ้งคนเดียวมันเหี่ยวหัวใจ อิอิ อ่านต่อ »


คนไม่มีไฟ

อ่าน: 2321

ผมเกิดมาทันสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนที่ญี่ปุ่นยกธงขาว ทั่วโลกอยู่ในยุคข้าวยากหมากแพง แต่คนที่อาศัยอยู่ในป่าดงดอยก็คงไม่กระไรนัก เพราะเคยชินจนปรับตัวเป็นปกติ แต่คนที่อยู่ในหมู่บ้านต้องแบ่งสันปันส่วนสิ่งของที่จำเป็น ความเป็นพี่น้องในวัฒนธรรมก็พอเกลี่ยความต้องการให้กันได้ อีกส่วนหนึ่งยุคนั้นคนไทยพึ่งตัวเองเป็นส่วนใหญ่ได้แทบทั้งหมด เสียดาย..ทำไมไม่ทำสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ จอมพล ป. ยังเคยรณรงค์ให้ปลูกผักสวนครัว ชูเรื่องในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แผ่นดินของเรา อุดมสมบูรณ์ ..

วิถีไทยสมัยที่ผมเป็นเด็ก ๆ ชาวบ้านจะยกเรือนสูง ด้านล่างทำเป็นคอกวัวควาย กลางคืนก็จุดไฟไล่ยุง ควันก็คงจะฟุ้งขึ้นไปบนเรือนเป็นครั้งคราว ถ้ามองเรื่องการอนามัยคงจะไม่ดีนัก เหตุผลสำคัญชาวบ้านอาจจะมองเรื่องความปลอดภัยจากโจรขโมยวัวควาย แถมยังประหยัดด้วย เพราะไม่ต้องไปทำคอกอีกแห่งหนึ่ง เรียกว่าเรือนแบบทูอินวันได้ไหม? แต่ที่แน่ๆชาวบ้านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่องเชื้อเพลิง พึ่งสติปัญญาตนเอง

อ่านต่อ »


คนเผาถ่าน

อ่าน: 5991

(สารภาพบาปด้วยการปลูกป่าไม้อย่างที่เห็น)

สมัยที่มาอยู่สวนป่ายุคบุกเบิกนั้น ถ้าวันไหนออกไปเดินตอนเช้าตรู่ก็จะเปียกชื้นเย็นจากน้ำค้างโดนเสื้อผ้า แต่สมัยนี้ไม่มีแล้ว น้ำค้างหายไปพร้อม ๆ กับป่าไม้ ใบหญ้าจึงเหี่ยวสลดไม่สดชื่นเหมือนยามเช้าตรู่สมัยก่อน ที่สวนป่านอกจากกรณีขาดแคลนน้ำแล้ว เรื่องเชื้อเพลิงก็มีวิวัฒนาการ ชาวสวนยังใช้ก้อนเส้า 3 ขาตั้งเป็นเตาฟืน ใช้หม้อดินเป็นภาชนะหลัก ถึงก้นหม้อจะดำอย่างธรรมชาติของเตา แต่ข้าวข้างในสุกหอมกรุ่น

อากาศยามเช้านั้นเย็นนัก นอนฟังเสียงน้ำค้างหยดเปาะแปะทั้งคืน ด้วยความเย็นเฉียบทำให้ไม่อยากตื่น นอนคุดคู้อยู่ในผ้าผวยจนแดดออก ถ้าตื่นสายเกินไป ยายจะปลุกขึ้นมากินน้ำข้าวใส่เกลือปะแล่ม ๆ หนาว ๆ ได้เครื่องดื่มอุ่นอร่อยมันพิเศษจริง ๆ นะครับ จำได้มาจนเท่าทุกวันนี้ น้ำข้าวจากข้าวไร่ที่ตำด้วยครก ที่เราเรียกว่าข้าวซ้อมมือนั่นแหละ คนอยู่ในป่าไม่มีโรงสีที่ไหนนี่ครับ แต่ก็ได้ข้าวที่มีคุณภาพสุดยอดโดยไม่รู้ตัว ไม่ต้องมาคุยเรื่องข้าวอินทรีย์ให้เมื่อยตุ้ม เพราะสมัยนั้นปุ๋ยเคมียาฆ่าแมลงเป็นยังไงไม่รู้จัก ..

อ่านต่อ »



Main: 0.025237083435059 sec
Sidebar: 0.067870855331421 sec