บทนำ โมเดลบุรีรัมย์

อ่าน: 1569

 

ชื่อและเรื่องนี้มีที่ไปที่มาพอสมควร เมื่อครั้งงานประชุมประจำปีของสภาวิจัยแห่งชาติเชิญไปโม้ เ รื่ อ ง ง า น วิ จั ย ไ ท บ้ า น มีคนลงชื่อเข้าร่วมรับฟังเต็มห้อง ก็ห้องที่เขายกให้เราเป็นผู้นำเสนอนั่นแหละ นอกจากคุยน้ำลายแตกฟองแล้ว ผมเอาผลิตภัณฑ์ในสวนไปโชว์ ฉายPower pointให้ชมด้วย ตามสไตล์บ้านนอกขนานแท้ แต่เป็นเรื่องจริงที่ผุดขึ้นมาจากแผ่นดินอีสาน สะท้อนให้เห็นบริบทของการเรียนรู้แบบงูๆปลาๆตามความนึกคิดแห่งตน ไม่ได้มีกรอบ หรือตีตนก่อนไข้แต่ประการใด ทำ อ ะ ไ ร พู ด ไ ป อ ย่ า ง นั้ น    รู้ อ ะ ไ ร ก็ ว่ า ไ ป ต า ม นั้ น   คิ ด อ ะ ไ ร ก็  แ จ้ ง ไ ป ต า ม นั้ น   ไม่ได้อวดโอ้อวดอ้างเกินจากที่ได้ลงมือกระทำมา

หลังจากโม้ไปจนจบถ้อยกระทงความ

เปิดโอกาสให้ท่านที่สนใจอภิปรายความคิดเห็น

มีท่านผู้ฟังลุกขึ้นสนับสนุนความคิดที่เสนอพอสมควร

มี อ า จ า ร ย์ สุ ภ า พ ส ต รี ท่ า น ห นึ่ ง ลุ  ก ขึ้ น ชี้ แ น ะ ว่ า

นี่แหละโมเดลบุรีรัมย์”

 

ผมนะไม่ได้ฮิตคำตามความนิยมแห่งยุคสมัยหรอกนะครับ ถ้าให้เลือกตั้งชื่อเองก็คงไม่ตั้งชื่อนี้ แต่เมื่อมีท่านผู้มีเกียรติกรุณาอุปการะความคิดเห็น ผมถือว่าฟ้าบันดาล ทุกท่านที่ฟังมีส่วนร่วมส่วนคิด แล้วสามารถขมวดเรื่องทั้งหมดไว้ใน Key Word “โมเดลบุรีรัมย” ก่อนจะมาถึงตรงนี้ได้ ก็ไม่ใช่เรื่องโมเมชั่นนะเธอ ใช้เวลาร่วมสิบกว่าปี เริ่มตั้งแต่ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก แห่งสถาบันLDIตัดสินใจยกทีมลงลุยบุรีรัมย์ เพื่อค้นหาคำตอบว่า ชนบทไทยจะก้าวเดินไปทางไหน คนชนบทจะไปกันอย่างไร หลังจากที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ สภาการศึกษาแห่งชาติ สถาบันเอไอที และสถาบันอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชาติ ยกพหลโยธามากันเต็มรถบัสบุกสวนป่า มีอาจารย์สิปปนนท์ เกตุทัต อาจารย์ประเวศ วะสี เป็นหัวขบวน บางท่านตกขบวนเช่น ท่านองคมนตรีสุเมธ ตันติเวชกุล ต่อมาเป็นเลขาสภาพัฒน์ฯ ยังมาบ่นภายหลังตอนท่านมาเยี่ยมคนเดียว ท่านชี้ไปที่รูปข้างผนังบอกว่า ผ ม เ สี ย ด า ย ที่ ติ ด ง า น ต่ า ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ม่ ไ ด้ ม า ใ น ค ณ ะ นี้

ส่วนบรรยากาศเป็นยังไงติดตามอ่านในหนังสือ

ตอน ก ว่ า จ ะ มี ฉ า ย า ขี้ โ ม้ ใ ช่ ว่ า จ ะ ไ ด้ ม า ง่ า ย ๆ

ตามที่ท่านอาจารย์ประเวศ วะสี บันทึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น

หลังจากนั้นก็มีคณะต่างๆทยอยมาดูผม เอ๊ย มาดูงานนับคณะไม่ถ้วน และผมเองก็ถูกเชิญให้ไปถอนขนห่านในเวทีต่างๆตลอดระยะเวลายี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา เดินทางจนแทบขาขวิด ซึ่งมันก็แปลกอยู่เหมือนกันนะครับ ที่คนไม่ได้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย แต่ก็ได้รับเชิญในไปประชุมไปบรรยายมาทั่วร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ มานั่งพิจารณาตอนช่วงที่สังขารยักแย่ยักยัน ก็สงสัยตัวเองว่า_มันเป็นไปได้ยังไงวะ

เพื่อที่จะตอบคำถามตัวเองให้เป็นหลักเป็นฐาน

ผมจึงคิดรวบรวมเรื่องราวแต่หนหลังมาพิมพ์ไว้ให้ลูกหลานได้อ่าน

เป็นงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาชนบท

ในบริบทของวิธีพัฒนาการเรียนรู้ของคนอีสาน

ที่สถาบันLDIร่วมกับพวกคนแก่หนังเหนียวช่วยกันตั้งโรงเรียนภาคประชาชนขึ้นมา

ชื่อว่า โรงเรียนชุมชนอีสาน

เรื่องสำคัญที่สนุกมาก

ถ้าสนใจก็ต้องติดตามอ่านในหนังสือ ต อ น โ ร ง เ รี ย น ชุ ม ช น อี ส า น

ผมแต่งเพลงให้โรงเรียนไว้ด้วยนะเธอ

จะฟังไหมละ จะร้องให้ฟัง

“โรงเรียนชุมชนอีสาน พัฒนาการพื้นฐานปวงชน

ถึงอยู่คนละแห่งละหน ก็ดั้นด้นค้นหากันเจอ

เราจะเรียนด้วยกัน เราจะไปด้วยกัน เพื่อสร้างความฝันให้มันเป็นเจริง

เพลงมันยาว เอาเป็นว่านักเรียนที่ว่านี้ล้วนเป็นผู้สูงวัยเป็นส่วนใหญ่ มีหนุ่มสาวผสมบ้างแต่ก็น้อยมาก เรียกว่ารุ่นเดอะงั้นเถอะถึงจะได้รับการเชิญมาเข้าโรงเรียนนี้ กระบวนการที่ว่านี้ได้ฝังตรึงใจผมตลอดมา แม้แต่เวลาเขียนในFBมีคนเข้ามาขอเป็นเพื่อน ผมก็ย้อนไปรำลึกถึงภาพที่คนเดินข้ามทุ่งข้ามท่ามานั่งชุมนุมเรียนใต้ต้นไม้ในท้องนา ไม่ได้มาแค่พบปะกันเฉยๆนะเธอ ทั้งครูทั้งนักเรียนร่วมร้อยชีวิตกินนอนเรียนร่วมกันในท้องไร่ท้องนา ทำครัวทำอาหารเลี้ยงดูกันอึกกะทึกไปทั้งท้องทุ่ง ยกเอาวิถีชีวิตคนอีสานมากองไว้ แล้วช่วยกันพิจารณาวิถีชีวิตในปัจจุบัน แล้วช่วยกันมองไปข้างหน้า

การคัดคนเข้าเรียนใน ส ถ า บั น พ ร ะ ป ก เ ก ล้ า ก็เข้าทำนองนี้ หรือแม้แต่การตั้ง ก ลุ่ ม เ ฮ ฮ า ศ า ส ต ร์ เราก็มุ่งคัดคนที่หัวใจเสริมใยเหล็ก อ้าว มา ถึ ง ก า ร ส ร้ า ง ห มู่ บ้ า น โ ล ก คอนดรั๊กเตอร์ก็ตั้งสมมุติฐานว่าเราจะหาสมาชิกโดยวิธีไหน ทำอย่างไรถึ ง จ ะ ไ ด้ ค ลำ ใ จ เ ธ อ ดู ก่ อ น ถ้าใจไม่นิ่งใจไม่มั่นคง มานั่งหง๋อยเหงาเศร้าสร้อยในสวนป่า มันคงเป็นภาพที่ไม่เจริญใช่ไหมละครับ ถ้ามาแล้วกะเปิบกะป๊าบลงมืออย่างทำโน่นนี่ อ ย า ก แ ส ด ง ฝี มื อ อ ย า ก ถ่ า ย เ ท ค ว า ม รู้ อ ย า ก ร ะ ด ม ค ว า ม ส า ม า ร ถ อ ย า ก เ ป็ น ผู้ ร่ ว ม เ รี ย น รู้ อ ย า ก ม า ช่ ว ย เ ป็ น วิ ท ย า ก ร ถ้าคุณสมบัติประมาณนี้ อ ย า ก จ ะ วิ่ ง ไ ป ก อ ด อ อ ด อ้ อ น ใ ห้ ม า

ถ้าทุกอย่างเริ่มที่ใจมั่นคงมีจุดประสงค์แน่วแน่

การดำเนินการเรื่องต่างๆจะประสบผลสำเร็จง่ายขึ้น

รึอย่างน้อยๆ ก็ ยั ง มี เ รื่ อ ง ค้ า ง ค า ใ จ ติ ด ตั ว ไ ป ต ล อ ด

เหมือนที่ผม ส รุ ป ปิ ด เ รื่ อ ง ร า ว ข อ ง โ ร ง เ รี ย น ชุ ม ช น อี ส า น ไ ม่ ไ ด้

จะต้องใช้เวลาทำการบ้านต่อเติมมาจนร่วมเวลาเกือบยี่สิบปี

ดังนั้นหนังสือเรื่องโมเดลบุรีรัมย์ จึงรวมรวมการบ้านที่ค้างคาไว้ทั้งหมดมาขมวดหางสิงห์ไว้ทั้งหมด เนื่องจากมีสาระกระโดดและดิ้นได้ ต้องใช้เวลาต่อถ้อยร้อยวจีกันพอสมควร แต่ไม่นานเกินรอ ช่วงที่คุณชายลงมาเที่ยวนี้ก็จะจับงานเรื่องต้นฉบับหนังสือสามสี่เล่มที่จะพิมพ์พร้อมกัน มีทั้งที่พิมพ์เพิ่มไผหนึ่งไผสอง และเรื่องที่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะเรื่อง “คนนอกระบบ” ที่สำนักงานสภาการศึกษาให้ผมเขียนแจกหมดไปนานแล้ว พักหลังผมจะหาให้ท่านที่สนใจก็ยังยาก จึงดำริที่จะพิมพ์ขึ้นใหม่เป็นครั้งที่สี่ แต่จะขอสะสางเรื่องขยะออกไปให้ไฉไลน่าอ่าน ขออนุญาตเรียนให้ทราบว่า ควรติดตาม อ ย่ า ก ร ะ พ ริ บ ต า

มีตอน ค รู บ า ฉุ ด ส า ว เ ชี ย ง ใ ห ม่ ด้ ว ย น ะ เ ธ อ

นี่ไม่ได้ล้อเล่นนะ

ฉุดตัวเป็นๆ ขึ้ น ร ถ บึ่ ง จ า ก เ ชี ย ง ใ ห ม่ ม า อี ส า น นี่ แ ห ล ะ

โธ่ ก ว่ า จ ะ มี เ มี ย กั บ เ ข า สั ก ค น มั น ช่ า ง แ ส น จ ะ โ ค ต ร ทุ ลั ก ทุ เ ล

ใ ค ร ว่ า ส า ว เ ห นื อ ใ จ ง่ า ย ผ ม เ อ า ค อ เ ป็ น ป ร ะ กั น

จีบมาแปดปียังไม่สำเร็จ

ถ้า ไ ม่ ฉุ ด เ อ า จ ะ ไ ด้ ไ ห ม นี่

แหม เ ท ใ จ ป ลิ้ น เ ขี ย น ใ ห้ อ่ า น อ ย่ า ง นี้ แ ล้ ว

ยัง ไ ม่ อ่านก็ใจดำเหลือทน

เอายังงี้ดีไหม ท่านใดซื้อหนึ่งเล่มแถมกอดหนึ่งครั้ง

โปรดติดตามตอนต่อไปด้วยใจระทึกระทวย

อิ อิ


จดหมายคุณย่า

อ่าน: 1591

ท่านที่รัก

กลุ่มสมาชิกชาวเฮฮาศาสตร์ส่วนมากอายุค่อนไปทางหนุ่มสาวเหลือน้อย กลุ่มที่เป็นสาวซำน้อยต้อยติ่งก็พอมีอยู่บ้าง ได้แต่แอบหวังไว้ว่าสมาชิกที่เข้ามาลานปัญญาใหม่ๆจะอยู่ในวัยสดใสไฉไลประดุจดอกบัวบานกลางบึง ไม่ใช่อะไรหรอก อยากจะให้มาลดสัดส่วนกระชากวัยพวกแก่เกินแกงลงเสียบ้าง แต่ก็อีกนั่นแหละ หนุ่มสาวสมัยนี้ไม่นิยมเขียนหนังสือเป็นเรื่องเป็นราว ชอบใช้สื่อเจ๊าะแจ๊ะประเภทโชว์เบอร์ไม่โชว์ใจ เพราะเข้ากับวิถีชีวิตที่มะรุมมะตุ้มกับเรื่องวูบวาบและวับแวม..

พวกรุ่นเก่าๆเล่าความหลัง ยังผ่านการเขียนจดหมายมาบ้าง เพราะยุคครั้งกระโน้นไม่มีสื่อที่ถึงอกถึงใจเหมือนสมัยนี้ บางคู่เขียนจดหมายโต้ตอบกันเป็นลังๆก็ยังปลงใจกันไม่ได้สักที..

ไปงานครูภูมิปัญญาไทย รับเครื่องราชฯ ถ่ายภาพกับองคมนตรี ท่านถามว่าครูบาจะให้ช่วยอะไร บอกเลยนะ ..รีบฝากหนังสือเจ้าเป็นไผกับหนังสือนี่คนนี่ไง”จารย์ปู” ครูพันธุ์ก๊าก เรียนท่านว่าจะทำหนังสือทำนองนี้ วันหลังจะส่งสำเนาให้ท่าน ชี้โพรงให้กระรอกแบบนี้ก็ขอคำนิยม “โมเดลอีสาน เล่มที่2″ เสียเลย อิ.

เมื่อไม่กี่วันนี้

เจอคนขายดอกไม้เป็นช่อเล็กๆ

เธอเล่าว่าเอาไว้ขาย..ให้วัยรุ่นสาวๆซื้อไปให้หนุ่มหล่อที่พอใจ

โอ้ยโย่! คำว่า ก ร ะ ช า ก วั ย ไม่ทันกินแล้ว

เดี๋ยวนี้ ถึ ง ขั้ น ก ร ะ ช า ก ใ จ กันแล้วเน้อ

ต่อไปจะพัฒนาการสื่อสารหัวใจจะไปถึงไหนๆก็ไม่รู้

กลับมาถึงบ้านเห็นจดหมายกองอยู่บนโต๊ะปึกหนึ่ง อ่านแล้วหงุดหงิดเป็นบ้า เป็นจดหมายที่ส่งล่าช้ามาก เมื่อก่อนไม่เป็นอย่างนี้ แสดงว่าระบบการจัดการไปรษณีย์ตำบลสนามชัยถอยหลังเข้าคลอง นึกจะส่งก็มาส่ง ไม่ได้รับผิดชอบเลยว่าเนื้อหาในจดหมายบางทีมีเรื่องเร่งด่วน เที่ยวนี้ผมโดนเข้าไปหลายกระทอก เช่น

1. สภาพัฒน์ฯเชิญประชุมเรื่อง”การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่ประชามอาเชี่ยน(AC) ระหว่างวันที่ 16-18 กันยายน 2554 จดหมายส่งมาให้ตอบรับภายในวันที่ 31 สิงหาคม ผมเพิ่งจะได้รับวันนี้ เอกสารส่งทางEMS.ด้วยนะ เท่าที่อ่านเป็นเรื่องเชิงนโยบายเสียด้วยสิ นายกรัฐมนตรีใครต่อใครมาปาฐกถา มีการแบ่งกลุ่มวิเคราะห์แผนงานฯลฯ แสดงว่าEMS.เชื่อถือไม่ได้แล้ว ระบบราชการควรจะพัฒนาการส่งเอกสารทางไหนดี

2. มหาวิทยาลัยอุบลเชิญประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2554 โดยมีการดำเนินกิจกรรมภายใต้กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษารอบสอง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบอุดมศึกษาไทยให้สามารถทัดเทียมได้กับสากล มีเรื่องน่าสนใจมากมาย เช่น

- พัฒนาคุณภาพบัณฑิตยุคใหม่

- พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่

- เรื่องTQF สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

- พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่

- พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่

- ประกาศเกียรติคุณ และผลงานคุณภาพ

เอกสารฉบับนี้มาถึงวันที่ 14 กันยายนครับพี่น้อง หน่วยงานที่เชิญอาจจะมองว่าผมนี่เหลวไหลไม่ใส่ใจไปร่วมประชุมก็ได้

3.  หนังสือด่วนที่สุด จากสภาการศึกษาแห่งชาติ ส่งแบบตอบรับครูภูมิปัญญาไทย(รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์) และมีการประชุมสัมมนาเฉพาะเรื่องระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2554 ผมต้องตอบรับเรื่องการเดินทาง-เข้าที่พัก-และซักซ้อมพิธีการ จดหมายเพิ่งมาถึงเมื่อ2วันที่แล้ว ผมจะไปรู้เรื่องอะไรละครับ เขาให้ไปรับอะไรก็ไปทื่อๆยังงั้นแหละ เอกสารก็ไม่ได้ตอบรับ หน่วยงานอาจจะคิดว่า แก่แล้วไม่รู้ภาษาแถมยังหยิ่งอีกต่างหาก โธ่เสียแก่ก็อีตอนนี้แหละเธอ

4. เอกสารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการบัณฑิตจิตอาสา (ครั้งที่ 2) ทางสำนักฯใจดีมีให้เลือกว่าจะเข้าร่วมประชุมวันที่ 19 หรือวันที่ 26 เมื่อจดหมายได้รับช้า ผมก็รับนัดอบรมดูงานนะสิครับ จะไปร่วมประชุมกับจุฬาฯยังไงนี่ ผมถูกแต่งตั้งให้เป็นวิพุทธิยาจารย์อาสา(แปลว่าอะหยังฮึ) ผมมีคิวจะต้องไปสอนนักศึกษาในโครงการนี้ที่จังหวัดน่าน

เมื่อไม่ได้ไปร่วมประชุมจะไม่อาจหาญไปหน่อยรึที่จะไปดำน้ำสอน!

ไปรษณีย์ หรือ ไปรษหนี ทำพิษอีกแล้ว

5. อีกฉบับหนึ่งเป็นจดหมายมาจากท่านพระมหากฤษณะ ตรุโณ ผศ.ดร.เจ้าอาวาสวัดเรไร เขตตลิ่งชัน กทม. ท่านให้ความเห็นกับคำถามที่สัมภาษณ์มาทางจดหมาย โดยสังเขป ดังนี้

5.1 คำถามด้านอภิปรัชญา 1-2-3

5.2 คำถามด้านญาณวิทยา 1-2-3

5.3 คำถามด้านจริยศาสตร์ 1-2-3

5.4 คำถามด้านสุทรียศาสตร์ 1-2-3

5.5 คำถามด้านตรรกศาสตร์ 1-3-4

5.6 คำถามทั่วไป และความคิดเห็นอื่น

ท่านส่งคำตอบวันที่20 ท่านใจดีบอกว่า ถ้าตอบจะมีค่าตอบ 1,500 บาท อิ

6. ขณะที่ความเซ็งกำลังจู่โจมหัวใจ ได้รับจดหมายฉบับสุดท้าย เขียนด้วยลายมือบรรจง ในกระดาษขาวว่างเปล่าไม่มีเส้นบรรทัด แต่ตัวอักษรเรียงตรงเป็นระเบียบเรียบร้อย อ่านแล้วน้ำตาซึม ขออนุญาตแกะเอาทุกตัวอักษรดังนี้ > >

เรียนคุณสุทธินันท์ ที่นับถืออย่างยิ่ง

ดิฉันได้อ่านหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันอังคารที่ 30 สิงหาคม ที่มีบทความ”สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ นักวิจัย “บ้านๆ” ปราชญ์ที่ไม่ยอมหยุดเรียนรู้” แล้วมีความรู้สึกซาบซึ้งอย่างยิ่งในเรื่องวิถีชีวิตของคุณตามที่เขียนเล่าไว้ ชวนให้ระลึกถึงคุณพ่อของดิฉัน พระยามไหสวรรย์ ในอดีตเป็นผู้ที่มีรักความรักในเศรษฐกิจการเกษตร และดิฉันมีโอกาสทำงานที่ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เรียนรู้เรื่องนี้เสมอมา จึงขอแสดงความชื่นชมในกิจการงานอันทรงคุณค่าสูงส่งของคุณ

ด้วยความปรารถนาดียิ่งจริงใจ ขอให้คุณดำเนินการทุกสิ่งที่คุณรักพึงพอใจ เป็นผลดียิ่งยิ่ง เพื่อชีวิตอันทรงคุณค่าของคุณ และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ

ดิฉันจะติดตามเรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจในกิจการที่คุณจะดำเนินการอีกในอนาคต

ด้วยความนับถือยิ่ง

กัทลี สมบัติศิริ

วันที่ 30 สิงหาคม พ..2554

หมายเหตุ : ขณะนี้ดิฉันมีอายุ 90 ปี ได้ทำบุญไปเมื่อกรกฎาคมปีนี้เอง

ท่านที่รัก

ได้อ่านจดหมายฉบับนี้แล้วลืมเรื่องขุ่นข้องหมองใจกับไปรษหนีข้างบนนั่นหมดเกลี้ยงเลยละครับ จดหมายของคุณย่า..

สะอาดทั้งตัวหนังสือ สะอาดทั้งในความรู้สึก

คืนนี้จะอ่านสัก 100 รอบ แล้วจะตอบจดหมายคุณย่า นะครับ


ปลาหมอ ปากหวาน

อ่าน: 1583

ผมแอบชื่นชมการบริหารงานของบริษัททัวร์นครชัยแอร์มานานแล้วละครับ ที่สามารถยกระดับการบริการขนส่งมวลชนได้อย่างมีมาตรฐาน ไม่เอาเปรียบ ไม่หาเศษหาเลยกับผู้ที่มาใช้บริการ ได้รับความไว้วางใจจากชาวต่างจังหวัดมากขึ้นจนกระทั้งบริษัทหงำเหงือกแทบเจ๊งไปตามๆกัน ค่าโดยสารก็สมเหตุสมผลนะครับ จากบางกอก-บุรีรัมย์ราคา 340/เที่ยว เลือกที่นั่งได้ จองที่นั่งผ่านร้านเซเว่นได้ แถมยังจ่ายข้าวกล่องไม่ต้องแวะพักที่ไหน ใช้พนักงานขับรถ2คน มีพนักงานสาวคอยดูแลลูกค้า จำนวนที่นั่ง21และ32/คัน เบาะนั่งยังมีปุ่มนวดปุ่มฟังเพลง  อากาศเย็นก็ขอผ้าห่มได้ มีใบกำกับกระเป๋ากันการสับสน ก่อนจะถึงจุดหมายปลายทางยังแจกนมถั่วเหลืองกับผ้าเย็น ช่วงหัวค่ำเปิดทีวี-เปิดเพลง-เปิดซีดีตลกให้กลั้นยิ้มแทบแย่

ก่อนล้อเคลื่อนออกจากสถานีต้นทาง

โชเฟอร์จะประกาศบอกชื่อและ..

ผ ม ข อ สั ญ ญ า ว่ า ..จะนำท่านเดินทางโดยปลอดภัย

อ่านต่อ »


คนรุ่นเก่าเอาหัวใจมาแปะกัน

อ่าน: 2243

วันนี้สวนป่าค่อนข้างอุ่นหนาฝาคั่ง เมื่อขบวนปราชญ์ชาวบ้านอีสานชวนสมาชิกจากหลายจังหวัดนับร้อยคนเศษ เดินทางมาเยี่ยมยามถามข่าว เป็นบรรยากาศเก่าๆที่เคยต้อนรับคณะชาวบ้านที่แข็งขัน ร่วมกันเรียนรู้สืบทอดกันมานาน แทบจะเรียกว่าเป็นตำนานของคนเดินดินดิ้นรนแสวงหาทิศทาง อยู่รอด อยู่ดี อยู่ได้ ตามอัตภาพที่วาดฝันใหม่ ที่จะให้สังคมรากหญ้ามีจุดหมายปลายทางที่อบอุ่น อยู่กันอย่างร่วมทุกข์ร่วมสุข มีเวลาที่จะใคร่คราวญทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องส่วนรวม ลงขันความรู้ความคิดสืบเนื่องกันมาเป็นสิบๆปี ก็มีบ้างที่จอมยุทธร่วงโรยไปตามอายุไข ที่อยู่ก็ปลุกปั้นรุ่นใหม่ๆขึ้นมา ขยายวงออกไปสู่เครือข่ายภายนอกมากขึ้น เช่น เครือข่ายพระสงฆ์ที่มีอุบาสกอุบาสิกา ผู้สูงอายุได้ใช้เวลาบั้นปลายเดินทางไปลงแขกทางวัฒนธรรมอีสาน

อ่านต่อ »



Main: 1.0644619464874 sec
Sidebar: 0.080217838287354 sec