จากรากหญ้าสู่นาซ่า

อ่าน: 2680

..ดูหัวข้อนี้แล้วคล้ายทำนอง จากดินไปสู่ดาว แท้ที่จริงแล้วมีที่ไปที่มาสุดแสนจะโชติช่วงชัชวาล เมื่อผมได้ขึ้นรถกับพระอาจารย์ไร้กรอบ เพื่อไปงานปฐมนิเทศนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ 2 หรือเรียกว่ารุ่นสสสส. 2  ที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

(ฉลาดได้อีก ดีกว่่าโง่อีกแล้ว แน่นอน)

การได้พบพระอาจารย์ไร้กรอบแต่ละครั้ง เหมือนโดนไฟฟ้าช็อตหัวใจยังไงยังงั้น เจอเป็นกอดเอาฤกษ์ พระอาจารย์จะหัวเราะทักทาย หลังจากนั้นก็จะงัดเอาความรู้ความคิดสด ๆ ใหม่ ๆ มาเล่าขาน ชีวิตที่เต็มไปด้วยงานที่สุดแสนจะรื่นเริงบันเทิงใจ จนนึกไม่ได้ว่ามีคราใดที่บุรุษผู้นี้จะหยุดอยู่เฉย ๆ ได้บ้างไหมหนอ ในหัวสมองมีสติปัญญาอุ่นเครื่องตลอดเวลา ลีลาที่ถ่ายทอด ทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดตื่นตาตื่นใจแทบตกเก้าอี้ไม่รู้ตัว

อ่านต่อ »


แก๊ง! พี่เลี้ยงลง

อ่าน: 2432

(ฟักข้าวป้าจุ๋มออกมาลูกเดียวต่องแต่ง)

: หมู่นี้ได้ฟังข่าวทางทีวีเรื่องการเปิดสอนคณะพยาบาล ของสถานการศึกษาภาคเอกชน โดยที่ยังไม่ผ่านการรับรองหลักสูตรจากสภาการพยาบาล และสกอ. ทำให้เกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมามากมาย เด็ก ๆ ไม่ได้การรับรองวุฒิฯ จบแล้วไม่สามารถไปสอบเป็นพยาบาลวิชาชีพได้ ผู้คุมกฎห้ามเปิดรับนักศึกษาใหม่ แบบนี้ก็อลเวงสิครับ ทางออก อนาคต ความเครียด จะแก้ปัญหากันอย่างไร? เท่าที่ทราบในแนวทางปฏิบัติ มีขั้นตอนมากมายพอสมควร ถ้าจะไล่เรียงตามลำดับคงต้องใช้เวลาเป็นปี ๆ บางทีคณะผู้ก่อการเห็นว่ากระบวนการเสนอเรื่องน่าจะผ่านได้ จึงเตรียมการไปพร้อม ๆ กับเปิดรับนักศึกษาและเปิดการสอน แต่เมื่อขั้นตอนการเสนอเรื่องพลิกล็อค รายการต่าง ๆ ก็ปีนเกลียวกันสิครับ ประกอบกับการประเมินผลตามมาตรฐานการศึกษา ของสมศ. ไม่ได้คะแนนเท่าที่ควร อาการฟืดฟาดก็ตามมา เกิดการร้องเรียนจากนักศึกษา มีผลกระทบตามมาเป็นกะตั๊ก บางคนไปกู้เงินมาเรียน มีหนี้สินเกิดขึ้นทั้งในระบบและนอกระบบนับแสนบาท เสียความรู้สึก เกิดวิกฤตศรัทธา ทำให้คณะพยาบาลหลายแห่งต้องระมัดระวังในเรื่องเหล่านี้

อ่านต่อ »


คิดถึงครู

อ่าน: 2701

“ขอมอบดอกรักแท้แด่ครูไทย

ขอส่งความเห็นใจถึงทุกท่าน

ขอครูอยู่ปลอดภัยไร้กดดัน

ขอครูฉันสบายใจในวันครู”

เช้านี้มีคณะอาจารย์จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มาเยี่ยม คณะนี้ประกอบด้วยอาจารย์พิสมัย ประชานันท์ ผศ.ฉัตรประมนต์ ทองศรี ดร.ฉัตรประมนต์ ภูติจันทร์ เราได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะแนวทางทำการวิจัยร่วมกับชุมชน และการนำนักศึกษาลงพื้นที่ ผมเห็นความตั้งใจดี ที่คณาจารย์จะเชื่อมโยงชุดความรู้ต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อทำให้ปรัชญาของสถาบันที่จะเป็นเสาหลักด้านวิชาการให้แก่ท้องถิ่น อาจารย์สนใจวิธีเรียนของผม ก็ขออนุญาตฉายซ้ำที่นี่อีกครั้งหนึ่ง..

อ่านต่อ »


เรื่องกิ๊กๆก๊อกๆ

อ่าน: 1765

บ่าย ๆ มีรถปิคอัพคันหนึ่งวิ่งเข้ามา พร้อมกับมีเสียงโล้งเล้งของเด็ก รถจอดหน้าอาคารใหญ่เด็ก ๆ ลงรถตุ๋บตั๊บ แล้วพากันเดินเข้าไปในอาคารที่ไม่มีใครอยู่ หายไปพักหนึ่งก็ออกมา..คุณครูพามาหาผมที่บ้านหลังเล็ก เล่าให้ฟังว่าเด็กกลุ่มนี้มาเป็นวิทยากรเรื่อง “ดินอิฐซีเมนต์” ให้โรงเรียนใกล้ ๆ นี้  ในฐานะกลุ่มที่ชนะโครงงานเรื่องอิฐดินซีเมนต์ ที่แปลกก็คือ.. เด็กที่ยังไม่แน่ใจว่าอิฐที่ตนเองศึกษามันสร้างบ้านได้จริง ๆ คุณครูก็เลยมามาดูให้เห็นด้วยตาตนเอง ยังดีนะครับที่ครูมีกะจิตกะใจจะเติมเต็มให้ลูกศิษย์ตัวจ้อยชั้น ป.6 แสดงว่าการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเชิงบูรณาการเริ่มจากจุดเล็ก ๆ นี่เอง

ระยะนี้พ่อแม่ตายายจะพาเด็ก ๆ มาดูนกกระจอกเทศ ลูกหมูเหมยซานตัวป้อม ๆ ที่ปล่อยให้ออกมาวิ่งเล่นอิสระ มาดูฝูงไก่ต๊อก และนกยูงแสนสวยที่กรีดกรายไปมาตามธรรมชาติ เด็กบางคนสนใจลอมฟางขนาดใหญ่ บางกลุ่มเดินไปเจอเตาหลุมดินที่ฤๅษีกับอารามขุดไว้หุ้งต้ม ซักถามกันใหญ่ว่ามันหุงข้าวยังไง ..โธ่..นี่เด็กชนบทนะครับ ยังห่างไกลกับเรื่องพื้นฐานท้องถิ่น เด็กบางคนสงสัยเรื่องตอตาลที่กลิ้งอยู่มากมาย  การศึกษาที่ขังเด็กไว้แต่ในห้องควรเขยี้อนได้แล้วนะครับ เด็กนะพร้อมเรียน แต่ระบบการศึกษาปิดกั้นโอกาส คิดแต่จะครอบเด็กจนเอ๋อกันทั้งประเทศ.. จริง ๆ แล้วเด็กในวัยแสวงหาอยากรู้อยากเห็น เพียงแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องรับลูกให้ทันและจัดกระบวนการเรียนนอกห้องให้เหมาะสม ถ้าคุณครูเข้าใจในนโยบายการศึกษา ที่รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาพยายามขยายความ..

อ่านต่อ »



Main: 0.021198034286499 sec
Sidebar: 0.046715021133423 sec