๓๕. เตรียมข้อมูลก่อนไประยอง ๖

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 18 สิงหาคม 2008 เวลา 8:40 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 1961

คราวนี้ก็มาถึงเรื่องการซักถามและแสดงความคิดเห็นกับวิทยากร พวกเราสนใจกันมาก ผมก็พยายามบันทึกได้แค่นี้แหละครับ อิอิ

พี่อภัย จันทนจุลกะ ตั้งข้อเสนอแนะ วันนี้สิ่งแปรเปลี่ยนหลายเรื่อง น้ำ ทั้งเจนโกมีกระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมถือหุ้นด้วย และอยากเห็นเจนโกเป็นผู้นำในการกำจัดของเสีย เพื่อประชาชนที่นั้นอยู่อย่างมีความสุขและเอาคำถามไปถามประชาชนที่ระยองว่า เขาต้องการอะไร แต่ไม่ให้ทำ(อุตสาหกรรม)คงไม่ได้เพราะประเทศต้องมีการพัฒนา

ดร.สมยศ สิ่งที่ต้องทำคือการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อตั้งใหม่ๆก็ถูกประท้วง จึงต้องเอาผู้นำไปดูที่อินโดเนเซีย จึงเกิดความเข้าใจ เดิมเข้าใจว่าเจนโกเป็นที่รวมสารพิษ ถ้าเจนโกไม่ทำอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าไม่มีบริษัทที่มาตรฐานในการกำจัดสารพิษ ประเทศจะเป็นอย่างไร  มี การเอาสารพิษไปทิ้งในบ่อลูกรังมากมายโดยไม่มีการบำบัด อนาคตโรคภัยเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ขยะที่ติดเชื้อจากโรงพยาบาลบางแห่งเอาไปเผาในเมรุเผาศพ นั่นไม่ถูกวิธี ที่มาเลเซียขยะติดเชื้อให้เอกชนตั้งโรงงงาน ภายใน ๕ ปี ไม่ให้มีคู่แข่ง ต้นทุน ๒ ริงกิต ให้เรียกจากลูกค้าได้ ๕ ริงกิตต่อกิโล บ้านเราทำผิดมานาน

คุณศุภชัย ใจสมุทร พูดถึงเรื่องกฎหมายในการพัฒนากฎหมาย กับการบังคับใช้กฎหมาย         ภาระ หน้าที่สภาอุตสาหกรรม ก็ต้องยกประเด็นในเรื่องการแก้ไขกฎหมายกับการบังคับใช้ ในกฎหมายสิ่งแวดล้อม เรื่องค่าเสียหายที่จ่ายตามจริง แต่มันมีความเสียหายในเชิงการลงโทษซึ่งบ้านเราไม่ได้นำมาใช้ หากนำมาใช้ก็น่าจะการปล่อยสารพิษลดลง เช่น ปรับ ๑๐๐ ล้าน หากจะนำเสนอเป็นวาระแห่งชาติ ขอให้พูดคุยกันอย่างจริงจัง

คุณพยุงศักดิ์ พูดถึงสิ่งแวดล้อม ชุมชนที่อยู่กันก็มีส่วนในการปล่อยของเสีย การให้ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมเกิดภาพพจน์ไม่ดีก็จะไม่ยอมรับ โดยผู้ที่ไม่ยอมรับไม่ได้ยอมรับว่าในอดีตกับปัจจุบันไม่เหมือนกัน การกระทำที่เห็นแก่ได้ในอดีต ปัจจุบันได้รับการแก้ไข ในกลุ่มอุตสาหกรรมกันเองก็ต้องช่วยกันดูแล ชุมชนก็ต้องช่วยกันดูแล การนำไปทิ้งในที่ต่างๆหากชุมชนเข้มแข็ง ผู้ประกอบการช่วยกันด้วย ภาครัฐก็ต้องเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง และเห็นด้วยกับในเรื่องกฎหมายที่ดีและบังคับใช้กฎหมายที่ดีและจริงจัง

ดร.อิศรา  มีเรื่องที่จะพูด ๒ ข้อคือได้มีการนำเสนอเรื่องกากของเสียแต่ไม่ได้พูดประเด็นมลพิษทางอากาศ กับ การนโยบายอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ อุตสาหกรรม ๒๐ % เกษตรและบริการอย่างละ ๔๐%  แต่ทุกวันนี้อุตสาหกรรม ๔๐ % เกษตรอยู่ ๑๐ กว่า % เกือบ ๒๐ % ตรงไหนที่พอดี  ข้อ เสนอว่า ค่าจีดีพีวัดได้เกินเลยจากความเป็นจริง ไม่ได้คิดจากสิ่งที่เป็นของคนไทยเพราะรายได้ส่วนใหญ่ส่งกลับไปยังต่างประเทศ แต่ต้นทุนสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในเมืองไทย ผลกระทบการกำจัดของเสีย การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นของคนไทย เรามักพูดว่าภาคอุตสาหกรรมทำรายได้เข้าประเทศมาก แต่ถ้ามองที่มูลค่าเพิ่มจะเห็นว่าภาคเกษตรต่างหากที่มีรายได้สูงกว่า ตัวอย่างที่ลำพูนคนงานที่ได้รับรางวัลขยันทำงานตาย ปลาในแม่น้ำตาย เรื่องอุตสาหกรรมต้องทบทวน

คุณพยุงศักดิ์ พูดถึงมลพิษก็มองภาพเป็นลบ ที่ระยองมีการทำเรื่องการลดมลพิษและมีการลงทุนเพิ่ม ๑๔,๐๐๐ ล้าน มีการคำนึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์วัดอากาศที่ ปล่องเพื่อตรวจดูตลอดเวลา สามารถนำเอามาคำนวณทั้งพื้นที่ได้เลย ว่าที่ทุกโรงปล่อยสารพิษโดยรวมเป็นอย่างไร และเห็นด้วยกับการทบทวนภาคอุตสาหกรรม  เช่น โรงงานเหล็ก ถลุงเสร็จก็ส่งออกเพื่อไปทำเหล็กเส้นเหลฃ็กแผ่นจีนผลิต๕๐๐ ล้านตัน และโรงงานที่ขาดคุณภาพผลิต ๑๐๐ ล้านตัน รัฐบาลจีนไม่ยอมให้ส่งเหล็กที่ยังผ่านกระบวนการไม่ครบไปยังต่างประเทศ เพราะมันจะเป็นการใช้พลังงานโดยมีสิ่งแวดล้อมไม่ดีตกอยู่ที่เขา สินค้าที่ส่งไปเป็นสินค้าที่มูลค่าเพิ่มต่ำ

ดร.สมยศ พูดถึงมลพิษทางอากาศ เจนโก กากหรือมลพิษต้องกำจัดให้แล้วเสร็จภายใน ๒ อาทิตย์ กฎหมายกำหนดอย่างนั้นแต่มีคนฝ่าฝืนหรือไม่ เจนโกปฏิบัติตามกฎหมาย และถามว่ากากสารพิษหรือไม่ใช่กากสารพิษก็ไม่มีใครมาดูแลอย่างจริงจัง ตีความกันเองก็จะตีว่าไม่ใช่สารพิษเพื่อลดค่าใช้จ่าย เจนโกมีเครื่องมือวิเคราะห์ว่าใช่สารพิษหรือไม่ ลวทุนไป ๔๐ ล้าน

ท่านนันทศักดิ์ เคยทำงานธนาคาร เคยเป็นเจ้าหน้าที่อนุมัติสินเชื่ออุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมไม่มีเจ้าหน้าที่ เคยไปตรวจแคตาล้อก ยิ่งการให้อุตาหกรรมมีอำนาจอนุมัติ ยิ่งมีปัญหา กฎหมายสิ่งแวดล้อมผู้ใดก่อสารพิษผู้นั้นมีหน้าที่บำบัด ให้โอกาสชุมชนตั้งเป็นสมาคมจดทะเบียนเข้าไปจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมและ สามารถเป็นผู้เสียหายฟ้องคดีได้เอง  และในส่วนกรม สอบสวนคดีพิเศษจัดตั้งสำนักคดีสิ่งแวดล้อมดำเนินคดีนี้โดยเฉพาะเพื่อจัดการ ดำเนินคดีที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากที่เอกชนไปตั้งกลุ่มกันเอง ศาลก็มีการตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา จะเห็นได้ว่าภาครัฐก็ปรับทิศทางเอาใจใส่เรื่องสิ่งแวดล้อม เสนอแนะให้มีเจ้าภาพในการควบคุมมลพิษเพราะขณะนี้ไม่ทราบว่ากระทรวง อุตสาหกรรมหรือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกันแน่

ท่านชาติชาย บอกว่าอยู่ศาลอุทธรณ์ปีที่ ๕ อยู่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ไม่เคยมีคดีโรงงานปล่อยของเสียเลย มีแต่ปลูกบ้านรุกล้ำลำน้ำ คดีตัดไม้หวงห้าม แต่คดีโรงงานที่มาบตาพุดไม่เห็นมีเลย ส่งมาสิครับจะจัดการให้ดู อิอิ… จะทำอย่างไรให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นผล ตั้งศาลสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะน่าจะได้ผล

ท่านบรรพต เห็นว่าปัญหามลพิษเกี่ยวข้องกับคนทุกคน สงสัยว่าทิศทางพัฒนาของไทยจะไปไหนกันดี ที่ผ่านมาถูกหรือยัง มิฉะนั้นจะเป็นเหยื่อของโครงสร้าง หรือการพัฒนาที่ขาดทิศทางที่ชัดเจนหรือเปล่า เราจะไปยังทิศทางไหนกันแน่ หรือแม้แต่เจนโกเองก็อาจจะถูกเป็นข้ออ้างเป็นผู้ก่อความรุนแรงให้กับสังคม หรือชุมชนโดยไม่รู้สึกตัว หรือถูกอ้างของภาคอุตสาหกรรมว่าถ้าเป็นเวิร์ลคลาสแล้วจะมีทางแก้ปัญหาได้ แต่ในความจริงจะแก้ไขได้ทุกแห่งหรือเปล่า จึงฝากมุมมองให้ระวังเรื่องโครงสร้าง

ก็เป็นอันว่าเราเตรียมพร้อมที่จะไประยองกันแล้วครับ ตอนต่อไปผมจะเล่าให้ฟังถึงการเดินทางไประยอง เราไปดูไปเห็นอะไรกันบ้าง อ้อ ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมผมทำค่อนข้างละเอียด เพราะเวลาทำงานกลุ่มส่งไม่ต้องเขียนมาก อิอิอิ

« « Prev : ๓๔. เตรียมข้อมูลก่อนไประยอง ๕

Next : ๓๖.Dinner Talk » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

112 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.1530909538269 sec
Sidebar: 0.45611596107483 sec