สมุนไพร X

27219 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ มีนาคม 2, 2012 เวลา 0:53 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 109712

ทำไมอาม่าเรียกสมุนไพร X เพราะไม่มีใครรู้จักชื่อสมุนไพรตัวนี้ค่ะ ประวัติของพืชสมุนไพรนี้ เท่าที่ฟังจากผู้ที่มอบสมุนไพรตัวนี้ให้อาม่า บอกว่าท่านได้มาจากทหารคนสนิทของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเก็บจากในป่าบนภูเขาเมืองกาญจนบุรี เมื่อสมัยเป็นหนุ่ม สังเกตุจากกวางป่าชอบกินสมุนไพรตัวนี้ แล้วแข็งแรงเลยเก็บมาลองมา ต้มกินบ้าง ดองเหล้ากินบ้าง ทำให้สดชื่นแข็งแรง จึงนำมาให้จอมพลฯ กินบ้างปรากฏว่า ท่านชอบจึงต้องนำมาขยายพันธุ์มาปลูกบนพื้นราบ และแจกจ่ายแบ่งปันกันในวงจำกัด ซึ่งนำไปใช้กับคนเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งได้ผลดี และควบคุมเบาหวานได้ และบำรุงตับขับพิษ บำรุงหัวใจ สิ่งที่แตกต่างจากสมุนไพรใบเขียวทั่วไป คือการนำสมุนไพรX มาต้มเป็นน้ำชาดื่ม จะเปลี่ยนเป็นสีทับทิมน่าดื่มมากค่ะ ดังภาพที่เปรียบเทียบสีน้ำชากับเนื้อทับทิมที่บ้านอาม่า และเคยเห็นเขาเอาใบมาขยี้แล้วดองเหล้าขาวก็จะกลายเป็นสีแดงเช่นกันค่ะ คนที่ให้อาม่าบอกว่าเขากินสมุนไพรตัวนี้มานานแล้ว ร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคเบาหวานโรคความดันโรคหัวใจ

อาม่าได้ให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชไปศึกษา และให้ต้นสมุนไพรนักชีวิทยาไปศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ในสมุนไพรตัวนี้ เริ่มจากค้นหาชื่อวิทยาศาสตร์ก็ไม่เจอในฐานข้อมูลไทย

ในที่สุดอาม่าได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาป.โทวิศวกรรมการเกษตร มทส. ช่วยค้นให้เมื่อปีกลายก็พบในฐานข้อมูลของซิมบาบเว ซึ่งเขาเพิ่ง เขาเพิ่งจะพบพืชตัวนี้ในป่าบนภูเขาเช่นกัน เมื่อ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ นี้เองค่ะ

http://www.zimbabweflora.co.zw/speciesdata/image-display.php?species_id=154150&image_id=1

ตอไปนี้เป็นการถามตอบ สำหรับคยที่สนใจสมุนไพรX ตัวนี้เมื่อปลายปี ๒๕๕๓ ค่ะ

    • Poldej Worachat ต้นนี้ชื่ออะไรและมีสรรพคุณอย่างไรครับ

    • Punnee Wara-Aswapati ให้นักวิชาการหลายท่านทั้งนักชีวะ วิทยา และนักอนุกรมวิทาน ไปตรวจสอบชื่อ แล้วค่ะไม่พบพืชตัวนี้
    • ในฐานข้อมูลไทยค่ะ จึงเรียกว่าสมุนไพร X ไปก่อนค่ะ สรรพคุณบำรุงตับ ขับพิษ บำรุงหัวใจค่ะ

    • Poldej Worachat น่าสนใจครับ ขอบคุณครับ

    • Chada Sakrungpongsakul หามากินได้ยังไงอะคะ อยากรู้ มากค่ะ ^^

    • Punnee Wara-Aswapati ท่านทูตค่ะมีคนช่วยค้นให้แล้วค่ะ เจอมีอยู่ใน Flora of Zimbabwe
      http://www.zimbabweflora.co.zw/speciesdata/image-display.php?species_id=154150&image_id=1

    • Punnee Wara-Aswapati ไม่เข้าใจคำถาม ค่ะคุณชาดา เป็นคำถามว่า “อาจารย์หามามาปลูกได้อย่างไร” ใช่ไหมค่ะ

    • Chada Sakrungpongsakul ใช่ค่ะ สนใจตรงสรรพคุณที่ว่า บำรุงตับ ขับพิษ บำรุงหัวใจน่ะค่ะ

    • Punnee Wara-Aswapati ผู้ ที่ใช้รักษาตัวเอง เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 6 ปีก่อนค่ะ ตอนอายุร้อยปีกว่าๆ ท่านเป็นทั้งเบาหวาน
    • โรคความดัน โรคหัวใจ และได้ให้มอบพืชตัวนี้ ให้คนที่สนิทชิดเชื้อไว้รักษา และป้องกันเบาหวานมานานแล้ว แต่ในวงจำกัด
    • อาจารย์ได้รับช่วงต่อมาแค่นั้นเอง รอผลวิเคราะห์สารที่มีอยู่ในสมุนไพรตัวนี้ จากนักชีวิทยา
    • ที่มารับตัวอย่างไปวิเคราะห์เกือบ 2 ปี แล้วยังไม่รายงานผลให้ทราบค่ะ
    • Chada Sakrungpongsakul อ้อ.. ถ้างั้นคงต้องรอติดตามต่อไปค่ะ..ขอบพระคุณค่ะ

    • Boonlom Cheva-isarakul น่าสนใจนะ ดอกสวย และเมื่อชงเป็นชาก็มีสีแดงด้วย แปลกดีจ้ะ พวกเภสัชเขารู้จักไหม

    • Pinit Punchuen น่าดื่มมากสีก็สวยครับ
    • Punnee Wara-Aswapati หน้าดื่มก็แย่ซี มันร้อนมากนซิบอกให้ ลวกหน้าลวกตา แล้วจะหาว่าอาม่าไม่เตือน...อิอิ
    • เป็นสมุนไพรที่ได้มา 7 ปีแล้ว ค่ะ บำรุงตับขับสารพิษ เหมาะสำหรับคนเป็นเบาหวานค่

    • Ping Lekwat บำรุงตับ ขับสารพิษ … คิดไม่ออกเลย สมุนไพร x ^_^

    • Punnee Wara-Aswapati ใบสดค่ะ

    • Punnee Wara-Aswapati ถึงอยากให้ทำการศึกษาวิจัย เนื่องจากยังไม่เคยมีใครศึกษา มาก่อนส่งให้
    • นักวิกรมวิทาน(Taxonomist)ตรวจดูแล้วก็ไม่พบว่ามีในฐานข้อมูล

    • Punnee Wara-Aswapati ตอนนี้ค้นเจอในฐานข้อมูลพืชของซิมบาบเวแล้ว เป็นไม้ป่าค่ะ เหมือนข้อมูลถิ่นกำเหนิดของที่เมืองไทยค่ะ


โรคกระดูกพรุน(หมอจินตนา สวนหลาม เพื่อน มช.08 )

109 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ กุมภาพันธ 19, 2012 เวลา 20:47 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 2717

โรคกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกโปร่งบาง คือภาวะที่เนื้อกระดูกลดลง และมี

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ภายในของกระดูก ส่งผลให้กระดูกบางลง ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น
ในวัยเด็กปริมาณเนื้อกระดูกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 30-35 ปี หลังจากนั้นเนื้อกระดูกจะ ลดลงอย่างช้า ๆ แต่ใน ผู้หญิง เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนปริมาณเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ตลอดชีวิต ผู้หญิงจะสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าผู้ชายถึง 2 - 3 เท่า
ดังนั้นจะเห็นว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเป็น โรคกระดูกพรุน แต่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้จะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง และ ถ้ายิ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างก็มีโอกาสเป็นโรคมากขึ้นอีก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

1. ผู้หญิงหลังจากหมดประจำเดือน สาเหตุสำคัญเชื่อว่าเกิดจาก ภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
2. การกินอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน เช่น กินอาหารที่มีโปรตีนสูง ( เนื้อสัตว์ )หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง ( รสเค็ม ) แต่กินอาหารที่มีแคลเซี่ยมน้อย ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน
3. กรรมพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัว เป็นโรคกระดูกพรุน ก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
4. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
5. ขาดการออกกำลังกายที่มีการแบกรับน้ำหนัก
6. น้ำหนักตัว คนผอมมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่มีรูปร่างอ้วน เนื่องจากคนอ้วนมีไขมันมากซึ่งไขมันนี้สามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนได้
7. เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคขาดวิตามินดี โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคมะเร็งบางชนิด
8. ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากันชัก ยาขับปัสสาวะซึ่งมักใช้ในโรคความดันโลหิตสูง
9. ผู้สูงอายุ สาเหตุสำคัญเชื่อว่าเกิดจากอายุที่ เพิ่มขึ้นและการขาดแคลเซี่ยมเป็นเวลานาน

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน

แพทย์สามารถบอกได้โดยอาศัยหลาย ๆ วิธีประกอบกันทั้งจาก …

  • ประวัติความเจ็บป่วยแต่ ผู้ป่วยมักจะปกติดี จนกระทั่งมีกระดูกหักเกิดขึ้น ซึ่งตำแหน่งที่พบกระดูกหัก ได้บ่อยคือบริเวณ กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก และ กระดูกสันหลัง
  • การเอ๊กซเรย์กระดูก
  • การวัดด้วยคลื่นเสียงอัลตร้า
  • การวัดความหนาแน่นของเนื้อกระดูก
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การตรวจปัสสาวะ การตรวจสารเคมีในเลือด
  • การตัดชิ้นเนื้อกระดูกเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะทำในรายที่จำเป็นเท่านั้น
แนวทางรักษา

ปัจจุบันรักษาโดยใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน ได้แก่
1. การออกกำลังกาย ซึ่งต้องมีการแบกรับน้ำหนักขณะออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง การเดิน การยกน้ำหนัก จะช่วยเพิ่มเนื้อของกระดูกในบริเวณที่รับน้ำหนักได้
2. ขจัดปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้สูญเสียเนื้อกระดูก เช่น การดื่มสุรา ดื่มกาแฟ ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
3. การรักษาด้วยยา
3.1 ยาที่มีฤทธิ์ลดการทำลายกระดูก เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนแคลซิโตนิน แคลเซี่ยม
3.2 ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างกระดูก เช่น วิตามินดี ฟลูออไรด์

ฮอร์โมนเอสโตรเจน

ต้องได้รับฮอร์โมนภายใน 3 - 5 ปี หลังเริ่มหมดประจำเดือน เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 5 - 6 ปี จึงจะได้ผลดีที่สุดในการป้องกันโรคกระดูกพรุน
การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน แพทย์จะต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป เพราะยานี้ห้ามใช้ในผู้ที่เป็น มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม โรคตับ และ จะต้องใช้เป็นเวลานานซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียง ของยาได้

แคลเซี่ยม

ปริมาณแคลเซี่ยมที่ควรจะได้รับในแต่ละช่วงอายุจะแตกต่างกัน โดย

  • วัยเด็กและวัยรุ่นต้องการแคลเซี่ยมประมาณ 800-1,200 มก.ต่อวัน

  • ผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรต้องการประมาณ 1,500-2,000 มก.ต่อวัน

  • ผู้หญิงช่วงหมดประจำเดือนต้องการประมาณ 1,500 มก.ต่อวัน

  • ผู้สูงอายุต้องการประมาณ 1,000 มก.ต่อวัน

อาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง เช่น น้ำนม กุ้งแห้ง กะปิ ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งตัว เต้าหู้เหลือง อาหารจานเดียวเช่นข้าวขาหมู ข้าวหมูแดง ข้าวหมกไก่ ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้วใส่ไข่ ข้าวราดไก่ผัดกระเพรา ขนมจีนน้ำยา

ปัจจัยอื่น ๆ ในอาหารที่เกี่ยวข้อง เช่น การรับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไปจะเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด ทำให้มีการดึงแคลเซี่ยมออกจากกระดูกมากขึ้น แคลเซี่ยมจากพืชจะถูกดูดซึมได้น้อยกว่าแคลเซี่ยมที่ได้รับจากสัตว์
ถ้าได้รับแคลเซี่ยมอย่างเพียงพอนานประมาณ 18 เดือน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักได้
ถ้าได้รับแคลเซี่ยมเพียงอย่างเดียว ก็จะไม่ได้ประโยชน์อย่างชัดเจน จึงควรให้แคลเซี่ยม ร่วมกับ ฮอร์โมนเอสโตรเจน แคลซิโทนิน หรือ วิตามินดี

ฮอร์โมนแคลซิโตนิน

แคลซิโตนินสามารถเพิ่มเนื้อกระดูกได้ ร้อยละ 5-10 ใน 2 ปีแรกของการใช้ยา และยังช่วยระงับปวดกระดูกได้อีกด้วย แต่มีข้อเสียคือ ราคาแพง

วิตามินดี

วิตามินดีจะช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยมจากลำไส้โดยสร้างจากผิวหนังที่ถูกแสงแดด ในคนไทยไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินดีเพิ่ม ถ้าได้รับแสงแดดในช่วงเช้าและเย็น อย่างสม่ำเสมอและนานเพียงพอ ซึ่งจะทำให้ระดับวิตามินดีในเลือดพอเพียงและไม่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น

การเลือกวิธีการรักษาต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเสี่ยงที่จะเกิดโรค ความรุนแรงของโรค ฐานะของผู้ป่วย เพราะจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ผลดีผลเสียของวิธีรักษาแต่ละวิธี ความสามารถที่จะรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพราะต้องรักษานานหลายปี หรือ อาจจะต้องรักษากันตลอดชีวิต …

โดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

อาม่าถามเพื่อนรักที่เป็นหมอ เรื่องโรคกระดูกพรุน เธอรีบไปค้นหาข้อมูลส่งเมล์มาให้อาม่าทันที

ขอขอบคุณหมอChintana Suanlarm

Chintana Suanlarm

Worked at โรงพยาบาลฮอลี่รีดีมเม่อStudied Internal medicine at คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่Lives in Philadelphia, PennsylvaniaKnows Thai, English, Chinese


ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง

อ่าน: 4466

วันนี้ไปจ่ายตลาดเย็นที่ ตลาดการเคหะ เจอข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ที่กำลังเป็นที่นิยมรับประทานกันมาก ด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ  อาม่ารีบซื้อทันที ฝักใหญ่หอมกลุ่นน่ากินมากๆ

หลังอาหารเย็นรีบกินทันที่ ด้วยความใหญ่ของฝักข้าวโพด ต้องแบ่งกินแค่ครึ่งฝัก อร่อยหอมหวานเหนียวหนึบๆ  เป็นที่ถูกใจจริง นอกจากอิ่มท้อง อิ่มใจได้คุณค่าทางอาหารสูง ราคาไม่แพงเลย สามฝักยี่สิบบาท เท่ากับราคาข้าวโพดหวานค่ะ แต่คุณภาพสูงกว่าแน่นอน เลยตามไปดูว่า ที่มาที่ไปของข้าวโพดพันธุ์นี้  ปรากฏว่า มีหลายแหล่งที่พัฒนาพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวขึ้นมา และหนึ่งในที่มาของการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ติดตามได้จาก ลิงค์ข้างล่างนี้ค่ะ

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1316436933&grpid=no&catid=&subcatid=


สับปะรดสี

1620 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ กุมภาพันธ 11, 2012 เวลา 20:32 ในหมวดหมู่ ดอกไม้ของอาม่า, สับปะรดสี, เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 10374

ที่บ้านเลี้ยงสับปะรดสีไว้ชนิดเดียว เพื่อนบ้านให้มาหลายปีแล้วค่ะ ใบสีเขียวไม่มีลาย ตอนยังไม่ออกดอกจะมีหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

ตอนที่มีดอก หน้าตาแปลกตามากค่ะ บ้างก็บอกว่าเหมือน คอตตอนบัด บ้างก็บอกเหมือนไม้ขีดไฟ แต่สีสรรน่าดูจริงค่ะ

ลองชมภาพมุมองจากบน จะได้ความงามอีกแบบค่ะ

ความจริงแล้วสับปะรดสีมีมากหลายร้อยชนิด แล้วแต่ความนิยม บางคนชอบสีของใบ รูปทรงต้น ซึ่งมีหลากหลาย บางชนิดไม่มีดอก ส่วนชนิดที่มีดอกก็หลากหลายมากค่ะ ลองชมสับปะรดสีของสวนนงนุชพัทยาดูนะค่ะ

http://youtu.be/v0BKOrhD43I

หรือจะติดตามชมได้จาก http://www.prueksa-tawanok.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99—%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2–%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5.html

http://www.pusoidowgarden.com/www/index.php?option=com_content&view=article&id=47:bromeliad1&catid=34:interview&Itemid=2


แยมมัลเบอร์รี

952 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ มกราคม 13, 2012 เวลา 16:31 ในหมวดหมู่ คุณก็ทำได้, เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 10409

ช่วงนี้มัลเบอร์รี เริ่มทะยอยสุก มีผลร่วงลงมาให้เห็นทุกวัน ต้องแบ่งผลมัลเบอร์รี จากนกมาทำแยมไว้กินบ้าง ตื่นเช้าขึ้นมาต้องรีบไปเก็บมัลเบอร์รีกิน เพราะตอนท้องว่าง วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ จากผลมัลเบอร์รี จะซึมเข้าสู่ร่างกายได้เต็มที่ค่ะ

เมื่อมีผลมัลเบอร์รี่มากพอ ก็ทำแยมไว้กินค่ะ เป็นการถนอมผลไม้ไว้กินได้นานๆ ค่ะ ปกติอาม่า จะทำแยมไว้กินเองค่ะ เพราะจะถูกปากมากกว่าไปซื้อมากินค่ะ และเราก็เลือกผลไม้ที่เราชอบมาทำกินเองปราศจากสารกันบูด ผลไม้ที่อาม่าชอบนำมาทำแยมกินคือเปลือกส้มจากสัมที่มีคุณภาพสูงซึ่งนำเข้าจากออสเตรเลีย หลังจากกินเนื้อแล้วเปลือกส้มนำมาทำแยมกินได้อย่างสบายใจ ส่วนเนื้อแบ่งส่วนหนึ่งมาใส่ด้วย แล้วใช้ส้มรดชาดหวานอมเปรี้ยมของบ้านเราเติม แค่นี้ก็ได้แยมเปลืกส้มที่ถูกใจแล้วค่ะ

วันนี้ตั้งใจจะเล่าวิธีทำแยมมัลเบอร์รีสดๆ จากต้น วิธีการง่ายมากๆ คัดผลมอลเบอร์รีที่สุกระดับหนึ่งเพื่อให้ได้รสชาดที่อร่อย ผลสุกงอมเก็บไว้กินสดค่ะ

ผลที่นำมาทำแยมต้อง มีลักษณะแบบนี้ค่ะ

สำหรับขั้นตอน ให้ทำดังนี้ค่ะเด็ดผลมัลเบอร์ให้ได้มากพอประมาณล้างน้ำสะอาดหนึ่งรอบเพื่อเอาฝุ่นและสิ่งที่ไม่ต้องการออก ถ้าจะให้ประณีตก็ต้องผ่า แกะเอาก้านขั้วออก ใส่หม้อเติมน้ำเล็กน้อยใส่เกลือนิดหน่อย ต้มให้เปื่อยใช้ทัพพีขยี่เนื้อ อันนี้ถ้าต้องการเฉพาะน้ำข้นๆ เพื่อทำแยมก็ต้องกรองเอาเนื้ออก แต่ถ้าต้องการเนื้อแยมแบบที่มีทั้งเนื้อและเมล็ดไม่ต้องกรองออก เติมน้ำตาลทราย(น้ำตาลไมฟอกสี)พอประมาณ กวนต่อไปสักพักชิมรสดูว่าถูกใจหรือยัง หากยังหวานไม่พอก็เติมน้ำตาลได้ กวนค่อไปใช้ไม้พายเล็กๆ กวน จนได้ที่โดยการสังเกตุ ใช้ไม้พานดันเนื้อแยมไปข้างหน้า แล้วตัวเนื้อแยมกลับมาช้า ถือว่าได้ที่แล้ว ปิดไฟทิ้งไว้ให้เย็นตักใส่ขวดหรือโถแก้ว เก็บไว้ในตู้เย็น เก็บไว้กินค่ะ แค่นี้เองเราก็ได้แยมคุณภาพไว้กินแล้วค่ะ

วันนี้มีแยมมัลเบอร์รีรสชาดที่ถูกใจ ทำเองกินเองไม่เกรงใจใคร…..



Main: 0.15479302406311 sec
Sidebar: 0.075224876403809 sec