ความมั่นคงทางอาหาร29 (สภากาแฟครั้งที่4/2554 )

อ่าน: 2088

วันอังคาร ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ “สภากาแฟ” ครั้งที่ ๔/๒๕๕๔ จัดขึ้นที่หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา อาม่าไปร่วมงานครั้งนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งมีการจัดเป็นประจำทุกเดือนแต่ละหน่วยงาน หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นการพบปะกันระหว่างหัวหน้าหน่วยงาน ราชการ ทหาร และเอกชน มาทานอหารเช้า(๗.๐๐-๘.๓๐น)ร่วมกันเพื่อได้มีโอกาสพูดคุยทำความรู้จักสร้างความคุ้นเคยกันสมัครสมานสามัคคีกลมเกลี่ยวกัน เข้าใจการทำงานของแต่ละฝ่าย นำไปสู่การทำงานร่วมกันเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ

ท่านผู้ว่าจะสรุปเหตุการณ์ และสถานการณ์ในปัจจุบันโดยเฉพาะการสู้รบที่พนมดงรัก ชายแดนระหว่าง เขมร -ไทย ที่สุรินทร์ ศรีสะเกเกษ ซึ่งท่านเคยเป็นผู้ว่าฯ ของทั้งสองจังหวัดนี้มาก่อน จึงเข้าใจสถานการณ์ และสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรตามแนวชายแดนเป็นอย่างดี ท่านส่งรถสุขาเคลือนที่ไปช่วยเหลือประชาชน ที่ต้องอพยบหนีภัยการสู้รบตามชายแดน เข้ามาอยู่รวมกันในศูนย์ที่ทางการจัดให้ ไม่ว่าจะเป็น วัด โรงเรียน หรือสถานที่ราชการ เมืออยู่รวมกันจำนวนมากๆ จะมีความลำบากในเรื่องสุขา และช่วงบ่ายท่านจะไปเยี่ยมและเอาของไปช่วยเหลือราษฎณตามศูนย์ทั้งสองจังหวัด

ส่วนการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นวิถีชีวิตของชาวโคราช ในทุกด้านนั้น ทางหอการค้า มีโครงการเกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  เข้าใจในโครงการนี้เป็นอย่างดี และบอกว่าเป็นเกษตรประณีต เกษตรกรต้องขยันจึงประสบความสำเร็จ


ความมั่นคงทางอาหาร 28(ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง)

อ่าน: 2443

คุณจักริน เชิดฉาย ประธานหอกาค้าจังหวัดนครราชสีมาได้นำโครงกาีร “เกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงฯ ในวโรกาสพระชนมายุ ๘๔ พรรษา ” ที่ทางกรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐิจพอเพียงหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา คุณ พิสิษฐ์ นาคำ ร่วมกับคณะอนุกรรมการฯ จัดทำขึ้น เพื่อเข้าร่วมกับทางจังหวัด  ในพิธึลงนามบันทึกความร่วมมือ “ชาวโคราชน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิถีชีวิต ถวายพระเจ้าอยู่หัว ๘๔ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๔ “  วันศุกร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔  เวลา ๐๘.๓๐ -๑๒.๐๐น. ณ หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิกามูลนิธิชัยพัฒนา เป็นสักขีพยาน

ก่อนพิธีลงนามฯ  ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้บรรยายพิเศษ ปรัชญาของเศรษฐิจพอเพียงมิติทางสังคม เป็นการบรรยายที่ฟังแล้วทั้งสนุกและได้ความรู้สึกที่ตรงไปตรงมาอย่างชัดเจน อาม่าชอบการอธิบายความเรื่องของปรัชญาฯ ที่เป็นภาษาลาว “การพัฒนาทุกซอกทุกแนว ” เป็นภาษาง่ายๆเข้าใจได้ทันที่ เป็นธรรมชาติง่ายๆ  แค่รู้จักพื้นฐานของชีวิต คือรู้จักตัวเราเอง รู้จักโลกใบนี้ที่เราอยู่ประเทศที่เราอยู่ แล้วเราจะใช้โลกที่เราอยู่อย่างไร คือใช้ ดิน น้ำ ลม ไฟ อย่างไรในชีวิตทุกด้าน อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่บริโภคเกินความจำเป็น เราใช้ทรัพยากรของประทศอยู่ตลอดเวลา เราต้องช่วยกันรักษาแผ่นดิน(ทรัพยากร)คือรักษาชีวิต

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมาย ๑. เพื่อการพัฒนาที่สมดุล ๒. เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ๓. เพื่อการพัฒนาที่มีภูมิคุ้มกัน

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน( ต้องสร้างการบริหารความเสี่ยง) ภายใต้เงื่อนไขความรู้ คือรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และเงื่อนไขคุณธรรม คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน มีสติปัญญา รู้จักแบ่งปัน นำไปสู่ชีวิต /เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน

ความพอดีด้านจิตใจ                                   ความพอดีด้านเศรษฐกิจ

๑. มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้                 ๑. มุ่งลดรายจ่าย

๒. มีจิตสำนึกที่ดี                                  ๒. ยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้

๓. มองโลกอย่างสร้างสรรค์                      ๓. ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เกินเงินที่หามาได้

๔. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่                                  ๔. หารายได้เพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป

๕. ประณี ประนอม                                ๕. หลีกเลี่ี่ยงการก่อหนี้โดยไม่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่า

๖.ยึดประโยชน์สุข                                 ๖. บริหารความเสี่ยง


ความมั่นคงทางอาหาร 27(บรรยายพิเศษโดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล)

อ่าน: 2741

๒๑ เมษายน ๒๕๕๔ เก้าโมงกว่าๆ คุณอำนาจ หมายยอดกลาง มาหาหาอาม่า พร้อมด้วย โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกร หลักสูตร เกษตรกรมืออาชีพ ของมูลนิธิวังน้ำเขียว เสนอต่อ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นับว่าเป็นโครงการฯ. ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรอย่างยิ่ง และจะเป็นการเสริมกับงานโครงการเกษตรพอเพียง ๑ไร่ ๑ แสน เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงฯ ในวโรกาสพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา ของหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ที่มี อ.แพนด้าเป็นหัวหน้าโครงการฯ ได้ตีระฆังเริ่มโครงการแล้วค่ะ ในวันนี้ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๔

จากนั้นคุณอำนาจไปส่งอาม่าที่เดอะมอลล์ เพื่อเข้าร่วมประชุมวิชาการท้องถิ่นอีสานปีที่ ๓”ลดภาวะโลกร้อนกับสุขภาวะคนเมือง” เป็นวันสุดท้าย อาม่าอยู่จนถึงเลิกงานค่ะ แล้วเดินทางกลับด้วยรถประจำทางค่ะ

ส่วนหนึ่งของคณะทำงานโครงการ เกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสนฯ. ที่พร้อมแล้วจะลุยงาน

พรุ่งนี้ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔   อาม่าจะเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษ โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในมิติทางสังคม ณ หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ และร่วมงานพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือของส่วนราชการในเรื่อง ชาวโคราชน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจ เป็นวิถีชีวิต ถวายพระเจ้าอยู่หัว ๘๔ พรรษา พศ. ๒๕๕๔


ความมั่นคงทางอาหาร 26(เกษตรกรใหม่)

อ่าน: 2459

๑๔ เมษายน ๒๕๕๔

ลูกศิษย์เกษตรพอเพียง มารดน้ำดำหัวขอพรวันปีใหม่ อาม่าอัญเชิญพระพุทธรูป ภปร.ปางประทานพร ซึ่งเป็นพระประธานจากห้องพระบนบ้านลงมาไว้ที่ห้องรับแขกชั้นล่าง ให้ลูกศิษย์ได้สรงน้ำพระในเทศกาลสงกรานต์ เพื่อความเป็นศิริมงคลในวันปีใหม่ไทย

สำหรับลูกศิษย์เกษตรพอเพียงผู้มีความมุ่งมันหันมาทำเกษตรอินทรีย์ กลุ่มนี้มีอาชีพ เป็นสัตวบาลสองคน และเป็นเจ้าของธุระกิจสองคน ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำการเกษตรแนวใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ คือการทำการเกษตรประณีต ที่ต้องใส่ใจ ทำเองได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่เรื่องดิน-น้ำ ก็จะต้องรู้ให้ได้ว่าดิน-น้ำที่จะใช้ทำการเกษตร มีโลหะหนักอันตราย และสารพิษตกค้างหรือไม่ต้องเก็บตัวอย่างน้ำ-ดิน ส่งไปวิเคราะห์ ยังหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง อย่างกรมพัฒนาที่ดิน หรือสถาบันการศึกษาที่มีห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อม ฯลฯ.

การทำการเกษตร อาจเริ่มลงมือทำเกษตรประณีตในพื้นที่เล็กๆ ก่อนก็ได้ หากแต่ ต้องมีความเข้าใจการบริหารจัดการ ตั้งแต่เรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องปุ๋ยเรื่องการกำจัด โรค แมลงศัตรูทั้งของพืช และสัตว์  ในการทำการเกษตรผสมผสาน ด้วยแรงงานจากทุกคนในครอบครัว สำหรับในพื้นที่หนึ่งไร่ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก และเลี้ยงสัตว์ที่ต้องกินต้องใช้ ต้องมีข้าวกินตลอดทั้งปี มีเนื้อสัตว์ และพืชผัก ผลไม้ และสมุนไพรไว้ใช้ยามจำเป็น เพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างพอเพียง และอย่างมั่นคง โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจ มาปรับใช้ให้เหมาะกับพื้นที่และความสามารถของแต่และครอบครัว เพื่อลดรายจ่าย แล้วค่อยๆเพิ่มรายได้ จากผลผลิตที่เหลือกินเหลือใช้ที่แจกจ่ายเพื่อนบ้าน ก็ขายในท้องถิ่น เช่นพืชผัก ผลไม้ ปลา เป็ดไก่ ไข่ ฯลฯ.ที่ต้องกินต้องใช้ทุกวัน พืชผัก และเนื้อสัตว์ คุณภาพปลอดสารพิษ ทั้งผู้ปลูกและผู้กินย่อมปลอดภัย แล้วยค่อยๆ ขยายเท่าที่ทำได้ ทำแล้วมีความสุข ทำแล้วมีผลผลิตที่เก็บได้เป็นรายวัน รายอาทิตย์ รายเดือน รายไตรมาส รายหกเดือน รายปี เหลือใกินเหลือใช้ ย่อมเกิดรายได้หมุนเวียนให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี กลายเป็นเงินเก็บ สร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างสมบูรณ์ และความมั่นคงในชีวิต สร้างความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกร

ข้าวนั้นจะปลูกด้วยวิธี ปลูกข้าวต้นเดียวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ตอนนี้ทุกคนได้แหนแดงไปขยายให้เพียงพอต่อการใช้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ การทำไว้ใช้เอง จากมูลสัตว์ จากการหมักเศษอาหารพืชผักผักเลี้ยงจุลินทรีย์ เพื่อใช้ปรับปรุงดินและคืนชีวิตเล็กๆ ให้กลับไปสู่ดิน เพื่อฟื้นฟูสภาพดินให้คืนสู่ธรรมชาติที่สมดุลย์ พร้อมที่จะรองรับการเพาะปลูกที่ฉลาด มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมในพื้นที่ และการปลูกพืชหลายๆชั้นในพื้นที่บริเวณเดียวกัน เหมือนคอนโดพืชค่ะ

ทุกคนมีความพร้อม วันนี้จึงมาหาเพื่อแสดงความพร้อมที่จะเป็นเกษตรอินทรีย์ ที่พอเพียงในยุคข่าวสารข้อมูลค่ะ

ทุกคนมีรอยยิ้มสู้ที่จะเป็นเกษตรกร รุ่นปลุกเสกของอาม่าค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร25(งานสงกรานต์วัดสารภี)

8 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ เมษายน 13, 2011 เวลา 22:21 ในหมวดหมู่ ความพอเพียง, เรื่องเล่าของLin Hui, เศรษฐกิจพอเพียง #
อ่าน: 2311

๑๓ เมษายน ๒๕๕๔

วันสงกรานต์ วันปีใหม่ไทย รื่นเริงเถลิงศกใหม่ อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เพิ่มพูนความดีด้วย การสืบสานประเพณี ด้วยการอนุรักษ์วัฒนธรรม สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย สภาเด็กและเยาวชน อบต.สารภี อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา

อาม่าในฐาน สว.ที่เป็นคนคุ้นเคย ของชาวบ้านเครือข่ายเกษตรพอเพียง ได้รับการเชิญมาให้กำลังใจแก่เด็กๆ ผู้จัดงานครั้งนี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีหลายฝ่าย ทั้งกลุ่มเครื่อข่ายสตรี  โรงเรียน วัด และ อบต. เด็กๆจัดงานได้ยิ่งใหญ่ ไม่ต่างจากผู้ใหญ่เลยค่ะ ไม่ว่าอาหารการกิน มีอาหารพื้นบ้าน อาหารโบราณ การแสดง การละเล่น ล้วนสืบสานวัฒนธรรม สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ครบถ้วน ที่สำคัญคือการสรงน้ำพระ การทำบุญ และทอดป่า ที่มีกองผ้าป่ามากมาย จากหลายๆ กลุ่มมาร่วมด้วยช่วยกัน อาม่าขออนุญาตใช้ภาพบรรยายค่ะ

ผู้นำสภาเด็กและเยาวชน ผู้จัดงานในครั้งนี้ ได้มาพบและพูดคุยกับอาม่า แน่นอนเด็กคือเมล็ดพันธุ์ที่กำลังจะเติบใหญ่ และเป็นผู้นำในทุกภาคส่วน ทดแทนผู้ใหญ่ในอนาคต หากผู้ใหญ่ให้โอกาส สนับสนุน และฝึกเยาวชน ให้รู้จัก เข้าใจวัฒนธรรมวิถีชีวิตตัวเองและภูมิปัญญาของท้องถิ่น เริ่มเข้ามาเรียนรู้การทำงานของท้องถิ่น  ตั้งแต่เด็กๆ การร่วมแรงแข็งขยันลงมือทำจริงๆ ก็จะได้เรียนรู้ ทำได้ เขาก็จะได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อให้ขวัญกำลังใจ นอกจากนิยมชมชื่นเด็กๆ แล้วคุณพิสิษฐ์ นาคำ กรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงหอการค้าหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายเกษตรพอเพียงของอาม่า ได้มอบเงินสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชน

กลุ่มสตรีที่ผ่านการอบรมเรียนรู้ การทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้นำผลิตภัณฑ์ มาให้อาม่าดูสามชนิด มีน้ำมันเหลือง(น้ำมันไพล) ยาหม่องเสลดพังพอน ยาหม่องไพล อาม่าลองดมกลิ่นและทดลองใช้ กับตัวเอง บอกได้เลยค่ะ ของเขาทำได้ดีทีเดียว ทั้งกลิ่นก็หอมถูกใจ อาม่าค่ะ เพราะกลิ่นแตกต่างจากที่เคยใช้ ขนาดก็น่าใช้ ซึ่งล้วนทำได้มาตรฐาน ระดับของอภัยภูเบศรที่เดียว อาม่าเลยขอให้ทางหอการค้า สนับสนุนนำผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปเปิดตัวในงาน บีโอไอแฟร์ ปลายปีนี้ ซึ่งเป็นงานระดับภูมิภาคเอเชีย เพียงแต่ต้องปรับปรุงแพกเกจจิ้งให้ดึงดูดใจ และให้ใช้ สามภาษาอังกฤษ จีน และอาหรับค่ะ เพื่อให้ถูกใจลูกค้าจากสามกลุ่มประเทศหลักๆค่ะ



Main: 0.085152864456177 sec
Sidebar: 0.054314136505127 sec