ความมั่นคงทางอาหาร 24(คณะทำงาน๑ไร่๑แสน)

อ่าน: 1924

๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ อาม่าแลหมียักษ์ ในฐานะที่ปรึกษา และประธานอนุกรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และคณะทำงาน โครงการเกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน มาร่วมงานรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสของหอการค้า บรรยากาศอบอุ่นแบบกันเอง มีซุ้มอาหารและเครื่องดื่ม และไอติมกระทิด้วย หลังจากทานอาหารกลางวันเสร็จ กลุ่มของพวกเราทีมงานและคณะทำงานของฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง โครงการเกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน ถ่ายรูปร่วมกัน ก่อนจะเข้าสู่พิธีรดน้ำดำหัว

ช่วงบ่าย มีพิธีรดน้ำดำหัวที่จัดอย่างเรียบง่ายแต่แฝงไว้ซึ่งประเพณีที่งดงามของเทศกาลวันสรงกานต์ มีการสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคาพรักของหอการค้า อาม่าและมีแพนด้าได้รับเกียรติเชิญให้เป็นผู้ใหญ่(ผู้อาวุโส) ของหอการค้า เป็นผู้ให้ศีลให้พรแก่ชาวหอการค้าที่มารดน้ำและขอพร  เราสองคนต่างสรรหาคำอวยพรชนิดให้ถูกอกถูกใจผู้ขอพร ปกติก็จะให้พร(แบบพิมพ์นิยม ขอให้มีความสุข ความเจริญ….ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน.. ขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต …ขอให้เจริญรุ่งเรือง มั่งคั่งยั่งยืน……)  แต่มีทีเด็ด จนอาม่าอดขำไม่ได้ ก็คำอวยพรของหมียักษ์ซิค่ะ “อายุ วันโน สุขัง พลัง มีสะตังค์เยอะๆ “ เป็นที่ถูกอกถูกใจแก่คนที่ได้รับพร บางคนถึงกับยิ้มและหัวเราะก็มีค่ะ ความสุขเกิดขึ้นทันใจค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 23(ความกตัญญู)

อ่าน: 1561

๑๑ เมษายน ๒๕๕๔

เดือนเมษายน เป็นเดือนที่วาสนาอาม่า พุ่งปรีดมีแต่สิ่งดีๆ เกิดขึ้น งานเข้าอีกตะหาก มีคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แทบทุกวัน สิ่งสำคัญคือมาด้วยหัวใจที่เปิดรับประดุจแก้วน้ำที่หงายพร้อบรับน้ำ แม้แก้วนั้นอาจจะมีน้ำอยู่เต็มแล้ว ยังอุตส่าห์เทน้ำเก่าออก เพื่อรับน้ำใหม่ด้วยใจเบิกบาน มาด้วยความรักแผ่นดินเกิด มาเพราะอยากเรียนรู้ ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่อาม่าทำแค่เป็นเรื่องเล็กๆ  เป็นการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ แค่รู้จักตัวเองรู้จักธรรมชาติ ดัดแปลงธรรมชาติรอบตัวให้เกิดประโยชน์ แค่รู้อย่างเดียวไม่เกิดประโยชน์ค่ะ ต้องปฏิบัติลงมือทำให้เกิดผล และเป็นประโยชน์ต่อตัวเองให้ได้ ทำจนเป็นเรื่องปกติ จนเป็นความเคยชิน แต่กลายเป็นว่าโดนใจคนทั้งในเมืองและชนบท  อาม่าเป็นครูเป็นอาจารย์ จะสอนอะไรใครต้องย้อนถามตัวเองเสมอว่า รู้พอหรือยัง ทำได้เพียงไหน พอที่สอนใครๆ ได้หรือยัง ต้องทบทวนปรับการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ผลเชื่อถือได้แค่ไหน หากพูดแล้วไปแล้วสอนไปแล้ว ไม่ทำมันก็ไม่เกิดผล หากทำแล้วเกิดมีปัญหา ก็จะเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เพราะเป็นเรื่องถ้าทายให้ใช้สติปัญญามาแก้ไข ก่อให้เกิองค์ความรู้ใหม่ จากการลงมือปฏิบัติจริง

อาม่าตั้งใจจะสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนในชนบท ที่มีอาชีพเป็นเกษตรส่วนใหญ๋ และพูดให้เห็นภาพรวมของความสำคัญทางด้านอาหาร ชี้ให้เห็นว่า เราอยู่ในประเทศที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เรามีธรรมชาติที่เหมาะแก่การทำการเกษตรเราอยู่ในเขตร้อนชื้น มีน้ำ มีแสงแดดทุกเดือน.. หากเราเข้าใจธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ต่อธรรมชาติ ธรรมชาติก็ตอบแทนเราด้วยผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ อย่าว่าแต่พอเพียงเลย ถึงขั้นเหลือกินเหลือใช้ด้วยซ้ำ  ด้วยวิถีชีวิตดั้งเดิมที่งดงามสอดคล้องกับธรรมชาติ ก็จะมีกินมีใช้อย่างสุขสมบูรณ์ มีน้ำใจเอื้ออารี แบ่งปัน นั่นคือรางวัลสำหรับคนกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน

แต่การพัฒนาประเทศที่ขาดความรู้ความเข้าใจธรรมชาติอย่างถ่องแท้ ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติอย่างใหญ่หลวง ผลที่ปฏิบัติมิชอบต่อธรรมชาติตัด เผา ทำร้าย ทำลายธรรมชาติ ใช้สารเคมีเกินความจำเป็น ใช้สารพิษทำลายชีวิตพืชสัตว์ ของคนส่วนน้อย แต่ผลร้ายถูกธรรมชาติลงโทษ เนื่องจากธรรมชาติสูญเสียดุลภาพ ความพินาทก็เกิดขึ้น เดือนร้อนกันสาหาสากันกับคนเป็นจำนวนมากมาย ไม่ว่าภัยพิบัติจากความแห้งแล้ง- น้ำท่วม ล้วนเป็นบทเรียนที่น่ากลัว ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์มหาศาล

เราต้องหันมาใส่ใจและฟื้นฟูธรรมชาติอย่างจริงจัง  เริ่มจากจุดเล็กๆ อาม่าทำในจุดเล็กๆ ระดับหมู่บ้านตำบล ซึ่งอาม่าได้ทำมาได้ระดับหนึ่งแล้ว และคนในชุมชนเขาพร้อมเรียนรู้พร้อมลงมือทำ เขาอยากเรียนรู้อะไร อาม่าก็จะจัดหามาให้ เมื่อนเรียนรู้แล้วเข้าใจแล้ว เกษตรกรลงมือทำทันที อาม่าก็ชื่นใจ แล้วสร้างความเข้าใจเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อันดับแรกเราต้องมีพันธุ์ข้าวที่เพียงพอ ต้องมีเมล็ดพันธุ์พืช-สัตว์ทุกชนิดที่เรากิน  สำรวจและเข้าใจธรรมมชาติจุดอ่อนจุดแข็งของธรรมชาติ พยายามแก้ไขฟื้นคืนธรรมชาติให้ดินให้น้ำหากขาดความรู้ความเข้าใจ อาม่าก็หาเครือข่ายจากสถาบันการศึกษาที่มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ ให้พอเพียงเพื่อปรับฟื้นดินให้มีชีวิต ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ บำรุงรักษาดินให้อุดมสมบูรณด้วยวิธีทางธรรมชาติ ที่ยั่งยืนด้วยความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง โดยน้อมนำและปรับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างสมเหตุสมผล เหมาะกับภูมิสังคมของชุมชนนั้นๆ ด้วยการทำการเกษตรประณีต อย่างมีความสุขที่ยั่งยืน

เราไม่อดตายหากหันมาใส่ใจกู้แผ่นดินให้ฟื้นคืนสู่สภาพสมดุลย์ ทำให้ดินมีชีวิต เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยและยั้งยืนตลอดไปด้วยการลงมือทำค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร22(ตักบาตรอาหารแห้ง)

อ่าน: 3048

วันนี้เป็นวันดี สืบสานประณีไทยสงกรานต์ม่วนใจ ศูนย์อนามัยที่ ๕

และเป็นวันพัฒนาส่งเสริมบุคคลากรสู่องกรต้นแบบสุขภาพดี ศูนย์อนามัยที่ ๕       ๘ เมษายน ๒๕๕๔

เริ่มงานด้วยสิ่งที่เป็นมงคลของชาวพุทธ คืออาราชธนาศีล อาราชธนาธรรม รับศีลรับพรฟังเทศที่สนุกสนานกระชับสั้น แล้วถวายสังฆทานภัตราอาหารและปัจัย แล้วกันก็ตักบาตรอาหารแห้งแก่พระภิกษุและสามเณร(วัดหนองลังกา) ชื่นมื่นกันทั่วหน้า ทั้งุคคลากร ของศูนย์อนามัยฯ.และผู้สูงวัยค่ะ

จากนั้นก็ไปสรงน้ำพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประจำศูนย์อนามัยที่๕ แล้วพากันไปไหว้ศาลเพระภูมิจ้าี่ที่ ที่ปกปักรักษาทุกคนที่ทำงานในที่นี้ค่ะ

ถึงเวลารื่นเริงสำราญ ชาวสว.๙ ก็ร่วมถ่ายภาพหมูไว้เป็นหลักฐาน แล้วก็สนุกสนาน ร้องรำทำเพลง คลื้นเคลง สนุกสนาน ด้วยเสียงขับขานร้องเพลง ขับกล่อมกันเองไมเกรงใจใคร คุณภาพใครได้ยินนึกว่าเปิดเพลง ทั้งรำวง เต้นรำก็หัดกันเดี่๋ยวนั้นแหละ อาม่าหัดเต้น รัมบ้า กำลังจะเป็นแล้วเชียวเพลงจบเสียงั้น จนแล้วจนรอดก็ยังเต้นไม่ได้ พอเพลงรำวงอาม่าก็ว่ารำได้ชนิดที่ตัวเองคิดว่ารำเป็น เพลงเปลี่ยนจังหวะเร้าใจทำนองเซิ้งของอีสานม่วนหลาย อยากเซิ้งเป็น ก็ดูคนเซิ้งเก่งที่อยู่หัวแถว ต้องเอียงคอดูตลอด จนคอเกือบเคล็ด พอทำท่าพอจะเซิ้งตามได้ เธอเล่นเปลี่ยนท่าอีกใหม่อีกแล้ว เล่นเอาอาม่าเหงือกแตกยิ่งกว่าปลูกต้นไม้ เห็นทีเอาดีทางนี้ไม่ได้แน่ๆ ขอเป็นเกษตรกรตัวจริงดีกว่า จะได้ผู้สืบสานอาชีพเกษตรกรที่ภาคภูมิใจเมื่อแก่ๆ อย่างนี้แหละ จะได้ส่งเกษตรกรสร้างความมั่นคงทางอาหารให้พวกเราได้อิ่มท้องอย่างปลอดภัยค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร21(เลี้ยงเพระและเณร)

อ่าน: 2891

วันนี้ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๔

หลวงปู่ เป็นปู่แท้ๆของลูกเณร ซึ่งเป็นลูกของคุณแหลมและหมอหยก บวชเณรและอยู่กับหลวงปู่ที่นครสวรรค์ วันนี้เพิ่งเดินทางกลับมาโคราช และมาเยี่ยมอาม่าถึงบ้าน อาม่าเลี้ยงเพล ด้วยอาหารง่ายๆ ที่ทำเองทั้งหมด เครื่องดื่มเป็นน้ำคลอโลฟิลใบเตยหอม(สีเขียว) ออร์เดิฟเป็นเทมปุระเห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดภูฐานและฟักทอง อาหารจานหลักเป็นข้าวคลุกกะปิ พร้อมแกงจืดผักกาดดอง ของหวานเป็นมะยงชิดริ้วลอยแก้ว ที่เพิ่งได้มาสดๆจากต้นเมื่อวันที่ไปวังน้ำเขียว

วันนี้อิ่มท้องกันถ้วนหน้า โยมป่โยมย่า(อาม่า-หมียักษ์) โยมพ่อ-โยมแม่ อีกทั้งอิ่มบุญ ที่ลูกเณรตั้งใจมาบอกบุญให้อาม่าที่ลูกเณรเรียกว่าโยมย่า เป็นประธานทำบุญทอดผ้าป่าจัดงานบุญฝังลูกนิมิต เป็นบุญใหญ่ตอนปลายปีนี้ ค่ะ จึงถือโอกาสนี้ แจ้งให้เพื่อนพ้องน้องพี่  ญาติสนิทมิตรสหาย พวกพ้องที่รู้จักนับถือกัน อีกทั้งลูกศิษย์ ลูกหา และลูกๆ หลานๆได้ทราบไว้เป็นเบื้องต้น  งานใหญ่มี ๙วัน ตั้งแต่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๔- ๕ มกราคม ๒๕๕๕ ค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร20 (เกษตรพอเพียง1ไร่1แสน)

อ่าน: 2520

๖ เมษยน ๒๕๕๔

ประชุมโครงการ “เกษตรพอเพียง 1ไร่1แสน ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงในวโรกาสพระชนมายุ ๘๔ พรรษา หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา

กรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง นับเป็นน้องใหม่ล่าสุดของหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะต้องดำเนินการแต่งที่ปรึกษาฝ่ายฯ คณะอนุกรรมการเฝ่ายฯ และคณะทำงานโครงการ “เกษตรพอเพียง 1ไร่1แสน “  เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงในวโรกาสพระชนมายุ ๘๔ พรรษา ที่ประชุมได้ดำเนินการเสนอแต่งตั้ง ที่ปรึกษาฝ่ายฯ คณะอนุกรรมการเฝ่ายฯ และคณะทำงานโครงฯ เป็นที่เรียบร้อย โดยคณะทำงานโครงการฯเป็นผู้ที่รับผิดชอบ พิจารณปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม โครงการฯ ฉบับร่างทั้งสามฉบับ และจัดทำโครงการฯ ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นรูปเล่มโดยเร็ว เสนอขอการสนับสนุนงมประมาณจาก หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และเป็นโครงการของภาคเอกชน เพื่อเสนอท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา รับทราบ ในภาคส่วนเอกชน ที่ร่วมขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัด ที่เป็นรูปธรรม เพื่อถวายในหลวง ในมหามงคลเฉลิมพระชนม ๘๔ พรรษา

ประชมโครงการฯ

การประชุมโครงการที่หอการค้า

วันนี้อาม่าสวมหมวกหลายใบค่ะ ใบที่หนึ่งเป็นที่ปรึกษาฝ่ายฯ ใบที่สองประธานในที่ประชุม ใบที่สามนี่ซิเป็นมวยแทน อ.แพนด้า(คณะทำงานประธานโครงการฯ) ที่ป่วยกระทันหัน ไม่สามารถไปประชุมได้ ใบที่สีคือชาวบ้านที่เป็นเกษตรพอเพียง ตัวจริงเสียงจริง เล่นเอาเหนื่อเอาการที่เดียวเปลี่ยนโหมดแทบไม่ทัน แต่ในที่สุดการประชุมจบด้วยการมีผู้รับผิดชอบทำงานครบถ้วน พร้อมทำงานทันที่ แต่อันที่จริง คุณพิสิษฐ์ นาคำ กรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ได้เริ่มดำเนินงานก่อนที่โครงการจะเขียนเสร็จด้วยซ้ำ และได้ติดตามอาม่าไปเข้าร่วมฝึกอบรมเกษตรประณีต เกษตรพอเพียงตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านใหม่อุดมเมื่อวันที ๒๔ มีนาคม๒๕๕๔ และประชุมนอกรอบกับอาม่าและฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี สองครั้ง เมื่อ ๒๒ มีนาคม และวันที่ ๒๙ มีนาคมที่ผ่านมา จนได้รูปแบบโครงการที่ชัดเจน

อบรมที่บ้านใหม่อุดม

อบรมที่หนองบุญมาก



Main: 0.9407172203064 sec
Sidebar: 0.26043796539307 sec