ความมั่นคงทางอาหาร30 (ความร่วมมือสามฝ่าย )

อ่าน: 2698

๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ มีการประชุมร่วมกันสามฝ่าย ที่บ้านอาม่า ตั้งแต่ ๙ โมงเช้า ส่วนบ่ายนี้มีประชุมวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.นครราชสีมา ที่ศาลากลางจังหวัด อาม่าแบ่งภาคไม่ได้  เลยแบ่งกันทำงาน อ.แพนด้า(หมียักษ์)ไปประชุมวุฒิอาสาฯ

อาม่าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เติมเต็มความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามฝ่าย ระหว่างฝ่ายเกษตรกร ที่มีคุณพิสิษฐ์ นาคำกรรมการฝ่ายเศรษฐกิจพอเพียง หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา เป็นตัวแทน เกษตรกร ตามโครงการ เกษตรพอเพียง ๑ไร่ ๑ แสน ฝ่ายเอกชน(บริษัทคูโบต้า) มีคุณธึระพัฒน์ วรรณารักษ์และคุณกิตติพงษ์ บุญประการเป็นตัวแทน ฝ่ายวิชาการ มี อ.แพนด้า และอาม่าเป็นตัวแทน แต่อาม่าเป็นตัวแทนเกษตรบ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมากอีกด้วยค่ะ

เป้าหมายสูงสุดคือยกระดับเกษตร ให้เหมือนเกษตรของญี่ปุ่น และเกาหลี เกษตรกรคุณภาพ(ในความคาดหวังของน้องต้นกล้าและอาม่า) คือการทำเกษตรอินทรีย์ ที่มีคุณภาพ แบบผสมผสาน แบบประณีต  ทำเกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน เพื่อสนองพระราชดำริ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เฉลิมฉลองในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ ๘๔ พรรษา ๕ ธันวามคม ๒๕๕๔

จึงเกิดความร่วมมือสามฝ่าย คือเอกชนเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนและให้ความรู้และการใช้เทคโนโลยี่ที่เหมาะ สมกับพื้นที่ ไม่เกินความจำ ผสมผสานการร่วมแรงร่วมใจของเกษตรกร ที่ร่วมมือกันวางแผนและลงแรงด้วยกัน โดยมีนักวิชาการคอยเป็นตัวกลางประสานและย่อยองค์ความรู้ให้เหมาะกับเกษตรที่ สามารถปรับใช้ได้อย่างแท้จริง ตลอดจนเป็นพี่เลี้ยงคอยให้ความช่วยเหลือ เมื่อเกิดปัญหาที่เกินกำลังของเกษตรกรจะแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ก็นำนักวิชาการผู้เชี่ยวแต่ด้านจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เข้ามาช่วยแก้ไขให้ทันท่วงทีค่ะ เป็นการทำการเกษตรพอเพียง เป็นการสร้างความมั่นคงให้อาชีพเกษตรอย่างภาคภูมิใจค่ะ

ทุกคนควรมีความฝัน แล้วทำฝันให้เป็นจริงให้ได้ค่ะ ขอให้มีความมุ่งมันและมีความเพียรเป็นเข็มทิศ นำพาไปสู่เป้าหมายฝันนั้นย่อมเป็นจริงได้ค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร29 (สภากาแฟครั้งที่4/2554 )

อ่าน: 2088

วันอังคาร ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ “สภากาแฟ” ครั้งที่ ๔/๒๕๕๔ จัดขึ้นที่หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา อาม่าไปร่วมงานครั้งนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งมีการจัดเป็นประจำทุกเดือนแต่ละหน่วยงาน หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นการพบปะกันระหว่างหัวหน้าหน่วยงาน ราชการ ทหาร และเอกชน มาทานอหารเช้า(๗.๐๐-๘.๓๐น)ร่วมกันเพื่อได้มีโอกาสพูดคุยทำความรู้จักสร้างความคุ้นเคยกันสมัครสมานสามัคคีกลมเกลี่ยวกัน เข้าใจการทำงานของแต่ละฝ่าย นำไปสู่การทำงานร่วมกันเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ

ท่านผู้ว่าจะสรุปเหตุการณ์ และสถานการณ์ในปัจจุบันโดยเฉพาะการสู้รบที่พนมดงรัก ชายแดนระหว่าง เขมร -ไทย ที่สุรินทร์ ศรีสะเกเกษ ซึ่งท่านเคยเป็นผู้ว่าฯ ของทั้งสองจังหวัดนี้มาก่อน จึงเข้าใจสถานการณ์ และสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรตามแนวชายแดนเป็นอย่างดี ท่านส่งรถสุขาเคลือนที่ไปช่วยเหลือประชาชน ที่ต้องอพยบหนีภัยการสู้รบตามชายแดน เข้ามาอยู่รวมกันในศูนย์ที่ทางการจัดให้ ไม่ว่าจะเป็น วัด โรงเรียน หรือสถานที่ราชการ เมืออยู่รวมกันจำนวนมากๆ จะมีความลำบากในเรื่องสุขา และช่วงบ่ายท่านจะไปเยี่ยมและเอาของไปช่วยเหลือราษฎณตามศูนย์ทั้งสองจังหวัด

ส่วนการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นวิถีชีวิตของชาวโคราช ในทุกด้านนั้น ทางหอการค้า มีโครงการเกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  เข้าใจในโครงการนี้เป็นอย่างดี และบอกว่าเป็นเกษตรประณีต เกษตรกรต้องขยันจึงประสบความสำเร็จ


ความมั่นคงทางอาหาร 27(บรรยายพิเศษโดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล)

อ่าน: 2741

๒๑ เมษายน ๒๕๕๔ เก้าโมงกว่าๆ คุณอำนาจ หมายยอดกลาง มาหาหาอาม่า พร้อมด้วย โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกร หลักสูตร เกษตรกรมืออาชีพ ของมูลนิธิวังน้ำเขียว เสนอต่อ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นับว่าเป็นโครงการฯ. ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรอย่างยิ่ง และจะเป็นการเสริมกับงานโครงการเกษตรพอเพียง ๑ไร่ ๑ แสน เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงฯ ในวโรกาสพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา ของหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ที่มี อ.แพนด้าเป็นหัวหน้าโครงการฯ ได้ตีระฆังเริ่มโครงการแล้วค่ะ ในวันนี้ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๔

จากนั้นคุณอำนาจไปส่งอาม่าที่เดอะมอลล์ เพื่อเข้าร่วมประชุมวิชาการท้องถิ่นอีสานปีที่ ๓”ลดภาวะโลกร้อนกับสุขภาวะคนเมือง” เป็นวันสุดท้าย อาม่าอยู่จนถึงเลิกงานค่ะ แล้วเดินทางกลับด้วยรถประจำทางค่ะ

ส่วนหนึ่งของคณะทำงานโครงการ เกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสนฯ. ที่พร้อมแล้วจะลุยงาน

พรุ่งนี้ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔   อาม่าจะเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษ โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในมิติทางสังคม ณ หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ และร่วมงานพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือของส่วนราชการในเรื่อง ชาวโคราชน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจ เป็นวิถีชีวิต ถวายพระเจ้าอยู่หัว ๘๔ พรรษา พศ. ๒๕๕๔


ความมั่นคงทางอาหาร 26(เกษตรกรใหม่)

อ่าน: 2459

๑๔ เมษายน ๒๕๕๔

ลูกศิษย์เกษตรพอเพียง มารดน้ำดำหัวขอพรวันปีใหม่ อาม่าอัญเชิญพระพุทธรูป ภปร.ปางประทานพร ซึ่งเป็นพระประธานจากห้องพระบนบ้านลงมาไว้ที่ห้องรับแขกชั้นล่าง ให้ลูกศิษย์ได้สรงน้ำพระในเทศกาลสงกรานต์ เพื่อความเป็นศิริมงคลในวันปีใหม่ไทย

สำหรับลูกศิษย์เกษตรพอเพียงผู้มีความมุ่งมันหันมาทำเกษตรอินทรีย์ กลุ่มนี้มีอาชีพ เป็นสัตวบาลสองคน และเป็นเจ้าของธุระกิจสองคน ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำการเกษตรแนวใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ คือการทำการเกษตรประณีต ที่ต้องใส่ใจ ทำเองได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่เรื่องดิน-น้ำ ก็จะต้องรู้ให้ได้ว่าดิน-น้ำที่จะใช้ทำการเกษตร มีโลหะหนักอันตราย และสารพิษตกค้างหรือไม่ต้องเก็บตัวอย่างน้ำ-ดิน ส่งไปวิเคราะห์ ยังหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง อย่างกรมพัฒนาที่ดิน หรือสถาบันการศึกษาที่มีห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อม ฯลฯ.

การทำการเกษตร อาจเริ่มลงมือทำเกษตรประณีตในพื้นที่เล็กๆ ก่อนก็ได้ หากแต่ ต้องมีความเข้าใจการบริหารจัดการ ตั้งแต่เรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องปุ๋ยเรื่องการกำจัด โรค แมลงศัตรูทั้งของพืช และสัตว์  ในการทำการเกษตรผสมผสาน ด้วยแรงงานจากทุกคนในครอบครัว สำหรับในพื้นที่หนึ่งไร่ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก และเลี้ยงสัตว์ที่ต้องกินต้องใช้ ต้องมีข้าวกินตลอดทั้งปี มีเนื้อสัตว์ และพืชผัก ผลไม้ และสมุนไพรไว้ใช้ยามจำเป็น เพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างพอเพียง และอย่างมั่นคง โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจ มาปรับใช้ให้เหมาะกับพื้นที่และความสามารถของแต่และครอบครัว เพื่อลดรายจ่าย แล้วค่อยๆเพิ่มรายได้ จากผลผลิตที่เหลือกินเหลือใช้ที่แจกจ่ายเพื่อนบ้าน ก็ขายในท้องถิ่น เช่นพืชผัก ผลไม้ ปลา เป็ดไก่ ไข่ ฯลฯ.ที่ต้องกินต้องใช้ทุกวัน พืชผัก และเนื้อสัตว์ คุณภาพปลอดสารพิษ ทั้งผู้ปลูกและผู้กินย่อมปลอดภัย แล้วยค่อยๆ ขยายเท่าที่ทำได้ ทำแล้วมีความสุข ทำแล้วมีผลผลิตที่เก็บได้เป็นรายวัน รายอาทิตย์ รายเดือน รายไตรมาส รายหกเดือน รายปี เหลือใกินเหลือใช้ ย่อมเกิดรายได้หมุนเวียนให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี กลายเป็นเงินเก็บ สร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างสมบูรณ์ และความมั่นคงในชีวิต สร้างความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกร

ข้าวนั้นจะปลูกด้วยวิธี ปลูกข้าวต้นเดียวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ตอนนี้ทุกคนได้แหนแดงไปขยายให้เพียงพอต่อการใช้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ การทำไว้ใช้เอง จากมูลสัตว์ จากการหมักเศษอาหารพืชผักผักเลี้ยงจุลินทรีย์ เพื่อใช้ปรับปรุงดินและคืนชีวิตเล็กๆ ให้กลับไปสู่ดิน เพื่อฟื้นฟูสภาพดินให้คืนสู่ธรรมชาติที่สมดุลย์ พร้อมที่จะรองรับการเพาะปลูกที่ฉลาด มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมในพื้นที่ และการปลูกพืชหลายๆชั้นในพื้นที่บริเวณเดียวกัน เหมือนคอนโดพืชค่ะ

ทุกคนมีความพร้อม วันนี้จึงมาหาเพื่อแสดงความพร้อมที่จะเป็นเกษตรอินทรีย์ ที่พอเพียงในยุคข่าวสารข้อมูลค่ะ

ทุกคนมีรอยยิ้มสู้ที่จะเป็นเกษตรกร รุ่นปลุกเสกของอาม่าค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 24(คณะทำงาน๑ไร่๑แสน)

อ่าน: 1974

๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ อาม่าแลหมียักษ์ ในฐานะที่ปรึกษา และประธานอนุกรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และคณะทำงาน โครงการเกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน มาร่วมงานรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสของหอการค้า บรรยากาศอบอุ่นแบบกันเอง มีซุ้มอาหารและเครื่องดื่ม และไอติมกระทิด้วย หลังจากทานอาหารกลางวันเสร็จ กลุ่มของพวกเราทีมงานและคณะทำงานของฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง โครงการเกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน ถ่ายรูปร่วมกัน ก่อนจะเข้าสู่พิธีรดน้ำดำหัว

ช่วงบ่าย มีพิธีรดน้ำดำหัวที่จัดอย่างเรียบง่ายแต่แฝงไว้ซึ่งประเพณีที่งดงามของเทศกาลวันสรงกานต์ มีการสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคาพรักของหอการค้า อาม่าและมีแพนด้าได้รับเกียรติเชิญให้เป็นผู้ใหญ่(ผู้อาวุโส) ของหอการค้า เป็นผู้ให้ศีลให้พรแก่ชาวหอการค้าที่มารดน้ำและขอพร  เราสองคนต่างสรรหาคำอวยพรชนิดให้ถูกอกถูกใจผู้ขอพร ปกติก็จะให้พร(แบบพิมพ์นิยม ขอให้มีความสุข ความเจริญ….ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน.. ขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต …ขอให้เจริญรุ่งเรือง มั่งคั่งยั่งยืน……)  แต่มีทีเด็ด จนอาม่าอดขำไม่ได้ ก็คำอวยพรของหมียักษ์ซิค่ะ “อายุ วันโน สุขัง พลัง มีสะตังค์เยอะๆ “ เป็นที่ถูกอกถูกใจแก่คนที่ได้รับพร บางคนถึงกับยิ้มและหัวเราะก็มีค่ะ ความสุขเกิดขึ้นทันใจค่ะ



Main: 0.063435077667236 sec
Sidebar: 0.054230928421021 sec