ความมั่นคงทางอาหาร 16(นาผสมผสานเทคโนโลยี)

อ่าน: 2870

เมื่อคืน หมอหยกมาดูแลน้องแมวที่อึไม่ออกโดนสวนก้น…อิอิ

ขณะเดียวกันพาเกษตรกรอินทรีย์มาขอคำแนะเรื่องปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่เลย สำหรับเรื่องเทคนิคปลูกข้าวต้นเดี่ยว หลักการเหมือนกันคือสะดวกต่อการดูแลนาข้าวให้ การเจริญเติบโตและแตกกอได้เต็มที่ เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงต้นทุนต่ำ ประเทศจีนทำมานานแล้ว เกษตรกรท่านนี้เคยเดินทางไปดูการทำนาที่ประเทศจีน และมีคำถามมากมายพออธิบายฟัง ถึงกับร้องอ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะเห็นต้นข้าวเป็นระเบียบ เหมือนใช้เครื่องจักรดำนา แต่ไม่ได้รู้ขั้นตอนก่อนหน้านี้  เป็นคำตอบว่าทำไมคนจีนเขาดำนาได้เหมือนเครื่องจักร…..การดูแลนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขาวางแผนตั้งแต่เพาะกล้า วางแผนระเบียบแถวและแนว ด้วยเครื่องมือง่ายๆที่ผลิตขึ้นเอง ใช้ในการตีตารางพิกัดบนผืนนา แล้วปลูกตามพิกัดกัดที่เตรียมไว้บนแปลงนา ทุกอย่างต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ปริมาณน้ำก็ใช้ให้น้อยที่สุดแต่มีประสิทธิที่สุด เมื่อต้นข้าวโตอย่างเป็นระเบียบ การกำจัดวัชพืชในแปลงนาก็ทำได้สะดวก ชาวนาก็รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือทุนแรง โรตารีวีดเดอร์ กำจัดวัชพืชพร้อมๆ กับเป็นการพรวนดินเพิ่มออกซิเจนให้กับรากต้นข้าว ลดก๊าซมีเทน ทำให้ต้นข้าวแข็งแรงเจริญเติบโตเต็มที่ และการให้ปุ๋ยก็พิจราณา ว่าข้าวต้องการธาตุอาหารอะไรในแต่ละช่วงเวลาทีเจริญเติมโต จึงให้ปุ๋ยตรงกับความต้องการของข้าว ข้าวเป็นธัณญพืช ย่อมต้องปุ๋ยที่ต่าง จากพืชหัวเช่นมันสำปะหลัง หรือพืชลำต้นเช่นอ้อย ฯลฯ. ต้องเข้าใจเรื่องปุ๋ยคืออาหารของข้าว เมื่อจัดให้ตรงใจข้าว ข้าวก็ตอบแทนชาวนาด้วยผลผลิตอย่างเต็มอกเต็มใจ ต้นข้าวแข็งแรงก็สามารถต้านทานแมลง และห่างไกลจากโรค เพราะเป็นทำการเกษตรประณีต ใช้ระบบห่วงโซ่อาหารจัดการสัตรูต้นข้าวค่ะ ทุกขั้นตอนจะปลอดภัยต่อข้าวและชาวนา

เนื่องจากการปลูกข้าวอินทรีย์ เป็นอาหารคุณภาพ ปราศจากสารพิษ ทำอย่างไรจึงจะมีความเชื่อมั่นว่าปลอดสารพิษ อันดับแรกต้องตรวจคุณภาพ ดิน และน้ำ ทั้งด้าน กายภาพ ชีวภาพ และทางด้านเคมี และตรวจโลหะหนัก สารตกค้างในดิน ไม่ว่าจะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและแมลงในพื้นที่ ที่จะทำนา  หากปลอดจากสารพิษ ก็ลงมือปลูกได้ตามวิธีการที่แนะนำให้ปลูกข้าวต้นเดี่ยว ด้วยใช้แหนแดง และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่เหมาะกับข้าว ขอเน้นว่าปุ๋ย ที่มีธาตุอาหารตรงกับข้าวที่เป็นธัณญพืช  การเตรียมดินครั้งแรกต้องใส่ธาตุอาหาที่จำเป็นกับพืช จะเป็นขี้วัวขี้ควาย หรือขี้หมูเสียก่อน ให้กับข้าวและแหนแดง เป็นเบื้องต้น การใช้แหนแดงใส่ลงในแปลงนาที่มีระดับน้ำสูงแค่ ๒ เซนติเมตร  เมือปักดำเสร็จ ก็หว่านแหนแดง แหนแดงก็จะเจริญเติมโต ขยายปริมาณที่รวดเร็วมาก ก็จะคุมเต็มพื้นที่ ทำให้วัชพืชขึ้นลำบาก ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงดูแลต้นข้าวต้นข้าวในระยะแรกที่ต้องสร้างใบสร้างลำต้นให้แข็งแรงและแตกกอได้มาก แหนแดงทำหน้าดึงไนโตรเจนจากอากาศมาเลี้ยงต้นข้าวค่ะ และเลี้ยงตัวเองด้วย แหนแดงเจริญเติบโตสร้างโปรตีนและมีธาตุอาหารที่ครบถ้วนเมือตายไปก็เป็นปุ๋ยอินทรีย์ จึงนับว่าแหนแดงมีพระคุณต่อชาวนามากค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 15(เกษตรกรคุณภาพ)

อ่าน: 1642

อีกงานที่ต้องฟันฝ่าให้ได้ คือเปลี่ยนคำว่าเกษตรยากจน เป็นเกษตรกรคุณภาพให้ได้ เปิดกว้างให้ทุกคนไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มีอาชีพอะไรมาก่อน ….ที่ตั้งใจจะเป็นเกษตรกรคุณภาพ มาร่วมกันสร้างความจริงให้เกิดขึ้นให้ได้ เราสร้างจากการร่วมด้วยช่วยกันของภาคประชาชน แบบช่วยตัวเองกันก่อน อะไรที่เกินกำลังความรู้ความสามารถ อาม่าก็จะเข้าไปหารือกับเครือข่ายสถาบันการศึกษา มาช่วยเหลือ หากภาคราชการจะเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันสนับสนุนด้วยการลงมาช่วยกลุ่มเกษตรกรให้ทันต่อฤดูกาลทำการเกษตรอย่างมีคุณภาพ ช่วงนี้ช่วยกันมาร่วมแรงร่วมใจขุดลอกคลองคูน้ำ ทางน้ำเป็นการเร่งด่วน ก่อนที่หน้าฝนกำลังจะมาถึง และเตรียมแหล่งเก็บกักน้ำบนพื้นที่สูงของชุมชนให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง เตรียมกังหันวิดน้ำขึ้นไปกักไว้ในแหล่งเก็บน้ำที่เตรียมไว้ งานนี้ต้องอาศัยภาพของภาครัฐจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้อาม่าจะเอาเรื่องนี้พูดในที่ประชุมเพื่อผลักดันให้หอการค้า  ไปขอความร่วมมือจากจังหวัดค่ะ เอาเรื่องน้ำเป็นอันดับแรกก่อน คือการออมน้ำ ไว้ให้พอเพียงต่อพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชนที่เป็นเป้าหมายเป็นอันดับแรก กระสุนนัดเดียวยิงนกได้หลายตัว เป็นการเก็บเกี่ยวน้ำยามฤดูน้ำหลาก ไว้ใช้ยามยากในช่วงฤดูกาลยามหน้าแล้ง และผลพลอยได้คือลดความรุนแรงยามน้ำหลากน้ำท่วม เป็นแหล่งกักเก็บสัตว์น้ำที่หลากตามน้ำมา และจะมีอะไรที่ดีๆ ตามอีกมากมาย หากเข้าใจธรรมชาติแ้ล้ววางแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับธรรมชาติค่ะ เอาแค่เรื่องน้ำอย่างเดียวก่อนในการเริ่มที่ดีค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 14 (ความฝันของอาม่า)

อ่าน: 2406

โครงการความมั่นคงทางอาหารของอาม่า เป็นความฝันที่อาม่ามีมานานพอสมควร และไม่เคยท้อเลยค่ะแม้จะอายุมากแล้ว  แต่ด้วยความเพียรที่เห็นเพื่อนๆ ปราชญ์ชาวบ้าน ปราชญ์เดินดิน เกษตรกรในท้องถิ่นในภาคอีสาน กระจายกันอยู่ทั่วไป แต่ยังไม่สามารถรวมกลุ่มให้เป็นปึกแผ่น ทั้งในระดับหมูบ้าน หรือ ตำบลได้ ถึงแม้มีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่ก็เป็นส่วนน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับจำนวนเกษตรกรทั้งหมด สาเหตุที่ทำให้เกษตรกรที่ปราชญ์ชาวบ้านหันมาฟื้นวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะล้วนเจอความล้มเหลวแบบเศรษฐกิจตาโต ….ผ่านความทุกข์มามากโข ด้วยขาดความรู้ความเข้าใจธรรมชาติ “รู้เขารู้เรา” อย่างแท้จริง อาม่าก็พยายามที่จะสร้างชุมชนเกษตรคุณภาพ สิ่งแรกที่อาม่าพยายามกระตุ้นให้ชุมชนเข้าใจคือ รู้จุดอ่อนจุดแข็ง ของทรัพยกรที่มีอยู่ภายในชุมชน ไม่ว่าทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยยากรมนุษย์ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม และองค์ความรู้ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ แท้ที่จริงก็คือการนำกาลามสูตรมาใช้ แค่รู้อย่างเดียวไม่เกิดอะไรค่ะ ต้องนำมาใช้จะเกิดผล เราชาวพุทธส่วนใหญ่ก็รู้กันอยู่แล้ว ขาดแค่การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นธรรมชาติของเรา  อาม่าเชื่อมั่นว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนที่มีเหตุผลใช้ธรรมนำการเกษจร อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเป็นสุข มั่นคงและยั่งยืน ลำพังอาม่าคนเดียวไม่มีพลังมากพอที่จะช่วยสร้างเกษตรกรคุณภาพได้ แต่มีเครื่อข่ายที่ให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่ง คือฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีุรนารี และเริ่มมีหลายหน่วยงานความสำคัญในงานที่อาม่าลงไปช่วยชุมชน และพร้อมร่วมด้วยกันอีกหน่วยงาน คือ ศูนย์อามัยที่๕ นครราชสีมา ผ่านทางชมรม สว.๙ ศูนย์อนามัยที่๕

นับเป็นวาสนาของอาม่าได้ มีโอกาสรู้จัก และเป็นเพื่อนกับคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสา และล้วนแต่เป็นคนคุณภาพเป็นเกษตรกรคุณภาพยืนบนขาตัวเองอย่างมั่นคงแล้วยังมีจิตอาสาแบ่งปันความรู้ช่วยเหลือเกษตรกรและสังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยมีความสามารถทางด้าน ไอที และใช้โอเพ่นซอร์ดพัฒนาโปรมแกรมเองใช้เองตามความต้องการ ดูแลปรับปรุงได้เอง และลงไปช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพสามารถใช้ ไอที อย่างเข้มแข็งยืนบนขาตัวเองได้ พัฒนาโปรแกรมม เพื่อใข้ให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง เขาผู้นี้คือน้องโสทร อาม่าได้เรียนรู้อะอีกมากมายจากน้องโสทร แล้วนำมาปรับใช้ถ่ายทอดสู่เกษตรกร

คนหนุ่มรุ่นใหม่อีกคนที่อาม่า่ประทับใจมาก คือน้องต้นกล้า ที่เข้าใจชีวิตและอาชีพเกษตรกร มีความฝันเหมือนอาม่า ที่จะช่วยกันพ้ฒนาอาชีพเกษตรกรให้มีความมั่นคงและยั่งยืน เป็นเกษตรกรคุณภาพ แบบเกษตรญี่ปุ่น น้องต้นกล้ากำลังส่งทีมงานมาช่วยอาม่าอีกแรงหนึ่งค่ะ

ฝันนี้เป็นจริงได้ หากมีความร่วมมือ ร่วมใจหลายภาคส่วน ลงมาช่วยกัน สร้างเกษตรกรยุคข่าวสารข้อมูล ภายใต้สังคมไทยที่เป็นยุคก้าวย่างสู่สังคมผู้สูงวัย เราไม่ปฏิติเสธเครื่องมือทุนแรง แต่เราจะรวมแรงแบ่งปันแรง(ลงแขก) ฟื้นคือวิถีชีวิตที่งดงามของชนบท สร้างความเป็นปึกแผ่น ทำเกษตรที่มีแผนชัดเจนผสมผสานเทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่สำคัญคือเกษตรอินทรีย์ ลดภาวะโลกร้อน ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต  เป็นเกษตรคุณภาพที่มีตลาดรองรับ เกษตรกรต้องมีอาหารที่มีคุณภาพอย่างพอเพียงสำหรับครอบครัว มีพลังงานเหลือมาลงแรงทำการเกษตรที่สร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงยั่งยืน เป็นการยกระดับเกษตรกร เป็นธุรกิจการเกษตรที่มีคุณภาพและยั่งยืน


วันก่อการดี ๒๔ มีค.๒๕๕๔

อ่าน: 4240

วันก่อการดี ๒๔ มีค.๒๕๕๔ เป็นวันนัดหมาย ตามที่ผู้นำชุมชนบ้านใหม่อุดม ต.บ้านใหม่ ขอความช่วยเหลืออบรมหลักสูตรการเกษตร…ให้พี่น้องในต.บ้านใหม่ อ.หนองบุญมาก โคราชบ้านเอ๋งนะ

คณะผู้ก่อการดีอาม่าเป็นผู้ ชวนฝ่ายมีดีในการฝึกอบรม คือฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มทส.  ฝ่ายกองหนุน คือชมรมสว.๙ ศูนย์อนามัย๕ พร้อมเจ้าหน้าที่  และกองติดตามจากวุฒิอาสา ฯ.

อบรมที่บ้านใหม่

จัดฝึกอบรมที่ห้องประชุมโรงเรียนบ้านใหม่ไทยเจริญ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จาก ท่าน ผอ.กุศล เดชวรรณ มาร่วมต้อนรับ ด้วยตัวเองแล้วยังให้รองผอ. สงคราม ผู้เชี่ยวชาญการใชเทคโนโลยี และพร้อมคุณครูอีกหลายท่านมาอำนวยความสะดวกทั้งวัน ตั้งแต่เช้าจดเย็น อาม่าขอขอบพระคุณอย่างยิ่งไว้ในโอกาสนี้ด้วยค่ะ ทุกคนที่เข้ารับการฝึกอบรม ในครั้งนี้ ตั้งใจมากๆ เห็นแล้วชื่นใจ ยกเว้นอาม่าและชมรม สว.๙. ศูนย์อนามัยที่ ๕ บางท่าน  เจ้าหน้ที่ศูนย์อนามัย ลงสำรวจพื้นที่ทั้งตำบล โดยมีคุณจินดาผู้นำชุมชน พาศึกษาสภาพพื้นที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ สภาพดิน สภาพการทำการเกษตร และพบปะกลุ่มอาชีพต่างๆ นอกเหนือทำการเกษตร กลุ่มอาชีพธุรกิจชุมชนทำข้าวตังหน้าหมูหย่องระดับโอท๊อปห้าดาว ที่อร่อยกว่าของร้านเจ้าสัว แน่นอนอาม่าเป็นลูกต้าประจำ นำทีมซื้อทั้งหมด ๗๐๐ บาท  กลุ่มจำลองแกะหินสลักที่ฝีมือสุดยอด อาม่าซื้อผลงานมาหนึ่งชิ้น เป็นจำลองหินแกะสลักสะท้อนวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง อีกหน่อยใครมาเยี่ยมอาม่าก็จะให้หินแกะสลักชิ้นนี้อธิบายแทนวิถึชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง….

เศรษฐกิจพอเพียง

หลังจากกลับมาร่วมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม ทุกคนชมว่าอาหารอร่อยทุกอย่าง ทำเอาแม่ครัวเป็นปลื้ม เขาไม่ใช่ใครที่ไหนหรอกค่ะ เกษตรกรที่ปลูกข้าวต้นเดี่ยวที่เข้ารับการฝึกอบรมเมื่อวันที่ ๙ กพ.นี้เอง หลังจากจบการฝึกอบรม เราก็ถ่ายรูปร่วมกัน ต่างคนแยกย้ายกันกลับ ยกเว้นกลุ่ม อาม่าผู้ก่อการดี ที่ต้องไปติดตามผลงานการปลูกข้าวต้นเดี่ยว แล้วจะเอาภาพมาให้ดูแทนคำตอบ

แปลงนาปลูกข้าวต้นเดี่ยว

จากนั้นไปสวนผักหวานของคุณเจริญเป็นที่ถูกอกถูกใจ ชมรมสว.๙ ฯ. เห็นพันธุ์ผักหลากหลายชนิดและผักหวาน ต่างก็ซื้อกันสนุกสนาน แล้วแยกย้ายกันกลับ

พันธุ์ผัก

แต่มีรถเก่งอีกคันที่เดินทางมาจากวังน้ำเขียว ตามมาเพื่อขอพบอาม่า เลยบอกให้ขับรถตามรถ มทส.ซึ่งอาม่ากับทีมงานฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี ยังมีภารกิจต่อ ไปเยี่ยมสวนมะละกอฮอลแลนด์ต่อ

มะละกอฮอลแลนด์

และในที่สุดกลับมาถึงมทส.ส่ง อ.สถาพร ซ้อนสุข น้องฝน น้องนุช แล้วรถก็มาส่งอาม่ากับหมียักษ์ที่บ้าน แต่รถคันที่ขับตามมา กว่าจะถึงบ้านอาม่าก็มืดค่ำแล้ว เพราะไปรับคุณแม่ที่เดินและช่วยตัวเองไม่สะดวก อายุมาแล้วมาด้วย หลังจากได้คุยกันจนมืดค่ำก่อนจะกลับลำดับความไปมาเป็นญาติเสียแล้ว แม่ของจิ๋วบอกให้นับญาติกันค่ะ เลยได้น้องสาวเพิ่มอีกหนึ่งคน


ความมั่นคงทางอาหาร 13(เมื่อชุมชนขอมา อาม่าก็จัดให้)

อ่าน: 2096

ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน  โดยน้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับ ภูมิสังคม และความต้องการของชุมชน ที่อาม่าในฐานะวุฒิอาสาธนาคารสมอง โคราช ดูแลถึงสี่หมู้บ้าน  จึงมีแผนงานที่จะนำองค์ความรู้ที่เป็นหลักสูตร ในการทำการเกษตรรูปแบบต่างๆ ที่เป็นความต้องการของชุมชนในแต่ละพื้นที่  แต่ด้วยความพร้อมของแต่ละชุมชน แต่ละหมู่บ้านไม่เท่ากัน จึงจำเป็นที่จัดให้ชุมชนที่มีความพร้อมก่อนค่ะ

บ้านใหม่อุดม ต.บ้านใหม่ อ.หนองบุญมาก ซึ่งมีความพร้อมที่สุด อาม่าร่วมกับ ฝ่ายปรับแปลงและ่ถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้นำหลักสูตรต่างๆ ลงไปจัดฝึกอบรมและติดตามผล

การจัดฝึกอบรมมีดังนี้

ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ ลงไปจัดฝึกอบรมฯ เมื่อวันที่๙ กพ. ๒๕๕๔

ครั้งที่ ๒/๒๕๕๔

หลักสูตรที่จะอบรมวันที่ ๒๔  มีนาคม  ๒๕๕๔
ช่วงเช้า ๑. เกษตรประณีต ๑ ไร่ …..                     ๒. แก๊สชีวภาพ
ช่วงบ่าย ๓. การปลูกผัก ปลอดสารพิษ……..            ๔. การเพาะถั่วงอกอย่างง่าย
พออบรมเสร็จช่วงบ่าย จะไปดูแปลงปลูกข้าวต้นเดี่ยวที่ ลงมือปลูกหลังการฝึกอบรมฯ เมื่อ ๙ กพ. ๒๕๕๔   เพื่อติดตามผล หากมีปัญหาจะได้เก็บข้อมูลนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไปค่ะ



Main: 0.053472995758057 sec
Sidebar: 0.055377960205078 sec