ข้าวกล้องงอก
อ่าน: 2799คนไทยชาวชนบทโดยทั่วไป ในสมัยก่อน ทำนาปลูกข้าวพื้นเมืองไว้กินเอง เหลือกินจึงขาย และมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหลากหลาย ล้วนเป็นเสน่ห์ของแต่ละท้องถิ่นในทุกภูมิภาคของประเทศ ตั้งแต่เหนือจดใต้ ตั้งแต่ตะวันออกจดตะวันตก ไม่ว่าตะวันออกเฉียงเหนือ ดินแดนแห่งข้าวหอมอันลือชื่อจากทุ่งกุลาร้องไห้ หรือที่ราบลุ่มภาคกลางอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ สมัยก่อนเราปลูกข้าว อาศัยปุ๋ยจากธรรมชาติ ที่ธรรมชาติแจกจ่ายทั่วท้องทุ่งในฤดูน้ำหลาก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นเยี่ยม สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน เราปลูกข้าวนาปี แล้วทิ้งนาให้พักช่วงฤดูแล้ง บางพื้นที่เคยเป็นชุ่มน้ำพอถึงฤดูแล้ง ปริมาณน้ำกำลังเหมาะสำหรับปลูกข้าวได้ ก็มีการปลูกข้าวในช่วงแล้ง ล้วนเป็นการใช้ที่ดินสอดคล้องกับธรรมชาติ ขณะเดียวกันผืนนาบางแห่งพอมีความชื้นสามารถปลูกพืชตระกูลถัว ปลูกหอมปลูกกระเทียมได้ ก็จะทำการปลูก เพื่อใช้ในท้องถิ่น และ ขายหากมีเหลือ เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย แม้แต่ผักก็ปลูกตามฤดูกาล นอกจากนั้นก็ยังมีพืชผักมากมายที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ถึงฤดูกาล เขาจะแทงยอดอ่อน ออกดอก ออกผล ซึ่งเป็นทั้งพืชผักพื้นเมือง และผลไม้พื้นเมือง เหมาะกับสุขภาพของคนไทยในแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นความหลากหลายทางชีวภาพที่งดงาม อันเป็นผลพวงของชัยภูมิที่ตั้งของประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้น มีแสงแดด 12 เดือนต่อปี มีสองฤดูที่ชัดเจน คือร้อนกับแล้ง ฤดูร้อนก็จะมีฝนทำให้ฝุ่นลดลงความร้อนก็คลายลง มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก ปลายฝนย่างเข้าฤดูแล้งที่อากาศเย็นลง ที่เราเรียกหน้าหนาวของไทย ก็ถึงฤดูเก็บเกี่ยว พอผ่านช่วงแล้งอากาศเย็น ก็แล้งจริงจริงและร้อนพร้อมฝุ่น ผลไม้จากทุกภูมิภาคเริ่มสุก จากเหนือลงใต้มา เป็นฤดูผลไม้มีให้กินไม่หวาดไม่ไหว ทุกภูมิภาคก็จะมีผลไม้ของถิ่นนั้นๆ เป็นความหลากหลายที่ลงตัวตามธรรมชาติ
การบริโภคข้าวในสมัยก่อนของชาวชนบท มักจะใช้วิธีตำข้าวด้วยคลก และคลกกระเดื่อง สีข้าวด้วยเครื่องสีข้าวแบบง่ายๆ ข้าวที่ได้คือการทำให้เปลือกข้าวหลุดไป ข้าวที่ได้คือข้าวกล้องที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะข้าวพันธุ์พื้นเมืองซึ่งมีคุณค่าทางสารอาหารสูง และมีวิธีการเพิ่มคุณค่าของสารอาหารเพิ่มขึ้น ด้วยการแช่ข้าวกล้องใหม่ๆ ที่ได้จากการตำ หรือสี เพื่อให้น้ำซึมผ่านเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวไปกระตุ้นให้แป้งในเมล็ดข้าวเกิดการ เปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีกระตุ้นให้เกิดการงอก( Malting ) แล้วหุงกินทันที เช่นแซ่ข้าวกล้องค้างคืนไว้เช้ามาก็หุงกินได้เลย หรือปลอยให้มีการงอกเพิ่มขึ้นตามที่ต้องการ แล้วทำการหยุดการงอกด้วยการอบแห้ง ก็จะได้ข้าว เรียกว่าข้าวกล้องงอก(Germinated Brown Rice ) เป็นการเพิ่มคุณค่าทางสารอาหาร และสามารถเก็บได้นาน อย่างเช่นข้าวฮาง ของทางภาคอิสาน
สารที่สำคัญ โดยเฉพาะ สารแกรมม่า อะมิโน บิวทิริก แอซิด (Gramma Amino Butyric Acid : GABA ) หรือ สาร กาบา เป็นกรดอะมิโน ทีผลิตจากกระบวนการ ดีคาร์โบซีเลชั่น (decarboxylation ) ของกรดกลูตามิก ( glutatamic acid) กรดนี้จะมีบทบาทสำคัญ ในการทำหน้าที่ สื่อสารประสาท (neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนี้ สารกาบา เป็นสารสื่อประสาท ประเภทสารยับยั้ง (intibiter) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ช่วยให้สมองผ่อนคลาย หลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่กระตุ้น (anterior pituitary) ผลิตฮอร์โมน ที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อกระชับ และเกิดสาร ไลโปโทรปิก(lipotropic) ซึ่งเป็นสารป้องกันไขมัน
สารกาบา มีในข้าวกล้องงอกเป็น 15 เท่า ของข้าวกล้องธรรมดา สามารถป้องกัน การทำลายสมองจากสาร เบต้าอไมลอยด์ เปปไทด์ (Beta-amyloid peptide ) ซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียความทรงจำ โรค อัลไซเมอร์( Al-zhei-mer’s disease) ดังนั้นจึงมีการนำสารกาบา มาใช้ในวงการแพทย์ เพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ หลายโรค เช่นโรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ
——————————————————
(ข้อมูลจาก : แนวทางการพัฒนานวัตกรรม GABA ของ สำนักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ)
Next : เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน » »
4 ความคิดเห็น
ช่วงนี้ผมสนใจข้าวกล้องมากครับ คอยศึกษาอยู่ครับพี่
ดีแล้วค่ะ น้องเหลียงเพื่อสุขภาพหันมากินข้าวที่มีคุณภาพกันเถอะ
ของดีบ้านเราสมควรที่จะสนใจเอามาใช้ประโยชน์และขยายกัน ครับ
น้องบางทรายมีบางบริษัทผลิตข้าว กาบาจาก ข้าวก่ำเปลือกดำผสมกับ ข้าวหอมมะลิ 105 ขายในราคาแพง ถุงละ 115 บาท นน.แค่ 750 กรัมเองค่ะ ข้าวก่ำ มี สารลูทีน [ Lutein] สูงที่สุด สูงถึง 25 เท่าของข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นสารที่ป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก ยิ่งนำมาทำข้าวกาบา ยิ่งเพิ่มคุณค่าอีกมากมายเลยค่ะ