มาดูผีเสื้อตัวที่สอง ในสวนกันเถอะ
ความจริงแล้วมีผีเสื้อมากมายหลายชนิด ที่อยู่ในสวน แต่ก็ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาอวดโฉม โดยเฉพาะฤดูฝน จะมีจำนวนมาก และหลายชนิด มีทั้งตัวเล็ก จนถึงตัวโต แต่ที่โตที่สุดคือ
ผีเสื้อถุงทองธรรมดา (ชื่อสามัญไทย) Golden Birdwing(ซื่อสามัญอังกฤษ) Trodes aeacus Felder(ซื่่ือวิทยาศาสตร์) ซึ่งจะนำเสนอในตอนต่อไป
ส่วนที่นำเสนอไปแล้วในบันทึก เปลี่ยนบรรยากาศมาดูผีเสื้อดีกว่า ก่อนหน้านี้ เป็นผีเสื้อถุงทองป่าสูงค่ะ (Trodes helena Linnaeus )
วันนี้นำผีเสื้อตัวที่สองที่สามารถบันทึกภาพได้ เนื่องจากหยุดหาที่เหมาะๆวางไข่ค่ะ โดยทั่วไปจะบินว่อนเลือกหาน้ำหวานที่ถูกใจดูดกินกัน ยิ่งตัวขนาดกลาง ขนาดเล็ก บินเร็วมาก จับภาพได้ยาก มีตั้งแต่สีขาว สีนวล เหลืองอ่อน เหลือง เหลืองมีลาย พวกสีดำ สีน้ำตาลเข็ม พาดสีฟ้า พาดสีขาว ตำแหน่งที่พาด มีตั้งแต่ขวางกลางปีก จนพาดโค้งขอบปลายปีก ผีเสื้อพวกสีสรรสวยงาม ผีเสื้อดอกรัก ผีเสื้อกระทกรก เป็นต้นค่ะ
ผีเสื้อที่นำภาพมาให้ชมวันนี้คือ ผีเสื้อ วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง Family Papilionae (Birdwing and Swallowatials) ที่มีชื่อว่า
ผีเสื้อ หางติ่งนางระเวง (ชื่อสามัญภาษาไทย)
Great Mornon(ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
Papilio memnon (ชื่อวิทยาศาสตร์)
เกาะที่ใบชะบาสีชมพูค่ะ เป็นตัวเมียคาดว่าน่าจะ หาที่วางไข่ ข้อมูลดูเพิ่มเติมได้ที่
http://www.tat8.com/thai/activities/sk_butterflyibasic.htm
« « Prev : เปลี่ยนบรรยกาศ มาดูผีเสื้อดีกว่า
Next : มาดูความแตกต่าง ระหว่างตัวผู้ตัวเมีย » »
6 ความคิดเห็น
ลวดลายของผีเสื้อสวยงามอย่างวิจิตรเลยนะคะ สวยจริงๆ ค่ะ
สวยจริงๆ ค่ะอาจารย์
ได้ความรู้ ความคิด ความสวยงามตามธรรมชาติ
อภินันทนาการของสวยจากสวน น่าชมยิ่ง
ขอบคุณค่ะอ.กมลวัลย์ อยากให้อาจารย์เห็นตัวเป็นๆของผีเสื้อในสวน
สวยงามจริงๆค่ะ
ผีเสื้อสวย แต่สวยน้อยกว่าน้องราณีค่ะ
คารวะท่านครูบาฯ อันธรรมชาตินั้นสวยงามอย่างบริสุทธิ์
ใครได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ย่อมเป็นสุขค่ะ