บทที่ 5 ผู้ใช้ รายละเอียดส่วนตัวของคุณ
อ่าน: 7575บทที่ 5 ผู้ใช้ รายละเอียดส่วนตัวของคุณ
เมื่อท่านเข้ามาหลังโรงหรือ Dashboard แล้ว จะเจอหน้าต่างนี้ ให้คลิกที่ผู้ใช้
ให้คลิกที่ ผู้แต่ง& ผู้ใช้ อ่านต่อ »
บทที่ 5 ผู้ใช้ รายละเอียดส่วนตัวของคุณ
เมื่อท่านเข้ามาหลังโรงหรือ Dashboard แล้ว จะเจอหน้าต่างนี้ ให้คลิกที่ผู้ใช้
ให้คลิกที่ ผู้แต่ง& ผู้ใช้ อ่านต่อ »
บทที่ 4 เทคนิคบนลาน หลังโรง – Dashboard
เวลาสมัครสมาชิกลานปัญญาแล้ว ก่อนจะเขียนบันทึกก็ควรจะอ่านคู่มือลานปัญญาให้เข้าใจก่อน หลังจากนั้นก็ไปจัดการตั้งค่าที่สำคัญบางอย่างเช่น
ข้อมูล รายละเอียดของเจ้าของบล็อก
ตั้งค่าทั่วไป ชื่อบล็อกหรือชื่อลาน e-mail ที่ใช้ในการติดต่อกับลานปัญญา การตั้งรูปแบบของเวลาและวันที่ เดือน พ.ศ. ภาษาของเมนู
ตั้งค่าเกี่ยวกับการเขียน การอ่าน การถกอภิปราย(comments) ความเป็นส่วนตัว รูปแบบของลิงก์ ฯลฯ
ปลั๊กอิน
เช่นเดียวกับทุกบล็อกในลานปัญญา ลานเจ๊าะแจ๊ะก็เป็นบล็อกหนึ่งในลานปัญญาเช่นกัน มี Logos เป็นเจ้าของบล็อก เพียงแต่มีลักษณะพิเศษคือใช้ธีมที่ไม่เหมือนกับบล็อกอื่นๆ ในลานปัญญา
ลานเจ๊าะแจ๊ะเป็นเหมือนจตุรัสกลางเมือง ที่สมาชิกไปพบปะแลกเปลี่ยนเรื่องราว ตลอดจนทำกินกรรมร่วมกัน มักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับสมาชิกเป็นจำนวนมากจนการสื่อสารในช่องทางอื่นอาจจะไม่เหมาะ โดยข้อเท็จจริง สมาชิกลานปัญญา ต่างมีเวลาว่างไม่ตรงกัน การทิ้งข้อความไว้ในลานเจ๊าะแจ๊ะ จะช่วยให้สมาชิกสื่อข้อความถึงกันได้ โดยไม่ต้องไล่อ่านทุกข้อความในลานปัญญา
บรรยากาศในลานเจ๊าะแจ๊ะเป็นไปแบบไม่เป็นทางการ สมาชิกลานเจ๊าะแจ๊ะมักรู้จักกันเป็นอย่างดี จนกระเซ้าเย้าแหย่กันได้อย่างสนิทสนม; หากสมาชิกใหม่รู้สึกขัดเขิน ไม่รู้จักใครอย่างสนิทใจ แนะนำให้เป็นฝ่ายให้ก่อนครับ และก่อนอื่นให้ความจริงใจก่อนเลย เขียนเจ้าเป็นไผในบล็อกของตนเองก็ได้
สำหรับการใช้งานแล้ว
สมาชิกลานปัญญาที่จะเขียนบันทึกในลานเจ๊าะแจ๊ะ จะต้องแจ้งความจำนงค์ที่จะใช้งานก่อน แต่จะต้องมีรูปประจำตัว (gravartar) เสียก่อน จากนั้นก็ทิ้งความคิดเห็นไว้ที่ท้ายหน้าของบันทึก http://lanpanya.com/journal/archives/8
เขียนข้อความลงในช่อง Leave a Comment เสร็จแล้วคลิกที่ Post Comment ถ้าไม่มีรูปประจำตัวปรากฏขึ้น ถือว่าไม่ถูกกติกา
หลังจากที่เจ้าของบล็อกเพิ่มชื่อให้เข้าไปเป็นสมาชิกแล้ว ก็ล็อกอินเข้าระบบ แล้วเปิดหน้าลานเจ๊าะแจ๊ะ จะเห็นช่องให้เขียนข้อความทางด้านบน (ถ้ายังไม่เห็น แปลว่าเจ้าของบล็อกยังไม่ว่าง)
สำหรับสมาชิกลานเจ๊าะแจ๊ะ ลานเจ๊าะแจ๊ะจะทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี {ชื่อ} มีอะไรก็ว่ามา” แล้วมีช่องให้กรอกข้อความอยู่ทางขวาของรูปประจำตัว
เขียนข้อความลงในช่องกรอกข้อความนี้ ข้อความไม่ควรยาวนัก ไม่ต้องแต่งให้สวยงามหรือมีลูกเล่นใดๆ ใจความสำคัญกว่า เขียนเสร็จแล้วคลิกตรง Post It ทางขวา ข้อความก็จะปรากฏขึ้นเป็นบันทึกใหม่
เช่นเดียวกับการเขียนบันทึกในบล็อกที่สมาชิกเป็นเจ้าของ เมื่อเขียนไปแล้วแก้ไขอีกได้ เขียนแล้วตั้งเวลาโพสต์ได้ เขียนเตรียมไว้เป็น “ร่าง” เพื่อกลับมาแก้ไขในภายหลังได้ เมื่อพร้อมแล้วค่อยโพสต์ก็ได้
แต่ถ้าที่หน้าแรกของลานเจ๊าะแจ๊ะ ไม่ปรากฏช่องให้เขียน หมายความว่าท่านเขียนไม่ได้
เป็นเรื่องยากที่จะระบุออกมาให้ชัดเจน ว่าการเขียนอะไร-เขียนแบบไหนจึงเหมาะกับลานเจ๊าะแจ๊ะ
การเจ๊าะแจ๊ะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ใช้ได้หลายเครื่องมือ (โทรศัพท์ IM) แต่ลานเจ๊าะแจ๊ะน่าจะเหมาะกับการเจ๊าะแจ๊ะหมู่ ซึ่งหมายความว่าข้อความเป็นเรื่องที่มีผู้สนใจ และมีส่วนร่วมสนทนากันหลายคน
ซึ่งเราอาจสังเกตถึงสไตล์การเขียน ตลอดจนเรื่องราวที่เขียนกัน โดยอ่านจากบันทึกที่มีจำนวนความคิดเห็นเป็นจำนวนมากๆ เมื่อคลิกที่ชื่อของผู้เขียนบันทึก (อยู่ทางขวาของรูปประจำตัว) ลานเจ๊าะแจ๊ะจะแสดงบันทึกของสมาชิกผู้นั้น เราสามารถศึกษาเรื่องราวและสไตล์การเขียนที่เหมาะสมได้
บทที่ 8 อธิบายวิธีเขียนบันทึก ทำให้สามารถเขียนบันทึกบนบล็อกหรือลานของเราเองได้แล้ว แต่บทที่ 9 จะอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้บันทึกของเราสมบูรณ์ขึ้น
มาเริ่มกันด้วยตรงนี้นะครับ บริเวณที่ลูกศรหมายเลข 1 ชี้ จะมี เพิ่มสื่อ เป็นเรื่องของการนำภาพลงในบันทึกซึ่งอยู่ในบทที่ 13 นะครับ
ส่วน Visual จะเป็นคล้ายๆเครื่องมือใน Microsoft Word ครับ
ที่จะอธิบายเพิ่มก็เป็นการลิงก์ไปยัง URL ที่ต้องการครับ อ่านต่อ »
บันทึกนี้ปรับปรุงจากบันทึกของสาวตาที่ช่วยเขียนบทนี้ครับ แต่ตัดตอนแล้วเพิ่มบทที่ 9 ซึ่งจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับลูกเล่นในการเขียนบันทึกครับ
หลังจากที่ท่านทราบความเป็นมา กฎ กติกา มารยาท สมัครลานปัญญา จัดการรายละเอียดและตั้งค่าต่างๆของบล็อกของท่านเรียบร้อยแล้ว ก็พร้อมที่จะเขียนบันทึกแล้วนะครับ
ก่อนอื่นก็ต้อง Login หรือเข้าระบบก่อนครับ
การเขียนบันทึกจาก Microsoft Word 2007
บทนี้เขียนโดยการแก้ไขปรับปรุงบันทึกของรอกอด
ถ้าท่านใช้ Microsoft Word 2007 อยู่ ท่านสามารถเขียนบันทึกโดยเขียนใน Microsoft Word 2007 ได้เลย ซึ่งจะสะดวกมาก โดยเฉพาะท่านที่ชอบเอารูปมาลงในบันทึก เพราะท่านสามารถเอารูปมาลงไว้ใน Microsoft Word 2007 เลย เมื่อเขียนเสร็จก็ประกาศ (Publish) ขึ้นเป็นบันทึกในลานปัญญาได้เลย ไม่ต้องไปนั่งเอารูปขึ้นบันทึกแยกต่างหาก อ่านต่อ »
ลานปัญญาเป็นชุมชน Chaordic สมาชิกมีอิสระมาก แต่อิสระนั้น มาคู่กับความรับผิดชอบ เพื่อให้ชุมชนลานปัญญาอยู่ร่วมกันได้โดยมีการละเมิด หรือเบียดเบียนกันให้น้อยที่สุด ลานปัญญามีกฎเกณฑ์เพียงไม่กี่ข้อดังนี้
การละเมิดต่อกฎเกณฑ์เหล่านี้ อาจหมายถึงการระงับสมาชิกภาพ หรือลบบัญชีการใช้งาน หรือมาตรการอื่นๆ ตามแต่ผู้ดูแลระบบจะเห็นสมควร
บทที่ 13 การนำภาพลงในบันทึก
ลานปัญญาเป็นบล็อกชุมชนคนคุ้นเคย ซึ่งเชื่อว่าการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีอะไรมากกว่าการนำเอาความรู้หรือเรื่องตามอัธยาศัยมาแจกให้อ่าน สมาชิกส่วนใหญ่ เคยใช้ GotoKnow.org ในเรื่องของการจัดการความรู้มาก่อน
ต่อมากลุ่มผู้ใช้กลุ่มนี้ มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนอาจจะสร้างความรู้สึกว่าปริมาณการใช้งาน อาจจะกลบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติอื่นๆ ดร.สมพร ช่วยอารีย์ (มอ.ปัตตานี และ schuai.net) และคุณโสทร รอดคงที่ (bansuanporpeang.com) จึงได้ติดตั้งโปรแกรม Multiuser Wordpress ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2551 ตามคำแนะนำของ Conductor (คนเป็นนาย ตามใจฉัน ฯลฯ) หลังจากปรับระบบและแปลเป็นไทยอยู่สามวัน ลานปัญญาเปิดรับสมาชิกเป็นครั้งแรกในวันที่ 7 ก.ค.
ในเมื่อมีสมาชิกที่อยู่ในเมืองไทยมากขึ้น ก็มีการย้ายลานปัญญามาอยู่ในเมืองไทย ในวันที่ 13 ส.ค. 2551 ทำให้สมาชิกที่อยู่ในเมืองไทย เข้าลานปัญญาได้รวดเร็วขึ้นมาก [แนะนำให้ใช้ Firefox แทน Internet Explorer เนื่องจาก IE6 มีปัญหาหลายอย่าง ทำให้ช้าที่ตัว IE6 เอง]
ชื่อลานปัญญา ได้รับความกรุณาจาก อ.พินิจ พันธ์ชื่น (มรภ.จันทร์เกษม) อนุญาตให้ใช้ชื่อนี้ซึ่งเป็นชื่อบล็อกของอาจารย์ บมจ.อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (www.inet.co.th) ให้ความสนับสนุนอินเทอร์เน็ตและศูนย์คอมพิวเตอร์ มี Logos (ลานซักล้าง และ OpenCARE.org) เป็นผู้ดูแลระบบ
ชาวเฮฯ แลกเปลี่ยนและเรียนรู้อยู่บนความยอมรับนับถือกัน
ที่จริงแล้วในกลุ่มเฮฮาศาสตร์ ประกอบไปด้วยคนจากหลากหลายสาขาอาชีพ มาจากหลายพื้นฐาน หลายภูมิภาค หลายวัฒนธรรม หลายสำเนียง ประกอบอาชีพและมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน แต่ก็รวมกันอยู่ได้ด้วยการยอมรับกันและกันอย่างที่แต่ละคนเป็นอยู่ มีการพบปะแลกเปลี่ยนกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ ในรูปแบบการสื่อสารแบบต่างๆ ทั้ง instant messenger บล็อก โทรศัพท์ ไปรษณีย์ ตลอดจนการนัดพบกันตามโอกาส ฯลฯ
ชาวเฮฯ ไม่ต้องอวดอ้าง ใครดีอย่างไร อ่อนตรงไหน เมื่อคบกันไปนานๆ ก็รู้ได้เอง จนสนิทชิดเชื้อ เล่น แซว หยอกล้อกันได้อย่างพี่น้อง มีความเอื้ออาทรต่อกัน ในขณะเดียวกัน เฮฮาศาสตร์ก็เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ไม่มีใครสั่งใคร ไม่ต้องมีเครื่องแบบ ไม่ต้องคิดหรือทำแบบเดียวกัน ไม่ต้องชี้นำ จึงเป็นสังคมเล็กๆ ที่มีอิสระ; ชาวเฮฯ กระทำการทุกอย่างโดยการประสานงาน การอาสาทำเอง และการช่วยเหลือกันโดยไม่ต้องตอบแทน มีความเคารพนับถือกันคล้ายระบบเครือญาติ ในสังคม Chaordic
ตัวตนของชาวเฮฯ จึงเป็นของจริง ไม่สามารถเสกสรรค์ปั้นแต่งได้; ไม่ว่าจะใช้ชื่อจริงในลานปัญญาหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีชาวเฮฯ อื่นที่รู้จักตัวจริง
ลานปัญญาเป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของชาวเฮฯ แต่ไม่มีเงื่อนไขว่าชาวเฮฯ จะต้องมาใช้ลานปัญญาเท่านั้น เพราะชาวเฮฯ จะใช้เครื่องมือสื่อสารอะไรก็ได้ เพียงแต่ชาวเฮฯ ส่วนใหญ่ ใช้ลานปัญญาเป็นเครื่องมือหลักอย่างหนึ่ง
ในขณะเดียวกัน ลานปัญญาก็ไม่ได้ตั้งเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นชาวเฮฯ เท่านั้นจึงจะใช้งานได้; สมาชิกก็คือสมาชิก ชื่อกลุ่มต่างๆ เป็นเพียงคำเรียกขาน แต่ความผูกพันธ์นั้นเกิดจากใจและการกระทำ
โดยเหตุที่ลานปัญญาเป็นเครื่องมือที่ให้อิสระกับสมาชิก ที่จะปรับแต่งบล็อกของตนตามความต้องการ จึงมีขั้นตอนต่างๆ มีของเล่นให้ใช้มากมาย ซึ่งสมาชิกสามารถศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่างไรก็ตาม พึงระลึกไว้ว่าเมื่อเปิดใช้งาน สมาชิกสามารถใช้ได้แล้วโดยไม่ต้องทำการปรับแต่งใดๆ
สมาชิกไม่เปิดบล็อกก็ได้ เปิดบล็อกก็ได้ เปิดหลายบล็อกก็ได้
เพราะว่าลานปัญญาเป็นเว็บชุมชนคนคุ้นเคย เมื่อเปิดบล็อกแล้ว กรุณาแนะนำตัวเองให้สมาชิกอื่นได้รู้จักกันบ้าง ก็จะเป็นการเริ่มต้นสร้างเครือข่ายที่ดี