สวนผึ้ง - จากมุมมองภาคประชาสังคม (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 12 กันยายน 2011 เวลา 0:14 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1759

คุณพรทิพย์ สำเภา

เคยทำงานด้านทรัพยากรที่ กทม. มาสิบกว่าปี   น้ำเป็นสิ่งที่เย็น  แต่เป็นประเด็นที่ร้อนที่สุด  งานด้ารรณงค์ที่กรุงเทพฯ เครียด  รู้สึกว่าชีวิตเสียสมดุล  อย่างอยู่อย่างสงบสุขที่ราชบุรี  สามีเป็นคนที่นี่  เคยมาเห็นที่นี่เมื่อเจ็ดแปดปีก่อน  มาเริ่มทำไร่

พอมาอยู่รู้สึกว่ามีปัญหามาก  น้ำประปาก็ไม่ถึง  ต้องไปหิ้วน้ำจากอ่างเก็บน้ำ เลยคิดว่าทำไมไม่ทำอะไรสักอย่างเพื่อคนที่นี่  เลยนั่งคุยกับพี่ๆ  เพื่อนๆ  รวมทั้งหัวหน้าสุเทพที่โครงการอุทยานฯด้วย  มีปัญหาเรื่องไฟป่า  ทำอย่างไรที่จะให้ชาวบ้านรู้สึกว่าไฟป่าเป็นปัญหาของเขา  ต้องเข้ามาช่วยกันดูแล

ตัวเองมาอยู่ที่นี่  มาทำไร่  มาค้าขาย  เริ่มมีความรู้สึกว่าเราจะอยู่ที่นี่ได้อย่างไรถ้าคนที่มาเที่ยวที่นี่  มาเที่ยวธรรมชาติ  เรามีอาชีพค้าขาย  แต่ธรรมชาติมันไม่น่าเที่ยว  แล้วลูกเราจะอยู่กันได้อย่างไร?

เลยคิดที่จะช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติ  เลยรวมกลุ่มกัน  ต่อมาก็เกิดพัฒนาเป็นโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ให้ชาวบ้านศึกษาปัญหาของตัวเอง  หาทางออกปัญหาของตัวเอง  เริ่มพูดคุยกับชาวบ้าน  ศึกษาประวัติศาสตร์  จากคนที่มาอยู่ใหม่  เข้าไปรู้จักชาวบ้าน ให้เขาเริ่มคิด เริ่มตั้งคำถามกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ขายของอยู่ที่น้ำตก  ก็ชวนกลุ่มแม่ค้าคุยว่าถ้าน้ำตกเจ๊ง  เราที่ค้าขายอยู่ที่น้ำตกจะโดนเป็นคนแรก  ที่นี่ใช้น้ำประปาเป็นพื้นฐาน  ใช้ทำการเกษตรน้อยมาก  ต่างจากสังคมทางภาคเหนือที่มีระบบเหมืองฝาย  ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับน้ำจะมีการรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหา

แต่ที่นี่ความเชื่อมโยงของน้ำกับคนอาจจะไม่แน่นเหมือนกับทางเหนือ  กลุ่มแม่ค้าที่น้ำตกนี่แหละจะสัมพันธ์กับปัญหาของน้ำตก  ถ้าน้ำไม่มีจะเป็นคนแรกที่เดือดร้อน  เลยเป็นการทำงานของคนสองกลุ่ม  คือกลุ่มชาวบ้านที่ทำการศึกษาวิจัยกับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าน้ำตกซึ่งคิดแต่ปัญหาการค้าขาย  แต่ก็มีคนว่า  ยังไม่เป็นไข้แต่ก็กินยาพาราซะแล้ว  ยังมองว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นเรื่องการคาดเดา  ต้องพยายามทำให้เห็นความเชื่อมโยง  เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก

ปี 53 ต้องยอมรับว่าแล้งมากๆ  ปกติยังไงๆน้ำตกก็มีน้ำ  แต่ปี 53 น้ำตกชั้นล่างไม่มีน้ำ  เลยมีการพูดคุยกันว่าจะหาทางออกกันอย่างไร   คุณวิเชียรก็มาจัดเวทีสภาพลเมือง  เลยนำเสนอปัญหาของเราเข้าสู่สภาพลเมือง  มีการพูดถึงแนวทางและกลไกที่จะหาทางออกของปัญหา

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนเรื่องน้ำ อำเภอสวนผึ้ง  นายอำเภอเป็นประธาน  พรทิพย์เป็นเลขาฯ  เป็นงานที่ยาก  กว่าจะประชุมได้แต่ละครั้ง   ตอนนี้ก็ประชุมไปได้แค่ 2 ครั้ง

ทางนายก อบต.ก็ตั้งคณะทำงานชุดเล็ก เรียกว่าคณะทำงานบริหารจัดการน้ำตกเก้าชั้น  มีแม่ค้า  มีชาวบ้าน มีผู้นำหมู่บ้านเข้ามาเป็นคณะทำงาน  เป็นลักษณะการจัดการเชิงพื้นที่  มีการเก็บรายละเอียดของน้ำตก  เป็นจุดเริ่มต้นที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลน้ำตก

การจัดการน้ำตกที่อื่นอุทยานเป็นผู้ดูแล  แต่ที่นี่ขอบเขตของน้ำตกก็ไม่ชัดเจน ก็ต้องเริ่มด้วยการจัดการพื้นที่  เลยมีปัญหาประสบอุบัติเหตุ (ถูกรถไล่ชนจนบาดเจ็บ)

การทำงานบางครั้งก็ท้อ  ต้องเปลี่ยนตัวเองก่อน  แผนการฟื้นฟูน้ำตก  ปลูกป่า  จัดสร้างฝายชะลอน้ำ  เพื่อจัดระเบียบการใช้น้ำตกร่วมกับหน่วยงานต่างๆ  อยากมีส่วนร่วมในการคิดโครงการร่วมกัน  ทำงานร่วมกัน

ตัวแทนอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

เป็นมุมมองของหน่วยงานที่ไม่มีส่วนได้เสีย  สมเด็จพระเทพฯ โปรดให้มีการอนุรักษ์และศึกษาวิจัยในบริเวณนี้  โครงการนี้มีผู้ใหญ่ของประเทศเป็นกรรมการ  มีแผนฟื้นฟู  แผนป้องกัน

โครงการของสมเด็จพระเทพฯ  ส่วนมากเป็นโครงการเชิงบวก  แต่ที่สวนผึ้งที่มีเจ้าของหมด  ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ขากประชาชนฝ่ายเดียว  แต่จะเป็นนายทุน  ผลประโยชน์  ส่วนราชการ

งานที่สวนผึ้งไม่ใช่เรื่องหมูๆ  เอาไม่อยู่  เช่นทางราชการจะจับคนตัดไม้  ก็จะบอกว่าโครงการฯ ให้มาจับ  โครงการฯ ต้องปรับตัวให้เป็นเรื่องของการศึกษา

ที่โครงการฯ เป็นห่วงก็คือเรื่องที่เครือข่ายประชาสังคมที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมถูกคุกคาม

ประชาชนในพื้นที่อาจไม่เข้าใจแนวทางการทำงานของโครงการฯ

กำนันตำบลสวนผึ้ง

น่าจะมีการพิสูจน์สิทธิ  แล้วดำเนินการตามกฏหมาย  ปัญหาอยู่ที่การเช่า  สัญญามีอายุการเช่าสั้นไป

ปัญหาโฉนดชุมชน  ก็ต้องเช่าเหมือนกัน  จะทำอะไรก็ต้องผ่านคณะกรรมการที่มีฝ่ายราชการและทหาร

Post to Facebook Facebook


สวนผึ้ง - จากมุมมองภาคประชาสังคม

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 11 กันยายน 2011 เวลา 22:55 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1914

บ่ายวันที่ 23 สิงหาคม 2554

ความจริงเป็นหัวข้อ “สวนผึ้ง: แนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรจากมุมมองภาคประชาสังคม”

มีคุณวิเชียร คุตตวัส, คุณสมปอง อินทร์ทอง เป็นผู้ดำเนินรายการ

ภาคประชาสังคมที่มาร่วมพูดคุยมี

  • ครูวุฒิ บุญเลิศ
  • คุณพรทิพย์ สำเภา
  • คุณสกล คุณาพิทักษ์  กำนันตำบลสวนผึ้ง
  • คุณสมศักดิ์ เหลืองจรุงรัตน์  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนผึ้ง
  • ผู้แทนอุทยานธรรมชาติตามพระราชดำริฯ

วิเชียร คุตตวัส

เคยมาที่นี่ 20 กว่าปีที่แล้ว  สวยงามมาก  คิดว่าต้องช่วยกันรักษาธรรมชาตินี้ไว้ให้ลูกหลานของเราคนไทยได้ชื่นชม   อยากให้อาจารย์วุฒิเล่าเรื่องสวนผึ้งในอดีตให้เราฟัง  แล้วปัจจุบันท่านว่าอย่างไร?

ครูวุฒิ บุญเลิศ

เมื่อเช้าเห็นทุกท่านตั้งใจฟังเรื่องราวของคนที่อยากเป็นพระเอก เป็นระพินทร์ ไพรวัลย์  ผมอยากเป็นแงซาย  เป็นพรานท้องถิ่นในนิยาย  จะดูว่าระพินทร์ ไพรวัลย์เอาอะไรไปจากป่าแห่งนี้  หลักสูตรนี้เป็นการเรียนรู้เรื่องปัญหาความขัดแย้งในสังคม  เราจะจัดการความขัดแย้งอย่างไรในสังคมพหุวัฒนธรรม  คือความหลากหลายของวัฒนธรรม  ของผู้คน  ของความคิด  ของชาติพันธุ์ต่างๆ  ประสบการณ์เหล่านี้จะนำไปสู่การสร้างสันติสุขในสังคมอย่างไร

ต้องกลับไปมองว่าสังคมสันติสุขในองค์กร ในชุมชน  ประสบการณ์ตรงนี้น่าจะให้อะไรกับหลายๆท่าน เป้าหมายคือ เรียนรู้ความขัดแย้ง ท่ามกลางความหลากหลายของวัฒนธรรม   ความขัดแย้งนั้นจะจัดการอย่างไร? ถ้าเราเข้าใจประเด็นนี้แล้วจะนำไปสู่ความเข้าใจในวันที่จะมีการถอดบทเรียน วันที่ 26 นี้  เวทีนี้น่าเสียดายที่ไม่มีชาวบ้านในเวที  เพราะ 25 หัวหน้าพาไปลงพื้นที่

ในย่ามของผมมีรายงานแผนการปฏิบัติการและสรุปของเจ้าหน้าที่อุทยาน  ท่ามกลางความขัดแย้งของสังคม ของผู้คน เกี่ยวกับความไม่เข้าใจของวัฒนธรรมและวิถีชีวิต   ถ้าจะแก้ไขปัญหาโดยที่ไม่เข้าใจความหลากหลายของวัฒนธรรม  สุดท้ายมันก็แก้ไม่ได้   ในการถอดบทเรียนในวันที่ 26  มันไม่ใช่บทสรุป เพราะว่าภาคประชาชนหรือผู้คนที่นี่  ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือมีส่วนร่วมในสถานการณ์ไม่ได้อยู่ในเวทีนั้น

ความขัดแย้งที่นี่เป็นเรื่องของการจัดการทรัพยากร  การจัดการ ดิน น้ำ ป่า เป็นเรื่องของวัฒนธรรมของคนสองกลุ่ม  ภายใต้ผลประโยชน์ร่วมกัน  และการช่วงชิงทุนทางธรรมชาติ  ดิน น้ำ ป่า ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้ง

ทรัพยากรมันเป็นของหน้าหมู่หรือเป็นของสาธารณะ  ของหน้าหมู่ถูกตีความ  ถูกกำกับ ให้ความหมายอย่างไร   การที่ของหน้าหมู่  สมบัติสาธารณะหรือทรัพยากรถูกตีความและให้คำนิยามจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างไร  ตัวอย่าง วัฒนธรรมและความคิดของคนดั้งเดิมที่เป็นคนกระเหรี่ยงนั้น  เป็นความคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง  กินพออิ่ม นุ่งพออุ่น กินพอดี อยู่พอดี  วิธีคิดแบบนี้ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาแบบนี้ก็จะใช้ทรัพยากรอย่างนั้น ให้กับลูกหลานของเราในอนาคต

แต่ความคิด  วัฒนธรรมหรือความคิดอีกส่วนหนึ่งที่ต้องการให้มีคุณภาพชีวิตที่มีความสุข  มันต้องกินดี อยู่ดี การกินดี อยู่ดีก็คือการกินแบบเด็ดขาด  และการกินแบบโอ้อวด  ไม่ใช่กินแค่อาหารเท่านั้นแต่กินเรื่องศักดิศรี  ตรงนี้นำมาซึ่งความขัดแย้ง

พี่น้องคนไทยเชื้อสายกระเหรี่ยงอยู่สวนผึ้งมายาวนาน  ย้อนกลับไป 2311  ที่กรุงศรีอยุธยาแตก กองทัพจากทวายมาตามดูว่าที่ราชบุรีมีอะไรบ้าง  แล้วปะทะกันที่บางแก้ว  สมุทรสงคราม

2438 สมัยรัชกาลที่ 5  เมื่อมีการทำเหมืองแร่  สวนผึ้งก็เป็นจุดกำเนิดของการทำเหมืองแร่  พรบ. เหมืองแร่ปี 2444  ฝรั่งก็เข้ามาที่สวนผึ้ง  ผู้คนก็มีอยู่แล้ว  ตำบลสวนผึ้งก็เกิดขึ้น มีการตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านตกทอดกันมา  คนดั้งเดิมเป็นคนไทยเชื้อสายจีน  วิถีชีวิตดั้งเดิมคือการทำไร่โดยนอบน้อมต่อแผ่นดินกับธรรมชาติ   การนอบน้อมต่อแผ่นดินและธรรมชาติเราใช้วิธีทำไร่หมุนเวียนที่คนอื่นเรียกว่าการทำไร่เลื่อนลอย

การใช้ทรัพยากรในอดีตและปัจจุบันซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งมีความเป็นมาอย่างไร?  สวนผึ้งทางตะวันตกเป็นแหล่งผลิตไม้ฝาง  ไม้ฝางเป็นของป่าที่ส่งไปยังราชสำนัก  แล้ว็ส่งลงสำเภาไปเมืองจีน  รัชกาลที่ 2 มีตราสารบอกเจ้าเมืองราชบุรีว่าหาไม้ฝางให้ครบตามลำเรือที่จะลงสำเภา  ถ้าหาได้ไม่ตามจำนวนนั้นเจ้าเมืองราชบุรีก็จะมีโทษ  นั่นคือผลผลิตจากทรัพยากรป่าในช่วงนั้น

พอเข้าสู่ปลายรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3  ที่เหมืองแร่จากภูเก็ตเริ่มเข้ามา ชาวจีนเริ่มเข้ามา  นั่นคือเรื่องแรกนับตั้งแต่ไทยเริ่มทำสัญญาการค้ากับต่างชาติ  เหมืองแร่ก็อยู่มาเรื่อยๆ  จนถึงปี 05-07  เครื่องจักรก็เริ่มเข้ามา  เมื่อปี 28  สวนผึ้งมีเหมืองแร่ประมาณ 40 กว่าแห่ง ส่วนมากเป็นดีบุก

ในขณะเดียวกัน ราชบุรีเป็นพื้นที่ที่ดินดำ น้ำดี  ดินของทุ่งเขางูซึ่งเป็นแหล่งผลิตเซรามิก  เครื่องดินเผา  ก็ใช้ไม้จากป่าสวนผึ้งตะวันตกถูกป้อนเข้าสู่โรงงานเพื่อผลิตเซรามิก  โอ่ง  จะเห็นว่าด้านตะวันตก  ระพินทร์ ไพรวัลย์มาเยอะ  มาเอาทอง  เอาแร่  เอาไม้

หลังจากแร่หมดเมื่อปี 28 ก็นิ่งอยู่ช่วงหนึ่ง  พอยุคชาติชายก็เริ่มบูมขึ้นใหม่ คนก็หลั่งไหลมา  หลังจากปี 40  ระพินทร์ ไพรวัลย์ก็มาเยอะเลย  ตรงนี้มีแรงดึงดูด  มีคนเข้ามาทำธุรกิจรีสอร์ท

ปี 46-47  ถึงต้น 50  ประเด็นของพลังงานทดแทน  พืชน้ำมันก็มีเข้ามา  เป็นนโยบายของรัฐบาล  ทำให้มีการส่งเสริมปาล์มน้ำมัน  และยางพารา  เพราะมีประเด็นความขัดแย้งทางภาคใต้ทำให้ต้องหาพื้นที่ใหม่  ทำให้เข้ามาที่สวนผึ้ง  การใช้พื้นที่ต่างๆก็มากขึ้น

วัฒนธรรมของผู้คนจากข้างนอกกับคนข้างใน  ในการใช้ทรัพยากรมันต่างกัน  จากการกินอยู่อย่างพอดีก็เกิดปัญหาการช่วงชิงกัน

คุณวิเชียร คุตตวัส

ที่ราชบุรีปั้นโอ่งได้เพราะดินเหนียวของราชบุรีมีอลูมิเนียมมาก

คุณสกล คุณาพิทักษ์ กำนันตำบลสวนผึ้ง

เป็นกำนันตำบลสวนผึ้งมาตั้งแต่ปี 2544  เป็นผู้ใหญ่บ้านมาตั้งแต่ปี 2524  อยู่ในพื้นที่สวนผึ้งมาโดยตลอด  บรรพบุรุษก็อยู่มาโดยตลอด  พ่อมารับจ้างวันละบาท  อยู่มาเป็นร้อยๆปี  ต่อมาความขัดแย้งก็เกิดขึ้นในอำเภอสวนผึ้งเกี่ยวกับพื้นที่ทำกินและสิ่งแวดล้อม  พี่น้องชาวสวนผึ้งเป็นผู้ทีหวงแหนสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก  ต้นไม้ทุกต้นจะโค่นหรือจะตัดจะต้องขอขมา  มีการบอกเล่าเจ้าที่เจ้าทาง  แต่ทุกวันนี้ที่เกิดปัญหาขึ้นกับพี่น้องชาวอำเภอสวนผึ้งเกิดจากการที่ทางรัฐบอกว่ามีการบุกรุกทำลายป่า

ชาวอำเภอสวนผึ้งเป็นผู้บุกรุกหรือผู้บุกเบิก  การบุกรุกแสดงว่ามีกฏหมายเข้ามาควบคุมแล้ว  การบุกเบิกแปลว่ายังไม่มีกฏหมายใดมาควบคุมเราเลย  ที่เราทำมาหากินอยู่ทุกวันนี้เราไม่รู้ว่าบุกรุกหรือเปล่า? เพราะกฏหมายไม่ได้เข้ามา   อยู่ๆเข้ามาเมื่อปี 30  บอกว่าที่สวนผึ้งเป็นที่ราชพัสดุ  อ้างพระราชกฤษฎีกาที่ประกาศเมื่อปี 2481  ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี  พวกเราเป็นคนชายขอบเหรอ?   เป็นคนโง่ขนาดนั้นเหรอ ? ที่คิดจะมาขับไล่พวกเรา

รัฐมองเอาผลประโยชน์ของรัฐเป็นที่ตั้ง  ไม่เอาผลประโยชน์ของประชาชน  การมองของรัฐปัจจุบันต้องเปลี่ยนแปลง  ให้เป็นการอยู่ดีกินดี  อยู่อย่างมีความสุข  อยู่อย่างสันติสุข   ไม่ต้องยึดเอาผลประโยชน์ของรัฐ  ไม่ต้องยึดผลประโยชน์ของประชาชน  ยึดเอาความถูกต้องและความเป็นธรรมในปัจจุบัน  สังคมจะอยู่ได้และอยู่รอด  อยู่อย่างมีความสุข   ไม่ใช่เอาความรู้ เอาความเข้าใจ  เอาความสามารถ  ไปเรียนมาจากต่างประเทศ  เอามาหาประโยชน์ใส่ตัวเอง  เอายศ เอาศักดิ์ศรี เอาบ้านตัวเอง  ไปตีกับพี่น้องประชาชนเพื่อเอาตำแหน่งให้สูงขึ้น  บางคนเรียนดี เรียนสูง  มีความรู้แต่ไม่มีความคิด

มีความคิดแต่จะเอาผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่มองชาติบ้านเมือง ไม่มองทรัพยากรของชาติ

เรื่องป่าไม้  พี่น้องประชาชนรักและหวงแหนยิ่งกว่าชีวิต  ที่มีข่าวสวนผึ้ง  วังน้ำเขียว  แก่งกระจาน  ไม่อยากให้เกิดขึ้น  พี่น้องประชาชนจะอยู่กันอย่างไร  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับพี่น้องที่สวนผึ้ง  ที่วังน้ำเขียว  ที่แก่งกระจาน  การบุกรุกเป็นคนจากที่อื่น  มาทำสวนยาง  มาทำปาล์ม

ทุกวันนี้ชาวอำเภอสวนผึ้งกลายเป็นจำเลยของสังคม  ออกมาเรียหร้องสิทธิให้กับพี่น้องประชาชน  กลายเป็นตัวยุ่ง  คล้ายกับมีการประกาศกฏอัยการศึกในเขตอำเภอสวนผึ้ง ทำให้ผู้นำท้องที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนไม่ได้เลย

นักกฏหมาย  ผู้มีอำนาจ  ผู้มีบารมีทั้งหลาย  อยากให้หันมามองพี่น้องประชาชนบ้าง  อยากให้พี่น้องชาวอำเภอสวนผึ้งอยู่อย่างมีความสุข  ให้พี่น้องทั้งประเทศอยู่อย่างมีความสุข  อยู่อย่างสันติสุข

อยากฝากให้ช่วยดู ความต้องการของรัฐตรงกับความต้องการของประชาชนหรือไม่?

คุณสมศักดิ์ เหลืองจรุงรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนผึ้ง

มาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี 40  ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก อบต. ตั้งแต่ปี 51 เป็นห่วง มีความกังวล  สวนผึ้งมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก  จากรีสอร์ทสิบกว่าแห่งมาเป็น 70 กว่าแห่ง  ปัญหาของคนในชุมชนมีมากขึ้น  ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ปัญหาป่าไม้  ปัญหาแย่งชิงทรัยากรธรรมชาติโดยเฉพาะเรื่องน้ำจะทำอย่างไร?  คนเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณน้ำเท่าเดิม  ต้องใช้ชาวบ้านมามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งต่างๆเหล่านี้

อย่างน้ำตก อบต.เป็นผู้รับผิดชอบ  ก็พยายามโอนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำตก  เรื่องอื่นๆก็พยายามให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล สวนผึ้งมี 8 หมู่บ้าน  มีพื้นที่266,250 ไร่  ใหญ่กว่าบางจังหวัดอีก  ต้องอาศัยประชาชนมาช่วยดูแล  คนในแต่ละหมู่บ้านก็ต้องมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่หมู่บ้านของตัวเอง  อบต. ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ดูแลเรื่องงบประมาณและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ   ทำอย่างไรที่จะให้คนในเขตตำบลมีความสุข

คนที่นี่มีหลายชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยเชื้อสายกระเหรี่ยง  เชื้อสายมอญ เชื้อสายพม่า แม้แต่คนไทยเชื้อสายจีนอยู่ที่นี่ก็ไม่ใช่น้อย  ต่อไปจะมีการค้าขายเสรี  ไม่มีพรมแดนระหว่างประเทศแล้ว  เข้าออกได้ตลอด  มีข่าวว่าจะมีการเปิดการค้าชายแดนเกิดขึ้น  ก็ต้องเตรียมความพร้อมประชาชนของเราให้พร้อม  ว่าโลกเปลี่ยนไปแล้วเราควรจะวางตัวอย่างไร?

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมีส่วนร่วม การต้องดูแลผืนป่าของเราที่นี่  ถ้าเมื่อไหร่สวนผึ้งไม่มีป่า  ไม่มความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ  ก็จะไม่มีใครมาเที่ยวสวนผึ้งแน่นอน  ถึงจะใกล้กรุงเทพฯ เพราะจุดขายของเราคือเรื่องของธรรมชาติ

มีการช่วยกันสร้างฝายชะลอน้ำที่ต้นน้ำแล้วเพื่อป้องกันปัญหาน้ำป่าไหลหลาก  เคยมีข่าวน้ำป่าไหลหลากแล้วนักท่องเที่ยวต้องติดอยู่ในที่พัก  สมัยก่อนมีน้ำป่าก็มีการชะลอโดยต้นไม้  ปัญหาแก้ได้ อยู่ที่ความร่วมไม้ร่วมมือของคนในชุมชนและภาครัฐด้วยที่จะมาช่วยกันแก้ไข

ปัญหาเรื่องที่ดินซึ่งเป็นเรื่องใหญ่  ชาวบ้านคงเรียกร้องสิทธิในที่ดินทำกินในพื้นที่กายภาพ  ในปี 2538 ที่กรมธนารักษ์ได้เข้ามาสำรวจไว้  คงจะเรียกร้องเป็นเอกสารสิทธิในที่ดินทำกิน  หลัง 2538 แล้วกรมธนารักษ์จะให้เช่าอย่างไร?  ชาวบ้านก็ข้องใจว่าทำไมไม่มีการแจ้งว่าจะเข้ามาทำกินต้องไปขอเช่ากรมธนารักษ์ก่อน  ตอนนี้พัฒนาจนสวนผึ้งเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ

ถ้าต้องไปเช่าก็คงขอให้มีความมั่นคงหน่อยได้มั๊ย  เพราะว่าถ้าให้เช่า 3 ปี  ความมั่นคงของที่ดินไม่มี  อยากจะเรียกร้องว่าขอให้เช่านานกว่านี้ได้รึเปล่า?  ทำไมคนต่างชาติมาเช่าที่ดินในเมืองไทย เช่าได้ 30 ปี 90 ปี   แต่ในฐานะประชาชนคนไทย  ขอเช่า 30 ปีไม่ได้เหรอ ?   3 ปีนี่ปลูกต้นไม้ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวเลย  หน่วยงานของรัฐก็บอกว่าไม่ต้องเป็นห่วง  เช่าไปเลย  เขาต่อให้อยู่แล้วชั่วลูกชั่วหลาน  ใครจะรับรองได้ว่าจะได้เช่าตลอดไป  กู้ธนาคารก็ไม่ได้  สุดท้ายบางส่วนก็ต้องขายที่ดินไป

เหมือนวังน้ำเขียวที่ว่าอยู่ในป่าสงวน  ถ้าไม่ขายก็จะถูกยึดพื้นที่ไปก็เลยต้องขาย  น่าจะทำความเข้าใจระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานของรัฐ  เราน่าจะมานั่งโต๊ะกลมคุยกัน  เราไม่ค่อยได้คุยกันเท่าไหร่  เวลาทำประชาคมกับชาวบ้าน  ชาวบ้านจะไม่ค่อยรู้  และหลังทำประชาคมแล้วก็ไม่ได้คำตอบที่ถูกต้อง  ที่เป็นที่ยอมรับของชาวบ้านเรา  เร็วๆนี้ก็มีการพูดคุยกัน  แต่ก็ไม่มีข้อสรุป

มีการพูดถึงสวนผึ้งโมเดล  สวนผึ้งโมเดลหมายความว่าทุกคนต้องมาเช่ากับกรมธนารักษ์  แต่ชาวบ้านรับไม่ได้  ตรงนี้  ทำกินอยู่ในที่ของตัวเอง  อยู่ดีๆก็มีคนมาบอกว่าต้องมาเช่าผมนะ  อันนี้เรารับไม่ได้จริงๆ น่าจะมีการพูดคุยกันมากขึ้น น่าจะมีทางออกที่ดีกว่านี้  อยากให้กำหนดให้ชัดเจนว่าตรงไหนควรอนุรักษ์ไว้ให้สมบูรณ์  ไม่ให้เช่า

คุณวิเชียร คุตตวัส

เปิด VDO ให้ชม  แสดงถึงปัญหาน้ำจากน้ำตกเก้าชั้นที่ลดลง  มีคนสูบน้ำไปใช่ส่วนตัว  มีการจัดเวทีสภาพลเมือง  มี สส. (สามารถ พิริยะปัญญาพร) มาร่วมด้วย  หลังการพูดคุยก็มีคณะทำงานเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำตกเก้าชั้น

………

Post to Facebook Facebook


เสวนากับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว - สวนผึ้ง- 2

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 3 กันยายน 2011 เวลา 17:19 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2472

ภกญ. เบญจางค์ เคึยงสุนทรา ประธานกรรมการบริหาร บริษัทอัฟฟีฟาร์ม จำกัด

เบญจางค์ 2

ขอถาม 2 ข้อ  ข้อแรกสุขภาพคุณแม่  ทำอย่างไรถึงดีขึ้นหรือว่าหายได้ยังไง?  ข้อที่ 2  เคยทราบมาว่ารีสอร์ทที่นี่ขุดและใช้ท่อต่อน้ำแร่มาใช้ จะถูกกฏหมายหรือไม่ ?

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

คำถามแรกเรื่องสุขภาพคุณแม่  หลังให้เคมีบำบัดหมอก็แนะนำให้ไปอยู่ที่ที่อากาศดีๆ อยู่สวนผึ้งมาตั้งแต่ปี 38  รู้ว่าอากาศที่นี่ดี เลยให้มาพักฟื้นที่นี่

คุณวิเชียร คุตตวัส

เรื่องที่มีการใช้น้ำแร่และให้การรักษาพยาบาลด้วยไม่ได้อยู่ที่สวนผึ้ง  แต่อยู่ที่อำเภออื่น  ทางราชการกำลังดำเนินการอยู่  ว่าจะปิดสถานประกอบการดังกล่าวเพราะว่ามันไม่ได้ผลอย่างที่โฆษณา

ผศ. ว่าที่ ร.ต. สุรพล สินธุนาวา อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์  สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์

สุรพล1

อยากถามเรื่องเอกสารสิทธิ์  ที่ สปก. ที่นำมาทำรีสอร์ท “อนเปลี่ยนมือไม่ได้  อยากทราบความเห็นที่วังน้ำเขียวจะมีทางออกอย่างไร?  มีเพื่อนฝากถามข้อนึงเกี่ยวกับการบุกรุกที่ป่า  ที่นี่ใช้วิธีถางป่าหรือเผาป่าครับ ?

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

การบุกรุกแถวนี้เป็นเรื่องของคนที่ไม่ธรรมดา  คงจะผิดมารยาทมากถ้าจะไปวิจารณ์คนที่ไม่ธรรมดา  วิจารณ์ชาวบ้านอาจจะกล้าวิจารณ์  แต่คนที่บุกรุกสวนผึ้งบอกได้ว่าไม่ใช่คนธรรมดา  ที่ที่เดิมชาวบ้านทำกินแล้วถูกจับแต่กลายมาเป็นรีสอร์ทขนาดใหญ่ได้  แต่ก็มีภาคประชาสังคมกำลังทำงานอยู่

สวนผึ้งปัจจุบันที่ดูเหมือนว่าการบุกรุกของผู้ประกอบการจะเป็นปัญหาใหญ่มาก  แต่การบุกรุกทำรีสอร์ทไม่น่าจะเกิน 15%  นอกนั้นเป็นการบุกรุกเพื่อทำการเกษตร

วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัทการบินไทย จำกัด

มาสวนผึ้งครั้งแรกเมื่อ 20 ปีที่แล้ว  มาหากระเหรี่ยง  แต่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจการท่องเที่ยวโดยตรง   วันนี้มาอีกที่ก็ค่อนข้างจะประทับใจกับการได้สัมผัสบรรยากาศโดยรวม เป็นครั้งแรกที่ได้ยินความเห็นจากผู้ประกอบการ     ได้ยินว่าผู้ประกอบการไม่ได้มองแต่ในเรื่องของธุรกิจ  แต่มองในเรื่องจิตวิญญาณ  มองในเรื่องของความรู้สึก  ทำอย่างไรที่เราจะสามารถอยู่กับป่าได้อย่างสมดุล  ชื่นชมตรงนี้

เคยไปมาหลายที่   ไม่เฉพาะเมืองไทยแต่ที่ต่างประเทศด้วย เกี่ยวกับการอนุรักษ์สวนป่า  ต่างประเทศเขามองว่า  การใช้รถออฟโรดที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเข้าไปในป่าในเขา  เสียงมันค่อนข้างจะดัง  แต่ในเมืองไทยเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซลหมดเลย  จะรบกวนวิถีธรรมชาติของสัตว์ป่า อยากถามว่ามีแนวทางอย่างไรในเรื่องนี้

กลุ่มออฟโรด

ออฟโรดดีเซลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  ใช้ในการเข้าป่า  ขึ้นเขา  เครื่องดีเซลมีประสิทธิภาพของแรงบิดดีกว่า  เครื่องเบนซินจะดังกว่าเพราะเครื่องเบนซินต้องเร่งเครื่องส่งในการขึ้นที่ชัน

การไปจะเป็นการไปในกลุ่มก๊วนที่เล็กๆ  ไม่ได้ไปตลอดหรือไปเป็นประจำ  ส่วนใหญ่ก็จะไปในทางเก่าที่เจ้าหน้าที่ใช้  ไม่ได้บุกเบิกเส้นทางใหม่  ผลกระทบกับสัตว์ป่าก็คงจะไม่เท่าไหร่

กิจจา อาลีอิสเฮาะ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

ฟังจากวิทยากรทั้งสามท่าน  ผู้ประกอบการไม่ใช่คนในพื้นที่เลย  อยากจะทราบว่าภาคพลเมือง  ประชากร  ชาวบ้านที่อยู่ก่อน  หลังจากมีการประกอบการในพื้นที่  ชาวบ้านเดิม  คนในพื้นที่มีความพึงพอใจ  หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไร?  แค่ไหน?  อย่างไร?

อีกประการหนึ่งที่อยากจะทราบ  คนงานเป็นคนงานในพื้นที่  ดูจากธุรกิจแล้วไม่น่าจะเป็นคนงานในพื้นที่ 100%

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

บ้านสวนหงษ์เหิร  แรงงาน 14 รายเป็นคนในหมู่บ้านเลย  การศึกษาไม่เกิน ม. ปลาย  อีก 2 รายเป็นคนจากหมู่บ้านอื่น  Scenery ก็เหมือนกัน  ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในพื้นที่

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

ฟังจากภาคประชาชนแล้ว  ภาครัฐมีเครื่องมือที่สำคัญคือกฏหมาย  สิ่งที่รัฐทำไปไม่สามารถที่จะสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนได้ทั้งหมด  ถ้าดูพัฒนาการการบุกรุกที่ในลักษณะต่างๆ  เราจะพบว่าปัญหาจริงๆก็มาจากทหาร  แต่ทหารทำให้ชาวบ้านได้เดินเข้าป่าได้สดวก

หลักจากนโยบาย 66/23 และ 65/25  ท่านเดินเข้าป่าไหนก็ได้  ป่าอุ้มผาง ป่าสวนผึ้ง  ป่ากาญจนบุรี  เป็นปรากฏการณ์อันใหม่ที่ทหารและภาครัฐไม่ว่าจะเป็นกรมป่าไม้  ท้องถิ่นหรือภูมิภาคคือทางจังหวัดหรืออำเภอ  ก็ไม่ได้เตรียมตัวในเรื่องพวกนี้   ปัญหามันเกิดขึ้นรวดเร็วเหมือนไฟลามทุ่ง   จะทำให้เราได้ข้อมูลที่ทำให้เห็นว่าบทบาทภาครัฐหาจุดสมดุลของการแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชนและภาคชุมชน  รวมทั้งผู้ประกอบการต่างๆ   ขยายความไปถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติที่ควรจะได้นั้นอยู่ตรงจุดไหน  ซึ่งตัวแทนภาครัฐจะมาให้ข้อมูลในวันพรุ่งนี้

ขอขอบคุณที่วิทยากรพยายามชี้แจงให้เห็นปัญหาและอุปสรรค  เห็นว่าสิ่งที่เป็นจุดเชื่อมของภาคประชาชนกับภาครัฐก็คือการยอมรับในสถานะที่ตัวเองเข้ามาทำ  ทุกคนทราบว่าสิ่งที่ตัวเองเข้ามาทำอยู่นั้น  สถานะของที่ดินนั้นเป็นอย่างไร?

ขออนุญาตกาญจนบุรีด้วย   ทางฝ่ายทหารมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินไว้ใช้ในราชการทหาร พ.ศ. 2481

ถามว่าก่อนหน้านั้นมีสถานะทางกฏหมายอะไรรองรับความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน  ตอบว่ามี  คือกฏหมายตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่เรียกว่ากฏหมายบทเบ็ดเสร็จฉบับที่ 42   ที่ดินที่เป็นที่บ้านที่สวน  ถ้าใครได้ทำถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ก็คือเป็นโฉนดนั่นเอง

พ.ศ. 2484  เรามีพระราชบัญญัติป่าไม้เกิดขึ้น  พ.ศ. 2497  มีประมวลกฏหมายที่ดินเกิดขึ้น  พ.ศ. 2504  มีพระราชบัญญัติอุทานแห่งชาติเกิดขึ้น   พ.ศ. 2507 มีพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติเกิดขึ้น   พ.ศ.2518  มีพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเกิดขึ้น  แนวทางในการพัฒนากฏหมายในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่เรียกว่าประโยชน์สาธารณะ  มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง  แต่การดำเนินการของภาคประชาชนก็พึ่งเข้ามาหลังปี 2528

ยุคของน้าชาติคือเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ที่ดินจึงเป็นแหล่งต้นทุนการผลิตที่ผู้คนแสวงหา    ดีใจที่วิทยากรซึ่งอยู่ในพื้นที่สวนผึ้งได้พยายามที่จะรักษาจุดยืนอะไรบางอย่าง  เท่าที่ประมวลได้มีอยู่ 2 เรื่อง  คือสภาวะดั้งเดิมของความเป็นธรรมชาติ  กับความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในเมืองแล้วมาใช้บริการที่สวนผึ้ง  คงยากการที่จะอยู่ร่วมกันของความต้องการที่แตกต่างกันของ 2 ฝ่ายนี้ได้

แนวทางที่อยากเสนอแนะก็คือการเปิดโอกาสให้ทางภาคเอกชนเข้ามาพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับภาครัฐและชุมชน  ภาคประชาชนในสวนผึ้งนี้

พันโท ภาคภูมิ ศิลารัตน์ เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ 9 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

ภาคภูมิ1

อยากทราบว่ายังพอมีที่เหลือให้ทำรีสอร์ทมั่งมั๊ย?  (อยากได้มั่ง…..อิอิ)

ภาคเอกชนท่านได้คืนอะไรกลับคืนสู่พื้นที่บ้าง ?

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

Scenery เดิมเจ้าของชื่อลุงกะปุ๊  ลุงกะปุ๊ถ้ายังอยู่อายุก็เกินร้อยแล้ว  ที่หงษ์เหิรเดิมเป็นที่ของพ่อของป้าพัง  ถ้ายังอยู่ก็เก้าสิบกว่า   ยืยยันได้ว่าสวนผึ้งนี่มีคนอยู่แต่ดั้งเดิม  แต่ไม่สามารถไปขอเอกสารสิทธิ์ได้เพราะไม่มีบัตรประชาชน ไม่ได้บอกว่าไม่ใช่คนไทย  และที่ฝั่งซ้ายลำภาชีที่มีปัญหาดังกล่าว  ปัจจุบันสำรวจแล้วปรากฏว่ามี นส. 3 ก ไม่น้อยกว่า 2,000 แปลง  ของผม 2 แปลง   หมายความว่าขั้นตอน นส.3  แสดงว่าต้องมีการใช้ประโยชน์ก่อน 2497  ยังไม่อยากโต้แย้งไปถึง 2481 ว่าที่นี่มีชุมชนหรือไม่?   ขอเป็นตอนบ่ายซึ่งคุณวุฒิซึ่งเป็นลูกหลานที่เกิดที่นี่เลย  จะมาคุยความเป็นมา   กำนันตำบลสวนผึ้งก็เป็นลูกหลานที่เกิดที่นี่

ในเรื่องของพวกเราทำอะไรบ้างก็อยากให้มองเหมือนกัน  ถ้าเลิกประชุมแล้วพอมีเวลา  อยากให้เดินไปที่ลำธารแล้วมองไปที่ฝั่งตรงข้าม  เป็นที่ดินของบ้านสวนหงษ์เหิร  ซื้อไว้เพื่อปลูกสมุนไพร  ให้คนที่มาเที่ยวเข้าใจว่าที่นั่นคือป่า   ถ้ามองผ่าน Google Earth  จะมีเฉพาะที่บ้านสวนหงษ์เหิรที่ปลูกสมุนไพรไว้เท่านั้นเองที่เป็นป่า  และมีอยู่หย่อมเดียว   เราชอบเราจึงมาอยู่  เรารู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน

Post to Facebook Facebook


เสวนากับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว - สวนผึ้ง- 1

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 31 สิงหาคม 2011 เวลา 0:27 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3733

หลังจากฟังผู้ประกอบการเล่าเรื่องของธุรกิจการท่องเที่ยวที่สวนผึ้งให้ฟังพร้อมปัญหาต่างๆแล้ว  ก็ถึงคิวของการพูดคุย ซักถาม  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ภักดี ภักดิ์นรา  คราวนี้มาแปลก  พี่ตุ้มเราเปิดเกมส์ก่อนเลยครับ

ภักดี

พื้นที่มันน้อยลง  ก็มีคนไปหาพื้นที่ใหม่ๆ  อันนี้ทางชมรมฯ มีมาตรการอย่างไร? ที่จะป้องกันไม่ให้พื้นที่มันน้อยลงไปกว่านี้อีก

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

อยู่กลุ่มวิจัยน้ำด้วยก็ออกไปสำรวจต้นน้ำกับกลุ่มของคุณพรทิพย์  เราก็อยู่ภาคประชาสังคมด้วย  ถามว่าพื้นที่น้อยลง  คนมากขึ้น  แล้วเรามีนโยบายอย่างไร? 

เราเป็นคนชอบตั้งคำถาม  กลุ่มพวกเราก็จะไปตั้งคำถามว่าทำไมพื้นที่ตรงนั้นเกิดขึ้นมาใหม่ได้  ทำไมพื้นที่ตรงนี้เกิดขึ้นมาใหม่ได้  ส่วนราชการก็จะหาคำตอบเอง  มีการแจ้งความบ้าง แต่การกระทำแบบนี้เป็นดาบ 2 คม   เพราะว่าก็ต้องมีคนไม่ชอบการทำงานของกลุ่มเรา  ก็มีเรื่องของการถูกคุกคามความปลอดภัย  แต่ผมตัวใหญ่ก็ไม่ค่อยมีคนอยากมาใกล้เท่าไหร่  ผมก็เลยรอด

ไอริณ ดำรงมงคลกุล  ผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าว  ฝ่ายข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5

ไอริณ1

เป็นนักศึกษา สสสส. รุ่นสามและเป็นนักข่าวช่อง 5  ก็เคยมาลงพื้นที่ที่สวนผึ้ง  มาดูเรื่องสวนผึ้งโมเดล  แต่ไม่เคยทราบเลยเรื่องของ Scenery  สนใจเพราะว่า Scenery เองเป็นตัวดึงดูดของการท่องเที่ยวของราชบุรี  เหมือนพลิกภาพของการท่องเที่ยวของราชบุรี  ที่เคยเป็นเหมือนสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมีชาวบ้านทำงาน  แต่นี่เป็นอะไรที่อินเตอร์ๆ  อย่างมีแกะยังงี้  ทำให้การท่องเที่ยวที่ราชบุรีบูมมาก  

แต่ทำไมถึงได้อยู่ดีๆก็หยุดรีสอร์ททั้งๆที่เข้าใจว่าจองเต็ม  เม็ดเงินต้องไหลเข้ามาอยู่แล้ว  ทราบจากที่เล่าให้ฟังว่าไม่ค่อยมีความสุข  แต่ประเด็นไหนที่ทำให้ทิ้งมันไปได้เลย  ขณะที่สามารถทำกำไรได้   ทำไมถึงหยุดได้  คิดยังไง 

เพราะเนื่องจากว่าสวนผึ้งนอกจากว่าจะมีปัญหามี่ดิน  เรื่องการครอบครองกรรมสิทธิ์  แต่มันยังมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติ  ชีวิตความเป็นอยู่  ที่ปายเองก็มีการเปลี่ยนแปลง  ที่ว่ามีสามสถานที่ที่ถ้าไม่ได้ไปอย่าเพิ่งตาย  ตอนนี้ไม่เห็นด้วยแล้ว  เพราะปายไม่ใช่อย่างงั้น  สวนผึ้งเองก็ไม่ใช่อย่างงั้น  ไม่ได้รู้สึกเลยว่ามาสวนผึ้งแล้วมีความสุข  ที่ปายก็ไปแล้วก็ไม่ได้มีความสุข  เหลือเชียงคานยังไม่ทราบ  เลยไม่อยากให้เชียงคานเป็นแบบนั้น

ถ้า Scenery สามารถอธิบาย และเล่าไปสู่ภาคสังคมได้มากขึ้นว่าทำแล้วไม่มีความสุข  ทำแล้วทำให้สภาพพื้นที่มันเปลี่ยนแปลงไป  เข้าใจว่ารักในเรื่องของการมีความสุข  ถ้าสามารถทำเป็นโมเดลได้  ก็จะสามารถส่งต่อไปเชียงคาน  ส่งต่อไปหนองคาย  ส่งต่อไปอีกหลายๆที่ได้  เลยอยากทราบว่าคิดยังไง?

คุณพลกฤษณ์ สุขเกษม

จริงๆแล้วก็เหมือนเห็นแก่ตัว  แต่ก็ไม่ได้เลิกจ้างงาน  ยังเก็บไว้อยู่แปดสิบกว่าคน  เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยว   ถ้าทำธุรกิจไปถึงจุดหนึ่งแล้ว เรื่องเงินเป็นเรื่องที่หลายๆคนตัดสินใจยาก  สามปีที่ผ่านมา Scenery ก็รู้สึกว่าลูกค้าเราเริ่มเป็นเทวดามากขึ้นเรื่อยๆ  มีความรู้สึกว่า  จองที่นี่ได้  ต้องได้โง้นๆงี้ๆ  มันมาเปลี่ยนความรู้สึกว่ามีความสุขไป   ตอนแรกเราทำเพราะว่าเราทำในสิ่งที่มีความสุขมากๆ  แล้วเขาก็มาเสพสิ่งที่เราทำ  แต่ต่อมาเค้ามีความสุขมากเลยแต่เราเหลือความสุขน้อยลง  คือเขามาเปลี่ยนเรา

เพื่อนๆที่ภูเก็ตก็ทำ  แต่รู้สึกว่าทุกคนไม่สามารถข้ามเงื่อนไขของเงินไปได้  ก็ไม่ได้รวยมาก แต่ก็ไม่รู้ว่าเราจะเป็นโรคอะไรตายมั๊ย  แต่ยังไงตายแน่   สิ่งหนึ่งที่คิดว่าไม่ควรทำคืด  ถ้าตื่นมาแล้วรู้สึกว่าไม่อยากทำอันนี้  แล้วต้องมาบังคับตัวเองให้ทำทุกวัน  ก็จะป่วย  ป่วยทางจิตแล้วป่วยทางกายต่อ  

คิดว่าตัวเองเห็นแก่ตัว  เอาตัวเองรอดให้มีความสบายใจ  มีความสุขก่อน  Scenery ปิดตรงนั้นไปจะแย่ไหม?   โชคดีที่มีแกะมา   แกะที่มาแบบไม่ได้ตั้งใจแต่ก็เป็นสิ่งทำให้เราอยู่ได้  เราก็มีเงินใช้  ไม่เดือดร้อนมาก 

การที่จะให้โมเดลนี้เผยแพร่ออกไป   แค่เพื่อนที่โตมาด้วยกันคุยกันแล้วยังไม่สามารถเปลี่ยนได้  ทำธุรกิจกัน    ทุกที่ในประเทศไทยก็ติดในเรื่องของธุรกิจ    สิ่งที่ทำขึ้นมานี้ถ้าพอที่จะสะท้อนออกมาได้บ้างในเรื่องของเกิดอะไรขึ้นกับ Scenery   ก็มีกระแสบ้าง  มีสื่อมาช่วย  แต่ก็ได้แค่จุดประกายให้บางท่านเท่านั้น  ถ้าจะทำอะไรมากกว่านี้ก็จะมีกระแสต่อต้าน  มีคนว่าอยากดังรึเปล่า?  ทำดีอยู่แล้ว  ปิดทำไม?  แต่จะให้ความสำคัญกับความรู้สึกตัวเองมากที่สุด

ปุณณดา วรสินธุ์  ประธานกรรมการบริษัท พงษ์สุดาชาเลย์ จำกัด

ปุณณดา

ที่จริงบ้านเราอยู่ใกล้กัน  อยู่กาญจนบุรี ทำธุรกิจเดียวกัน  อยากถามว่าปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ของสวนผึ้ง   กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโฉนดหรือ นส. 3  หรือว่าเป็น ภบท.  หรือเป็น สค.

จุดหมายของสวนผึ้งจริงๆคืออะไร?  เพราะเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วมาสวนผึ้ง  ส่วนมากก็มาหาคนงานกัน  ถ้าอยากได้คนงานก็ต้องมาตอนกลางคืนแล้วกลับไปตอนตีสาม  พาแอบกลับไป  แต่ตอนหลังพอมีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวได้ก็ไม่มีปัญหาตรงนี้

ด้านการท่องเที่ยวสวนผึ้งแทบไม่มีอะไรเลย   แต่เป็นเพราะกระแสรึเปล่า  เป็นเพราะหนังสือท่องเที่ยวรึเปล่าที่บอกว่าถ้าไม่ได้ไปสามแห่งแล้วจะนอนตายตาไม่หลับ  อาจจะเป็นกระแสก็ได้

ที่เขาใหญ่ ถ้าพูดถึงระยะเวลาการเดินทาง  ไปง่ายกว่ามาสวนผึ้ง  ง่ายกว่ามากาญจนบุรี  เขาใหญ่มีธรรมชาติ  ต้นไม้  ก็ไปได้เรื่อยๆ   แต่วังน้ำเขียวดังเพราะปั่นกระแสเหมือนกัน  ผลสุดท้ายก็มีปัญหา

กาญจนบุรีแรกๆก็มีปัญหาเอกสารสิทธิ์  ตอนหลังกรมป่าไม้ออกสำรวจส่วนมากก็ได้โฉนดกัน แต่ก็จะมีติดเป็นที่ของทหาร  เพราะที่ไหนก็ทหาร  ทหารครอบครองที่มากเหลือเกิน   ตรงนั้นก็ทหาร  ตรงนี้ก็ทหาร  สังเกตดูว่าประเทศไทยจะมีแต่ที่ทหาร  ไม่รู้จะเก็บไว้ทำอะไร  เก็บที่ไว้  ปล่อยรกร้าง  จะเข้าไปทำมาหากินก็บอกว่าเป็นที่ของทหาร

ไม่ทราบว่ามีมาตรการอะไร  อย่างที่วังน้ำเขียว  เวลาเข้าไปจะทำกิน  ราชการก็น่าจะรู้แล้ว  ไม่ว่าจะทำรีสอร์ทหรือบ้านพัก  นี่ปล่อยให้ทำไปจนเสร็จ  ผ่านมาตั้งสามปีห้าปี  เพิ่งมาเจอ  แล้วมาบอกว่าไม่ถูกต้อง  อันนี้ก็เป็นเรื่องของทางราชการ

คิดว่าถ้าผิด  ราชการก็ต้องผิดด้วย โชคดีที่รีสอร์ทของตัวเองเป็นโฉนด  พูดถึงจุดขายสวนผึ้งไม่มีอะไรเลย  กาญจนบุรีมีแม่น้ำสองสาย  แควน้อยกับแควใหญ่   น้ำตกก็เยอะ  ถ้ำก็เยอะ ประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เยอะ   แต่สวนผึ้งเป็นอำเภอเล็กๆ  แต่ต้องชื่นชมมากๆว่าการพัฒนาในเรื่องของที่พัก  พัฒนาเร็วมาก   ทำให้คนอยากจะมาสักครั้งนึง   แต่มาแล้วจะกลับมาครั้งที่ 2 รึเปล่าก็อยู่ที่พวกเราผู้ประกอบการ

สิ่งที่อยากทราบคือเรื่องเอกสารสิทธิ์  ผู้ประกอบการที่สวนผึ้งถือเป็นอะไรไว้ ?

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

เอกสารสิทธิ์สวนผึ้ง 20% ของผู้ประกอบการเป็น นส.3  ส่วนที่เหลือเป็น ภบท.5 

เกือบจะทั้งหมด   90% ของรีสอร์ทในสวนผึ้งอยู้ฝั่งซ้ายของลำภาชี  อยู่ในแนวเขตทหารเดียวกันกับที่กาญจนบุรี  จริงๆเมืองกาญจน์เป็นเขตพื้นที่ทหารโดยสมบูรณ์ที่เขาประกาศไว้ตอนต้น   ที่บอกว่าไปตรงไหนก็มีแต่ที่ทหาร   เพราะตอนประกาศก็ประกาศครอบไปก่อน  พอตรงไหนไปเจอที่ชาวบ้าน ก็ให้ชาวบ้านไปพิสูจน์สิทธิ์เอง  ถ้าพิสูจน์น่าเชื่อก็ค่อยให้ออกเป็นโฉนด

เมืองกาญจน์นี่โชคดีมาก เพราะว่าเขาประกาศเขตเมืองกาญจน์เขายังให้โอกาสชาวบ้านเมืองกาญจน์พิสูจน์สิทธิ์จากการใช้ประโยชน์ที่ดิน   แต่เขาประกาศฉบับเมืองกาญจน์นี่  ในแผนที่ของเมืองกาญจน์เขตลากเขตเข้ามาในพื้นที่สวนผึ้ง  เป็นการประกาศที่หวงห้ามที่ดินเขตจังหวัดกาญจนบุรี

ก็ไม่อยากไปโต้แยังกับเจ้าหน้าที่   แต่ทำไมไม่ให้โอกาสเราพิสูจน์เหมือนคนเมืองกาญจน์บ้าง  คนอยู่สวนผึ้งถูกด่าอย่างเดียวว่าบุกรุก  เขาให้สิทธิ์คนที่ออก นส.3 ไป  พอจะรื้อฟื้นก็บอกว่าไม่ใช่อีกละ  บอกว่าออกผิด  อยากให้มีการจัดการที่ดินสวนผึ้งด้วยเหมือนกัน

เช่นถ้าบอกว่าเป็นที่ราชพัสดุทั้งหมดเลย ก็ยกเลิก นส.3 ไปให้หมดเลย  ผมเองนอกจากมีที่ดิน ภบท.5  ก็มีที่ดิน นส.3 ด้วย  ถ้าบอกว่ามันผิดก็ยกเลิกไปให้หมดเลย  ยกเลิกวันนี้เลย

เสริมนิดนึงที่ว่าสวนผึ้งมันอยู่ได้ด้วยอะไรกันแน่  มันมีจุดเด่นอะไร?  มันถูกปั่นกระแสเพื่อหลอกขายรึเปล่า?  มีลูกค้าที่เข้ามาปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 5 ครั้งก็มี  เขาชอบอากาศ  อากาศสดชื่น   ห่างจากชายฝั่งอ่าวไทย 75 กม.   ห่างจากชายฝั่งของฝั่งทะเลอันดามันประมาณ 75 กม.  อากาศของสวนผึ้งไม่มีที่อื่นเหมือน   อากาศเป็นสิ่งเดียวที่ที่อื่นก็ลอกเลียนไม่ได้   แนวติดเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเอกลักษณ์ของสวนผึ้งซึ่ีงพื้นที่เมืองกาญจน์ก็ไม่มี  จุดขายตัวหลักจริงๆของสวนผึ้งคืออากาศกับธรรมชาติ

       

 

 

          

 

Post to Facebook Facebook


สวนผึ้งโมเดล -1

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 30 สิงหาคม 2011 เวลา 0:30 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2113

การศึกษาดูงานกรณีศึกษาภาคกลาง - 4ส3

ในการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 3  การศึกษาดูงานในพื้นที่จริงถือเป็นหัวใจของหลักสูตร  สำหรับรุ่นที่ 3 ได้กำหนดการศึกษาดูงานกรณีศึกษาภาคกลางไว้ในวันที่ 23-26 สิงหาคม 2554  ที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดเพชรบุรี

23 สิงหาคม 2554

ออกเดินทางไปรับประทานอาหารกลางวันที่  Scenery Resort & Farm อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

13.30-14.30 น. รับฟังและร่วมพูดคุยกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวของอำเภอสวนผึ้ง  ในหัวข้อ “ สวนผึ้ง :แนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรจากมุมมองภาคธุรกิจท่องเที่ยว”

เริ่มรายการโดยคุณวิเชียร คุตตวัส  และคุณสมปอง อินทร์ทอง  ซึ่งเป็น สสสส. รุ่น 2

เริ่มให้ข้อมูลของจังหวัดราชบุรี    เดิมชื่อ ชยราชปุรี  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี  เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญสำคัญ เป็นสมรภูมิการรบหลายครั้ง  ที่สำคัญคือสงครามเก้าทัพ

ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดให้มีการประลองยุทธเสือป่าที่จังหวัดราชบุรี

ปัจจุบันก็มีชื่อเสียงเรื่องการปั้นโอ่ง  มีการต่อตัวถังรถที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ผ้าขาวม้าบ้านไร่  เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ  มีการปลูกดอกไม้ส่งออก

ที่ราชบุรีมีทุนทางสังคม  ทุนทางปัญญา  มีธุรกิจชุมชนและชุมชนที่เข้มแข็ง  สถิติอาชญากรรมต่ำ  น่าอยู่  แต่ก็มีปัญหา

มีการแนะนำตัว

  • มีผู้แทนผู้ประกอบการชมรมนำเที่ยวเขากระโจม (ออฟโรด์)  หรือกลุ่มออฟโรด
  • คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์  เจ้าของบ้านสวนหงษ์เหิร
  • คุณพลกฤษณ์ สุขเกษม  เจ้าของ Scenery Resort & Farm

กลุ่มออฟโรด

พื้นที่ตรงนี้เคยเข้ามาเมื่อสามสิบปีที่แล้ว  สมัยที่ยังทำเหมืองแร่  สมัยนั้นคนไทยยังเข้ามาไม่ถึง มีแต่กระเหรี่ยงหรือที่เรียกว่าชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามป่าตามเขา  ก็มีคนไทยที่อยู่รอบนอกทำไร่มันไร่อ้อย  เข้าออกบ่อยๆก็เห็นว่าเป็นพื้นที่มีธรรมชาติสมบูรณ์  สวยงามน่าจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทยได้

เลยเข้ามาหาที่เล็กๆแปลงหนึ่งที่อยู่กับชุมชนในพื้นที่  ไม่ได้บุกรุกอะไร  อยู่ริมถนนขอบทางนี่เอง แล้วก็ทำกัน  สักระยะหนึ่งก็เริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามา  ไฮไลท์ที่นี่มีเขากระโจมซึ่งมีทะเลหมอก  มีน้ำตกหลายๆแห่ง  ที่สำคัญที่สุดคืออากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี

การเดินทางก็ต้องอาศัยรถออฟโรดเพื่อรักษาธรรมชาติเอาไว้  ไม่อยากให้สร้างทางขึ้นไป  ต้องอาศัยรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้นที่จะเดินทางขึ้นไปได้

นักท่องเที่ยวที่มาจะบ่นกันว่าทำไมไม่ทำทางให้มันดีๆ  แต่พอได้ขึ้นไปสัมผัสข้างบนก็จะบอกว่า  ขอซักที่นึงในเมืองไทยเพราะบนยอดดอยทุกดอยก็มีถนนลาดยางขึ้นไปหมดแล้ว  ถ้าถนนดี  รถขึ้นมาได้ง่ายๆ  ธรรมชาติก็จะหมดไว  ขยะก็จะเยอะ  สัตว์ป่าที่มีอยู่อุดมสมบูรณ์ก็จะหนีหายไป

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

เป็นคนบางขุนเทียน  อยากเป็นระพินทร์ ไพรวัลย์ในเรื่องเพชรพระอุมา  ตำนานของสวนผึ้งถูกตีพิมพ์ในหนังสือเพชรพระอุมา  ชอบมาก  เข้ามาดูในพื้นที่  สวนผึ้งเป็นแหล่งที่กำเนิดของนิยายเพชรพระอุมา  ในหนังสือก็มีบรรยายถึงธรรมชาติ  สัตว์ป่า เป็นอะไรที่ติดตาต้องใจ

ในปี 2538  มีจังหวะว่างงานก็มาเที่ยวได้พบสถานที่แห่งนี้  เจ้าของขายก็เลยซื้อไว้  การสร้างรีสอร์ทเป็นเหตุบังเอิญ เดิมก็จะสร้างบ้านพักเฉพาะของครอบครัว แต่คุณแม่ป่วยเป็นมะเร็ง  ถ้าอยู่กรุงเทพฯ ไม่มีอะไรทำก็คงไม่อยู่มาจนทุกวันนี้  เดิมหมอบอกว่าจะอยู่ได้อีกไม่นาน  เลยย้ายมาอยู่ที่นี่

พอเริ่มทำเป็น Homestay กิจการไปได้  ก็ขยายไปเรื่อย  ทำค่ายภาษาญี่ปุ่น ค่ายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ไม่ใช่ของไทย  ทำให้ญี่ปุ่น  มีโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนไทยญี่ปุ่นระดับมัธยมปลาย

คุณพลกฤษณ์ สุขเกษม

อยากมีบ้านพักตากอากาศที่สงบเงียบ  เดิมทำธุรกิจอยู่ที่กรุงเทพฯ  เมื่อ 12 ปีก่อนมีเรื่องกอดอาร์มมี่ที่สวนผึ้ง  เลยคิดว่าแถวนี้คงจะสงบสุข  เพราะคนคงจะไม่มาแล้ว  ก็เลยเข้ามาดู  เป็นอย่างนั้นจริงๆ  ไม่มีคนเลย  ไม่มีรถวิ่ง  เรื่องกอดอาร์มมี่ไม่เกี่ยวกับคนในพื้นที่เลย

คดีความในเขตสวนผึ้งน้อยมาก  เกือบไม่มีเลย  ก็คิดว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ก็เลยมาสร้างบ้านอยู่  เดิมเป็นบ้านเฉลี่ยสุข  คือแบ่งให้เพื่อนๆมาพัก   เฉลี่ยไปเฉลี่ยมาไม่พอเฉลี่ยก็เลยสร้างบ้านเพิ่ม  สองหลัง สามหลัง  จนสุดท้ายมีสิบหลัง  เปิดเป็น Scenery Resort  คนมาพักเต็มตลอด  แต่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข  รู้สึกว่าผิดทางไปนิดนึง  เลยปิดที่พักไปแต่แหล่งท่องเที่ยวด้านหน้าก็ยังอยู่

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

รีสอร์ทแห่งแรกของอำเภอสวนผึ้งคือสวนผึ้งแลนด์  สร้างเมื่อปี 2538   ต่อมามีบัวพัฒนาในปี 2540  แล้วก็มีชมดอยในปี 2541  หงษ์เหิรก็ตามมาในปี 2543  ในช่วงต้นๆก็ทำกันไปแบบมือสมัครเล่น  เป็นลักษณะของ Homestay

มีการเปิดเขากระโจมในปี 2540  เริ่มมีคนรู้จักสวนผึ้งมากขึ้น  2545  มีคนเข้าเที่ยวสวนผึ้งเป็นชิ้นเป็นอัน  รีสอร์ทเริ่มเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ  ปี 2545 ก็น่าจะมีซักสิบกว่าแห่ง

คุณพลกฤษณ์ สุขเกษม

ทำไมสวนผึ้งเลี้ยงแกะ?  เดิมมีบ้านพักตากอากาศ  มีทุ่งหญ้า  ย้อนกลับไปว่ามีบ้านพักตากอากาศแต่ไม่มีรายได้  วัตถุประสงค์คือได้เงินด้วยแล้วก็สวยด้วย  เคยปลูกต้นหอมมาก่อน  ปลูก 45 วันกำไรแสนกว่าบาท  ต่อมาลงทุนอีกคราวนี้ขาดทุนสี่ห้าหมื่นบาท  เลยพบว่าในการทำการเกษตร  ไม่สามารถควบคุมดินฟ้าอากาศและควบคุมราคาพืชผลไม่ได้

เลยคิดเลี้ยงแกะไว้ดูเล่น  แต่คนผ่านไปผ่านมาก็หยุดดูกัน  จอดรถกันยาวเหยียดเลย  มีคนมานั่งปิกนิกกัน  คิดว่าน่าจะเป็นกิจการได้  เป็นการท่องเที่ยวได้เลยพัฒนาเป็นฟาร์ม  เพิ่มกิจกรรมต่างๆขึ้นมา  แล้วปิดรีสอร์ทไป

กลุ่มออฟโรด

บนเขากระโจมมีทะเลหมอก  มีเนินมหัศจรรย์  น้ำตกผาแดง  และเป็นจุดสูงสุดของเทือกเขาตะนาวศรี

ที่นี่มีปัญหาเรื่องน้ำ  มีการพบปะพูดคุยกันหลายครั้ง  แต่ก็ไม่มีข้อสรุป  แต่ป่าไม่เหมือนเดิม  ป่าเปลี่ยนแปลงไป

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

หงษ์เหิรอยู่ลำน้ำภาชี  มีปัญหาน้ำป่าทุกปี  แต่เรารับมือได้ตลอด  พวกที่มีปัญหาเพราะไม่รู้ทำเล  เลยเสียหาย

เดิมมีน้ำใช้ตลอดปี  แต่ปัจจุบันเดือนมีนาคม  เมษายนน้ำจะแห้ง  มีน้ำใช้แค่อาทิตย์ละ 2 วันคือวันอังคารกับวันพฤหัสฯ   ส่วนราชการบอกว่าวันเสาร์อาทิตย์ก็ไม่เปิดเขื่อน  จะเปิดให้เฉพาะเกษตรกรใช้  คุยกันก็รับเรื่อง  แล้วก็เงียบหายไปเหมือนเดิม  8 ปี เปลี่ยนนายอำเภอไป  5 คน  แต่ก็ยังเหมือนเดิม

นอกจากเรื่องน้ำ  ยังมีปัญหาเรื่องที่ดิน เดิมเราเสียภาษี ภบท.5  ไปทำเรื่องที่ที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง  ก็คิดว่า ภบท.5 ที่สวนผึ่งคงเหมือน ภบท.5 ที่ประจวบฯ ที่มีอยู่  มี สค.1

ในปี 45-46 ก็เริ่มมีข่าวว่าที่นี่เป็นที่ราชพัสดุ  ต้องเช่า  แล้วก็เงียบไป

ปี 48 ก็มีการรณรงค์ว่าช่วยเช่ากันหน่อย  ใครไม่เช่าก็จะเป็นผู้บุกรุก  ใครเช่าก็จะเป็นพลเมืองดีคือเป็นคนที่ไม่มีเจตนาบุกรุก  พอเริ่มมีรีสอร์ทเกิดขึ้นเยอะๆก็กลายเป็นเรืองใหญ่เรื่องโตไป  สรุปเรื่องของรีสอร์ท  ในฐานะที่อยู่ชมรมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว  ยืนยันได้ว่ามากกว่า 70% ได้ก่อสร้างในที่ที่ชาวบ้านทำกินกันมาก่อนแล้ว  ที่มีปัญหาคือ 30% ที่ไม่ทำในพื้นที่มีความลาดเอียงสูงบ้าง   เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านไม่ได้ทำกินนานมากหรือไม่ได้ทำเลย  ซึ่งแต่ละแห่งต้องพิสูจน์กันเอง  เราก็ได้รับเกียรติเป็นผู้บุกรุกที่ราชพัสดุไป

คุณพลกฤษณ์ สุขเกษม

ผู้ประกอบการในยุคแรกๆที่มาสวนผึ้งคงไม่ต้องบุกรุกอะไรกัน  ในยุคแรกๆมี่ที่ทำไร่ทำสวนกันเยอะมาก  อยู่ติดถนน  อยู่ใกล้ถนน  ขับรถผ่านมาเห็นชาวบ้านทำกินก็ไปถามว่าที่ตรงนี้ขายได้มั๊ย  ทำอะไรได้มั๊ย?

ในยุคหลังๆมา  เนื่องจากที่ที่อยู่ในพื้นที่ราบหรือใกล้ถนนหมด  ที่ไม่พอเพียงกันก็เลยต้องเริ่มหา choice ใหม่  ก็คือต้องขึ้นไปอยู่บนภูเขา  ตอนหลังๆเลยมีเรื่องของการขึ้นภูเขาเยอะ  พวกเราก็ไม่เห็นด้วย  ภูเขาที่เห็นเขียวๆก็ไม่ใช่ป่าเหมือนเดิม  แต่เป็นป่าไผ่  ป่าโล้นไปตั้งนานแล้วก่อนที่รีสอร์ทจะเข้ามาด้วยซ้ำ

คุณวิเชียร คุตตวัส

หลังจากป่าถูกโค่น  เวลาจะฟื้นจะเริ่มมีต้นสาบเสือก่อน เสร็จแล้วจะเป็นกล้วย  จากกล้วยก็จะเป็นไผ่  แล้วถึงจะเป็นไม้โต  ไม้ยืนต้น  ไม้เบญจพรรณ  ภูเขาที่เห็นแถวนี้ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไผ่  แสดงว่าป่าเริ่มฟื้น  ทิ้งไว้อีก 5 ปี 10 ปีต้นไม้ใหญ่จะเริ่มขึ้น  ที่สำคัญคือต้องไม่มีใครไปบุกรุกต่อ

เขากระโจมมีปัญหา  จะสามารถต่อต้านไม่ให้มีรถกระเช้าขึ้นไปอย่างที่ภูกระดึงพยายามจะทำได้ไหม? นักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามา  เสาร์อาทิตย์รถติด  แล้วจะรักษาธรรมชาติที่นี่ไว้ได้ไหม?

กลุ่มออฟโรด

พวกเราอยู่ในพื้นที่ก็เป็นคนเล็กๆ  แต่ก็พยายามอนุรักษ์กันตลอดเวลาจะต่อต้านไม่ให้มีการทำถนนหนทางที่จะขึ้นไป  เป็นการทำลายธรรมชาติ  แต่บางส่วนก็มีความจำเป็นภาครัฐ เขากระโจมก็มีส่วนในเรื่องความมั่นคงด้วย  การจะรักษาไว้ก็ต้องใช้นโยบายในเชิงรุก ถ้าคนน้อยก็ต้องมีอาสาสมัครช่วยดูแลพื้นที่  จะได้ดูแลกันได้

…………

มีคนพูดว่า  มีเชียงคาน  ปาย  และสวนผึ้งเป็นที่ที่ควรไปเที่ยวก่อนตาย

สื่อที่ช่วยประชาสัมพันธ์ก็สร้างปัญหาเหมือนกัน  ที่บ่งแห่งก็เหมาะกับคนบางพวก  บางคนไปแล้วไม่ชอบก็มี  เสน่ห์ของสวนผึ้งอยู่ที่อากาศ  เงียบ  สงบ  ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 200 กม. สวนผึ้งควรจะเป็นเมืองเล็กๆ  ไม่มีแสง สี เสียง  เพราะเสน่ห์จะน้อยลง

ธุรกิจกับคนพื้นที่  หมู่บ้านนี้มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 780 คน  แสดงว่าน่าจะมีคนไทยอยู่ประมาณ 1500 คนและมีชนเผ่าอีกประมาณ 2,000 คน  มี 19 รีสอร์ท  ไม่มีคนตกงาน  รีสอร์ทต้องรับสมัครคนทำงานตลอด

Post to Facebook Facebook


พูดคุยกับอาจารย์จิราพร บุนนาค

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 28 สิงหาคม 2011 เวลา 22:25 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1994

หลังการบรรยายของอาจารย์จิราพร  อาจารย์ก็เปิดโอกาสให้ซักถามหรือแสดงความคิดเห็น

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

แรงงานต่างชาติมีปัญหา  วัฒนธรรมไทยเราอาจให้ความสำคัญของความกตัญญู  เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยเราก็ดูแล แต่เหมือนกินบนเรือน ขี้รดหลังคา  เรามีความรู้สึกแบบนี้  เป็นความเชื่อที่บรรพชนเราสร้างไว้  สำหรับเรื่องรั้วชายแดนนี่  ถ้าเรามองย้อนไปที่มาเลเซีย  มาเลเซียก็มีรั้ว  แต่ไม่มีปรากฏการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชน  อันนี้ก็เป็นข้อสังเกตอีกอันนึง

ถ้าเราย้อนไปประเด็นในเรื่องของกรณีความขัดแย้ง  ในเรื่องของ นปช. เหตุการณ์วันที่ 10 หรือเหตุการณ์วันที่ 27   ผมคิดว่ามันเป็นปลายเหตุของขบวนการที่เกิดขึ้นของความขัดแย้ง  ถ้าถามว่าวันนี้สังคมไทยยังมีความขัดแย้งมั๊ย?   ทุกคนตอบเหมือนกันว่ามี   แต่ถามว่าทำไมความขัดแย้งที่มันมีอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่มีความรุนแรง  ตรงนี้หลักสูตรเราควรจะศึกษาว่าทำไมความขัดแย้งที่ยังมีอยู่  ทำไมถึงสามารถควบคุมได้และไม่พัฒนาไปสู่ความรุนแรง  ในมิติที่ท่านอาจารย์นำเสนอเป็นมิติที่เกิดความรุนแรงแล้วใช้สันติวิธีเข้าไปแก้  เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีความขัดแย้ง  แต่ปัจจุบันจะทำอย่างไรให้ภาพแบบนี้มันดำรงอยู่

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์อีกประการหนึ่งที่บอกว่า มิติความมั่นคงกับมิติทางเศรษฐกิจ   มิติทางสิทธิเสรีภาพและมิติทางชุมชน  มิติทางประชาสังคมนั้น  เป็นมิติที่ไม่มีใครเหนือใคร  ถูกต้องครับ  ท่านอาจจะไม่ได้ใช้คำพูดนี้   มิติพวกนี้เราจะทำอย่างไรให้มันเดินไปเป็นหน้ากระดานที่พร้อมๆกัน    เพื่อหาดุลภาพของความพอดี  ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางสภาความมั่นคงซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำหนดนโยบายด้านความมั่นคง  ต้องปรับบทบาทของตัวเอง

ผมคิดว่างานความมั่นคงวันนี้  ความมั่นคงทางทหาร  มิติด้านความมั่นคงของมนุษย์มันถูกกระจายไปหมด  บทบาทของสภาความมั่นคงอาจจะต้องเป็นแค่บูรณาการด้านความมั่นคง  แทนที่จะเป็นคนควบคุมหรือกำกับดูแลงานด้านความมั่นคง  เพราะไม่งั้นแล้ว  ข้าราชการที่อยู่ในสภาความมั่นคงที่มีอยู่แค่หยิบมือคงไม่มีทางที่จะทำงานด้านความมั่นคงได้ทุกมิติตามที่อาจารย์ได้นำเสนอมา

โครงสร้างของหน่วยงานด้านความมั่นคงต้องเปลี่ยนอย่างแน่นอน  ต้องเปลี่ยนเป็นแนวราบมากขึ้น  แต่ไม่ได้หมายความว่าทิ้งในแนวดิ่ง  เพราะถ้ารัฐยังให้ความสำคัญของโครงสร้างอำนาจและทางกฏหมายจะเป็นสิ่งที่อันตรายมาก  ผมเชื่อว่าบางสิ่งบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องมีกฏหมายเลย อาจจะแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าการใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือ  การบูรณาการงานด้านความมั่นคงะจในยุคใหม่จะมีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

อาจารย์จิราพร บุนนาค

ดิฉันคิดว่าดิฉันพูดเยอะมากเกี่ยวกับประเด็นการใช้สันติวิธีในการป้องกัน  ไม่ให้ปัญหาความขัดแย้งแปรเปลี่ยนไปเป็นความรุนแรง  แต่ท่านกลับบอกว่าดิฉันไม่ได้พูดเลย  เรืองของสภาความมั่นคงก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้   อยากฝากช่วยอ่านอะไรบางอย่างที่เป็นบทกลอนของ African Kids เป็นเด็กๆแอฟริกันที่เขาเขียนส่งไปประกวดที่สหประชาชาติ และได้รับรางวัลชนะเลิศของสหประชาชาติในปี 2006   บทความนี้มีคุณค่าสำหรับชาวโลก

When I born, I black เมื่อผมเกิด  ผมผิวดำ

When I grow up, I black           เมื่อผมโตขึ้น  ผมก็ยังผิวดำอยู่

When I go in sun, I black          เมื่อผมอยู่ใต้แสงแดด  ผมก็ยังคงผิวดำ

When I scared, I black             เมื่อผมกลัว  ผมก็ผิวดำ

When I sick, I black                 เมื่อผมป่วย ผมก็ยังผิวดำ

And when I die, I still black       และเมื่อผมตาย  ผมก็ยังผิวดำ

And you white fellow               และคุณ  เพื่อนมนุษย์ผิวขาว

When you born, you pink         เมื่อแรกเกิด  คุณมีผิวสีชมพู

When you grow up, you white เมื่อคุณโตขึ้น  คุณมีผิวสีขาว

When you go in sun, you red เมื่อคุณอยู้ใต้แสงแดด  คุณมีผิวสีแดง

When you cold, you blue         เมื่อคุณหนาว  คุณมีผิวสีน้ำเงิน

When you scared, you yellow เมื่อคุณกลัว  คุณมีผิวสีเหลือง

When you sick, you green       เมื่อคุณป่วย  คุณมีผิวสีเขียว

And When you die, you grey    เมื่อคุณตาย  คุณมีผิวสีเทา

And you calling me colored ?? และคุณเรียกผมว่า  คนผิวสี ??

ลองเอาไปคิดดูว่ามันมีนัย  มีความสำคัญอะไร??

พี่สามารถ วราดิศัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส  มากล่าวขอบคุณอาจารย์  สรุปว่า  เจอของจริง

Post to Facebook Facebook


สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่ (3)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 27 สิงหาคม 2011 เวลา 22:21 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1830

19 สิงหาคม 2554   9.30-12.30 น.

อาจารย์จิราพร บุนนาค

อยากให้รับทราบปัญหา  สถานการณ์ที่ถูกต้อง  แล้วจะนำไปสู่การเลือกการแก้ปัญหา  จะใช้ความรุนแรงหรือสันติวิธี

ปี พ.ศ. 2550 มีการประเมินสถานการณ์  ในอนาคน 5 ปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น  โดยอาศัยข้อมูลจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ  และเครือข่ายข่าวกรอง  และฟังจากทุกภาคส่วน  ให้ความสำคัญกับข้อมูล  ความจริง  ความเห็น  และปัญหาของทุกฝ่ายเท่าเทียมกัน

จากภาคประชาชนฐานราก  ในแต่ละปัญหาที่เกี่ยวข้อง  NGO, ภาคเอกชน, กลุ่มเด็ก เยาวชน, กลุ่มสตรี, ผู้นำชุมชน, ผู้นำท้องถิ่น, นักการเมือง, ผู้นำศาสนา,  ฟังคนชายขอบ, คนที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ  วัฒนธรรม,  แรงงานต่างชาติทั้งที่จดทะเบียนและลักลอบเข้ามา

ฟังและเห็นคุณค่าของคนที่มาพูดให้ฟัง เพื่อหาแนวทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ทำได้จริงในการแก้ปัญหา

คำนึงถึงผลประโยชน์ นโยบาย และยุทธศาสตร์แห่งชาติ  ต้องมีข้อมูลที่เป็นจริงและปฏิบัติได้จริง

ใช้การทำงานระบบเครือข่าย  ภาครัฐและนอกภาครัฐแบบมีส่วนร่วม  ถ้ากระบวนการการมีส่วนร่วมถูกต้อง  จะมีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วม  เท่าเทียม  มีความเป็นเจ้าของนโยบายและยินดีร่วมมือปฏิบัติตามนโยบาย

อุปสรรคไม่ได้อยู่ที่ภาคประชาชน  แต่อยู่ที่ภาครัฐ  ที่ติดอยู่กับวิธีคิดแนวดิ่ง  คือ อำนาจและการอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นต้นทุนของสังคมไทย

อำนาจและอุปถัมภ์ ถ้าใช้ด้วยความจริงใจ  ไม่มีผลประโยชน์ซ่อนเร้น  ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก  ก็จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน

แต่ถ้ามี Hidden Agenda อำนาจและอุปถัมภ์ก็๋จะเกิดจุดอ่อน

สังคมไทยยังไม่สามารถก้าวข้ามอำนาจและอุปถัมภ์

ใช้สันติวิธีเป็นแนวคิดในการทำงาน บทเรียนจากทั่วโลก ความขัดแย้งที่รุนแรงถึงตายไม่มีประเทศไหนจบได้ด้วยความรุนแรง  อาจารย์ยกตัวอย่างที่อัฟกานิสถาน พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา อาเซอร์ไบจาน แอฟริกา ไอร์แลนด์เหนือ

ความรุนแรงทั่วโลก  ไมีมีประเทศไหนจบได้ด้วยชัยชนะของกองกำลังทหาร  บทเรียนในประเทศ  การแก้ปัญหาด้วยอำนาจและการใช้กำลังก็ไม่เคยสำเร็จ

แนวทางสันติวิธีเห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้น    เรื่องของผลประโยชน์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ  ที่ดิน  น้ำ  ทำให้เกิดความขัดแย้ง  แต่สันติวิธีจะทำให้เราอยู่ร่วมกับความเห็นต่างและความขัดแย้ง  สันติวิธีจะป้องกันความขัดแย้งไม่ให้แปรเปลี่ยนเป็นความรุนแรง

ทฤษฎีสันติวิธี  (ทหารอาจเข้าใจว่าสันติวิธี เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน  เพราะให้ทหารอยู่เฉยๆ)

  1. อำนาจ
  2. สันติวิธี ต้องทำ  ไม่ใช่อยู่เฉยๆ  ต้องไม่เกลียดชังกัน  มุ่งสู่ความเป็นธรรม
  3. ต้องอดทน  ยอมรับความทุกข์  การเสียหน้า

วิธีการ

  1. การประท้วงเชิงสัญญลักษณ์
  2. การไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐ
  3. วิธีการแทรกแซงทางตรง

สันติวิธีมี 2 บริบท

  1. เปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการเปลี่ยนใจ  ไม่ให้ใช้ความรุนแรง
  2. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ข้อจำกัดของสันติวิธี

  1. ขึ้นกับการเตรียมตัว เตรียมความพร้อม
  2. สันติวิธีก็อาจต้องเผชิญกับการใช้ความรุนแรงของฝ่ายตรงข้าม
  3. อาจไม่ประสบความสำเร็จ

การจัดการกับข้อจำกัด

1. การประเมินสัญญาณทีร่ส่งมาจากอีกฝ่ายหนึ่ง  หมายความว่าอย่างไร? 

กรณีหินกรูด  มีการประท้วง  ทางรัฐไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้อง  ประชาชนก็ไปบริจาคเลือดเก็บไว้ที่โรงพยาบาล  ถ้ามองมุมลบ  ฝ่ายประท้วงเตรียมใช้ความรุนแรง  แต่ถ้ามองมุมบวก  การข่าวดี มีประสิทธิภาพก็จะทราบว่าไม่ได้เตรียมไว้ใช้ความรุนแรง  อาจจะมีความรุนแรงจึงเตรียมไว้

หรือกรณีอำเภอจะนะ สงชลา  การที่ประชาชน นั่งรถมามีไม้ปลายแหลมผูกผ้าสีแดง  ทางรัฐประเมินสัญญาณว่าเป็นการเตรียมใช้ความรุนแรง  เลยสลายการชุมนุม  แต่ประชาชนอาจไม่คิดแบบนี้

2. ข้อขัดแย้งที่จะนำไปสู่ความรุนแรง  เหตุผลใช้ไม่ได้  เพราะข้อมูลที่แต่ละฝ่ายมีเป็นข้อมูลคนละชุด  ความจริงที่รับรู้  สะสมของแต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน  ไม่เหมือนกัน  การแก้ที่ต้นเหตุคือการทำให้รับรู้ความจริงชุดเดียวกัน  ต้องพิสูจน์ความจริง  ใช้กลไกของนิติวิทยาศาสตร์  ให้คนยอมรับร่วมกันให้ได้

3. ความเชื่อ  “ความเชื่ออยู่เหนือความจริง”  ทำให้แก้ปัญหายากขึ้น  เช่นประเด็นทางการเมือง  คนเสื้อแดง (นปช.) ที่รับรู้สะสมจนกลายเป็นความเชื่อเรื่องสถาบันสูงสุดก็เป็นส่วนหนึ่ง  ความเชื่อเรื่องทหารและรัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ ทำอะไรกับคนเสื้อแดงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ส่วนคนเสื้อเหลืองก็จะมีความเชื่อต่างกันออกไป  ทำให้การพูดคุยทำได้ยาก  เพราะความเชื่อ  ความจริงเป็นคนละชุด 

ดังนั้นเวลาเกิดปัญหาขึ้นมา  เมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้น  ต้องแก้ที่ตัวคน  แก้ที่ความเชื่อ  วิธีคิด  แก้ด้วยความจริง  เป็นสิ่งสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป

เป็นส่วนที่ลึกมาก  ปกติคนจะมองแค่สถานการณ์  เหตุการณ์ซึ่งเป็นแค่ผิวหน้าของสถานการณ์  เบื้องหลังยังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง  กฏหมายที่ไม่เป็นธรรม  ระบบ  วิธีแก้ปัญหาที่ทำให้มีความรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม

ส่วนที่ลึกที่สุดเป็นมิติทางวัฒนธรรม  วิถีชีวิต  วิธีคิด  ความรู้สึก  อารมณ์ 

การพูดคุยด้วยความจริงใจ  ในกรณีที่ความเชื่อ  ความจริงแตกต่างกัน  ความบริสุทธิใจ  ความจริงใจ  ความเท่าเทียมกัน  จะสร้างความรู้สึก  บรรยากาศที่เป็นพวกเดียวกัน 

การให้เกียรติกัน  เห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน  จะเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเชื่อกัน

ถ้ารัฐเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน  รัฐต้องเป็นฝ่ายให้เกียรติ  ให้ความเสมอภาค  ความเท่าเทียม

คนที่เหนือกว่า คนที่มีอำนาจต้องเริ่มก่อน  ให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรมถึงความจริงใจ

ตอนที่ นปช. และรัฐบาลอภิสิทธิ์คุยกัน  ลึกๆที่พบคือรัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญในความรู้สึกและอารมณ์

ในบรรยากาศแบบนี้เหตุผลใช้ไม่ได้  ต้องให้ความสำคัญที่ความรู้สึกและอารมณ์

win-win ไม่ใช่การพบกันครึ่งทาง  ที่สำคัญของ win-win คือ win-win ในความรู้สึกและอารมณ์  เกิดความพอใจเพราะให้เกียรติ เคารพ  เห็นคุณค่า  ให้ความเท่าเทียม  คนที่ให้อาจมีความรู้สึกว่าชนะ  ไม่ดูแค่ผิวหน้าของสถานการณ์ขณะนั้น

เวลาเผชิญหน้ากับความรุนแรง  สิ่งที่พบเสมอคือความไม่ไว้ใจกันมีสูงมาก 

ทหารใช้กฏหมายพิเศษจัดการด้วยความรุนแรงเพราะปัญหามีชายชุดดำ  แต่ นปช. ก็เห็นว่ามีชายชุดดำในอีกฝ่ายหนึ่ง  ประเมินในเชิงลบ  ก็จะไม่ไว้ใจ  จะใช้ความรุนแรงก่อนเพื่อป้องกัน

หัวหน้าการ์ด นปช. ก็มีปัญหากับเสธ. แดง  ไม่ให้ดลุ่มของเสธ. แดงเข้ามาใช้ความรุนแรง

วันที่ 10 เมษายน  มี ฮ. ทหารทิ้งก๊าซน้ำตาลงมาที่ฝูงชน  ทำให้มีคนบาดเจ็บ  เป็นความรุนแรงที่คาดไม่ถึง

ทหารก็มองว่าการเสียชีวิตของ พันเอกร่มเกล้า  ก็เป็นความรุนแรงที่คาดไม่ถึง

มองย้อนกลับไป  เหตุความรุนแรงคือการมองภาพลบของงานการข่าว

นปช. ไม่มีทีมหาข่าว  แต่ได้ข่าวจากทหารแตงโมกับตำรวจมะเขือเทศ  แล้วก็เชื่อเพราะข่าวจะเป็นความจริงทุกครั้ง จึงรู้สึกว่า ทหารและตำรวจส่วนหนึ่งเข้าใจความทุกข์ยาก และเป็นพวกเดียวกับ นปช.  เป็ความคิดที่เป็นอิสระของคนทุกกลุ่มทุกฝ่าย  ยังมีสิ่งที่หล่อหลอมความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน  แก้ไขปัญหาร่วมกันได้

ภาครัฐและภาคประชาสังคมต้องทราบผลที่จะเกิดขึ้นจากการไม่เห็นผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ

กรณี วิชชุกร ถามอาจารย์ศิระชัย เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการพูดกันเรื่องนี้  เรื่องสถาบันฯ เป็นเรื่องที่ต้องดูแล  กลุ่มคนหรือหน่วยงานที่ต้องดูแลปกป้องคือทหาร  ต้องเริ่มจากยอมรับความจริง

ปัจจุบันสังคมไทยคิดกันหลากหลาย  ทั้งวัยที่ต่างกัน  วัยรุ่น  วัยกลางคน  ผู้สูงอายุ  แต่ละกลุ่มมองอย่างไร?

เวลาที่ทหารทำหน้าที่ปกป้องสถาบันฯ ทำแบบ รปภ. เฝ้าธนาคาร ?

ลืมไปหรือเปล่าว่า  ถึงได้เงินไป ธนาคารก็ไม่มีวันเจ๊ง  แต่ธนาคารจะเจ๊งเพราะคนไม่ฝากเงิน  พากันถอนเงินหมด  เพราะอะไร?  เพราะความเชื่อถือ ศรัทธาของประชาชนต่อสถาบัน  ทหารต้องทำให้ประชาชนเกิดความศรัทธา เชื่อถือต่อสถาบัน

ความไม่ไว้วางใจกันทำให้มองไม่เห็นทางออก  ประเมินในทางลบ  ทำให้ใช้กำลัง  การประเมินลบ  อคติ  ทำให้การตีความ  การสื่อสารไม่ตรงกับความเป็นจริง  ทำให้ตัดสินใจผิด  นำไปสู่การใช้ความรุนแรง

ทุกเรื่องจะมาเชื่อมโยงกับการประเมินสัญญาณ  การสื่อสารที่ผิดปกติ  การสื่อสารทางเดียว  ข้อมูลไม่เพียงพอ  ไม่ทันเวลา  ทำให้นำไปสู่ความรุนแรง

ถ้าเผชิญหน้า การประเมินสัญญาณเป็นลบ  รู้สึกว่าไม่เป็นพวกเดียวกัน  อยากเอาชนะก็จะนำไปสู่ความรุนแรงได้

การมองเห็นสัญญาณที่เป็นจริง  การปรับเปลี่ยนท่าทีที่ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ  จะช่วยลดเงื่อนไขความเข้าใจไม่ตรงกัน  ต้องเริ่มจากภาครัฐ  ไม่ใช่จากประชาชน  เรื่องอัตลักษณ์ก็มีความสำคัญ  ประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวด 

กรณีความมั่นคงกับแรงงานต่างชาติ  เราใช้ประโยชน์จากแรงงานต่างชาติ ต้องเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม  ความเป็นธรรม  สิทธิเสรีภาพ  ต้องดูแลกรณีเจ็บป่วย  ตั้งท้อง  การศึกษา  ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน 

ต้นทุนสังคมไทยที่เคยมีความเมตตาต่อผู้คนมาก่อน  กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เข้าใจเรื่องพวกนี้  เพราะถ้าเราปฏิบัติไม่ดีจะมีผลกระทบกับคนไทย

ในต่างชาติ  กรณีเผาสถานทูตไทยและห้างร้านของคนไทยในกรุงพนมเปญ  ที่ประเทศลาว คนลาวคิดอย่างไร? คำตอบคือ  สะใจ  โดนซะมั่งก็ดี !!!!!  มีการรับรู้ข้อมูลจากแรงงานต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทย  คนไทยชอบข่ม  ทั้งการกระทำ  การใช้วาจาที่ตอกย้ำความเจ็บปวด  ทั้งคนลาว  พม่า กัมพูชา  ก็มีความรู้สึกเช่นนี้ 

 

 

Post to Facebook Facebook


เสวนากับอาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 27 สิงหาคม 2011 เวลา 19:14 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3282

สันติวิธีกับความมั่นคงของชาติในมิติใหม่

19 สิงหาคม 2554

สุวิมล เทวะศิลชัยกุล

สุวิมล1

รองผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ  สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)

ICT  และ Social Network เป็นปัญหาในอนาคต  ได้มีการจัดตั้ง Cyber Scout ดูแลเว็บที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  คงจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะขยายตัวเป็นกองทัพไซเบอร์ต่อไปในอนาคต

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

เป็นเรื่องที่ดีที่มีเจ้าภาพ  ความมั่นคงในมิติใหม่มีทั้งภัยจากธรรมชาติและภัยจากมนุษย์  จากทหารและที่ไม่ใช่จากทางการทหาร

ความมั่นคงไม่ใช่เรื่องของรัฐอีกต่อไปต้องให้ประชาชนมามีส่วนร่วม

อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

สนใจเรื่องการเปลี่ยนดุลอำนาจ  เรื่องอาวุธนิวเคลียร์  จีนมี  ปากีสถานมี  เกาหลีเหนือและอิหร่านกำลังพัฒนา  ทำไมมหาอำนาจมีได้  แต่ประเทศใหม่มีไม่ได้  ถ้าอยากมีก็เป็นผู้ก่อการร้าย

ดุลอำนาจ  ประเทศบางประเทศถูกกดขี่  ถูกข่มเหง  ถูกคุกคาม  อเมริกาสามารถจะชี้ให้ประเทศไหนเป็นเป็นประเทศก่อการร้ายก็ได้  กรณีอิรักก็ไปยึดเพื่อแหล่งพลังงาน

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

มหาอำนาจทำอะไรไม่ผิด  ถ้าสงสัยไปดูข้อแรก

ประเทศเราเป็นประเทศเล็กๆ  ถ้าอยากต่อรองกับมหาอำนาจ  ต้องทำอาเซียนให้เข้มแข็ง

มหาอำนาจมีนิวเคลียร์แล้ว  ที่ต้องห้ามปรามประเทศอื่นๆไม่ให้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธชีวภาพ  เพราะเกรงปัญหาวุฒิภาวะของผู้นำประเทศต่างๆเหล่านั้น  ในแง่ของการยับยั้งชั่งใจ  เป็นมุมมองและวิธีคิดของประเทศมหาอำนาจ  ในข้อเท็จจริงอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธชีวภาพก็เป็นอันตรายมาก

ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง  ถ้าพัฒนาแล้วเกิดภัยธรรมชาติจะเป็นอย่างไร?

พม่าก็สนใจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ้าสนใจพัฒนาต่อเป็นอาวุธนิวเคลียร์จะเกิดอะไรขึ้น ?

มองต่างมุมกันได้ตลอดเวลา

วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัทการบินไทย จำกัด

หลายครั้งที่รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายผิดพลาด  สงครามเวียตนาม  ไปร่วมกับสหรัฐอเมริกาเต็มตัว

กรณีพม่าก็ไปร่วมกับสหรัฐอเมริกา  ทำให้เกิดปัญหา

กรณีรัฐบาลปัจจุบัน  ขณะที่มีภัยคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  การสนับสนุนบุคคลที่มีหลักฐานชัดเจนว่าคุกคามสถาบันเป็นการดำเนินการที่ผิดกับหลักการของความมั่นคงหรือไม่ ?

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

ขอไม่พูดถึงตัวบุคคล  ในแง่หลักการ  อยากให้สังคมเข้าใจว่ากลุ่มคนที่คิดไม่ดีกับสถาบันแบ่งเป็น

  1. กลุ่มที่ไม่เอาสถาบัน มีมานานแล้ว  แต่ยุคนี้เป็นยุคไซเบอร์ เลยขยายตัว กลุ่มที่ไม่เอาด้วยเพราะหลักวิชา  เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย  เป็นกลุ่มนักวิชาการ  เป็นสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ  แต่ถ้าเกินขอบเขตของวิชาการก็จะถูกดำเนินคดี  แต่ถ้าเป็นการติเพื่อก่อ  เพราะความจงรักภักดีก็เป็นสิทธิทางวิชาการ
  2. กลุ่มที่แอบอ้างสถาบันและหาผลประโยชน์จากสถาบัน และกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองโดยอ้างความจงรักภักดี  คนที่พยายามจะช่วยชี้แจงกลับทำให้เป็นโทษ เป็นลบ  จริงๆแล้วก็แค่ชี้แจงข้อเท็จจริงก็เพียงพอแล้ว
  3. กลุ่มที่คล้อยตามด้วยอารมณ์ เป็นกลุ่มวัยรุ่น  ที่เป็นลูกศิษย์ของนักวิชาการ  ท่องเว็บไซต์  ไม่มีภูมิต้านทาน  ก็เลยเชื่อเป็นตุเป็นตะ  มีหลายคนที่ไม่เข้าใจ  มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  แต่ถ้ามีการชี้แจง  มีการให้ข้อเท็จจริงก็จะเข้าใจและสำนึกผิด  แต่ก็มีบางคนที่หลงไหล  ติดอยู่ในโลกสมมติ

กรณีที่ว่าเป็นบุคคลที่คุกคามสถาบัน  หมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็คงต้องรอให้ศาลตัดสิน  ปัจจุบันสังคมก็ดีขึ้น  ยอมรับการเลือกตั้ง  ควรรอศาล

วิชชุกร คำจันทร์

ที่ถามหมายความว่า  ถ้าเห็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง  ขัดกับหลักของความมั่นคง  คนในวงการความมั่นคงจะทำอย่างไร?

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

ก็ทำหน้าที่ของตัวเอง  ทำตัวเป็นมืออาชีพ  ทำแบบที่มืออาชีพควรทำ

วิชชุกร คำจันทร์

ถ้ารัฐบาลไม่เชื่อ  ยิ่งทำผิดล่ะครับ

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน

Post to Facebook Facebook


สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่ (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 27 สิงหาคม 2011 เวลา 18:26 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1978

อ.ศิระชัย โชติรัตน์

“ งานข่าวกรอง  งานด้านความมั่นคง  การสันติวิธี  ไม่ใช่ของเล่นๆ  ไม่ใช่ใครก็ทำได้  ต้องมีความเป็นมืออาชีพ จรรยาบรรณ ต้องฝึกฝนกันมาเป็นสิบๆปี  ต้องแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวมได้ ”

ต้องมีความเข้าใจในเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ  วัตถุประสงค์แห่งชาติ  นโยบายชาติ  และยุทธศาสตร์ชาติ

หันมาดูเมืองไทยบ้าง  ปัจจุบันประเทศไทยเรามีปัญหาหลักๆอยู่ 6 ปัญหา คือ

  1. ภัยคุกคามต่อสถาบันหลักของชาติ
  2. การแตกแยกทางความคิดของคนในชาติ
  3. ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
  4. ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ
  5. ปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
  6. อาเซียน 2558  หรือ  Asian 2015

ภัยคุกคามต่อสถาบันหลักของชาติ

ตั้งแต่สถาบันสูงสุดคือสถาบันพระมหากษัตริย์  ไม่เคยถูกกระทบกระเทือนขนาดอย่างเช่นปัจจุบันนี้

สถาบันนิติบัญญัติก็ขาดความเชื่อถือจากประชาชน  ตัวชี้วัดก็คือมีการเล่นการเมืองนอกสภา   สถาบันบริหาร  รัฐบาลที่ทำหน้าที่บริหารก็เข้าได้บางพื้นที่  บางพื้นที่ก็เข้าไปไม่ได้  และสถาบันตุลาการก็มีปัญหาจนเกิดคำว่า “สองมาตรฐาน”   สถาบันหลักของชาติที่เคยค้ำชูสังคมให้อยู่รอดปลอดภัยมาโดยตลอดเสื่อมถอยลง  เกิดผลกระทบอย่างมากมาย  เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข

การแตกแยกทางความคิดของคนในชาติ

เกิดการแตกแยกทางความคิดของคนในชาติทั้งแนวราบและแนวดิ่ง  เป็นความขัดแย้งทางการเมือง  อิทธิพลของสื่อบางประเภทก็มีส่วนกระพือ  การใช้เสรีภาพเกินขอบเขต  และการขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฏหมาย

ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

ไม่มีแนวโน้มที่จะยุติในเวลาอันสั้น  ยังไม่สามารถให้คำตอบว่าปัญหานี้จะจบได้ภายในระยะเวลากี่ปี  รอบสองตั้งแต่ปี 2548  ไม่ใช่ปัญหาของการใช้กำลังแล้ว  มันลึกลงไปถึงระดับความคิด  เราเติบโตมาในช่วงเวลาที่สอนให้เราเกลียดพม่า  ไม่สามารถตอบได้ว่าจะเลิกเกลียดพม่าเมื่อไหร่?  ปัญหาภาคใต้  คงต้องมีกระบวนการอีกหลายอย่างและยังคงต้องใช้เวลา  และไม่มีสูตรสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเพราะต้องเป็นไปตามความต้องการของประชาชน  ความต้องการของประชาชนคือคำตอบ

มีผู้รู้  มีคณะกรรมการ  คณะทำงาน  มีคนหลายกลุ่ม  แต่ก็คงไม่มีกลุ่มไหนแสดงออกถึงความต้องการของพี่น้องประชาชนที่ชัดเจนได้  ที่แสดงออกมาก็เห็นจะมีการที่ประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ออกมาใช้สิทธิในการเลือกตั้ง 70-80%  แปลว่าพี่น้องประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังยอมรับรัฐธรรมนูญ ? ยังยอมรับระบบการปกครองใช่ไหม?  ไม่ต้องการที่จะแยกตัวออกไปใช่ไหม? สะท้อนอะไร?  แต่ก็ยังคงสรุปอะไรไม่ได้  ปัญหามันซับซ้อมมาก  อย่าเพิ่งไปประกาศว่าจะแก้ด้วยวิธีนั้น  วิธีนี้

ในสถานการณ์ที่ยืดเยื้ออยู่นี้มีโอกาสที่จะถูกแสวงหาประโยชน์จากกลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศได้  เผอิญจุดยืนและแนวคิดของกลุ่มในภาคใต้กับการก่อการร้ายสากลยังไม่ค่อยจะสอดคล้องกัน  กลุ่มก่อการร้ายสากลต้องการต่อสู้กับตะวันตกและก่อตั้งรัฐอิสลาม  จึงควรจะรีบยุติปัญหา  ไม่ปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อต่อไป

ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ

ปัญหายาเสพติดที่กำลังลุกลามและเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ

มีปัญาการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน  ไทยเรากำลังถูกนานาชาติเพ่งเล็งเกี่ยวกับการเอารัดเอาเปรียบแรงงานต่างชาติโดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว  เดิมก็มีรัสเซีย  เกาหลี

ปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

โดยสรุปกัมพูชายังเปราะบาง  อาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น  แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับปํญหากัมพูชาจะต้องละเอียด รอบคอบ

พม่า เหตุการณ์ก็ยังปกติแต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงเรื่องชายแดนทั้งทางบกและทางแม่น้ำ  และความไม่สบายใจของพม่าเกี่ยวกับเรื่องชนกลุ่มน้อยที่พม่ายังระแวงว่าเรายังแอบช่วย  แต่เราก็ได้แสดงจุดยืนเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเรื่องนี้อย่างชัดเจน

ลาว  เป็นประเทศเดียวที่ความสัมพันธ์ค่อนข้างดีและมีแนวโน้มจะดีขึ้นเรื่อยๆ

มาเลเซียก็ดี  แต่ก็มีปัญหาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยเฉพาะในระดับเวทีโลก  แต่เท่าที่สัมผัสก็มีความรู้สึกว่าทางมาเลเซียค่อนข้างจะจริงใจกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย  แต่การที่มาเลเซียเป็นประเทศอิสลามจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้

อาเซียน 2558 หรือ Asian 2015

จะมีผลกระทบต่อไทยอย่างมาก  ทั้งด้านบวกคือจะเกิดความร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกอย่างใกล้ชิด  มีการเคลื่อนย้ายการลงทุนและทำให้กลุ่มมีอำนาจต่อรองทางการเมืองในเวทีโลกทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ

ด้านลบ  มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน  ขนาดยังไม่ถึงอาเซียน 2558 ก็ลักลอบเข้ามากันแล้ว  ในอนาคตก็คงทะลักเข้ามา    การระบาดของโรคทั้งคนทั้งสัตว์จากการอพยพของแรงงาน  อาชญากรรมข้ามชาติเพราะมีช่องว่างของกฏหมายระหว่างประเทศ การหลั่งไหลของสินค้าราคาถูก

สุดท้ายที่อยากจะพูดก็เป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราขดำรัส  ให้แก่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่  เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554    ขอยกพระราชดำรัสมาอธิบายให้พวกเราซึ่งเป็นนักศึกษาความมั่นคงฟังว่า  เป็นสุดยอดในการชี้ให้เห็นยุทธศาสตร์ที่มีครบทั้งสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์   พูดถึงผลประโยชน์แห่งชาติ  พูดถึงวัตถุประสงค์แห่งชาติ  พูดถึงนโยบายแห่งชาติ  พูดถึงยุทธศาสตร์แห่งชาติ

สภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ ทรงชี้ให้รัฐบาลและประชาชนต้องรับทราบว่า  ประเทศเรากำลังเผชิญกับสภาวะแวดล้อมของโลกที่กำลังยุ่งยากและสับสน  จากปัญหาและภัยที่หลากหลายรูปแบบรวมทั้งปัญหาภายในประเทศ พระองค์ท่านสรุปว่า  มันยุ่งยากและสับสน

ในสภาวะแบบนี้ผลประโยชน์ของชาติที่มีความสำคัญในขณะนี้คือความมั่งคั่งรุ่งเรืองและความมีเสถียรภาพ (Prosperity, stability)  รัฐบาลต้องทำให้ประเทศมีความรุ่งเรือง  มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ

วัตถุประสงค์แห่งชาติที่จะทำให้ประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองภายใต้ความสับสนวุ่นวายนั้น  ท่านทรงแนะว่า ให้มุ่งไปที่การสร้างบ้านเมืองให้สงบและมีสันติสุข  พระองค์ท่านใช้คำว่า  ทำให้บ้านเมืองนี้เป็นบ้านเมืองที่น่าอยู่   จะใช้สันติวิธีหรือวิธีใดๆก็ได้สร้างสังคมสันติสุข  การสร้างสังคมสันติสุขให้เกิดขึ้นเป็นทางรอดสำหรับโลกที่สับสนวุ่นวาย

นโยบายชาติ จะทำให้ประเทศน่าอยู่ภายใต้ความสลับซับซ้อนก็คือทุกกลไก  ทุกภาคส่วน  ทุกคนต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด  ต้องไม่ Dysfunction  ต้อง well Function    ฝ่ายบริหารก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด  ฝ่ายนิติบัญญัติ  ฝ่ายตุลาการก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด  ภาคเอกชน  ภาคประชาชน  ภาคประชาสังคมก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด  ต้องกลับไปดูว่าตัวเองมีหน้าที่อะไรในสังคม

ยุทธศาสตร์ชาติ พวกเราที่เป็นชนชั้นนำทางสังคมต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี  หัวเรือหรือชนชั้นนำต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีในทุกๆด้าน  แล้วคนที่ระดับรองๆลงไปจะเอาเป็นตัวอย่าง  เมื่อทำดีกันทั้งประเทศ  การที่จะสร้างสังคมสันติสุขนั้นก็จะไม่เหลือบ่ากว่าแรง

พระราชดำรัสชี้ให้เห็นครบ สมบูรณ์แบบตามหลักการของวิชาการความมั่นคง

ประเทศเรามีผู้รู้   มีผู้มีประสบการณ์ทางด้านความมั่นคงที่หลากหลาย  แต่ต้องเลือกใช้แนวทางความมั่นคงที่แยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม

Post to Facebook Facebook


สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่ (1)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 27 สิงหาคม 2011 เวลา 15:59 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2448

อาจารย์ ศิระชัย โชติรัตน์

อาจารย์จิราพร บุนนาค

19 สิงหาคม 2554  9.30-12.30 น.

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์ เป็นนักปฏิบัติด้านความมั่นคงมืออาชีพมายาวนานถึงเกือบ 40 ปี  อาจารย์พูดถึงปัญญาใหม่ๆทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ท้าทายเรา

ภาพรวมของสถานการณ์โลก

สภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังเป็นปัญหาท้าทายใหม่มีผลต่อสภาพแวดล้อมความมั่นคงภายในประเทศ  ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  เราจะใช้สันติวิธีจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร?

27-8-2554 9-20-39

ปัญหาเศรษฐกิจของอเมริกา ยุโรป  ที่มีผลกระทบไปทั่วโลก

แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น

การปฏิวัติภาคประชาชน ในตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาล ผ่าน Social Network

ปัญหาการก่อการร้ายที่ลุกลามไปทั่วโลก  การเสียชีวิตของ Osama Bin Laden คงจะทำให้เหตุการณ์สงบลงชั่วคราวเท่านั้น

ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้  การแย่งหมู่เกาะกันของจีน เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์  แถมมีอเมริกาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ปัญหาโจรสลัดโซมาเลีย

ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ ในเกาหลีเหนือ อิหร่าน

ปัญหาวิกฤติพลังงานจากราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้นมาก

ปัญหาทั่วโลกเกิดจากธรรมชาติหรือเกิดจากมนุษย์  ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากมนุษย์  ที่เกิดจากธรรมชาติก็เช่นแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น  โรคระบาด น้ำท่วม ฯลฯ

สภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังเป็นปัญหาท้าทายใหม่ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศ ก็มี 7 ประการ

  • การเปลี่ยนแปลงของดุลอำนาจโลก
  • การเคลื่อนย้ายศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจ
  • ความมั่นคงด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ
  • สงครามในรูปแบบใหม่ที่เราจะเผชิญในอนาคต
  • การขยายตัวของอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธชีวภาพ
  • ภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ โดยเฉพาะอิทธิพลของสื่อที่เรียกว่า Social Network

ดุลอำนาจโลกและศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจ

27-8-2554 10-00-09

ประเทศหัวรถจักร เดิมเป็นอเมริกาและประเทศในยุโรป  ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนมาเป็นมหาอำนาจที่เศรษฐกิจเติบโตสม่ำเสมอ เช่นจีน อินเดีย  รัสเซีย นักวิชาการสรุปว่าศูนย์อำนาจโลกกำลังเคลื่อนจาก Atlantic  มายัง Pacific  ซึ่งจะมีผลต่อการวางบทบาทของประเทศไทยในฐานะประเทศเล็กๆในโลกใบนี้

ดุลอำนาจทางเศรษฐกิจ  ก็มีการเคลื่อนย้าย From the “West” to the “Rest”  หรือมายัง BRIC ( Brazil Russia India  China)

จาก  กลุ่มประเทศ G-7 ซึ่งประกอบด้วย France, Germany, Italy, Japan, United Kindom Canada และ United State  มาเป็น  G-20 หรือ Group of Twenty ซึ่งประกอบด้วย South Africa, Canada, Mexico, USA, Argentina, Brazil, South Korea, China, Japan, India, Indonesia, Saudi Arabia, Russia, Turkey, European Union, France, Germany, Italy, United Kingdom และ Australia

จีนเริ่มมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้น  ทั้งเงินหยวนของจีนที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทมากกว่าเงินดอลล่าของอเมริกา  รวมทั้งภาษาจีน

27-8-2554 10-33-05

การทูตเชิงพลังงาน

NGO ที่ทำงานช่วยเหลือด้านต่างๆมี 2 ด้าน

ด้านดีก็มีมาก แต่ก็ต้องระวังด้านเสีย  คือการครอบงำเพื่อมีอืทธิพลเหนือกว่าเพื่อแหล่งพลังงาน

ประเทศที่มีปัญหากัน เช่นจีนกับประเทศเล็ก  ในการแย่งชิงหมู่เกาะสแปรตลีย์และหมู่เกาะพาราเซล  ซึ่งอุดมไปด้วยน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ และสัตว์น้ำ  จีนก็อยากเจรจาตกลงกันเอง  แต่ประเทศเล็กๆก็อยากให้อเมริกาเข้ามาช่วย  เข้ามายุ่งเกี่ยวเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง  ซึ่งสามารถประยุกต์กับเหตุการของประเทศไทยกับกัมพูชา

ผลกระทบด้านมลภาวะและปัญหาโลกร้อน  ทำให้ต้องเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงาน  ต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆที่มีราคาแพง  เป็นการเพิ่มต้นทุนทางด้านอุตสาหกรรม

วิกฤติน้ำในจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ

ปัญหาการก่อการร้ายโดยคนในพื้นที่ (Homegrown terrorism) เริ่มเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศต่างๆ  Social Media ก็เป็นช่องทางติดต่อและขยายผลในเรื่องดังกล่าว

การเสียชีวิตของ Osama Bin Laden ผู้นำองค์กร Al-Qaeda คงทำให้เหตุการณ์คล้ายๆจะดีขึ้น  แต่คงจะเป็นชั่วคราว  ระยะสั้นๆเท่านั้น  เดิมรูปแบบของการก่อการร้ายจะเป็นการรวมศูนย์อยู่ที่  Al-Qaeda  แต่ต่อไปจะเป็นการกระจายอำนาจ

การก่อการร้ายไม่ใช่เกิดจาก Import เข้ามา  แต่จะเป็น Homegrown Terrorism  คือเกิดจากกลุ่มภายในประเทศ  แต่ได้รับการเผยแพร่อุดมการณ์  วิธีการผ่าน Social Network

มีแนวโน้มว่าเยาวชนหรือคนที่นับถือศาสนาอื่นแล้วเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม  มีแนวโน้มที่จะก่อการร้ายได้เร็วกว่าคนที่นับถือศาสนามานานแล้ว

กรณีของนอร์เวย์ เกิดจากฝ่ายขวา  ซึ่งก็มีเกิดขึ้นในอเมริกา  เป็นการก่อการร้ายเพื่อต่อต้านรัฐบาล  มักเกิดจาดคนคนเดียว  หรือกลุ่มเล็กๆ  ซึ่งต่างจากเดิมที่เป็นขบวนการ  มีหัวหน้า  มีเครือข่าย

อาชญากรรมข้ามชาติ อาจเป็นช่องทางทางการเงินของกลุ่มก่อการร้าย  แสวงหาประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  และมีการขยายตัวในอัตราที่น่าใจหาย

สงครามรูปแบบใหม่

ปัจจุบันสงครามระหว่างรัฐต่อรัฐมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย   ปัจจุบันจะเป็นสงครามแบบผสมผสาน (Hybrid Warfare)  ระหว่างสงครามตามแบบกับสงครามนอกแบบจะมีมากขึ้น

สงครามกองโจร เป็นการต่อสู้ระหว่างคนที่มีอำนาจมากกว่ากับคนที่มีอำนาจด้อยกว่า  เช่นในศรีลังกา  อิรัก  เป็นส่วนที่อำนาจอธิปไตยไปไม่ถึง  หรือกลุ่มประเทศที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน

สงครามต่อไปจะไม่ได้ตัดสินกันที่การยึดพื้นที่ทางภูมิศาสตร์  หรือกำลังคน  กำลังอาวุธ  แต่จะชนะกันที่พื้นที่ในสมองของมนุษย์  คือต้องชนะใจ

ทั้งนี้รวมถึงปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน  อเมริกามีศักยภาพทางอาวุธและเทคโนโลยี  แต่ก็ไม่ชนะสงครามเด็ดขาด  โลกนี้แคบลง  ประเทศเล็กๆอาจสร้างความเชื่อ  ความชอบธรรมกับประเทศอื่นๆได้

อาวุธนิวเคลียร์และอาวุธชีวภาพ

อิหร่านและเกาหลีเหนือและอีกหลายประเทศกำลังเร่งพัฒนาอาวุธเหล่านี้เพื่อป้องปรามหรือเพื่อใช้เป็นอำนาจในการเจรจาต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ

ภัยคุกคามด้าน Cyber และอิทธิพลของสื่อประเภท Social Network

เดิมการโจมตีทาง Cyber เป้าหมายเป็นภาครัฐ  แต่ปัจจุบันมีการโจมตีภาคเอกชนด้วย  เป็นการโจมตีทาง Cyber และการเจาะระบบข้อมูลข่าวสาร

เป้าหมายจะเป็น Critical Infrastructure เช่นระบบประปา  ระบบไฟฟ้า โทรศัพท์  การสื่อสาร ระบบรถไฟฟ้า ระบบการเงิน ฯ

สื่อประเภท Social Network เป็นเครื่องมือสำคัญในการเคลื่อนไหวทางการเมือง

อิหร่านจัดตั้งกองพลไซเบอร์ รับมือสงครามไซเบอร์  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของอิหร่านเคยถูกโจมตีทางไซเบอร์  ผู้นำการทหารแถลงว่า  สังคมอิหร่านถูกโจมตีหนักโดยส่งข้อมูลที่เป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดในการปกครองประเทศของอิหร่าน  แต่ประเด็นนี้ก็มองได้ 2 มุม  คือ

  • ชาวอิหร่านในต่างประเทศต้องการเผยแพร่ประชาธิปไตย  และสิ่งที่เห็นว่าดีให้กับประเทศของตน  หรือ
  • เป็นการยั่วยุให้เกิดการต่อต้านการปกครองของรัฐบาล

ประเทศจีนก็มีกองพลไซเบอร์มานานแล้ว  แต่ก็ถูกโจมตีเหมือนกัน  แต่จีนก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับระเบียบโลกใหม่เหมือนกัน

ระเบียบโลกใหม่ประกอบด้วย

  • ประชาธิปไตย
  • การค้าเสรี
  • สิทธิมนุษยชน และ
  • สิ่งแวดล้อม

แล้วประเทศไทยเราได้ทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง?  เริ่มจากยังหาหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ได้?

การแจก Tablet ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี่เป็นเรื่องที่ดี  แต่ต้องระวังเรื่องภูมิต้านทานของเด็กๆที่จะแยกแยะสิ่งที่ถูกต้อง  สิ่งที่ถูกที่ควร  เพราะการต่อสู้ในอนาคตจะเป็นสงครามไซเบอร์

Post to Facebook Facebook



Main: 0.27343416213989 sec
Sidebar: 0.64287090301514 sec