พูดคุยกับอาจารย์จิราพร บุนนาค
อ่าน: 1939หลังการบรรยายของอาจารย์จิราพร อาจารย์ก็เปิดโอกาสให้ซักถามหรือแสดงความคิดเห็น
พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย
แรงงานต่างชาติมีปัญหา วัฒนธรรมไทยเราอาจให้ความสำคัญของความกตัญญู เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยเราก็ดูแล แต่เหมือนกินบนเรือน ขี้รดหลังคา เรามีความรู้สึกแบบนี้ เป็นความเชื่อที่บรรพชนเราสร้างไว้ สำหรับเรื่องรั้วชายแดนนี่ ถ้าเรามองย้อนไปที่มาเลเซีย มาเลเซียก็มีรั้ว แต่ไม่มีปรากฏการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชน อันนี้ก็เป็นข้อสังเกตอีกอันนึง
ถ้าเราย้อนไปประเด็นในเรื่องของกรณีความขัดแย้ง ในเรื่องของ นปช. เหตุการณ์วันที่ 10 หรือเหตุการณ์วันที่ 27 ผมคิดว่ามันเป็นปลายเหตุของขบวนการที่เกิดขึ้นของความขัดแย้ง ถ้าถามว่าวันนี้สังคมไทยยังมีความขัดแย้งมั๊ย? ทุกคนตอบเหมือนกันว่ามี แต่ถามว่าทำไมความขัดแย้งที่มันมีอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่มีความรุนแรง ตรงนี้หลักสูตรเราควรจะศึกษาว่าทำไมความขัดแย้งที่ยังมีอยู่ ทำไมถึงสามารถควบคุมได้และไม่พัฒนาไปสู่ความรุนแรง ในมิติที่ท่านอาจารย์นำเสนอเป็นมิติที่เกิดความรุนแรงแล้วใช้สันติวิธีเข้าไปแก้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีความขัดแย้ง แต่ปัจจุบันจะทำอย่างไรให้ภาพแบบนี้มันดำรงอยู่
ผมเห็นด้วยกับอาจารย์อีกประการหนึ่งที่บอกว่า มิติความมั่นคงกับมิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสิทธิเสรีภาพและมิติทางชุมชน มิติทางประชาสังคมนั้น เป็นมิติที่ไม่มีใครเหนือใคร ถูกต้องครับ ท่านอาจจะไม่ได้ใช้คำพูดนี้ มิติพวกนี้เราจะทำอย่างไรให้มันเดินไปเป็นหน้ากระดานที่พร้อมๆกัน เพื่อหาดุลภาพของความพอดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางสภาความมั่นคงซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำหนดนโยบายด้านความมั่นคง ต้องปรับบทบาทของตัวเอง
ผมคิดว่างานความมั่นคงวันนี้ ความมั่นคงทางทหาร มิติด้านความมั่นคงของมนุษย์มันถูกกระจายไปหมด บทบาทของสภาความมั่นคงอาจจะต้องเป็นแค่บูรณาการด้านความมั่นคง แทนที่จะเป็นคนควบคุมหรือกำกับดูแลงานด้านความมั่นคง เพราะไม่งั้นแล้ว ข้าราชการที่อยู่ในสภาความมั่นคงที่มีอยู่แค่หยิบมือคงไม่มีทางที่จะทำงานด้านความมั่นคงได้ทุกมิติตามที่อาจารย์ได้นำเสนอมา
โครงสร้างของหน่วยงานด้านความมั่นคงต้องเปลี่ยนอย่างแน่นอน ต้องเปลี่ยนเป็นแนวราบมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าทิ้งในแนวดิ่ง เพราะถ้ารัฐยังให้ความสำคัญของโครงสร้างอำนาจและทางกฏหมายจะเป็นสิ่งที่อันตรายมาก ผมเชื่อว่าบางสิ่งบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องมีกฏหมายเลย อาจจะแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าการใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือ การบูรณาการงานด้านความมั่นคงะจในยุคใหม่จะมีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
อาจารย์จิราพร บุนนาค
ดิฉันคิดว่าดิฉันพูดเยอะมากเกี่ยวกับประเด็นการใช้สันติวิธีในการป้องกัน ไม่ให้ปัญหาความขัดแย้งแปรเปลี่ยนไปเป็นความรุนแรง แต่ท่านกลับบอกว่าดิฉันไม่ได้พูดเลย เรืองของสภาความมั่นคงก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ อยากฝากช่วยอ่านอะไรบางอย่างที่เป็นบทกลอนของ African Kids เป็นเด็กๆแอฟริกันที่เขาเขียนส่งไปประกวดที่สหประชาชาติ และได้รับรางวัลชนะเลิศของสหประชาชาติในปี 2006 บทความนี้มีคุณค่าสำหรับชาวโลก
When I born, I black เมื่อผมเกิด ผมผิวดำ
When I grow up, I black เมื่อผมโตขึ้น ผมก็ยังผิวดำอยู่
When I go in sun, I black เมื่อผมอยู่ใต้แสงแดด ผมก็ยังคงผิวดำ
When I scared, I black เมื่อผมกลัว ผมก็ผิวดำ
When I sick, I black เมื่อผมป่วย ผมก็ยังผิวดำ
And when I die, I still black และเมื่อผมตาย ผมก็ยังผิวดำ
And you white fellow และคุณ เพื่อนมนุษย์ผิวขาว
When you born, you pink เมื่อแรกเกิด คุณมีผิวสีชมพู
When you grow up, you white เมื่อคุณโตขึ้น คุณมีผิวสีขาว
When you go in sun, you red เมื่อคุณอยู้ใต้แสงแดด คุณมีผิวสีแดง
When you cold, you blue เมื่อคุณหนาว คุณมีผิวสีน้ำเงิน
When you scared, you yellow เมื่อคุณกลัว คุณมีผิวสีเหลือง
When you sick, you green เมื่อคุณป่วย คุณมีผิวสีเขียว
And When you die, you grey เมื่อคุณตาย คุณมีผิวสีเทา
And you calling me colored ?? และคุณเรียกผมว่า คนผิวสี ??
ลองเอาไปคิดดูว่ามันมีนัย มีความสำคัญอะไร??
พี่สามารถ วราดิศัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส มากล่าวขอบคุณอาจารย์ สรุปว่า เจอของจริง
« « Prev : สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่ (3)
ความคิดเห็นสำหรับ "พูดคุยกับอาจารย์จิราพร บุนนาค"