พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี (3)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 3 สิงหาคม 2011 เวลา 22:41 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3397

“สงครามไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” โดย พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ

ลุงเอกเริ่มด้วยการเล่าถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในการจัดการความขัดแย้งปัญหาชายแดนแล้วเริ่มเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน  โดยเปรียบเทียบว่าประเทศอื่นๆจัดการปัญหาชายแดนอย่างไรเปรียบเทียบกับประเทศไทย

ศ. ดร. Benedict O’gorman Anderson กล่าวไว้ในงานสัมมนาวิชาการอุษาคเนย์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2552  อุษาคเนย์: อคติที่แอบแฝงสู่ความขัดแย้งที่ไม่รู้จบ วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552  ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในปาฐกถานำ  ลัทธิชาตินิยมเก่า VS ชาตินิยมใหม่ ? ในสังคมไทย

…..

“ชะตากรรม อาเซียน จากอคติที่แอบแฝงสู่ความขัดแย้งที่ไม่รู้จบ อาเซียนน่าจะหันมามองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ สิ่งนี้คือ “สุคติ” ของอาเซียน  ต้องใช้คำว่าเปลี่ยนเหมือนโอบามา  เพราะถ้าไม่เปลี่ยนอาเซียนก็เหมือนลูกโป่งที่ลอยอยู่สวยงามแต่ทำอะไรไม่ได้”

“อาเซียนมีอยู่เพื่อให้เราอุ่นใจ แต่ผลความสำเร็จอย่างจริงจังยังไม่เกิดขึ้นเพราะเน้นการร่วมมือกันพัฒนาทางวัตถุมากกว่าการเน้นความร่วมมือทางการพัฒนาส่งเสริมเรื่องของมนุษย์กับมนุษย์ จะต้องเปลี่ยนวิธีคิด  ถ้าคนยังไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน  ไม่เห็นใจกัน  เศรษฐกิจจะดีได้อย่างไร  มนุษย์คือทุนที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา”

ลุงเอกก็เสนอความเห็นไว้ว่า  ปัญหาเส้นเขตแดนเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ต้องเปลี่ยนให้เป็นการสร้างเส้นเขตแดนสายสัมพันธ์  สร้างแม่น้ำสายสัมพันธ์  สร้างความสัมพันธ์ทางศาสนา  สร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม  และสร้างความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติเผ่าพันธ์

ยกตัวอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนมองเส้นเขตแดนคือโอกาสของประเทศ  ก้าวข้ามความขัดแย้งในอดีต  เริ่มตกลงปักหมุดเขตแดนทางบกระหว่างจีนกับเวียตนาม

เขตแดนทางบกระหว่างสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนามกับสาธารณรัฐประชาชนจีน  มีความยาวประมาณ 1,450 กิโลเมตร  หลังจากทำสงครามกันมานานก็มีความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยสนธิสัญญาและการปักปันเขตแดน  เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2534

มีการตกลงชั่วคราวว่าด้วยการแก้ไขปัญหาชายแดนระหว่างสองประเทศ  จนสำเร็จในปี พ.ศ. 2552  ปักหลักเขตแดนทั้งสิ้น 1,970 หลัก  ใช้เวลาเพียง 20 ปี

ที่ประสบความสำเร็จเพราะได้มองข้ามปัญหาความขัดแย้งที่เคยมีในอดีตและหันมาร่วมมือกันสร้างสันติภาพ ความเจริญให้เกิดขึ้นระหว่างภูมิภาคได้อย่างน่าชื่นชม  ก่อให้เกิดความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม ระหว่างกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันและกัน  เป็นผลดีกับทั้งสองฝ่าย

รัฐบาลทั้งสองประเทศได้ผ่านกระบวนการเจรจากัน  ในปัญหาการปักหลักเขตแดนทางบก  ในพื้นที่ 232 ตารางกิโลเมตร  สุดท้ายได้ข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนได้พื้นที่ 117.1 ตารางกิโลเมตร  สาธารณนัฐสังคมนิยมเวียตนามได้พื้นที่ 114.9 ตารางกิโลเมตร เป็นต้น

ลุงเอกเล่าถึงภูมิศาสตร์แบบไข่แดง (Encave/Excave) ซึ่งใช้เรียกดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศใดประเทศหนึ่งที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนแผ่นดินของประเทศตัวเอง  แต่ตั้งอยู่บนแผ่นดินของประเทศอื่น  สาเหตุที่ทำให้เมืองของประเทศหนึ่งไปอยู่อีกประเทศหนึ่ง  มีสาเหตุมาจากเงื่อนไขในอดีตก่อนเกิดพรมแดนแบบรัฐชาติ  เช่น อาจจะมอบเมืองให้เป็นของกำนัลให้กัน  เป็นต้น

ยกตัวอย่างภูมิศาสตร์ไข่แดงในยุโรป  เป็นการจัดการพื้นที่ข้ามจินตนาการรัฐชาติ  เช่นกรณีหนึ่งหมู่บ้านสองแผ่นดิน  ส่วนของหมู่บ้านที่เรียกว่าบาร์เลอร์นาซเซาเป็นของประเทศเนเธอร์แลนด์  ส่วนบาร์เลอร์แฮร์ท็อกเป็นของประเทศเบลเยียม  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่พบทั่วไปในยุโรปตั้งแต่ยุคกลางเรื่อยมาจนถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18-19

141637-1-9515 141637-4-4770

141637-7-3479 141637-9-3855

รูปจาก  ดูคนเบลเยี่ยม/เนเธอร์แลนด์ เขาแบ่งเขตแดนกัน‏

การเจรจาเรื่องเขตแดนของเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์เริ่มขึ้นอย่างจริงจังประมาณ พ.ศ. 2372  ยืดเยี้อมานาน  เสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2529  สามารถลงนามในข้อตกลงความร่วมมือข้ามพรมแดน  และข้อตกลงนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2534 และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2538  รวมการเจรจาใช้เวลา 156 ปี

หรือกรณีหอระฆังที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกันระหว่างเบลเยียมและฝรั่งเศส  เป็นมรดกโลกข้ามพรมแดนภูมิภาคและรัฐชาติ   หอระฆัง ๒๓ หอ ในตอนเหนือของฝรั่งเศสและหอระฆังแห่งจอมบลูซ์ (Gembloux) ในเบลเยียมได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเป็นกลุ่ม เป็นส่วนต่อขยายจากหอระฆัง ๓๒ หอของเบลเยียม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนใน คริสต์ศักราช ๑๙๙๙ (พุทธศักราช ๒๕๔๒) ในชื่อ “หอระฆังแห่งฟลันเดอร์สและวาลโลเนีย (Belfries of Flanders and Wallonia)” หอระฆังเหล่านี้สร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑–๑๗ (พุทธศตวรรษที่ ๑๖–๒๒) มีรูปแบบสถาปัตยกรรมโรมัน โกธิค เรอเนสซองส์ และบาโรค เป็นเครื่องหมายแห่งการได้ชัยขนะของประชาชน

หรือกรณีของ “น้ำตกอีกวาซู” (Iguazu falls)

brazil2 15375_Iguacu falls

ซึ่งเป็นน้ำตกที่อยู่ระหว่างอาร์เจนตินากับบราซิล  สภาพภูมิศาสตร์และธรรมชาติเป็นดินแดนผืนเดียว  มีเส้นพรมแดนในน้ำตก  (พื้นที่น้ำตกอาร์เจนตินา 70 บราซิล 30)  อาร์เจนตินาเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติปี 1984  แล้วเกิดกรณีพิพาทกับบราซิล  สุดท้ายแก้ปัญหาขัดแย้งด้วยบราซิลนำน้ำตกส่วนของบราซิลขึ้นจดทะเบียนมรดกโลกกับยูเนสโกในปี 1987 ปัญหาจบลงในเวลา 3 ปี

หรือกรณีน้ำตกเต๋อเทียน  ที่หนานหนิงเป็นน้ำตกที่ชายแดนจีน-เวียตนาม ฉายามินิไนแองการา

ส่วนใหญ่แล้วถ้ามองเส้นเขตแดนเป็นเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต้องเปลี่ยนให้เป็นการสร้างเส้นเขตแดนสายสัมพันธ์ สร้างแม่น้ำสายสัมพันธ์ สร้างความสัมพันธ์ทางศาสนา สร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม และสร้างความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติเผ่าพันธ์  อย่างที่ลุงเอกบอก  ก็จะมีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมกัน  มีการค้าชายแดน  ทำให้ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

ประเทศไทยเราก็มีตัวอย่างประเพณีตักบาตรสองแผ่นดิน ที่จุดผ่อนปรนชายแดนไทยลาวที่บ้านฮวก อ.ภูซาง จังหวัดพะเยา

หรือกรณีหมู่บ้านสองแผ่นดินที่ โจกเจีย-หนองจาน เดิมมีแนวรั้วลวดหนามเป็นแนวสันติภาพที่ชาวไทย-กัมพูชาทั้งสองฟากฝั่งข้ามมาทำมาหากินกันได้  ประชาชนทั้งสองฝั่งไม่ได้มีปัญหาต่อกัน  แต่ไม่นานมานี้ก็เกิดกรณีชาวไทยถูกจับที่บ้านโจกเจีย  หรือชายแดนเราจะถูกพัฒนาเป็นสนามรบ ?

ดูตัวอย่างของเพื่อนบ้านมามากแล้ว  คราวหน้าฟังลุงเอกเล่าแนวคิดยุทธศาสตร์ของจีน เปรียบเทียบกับมุมมองหรือนโยบายของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านบ้าง….โปรดติดตาม  อิอิ

Post to Facebook Facebook


พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 2 สิงหาคม 2011 เวลา 22:56 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2585

“สงครามไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” โดย พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ

แนวทางการบรรยายของลุงเอกคือ

  • เสนอข้อมูลและข้อเท็จจริงจากการศึกษาค้นคว้าในแนวทางเชิงสันติ  สอดแทรกด้วยแนวคิดทฤษฎี
  • นำเสนอ VCD แนวทางการจัดการปัญหาเขตแดนของเพื่อนบ้าน
  • แนวคิดการจัดการเขตแดนแนวสันติของประเทศต่างๆ
  • กรณีศึกษาวิเทโศบายของพระพุทธเจ้าหลวงในการเลี่ยงสงครามสู่สันติสุขของชาติไทย

กษัตริย์ไทยสมัยโบราณต้องออกศึกทำสงคราม  แต่ยุคหลังๆก็มาใช้ยุทธศาสตร์ในการต่อสู้

246px-Chulalongkorn_LoC

รศ. 112 เป็นช่วงที่วิกฤตที่สุดตั้งแต่มีประเทศไทยมา  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสียพระราชหฤทัยมาก จนถึงกับทรงพระประชวร  พระองค์ท่านได้ทรงพระราชนิพนธ์ระบายความโศกเศร้าไว้ว่า

เจ็บนานหนักอกผู้             บริรักษ์  ปวงเอย

คิดใคร่ลา ลาญพัก           ปลดเปลื้อง

ความเหนื่อยแห่งสูจัก        พลันสว่าง

ตูจักสู่ภพเบื้อง                หน้านั้น พลันเขษม

เป็นยุคล่าอาณานิคม  ที่ประเทศเพื่อนบ้านรอบๆประเทศไทยก็ตกเป็นเมืองขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของชาติมหาอำนาจจากยุโรป  ฝรั่งเศสก็จ้องที่จะฮุบประเทศไทย

……..

“ อารมณ์ของฝรั่งเศสปรากฏว่าชอบใช้กำลังมากกว่าการเจรจา” (จอร์จ นาตาแนล เคอร์ซอน  จากหนังสือ ปัญหาชายแดนประเทศสยาม)

“ การดำเนินทางการฑูตแบบนุ่มนวลไม่เหมาะสำหรับประเทศสยาม กับชาวเอเซีย  ต้องแสดงพลังเมื่อคุณแข็งแรงกว่า  หรือหากคุณตกเป็นเบี้ยล่าง คุณต้องยืนหยัด  การเจรจาตกลงเป็นเรื่องเล็กน้อย เสียเวลา” (ชาร์ล เลอ มีร์ เดอ วิเลร์ เอกอัครราชฑูตประจำกรุงสยามกล่าวต่อ จูลส์ เดอแวล รมต.ต่างประเทศ 24 สิงหาคม 2436)

การดำเนินวิเทโศบายผูกมิตรกับมหาอำนาจรัสเซีย  เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป  โดยระหว่างที่มกุฏราชกุมารแห่งรัสเซีย เสด็จฯจากอินเดียมาแวะไทย  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ และเต็มที่  ทำให้ทั้งสองพระองค์กลายเป็นพระสหายสนิทข้ามทวีป  ทั้งๆที่ทรงมีพระบุคลิกภาพแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  โดยองค์ประมุขแห่งรัสเซียทรงประหม่าขี้อาย  ขณะที่พระพุทธเจ้าหลวงของไทยทรงร่าเริงอบอุ่น

ซึ่งต่อมามกุฏราชกุมารแห่งรัสเซีย  ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่สอง (จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิรัสเซีย ก่อนการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบสังคมนิยม)

พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่สองได้ทรงส่งนักการฑูตระดับสูง  เข้ามาเป็นเอกอัครราชฑูตประจำประเทศไทย  เพื่อช่วยไทยแก้ปัญหาข้อพิพาทชายแดนกับฝรั่งเศสด้วย

พระราชดำรัสที่บ่งบอก ถึงพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระองค์ท่าน…..

เราตั้งใจอธิษฐานว่า  เราจะกระทำการจนเต็มกำลังอย่างที่สุด  ที่จะให้กรุงสยามเป็นประเทศอันหนึ่ง ซึ่งมีอิสรภาพและความเจริญ” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรักชาติบ้านเมือง  และความหวงแหนในเอกราชของแผ่นดินสยาม

ช่วงวิกฤตของประเทศสยาม

พ.ศ. 2436  ทำสนธิสัญญาและอนุสัญญาไทย-ฝรั่งเศส

พ.ศ. 2437  ทั้งในปารีสและในอาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศส  มีความก้าวร้าวรุนแรงต่อสยามมากขึ้น

พ.ศ. 2439  มีแรงบีบคั้นเพื่อให้รัฐบาลฝรั่งเศสตัดสินใจใช้กำลังอาวุธเข้ายึดครองบริเวณฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่างเปิดเผย  โดยเฉพาะหลังการประกาศ “คำแถลงการณ์ร่วมอังกฤษ-ฝรั่งเศส”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ใน พ.ศ. 2440  และ พ.ศ. 2450

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก พ.ศ. 2440  เพื่อ

  • ทำความเข้าใจกับชาติที่คุกคามไทย  ในการเจรจาโดยตรงกับผู้นำของฝรั่งเศส  แก้ไขปัญหาความขัดแย้งในกรณีที่สืบเนื่องจากวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)
  • แสวงหาชาติพันธมิตรมาช่วยเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ  โดยเฉพาะประสบความสำเร็จในการสร้างสัมพันธไมตรีกษัตริย์รัสเซีย พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่สอง แห่งราชวงศ์โรมานอฟ  และได้ส่งเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถไปศึกษาที่ประเทศรัสเซียด้วย
  • ได้ทรงเจรจาและปรับความเข้าใจกับฝรั่งเศส  ที่กำลังคุกคามไทยอย่างมาก
  • ทอดพระเนตรความเจริญของยุโรป  จะได้นำมาเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงบ้านเมือง

รวมทั้งการแวะอินเดียถึง 3 เดือนเพื่อ

  • ดูวิธีการจัดระเบียบบ้านเมืองของอังกฤษกับเมืองขึ้นอินเดียและสิงคโปร์
  • เลิกทาสเพื่อให้มหาอำนาจเคารพไทย
  • การตัดคูคลองเพื่อสร้างเศรษฐกิจสังคมเกษตร
  • กฏหมายให้ทุกคนมีความเสมอภาค

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2  พ.ศ. 2450

  • เพื่อรักษาพระอาการประชวรเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและพระวักกะ(ไต)
  • เพื่อเจรจาราชการบ้านเมืองกับชาติตะวันตกต่างๆ
    • เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต  เรื่องคนในบังคับฝรั่งเศส  อำนาจการปกครองเหนือดินแดนเมืองหลวงพระบางบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงและเขตปลอดทหาร(ไทย) ระยะ 25 กม. บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตลอดแนวชายแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส
    • ปัญหาภาษีร้อยชัก 3  เป็นร้อยชัก 10
    • โครงการสร้างทางรถไฟสายใต้
  • ทรงให้สัตยาบันในสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2449
  • เจรจากับประเทศอังกฤษส่งผลให้เกิดสนธิสัญญาแลกเปลี่ยน 4 รัฐมลายูในเวลาต่อมา
  • การเสด็จพระราชดำเนินทรงรับปริญญาด็อกเตอร์ออฟลอว์ (Doctor of Law) ณ บ้านของอธิการบดีมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

รัชกาลที่ 3 ทรงเป็นทั้งกวี  นักรัฐศาสตร์  นักเศรษฐศาสตร์  นักการทหาร  นักการศึกษา  ภูมิสถาปนิก   เคยค้าสำเภาจนได้ราชสมญานามว่า เจ้าสัว พระองค์ท่านก็ได้ทรงเตือนให้ระวังฝรั่งไว้  เก็บพระราชทรัพย์ไว้มากเพื่อสร้างวัดและทรงยกให้เป็นสมบัติของชาติ  ซึ่งภายหลังได้นำมาจ่ายเป็นค่าปรับให้กับฝรั่งเศสเป็นเงินถึง 3 ล้านบาทและอีก 2 ล้านฟรังก์

แนวทางสร้างสันติสุขของพระองค์ท่าน

  • Relationship: มาจากการเยี่ยมเยือนสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน
  • Peace Talk:   มาจากการพบปะพูดคุยศุ่ความตกลง
  • Peace Net:    การสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างสังคมสู่สันติสุข
  • Peace Communication:  การสื่อสารเพื่อสันติที่ให้เห็นภาพลักษณ์ที่ดี
  • Trust:   สร้างให้เกิดความไว้วางใจและมีความเชื่อมั่น
  • Fear:  ความหวาดกลัว  เรามักกลัวสิ่งที่เราไม่รู้  คาดเดาไม่ได้  ยังไม่เคยเห็นและยังไม่เคยเป็น
  • Expectation:  ความคาดหวัง

1300259340

พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะทรงฉายคู่กับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2  ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2440  เป็นหนึ่งในภาพข่าวที่ฮือฮาและมีนัยยะสำคัญทางการฑูตเป็นอย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ (ไต) เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม  พ.ศ. 2453  เวลา 2.45 นาฬิกา รวมพระชนมายุได้ 57 พรรษา  หลังจากที่เสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจไม่นาน

Post to Facebook Facebook


พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 1 สิงหาคม 2011 เวลา 22:39 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1930

29 กรกฎาคม 2554   13.30-16.30 น.

พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล  สถาบันพระปกเกล้า

บ่ายวันนี้ลุงเอกมาพูดคุยหัวข้อ พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี: สงครามไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการแก้ไขปัญหาเขตแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

ก่อนอื่นต้องขออนุญาตแนะนำความสำคัญของการบรรยายครั้งนี้ให้ทราบก่อน  ข้อความและรูปภาพข้างล่างนี้  เอามาจาก facebook ของลุงเอก ตามไปสมัครเป็นเพื่อนได้นะครับ

หนังสือลุงเอก

วันที่ ๑๔ มิ.ย.นี้จะมีบรรยายที่โรงเรียนน​ายร้อย จปร. ใช้เวลาสามชั่วโมงเป็นการบรรยาย​ครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต และเป็นเกียรติของชีวิตอย่างสูง​ส่ง วันนี้จึงต้องไปหาซื้อหนังสือเพื่อเตรียมตัวหาข้อมูล
ซื้อหนังสือที่ศูนย์หนังสือจุฬา​มาร่วมสามสิบเล่มค่อยอุ่นใจ

หัวข้อที่บรรยายคือปัญหาแนวเขตแ​ดนไม่จำเป็นต้องจบด้วยสงคราม เรื่องก็น่าสนใจ ต้องหาข้อมูลตั้งแต่ ร.๕ จบการบรรยายจะกลับมาเล่าให้ฟัง
ลุงเอก
……การบรรยายครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตก็มาถึง เป็นการบรรยายที่ต้องเตรียมตัวม​ากเป็นพิเศษในชีวิต หัวข้อเรื่องก็ไม่เคยมีใครบรรยา​ยมาก่อน เพราะชื่อเรื่องคือ “สงครามไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของกา​รแก้ไขปัญหาเขตแดนไทยกับประเทศเ​พื่อนบ้าน”
สำคัญที่สุดต้องเล่าย้อนไปสมัยพ​ระพุทธเจ้าหลวงเมื่อครั้งวิกฤตส​ยามที่เป็นวิกฤติที่สุดของชาติ ที่พระองค์ทุ่มเทพระวรกาย จิตใจในขณะทรงประชวรทำให้ไทยอยู่รอดไม่ตกเป็นเมืองขึ้นมาถึงทุก​วันนี้ แล้วประเทศต่างๆเขาก้าวข้ามจากส​งครามไปสู่สันติได้อย่างไร กับประเทศไทยที่กำลังจะก้าวข้าม​ความสันติไปสู่สงครามทุกวี่ทุกวัน อะไรก็ไม่สำคัญเท่าการได้รับพระ​มหากรุณาไปบรรยายครั้งนี้ของกอง​ประวัติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระองค์ท่านทรงเป็นผู้อำนวยการก​องฯ และพระองค์ทรงเลือกวิทยากรมาบรร​ยายพิเศษเอง และทรงประทับรับฟังพร้อมนักเรีย​น จปร. และทรงซักถามและอธิบายเพิ่มเติม​เอง นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สูงสุดของชีวิตอันติดดินของลุงเอ​ก

นั่งฟังเพลินไปเลย  ไม่ได้จดเพราะฟังแล้วสนุก  แล้วจะเอาอะไรมาเขียนมาเล่าให้ฟัง  อาจต้องไปโลตัส(ซื้อเทียนไข)  อิอิ

Post to Facebook Facebook


ศาสนเสวนาของจริง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 1 สิงหาคม 2011 เวลา 21:39 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2000

เสียดายที่พระศรีคัมภีรญาณไม่ว่าง  ไม่ได้มาพบปะพูดคุยด้วย  อาจารย์วินัย สะมะอุนก็มีธุระ  หลังเบรคเช้าก็เข้ามาพบปะพูดคุยพักหนึ่ง  เลยเหลืออาจารย์นริศ มณีขาวแต่ผู้เดียว

เริ่มเปิดรายการโดยเจ้าเก่า พันเอก เอื้อชาติ หนุนภักดี นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก

ถาม ชอบเรื่องค้างคาวกับนกเงือกมาก  แต่ในความเป็นจริงต้างคาวจะอยู่เป็นฝูง  มีความหลากหลายเหมือนภาพจริงของสังคม  แล้วผลจะเป็นอย่างไร?

ตอบ เด็กแว๊นในสังคมมีมาก มีคนรำคาญในโรงเรียนก็คว้าปืนออกมา จะจัดการกับเด็กแว๊น  ต้องใช้กระบวนการที่ซับซ้อนมากขึ้น

วันที่ 10 เมษายน 2553 กรณีชุมนุม  แยกเหลืองแดง  ทีมงานสันติอาสาซึ่งเป็นทีมงานที่ทำงานเงียบๆ จัดพูดคุย ให้รับฟังกันเพือหาความต้องการ ก็ลดความรุนแรงลงได้

ในวันที่ 10 เมษายน  สันติอาสาเจรจาทั้ง 2 ฝ่าย  ทหารกับผู้ชุมนุม  ผู้ชุมนุมก็สามารถกลับบ้านได้เพราะความต้องการคือความปลอดภัย  น่าจะช่วยได้  มีคนกลับบ้านอย่างปลอดภัยประมาณ 1,000 คน

นฤมล ศิริวัฒน์ สมาชิกวุฒิสภา

นฤมล (Small)

ถาม กรณี Oslo ความสูญเสียมาก  คนที่สูญเสียรู้สึกว่าการเยียวยา-วิธีลงโทษในประเทศนอร์เวย์เบาเกินไป  รู้สึกไม่เป็นธรรม

ตอบ การเจรจาน่าจะช่วยได้ เพื่อเยียวยา  ทำให้เกิดความพึงพอใจ

ถาม กฏหมายไม่ให้ประหารชีวิต  ประเทศเชื่อในการไม่ใช้ความรุนแรง  เลยทำให้สั่นคลอนทั้งระบบ  เป็นโจทย์ใหม่

ตอบ ทำอย่างไรให้สังคมปลอดภัย การลงโทษน่าจะเหมาะสม?   ประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นที่อเมริกาก็มีเหตุการณ์แบบนี้บ่อย

แสดงว่าสังคมป่วย  มีความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย  จะทำอย่างไรดี?

อาจเป็นเพราะเราไปสนใจเรื่องเศรษฐกิจ  ไม่ได้สนใจความสุขมวลรวมของประชาชาติเหมือนภูฎาน  ต้องหาตัวชี้วัดไว้ด้วย

ประเทศไทยจะพัฒนาตรงนี้ได้อย่างไร?

พวกเราจะช่วยกันทำตรงนี้ได้อย่างไร ?  เพื่อลูกหลาน

ผู้ใหญ่ยังมีปัญหา  ยังยิงกัน ฆ่ากัน  แล้วจะไปสอนเด็กๆได้อย่างไร?

พี่นฤมล ก็มีคนสนับสนุนคนที่ก่อเหตุ

อาจารย์นริศ ไปทางใต้  ผู้คนก็เจ็บปวด  ต้องให้มีเวทีพูด เพื่อแสดงความต้องการ

คำพูดอาจรับยาก  แต่ก็อาจจะแสดงความต้องการออกมาได้

ต้องเปิดพื้นที่  หาความต้องการ  แล้วจะรู้ว่าจะทำอย่างไร?

พี่นฤมล ต้องหาความต้องการของผู้ก่อเหตุ

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

ถาม เมื่อเกิดความขัดแย้งแล้ว  วิธีการจัดการและเยียวยาเป็นปลายเหตุ  สถานการณ์ของสังคมไทยในปัจจุบันมีความขัดแย้งที่ควบคุมไว้  ในศาสนาคริสต์มีมาตรการป้องกันความขัดแย้งไหม?

ตอบ ศาสนา  ถ้าใส่ใจตอบโจทย์ความต้องการของผู้อื่นได้ก็จะไม่เกิดความขัดแย้ง

กานต์ ยืนยง กรรมการผู้อำนวยการ บจ. สยามอินเทลลิเจนซ์ ยูนิต

1-8-2554 20-58-26

แสดงความคิดเห็น ผู้ก่อเหตุเขียน e-book ร้อยกว่าหน้า ได้ดาวน์โหลดมาอ่านแล้ว  มีระบบความคิดที่ซับซ้อน  เขารู้สึกว่าโลกถูกครอบงำโดยมาร์กซิสม์  ฝ่ายซ้าย  สังคมพหุนิยม  แล้วจะถูกครอบงำโดยมุสลิม  ผู้ก่อเหตุยอมรับชะตากรรม

อาจารย์นริศ ความต้องการของผู้ก่อเหตุ ต้องการปกป้องชุมชน ผู้คน  ต่อต้านภาครัฐ  ความต้องการสวยงาม  แต่การกระทำรุนแรง รับไม่ได้  การปกป้องมีหลายแบบให้เลือก

มีคนต่อต้านศาสนา  มองว่าต้องการอิสระ

สิงห์ชัย ทุ่งทอง สมาชิกวุฒิสภา

1-8-2554 21-13-01

แสดงความคิดเห็น ภูฏานคล้ายชนเผ่าหนึ่ง  ต่อไปคงเป็นแค่เรื่องเล่า  เราดูภายนอกคล้ายกับมีความสุข

ภูฏานเหมือนแมวที่คิดว่าตัวเองมีความสุข  ที่อาจารย์พูดเป็นทฤษฎี  แต่สังคมไทยปัจจุบัน  พยายามหา Content แล้วนำไปสู่คน 60 ล้านคน  จะทำอย่างไร?

ยุคใหม่ สื่อจะเป็นเครื่องมือที่จะทำให้แนวทางปฏิบัติไปสู่คน 60 ล้านคน

สังคมไทยลืมเอาสิ่งที่มีประโยขน์มาใช้

นักศึกษามาเรียนจะเข้าใจ  แต่คน 60 ล้านคนจะเข้าใจไหม?

รัฐบาลจะนำสิ่งนี้ลงสู่ประชาชนได้อย่างไร?  ต้องอาศัยสื่อ  ผ่านประเพณี วัฒนธรรมและศิลปะ

พวกเราต้องร่วมกัน  ถ้ามุ่งไปทางตะวันตกคงไม่ใช่คำตอบ  ยังมองไม่เห็นว่าองค์กรไหนจะทำ ? ทั้งๆที่มีองค์ความรู้มากมาย

สถาบันพระปกเกล้าควรเป็นคนนำเสนอรัฐบาล

อาจารย์นริศ การรณรงค์ร่วมกันในการต่อต้านสงคราม 25 ล้านคนทั่วโลกเป็นเครือข่ายนักสันติวิธีทั่วโลก  ผ่าน Social Media

พลตำรวจตรี อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ

รับหน้าที่มาขอบคุณอาจารย์  พระศรีคัมภีรญาณไม่มี  อาจารย์ตึ๋งเล็กเลยอ่านเอกสารแล้วสรุปแทนพระศรีคัมภีรญาณ

…….บุคคลที่ขัดแย้งกันจะโกรธกัน  เป็นกิเลส  มีวิธีบริหารความโกรธ 9 วิธี

  1. เมื่อรู้สึกโกรธ ให้ระลึกถึงโทษของความโกรธ
  2. เมื่อรู้สึกโกรธ ให้ระลึกถึงความดีของเขา
  3. เมื่อรู้สึกโกรธ ให้รู้เสียด้วยว่า “โกรธคือทำทุกข์ให้ตนเอง”
  4. เมื่อรู้สึกโกรธ ให้พิจารณาว่า “มนุษย์ทุกผู้ตัวตนมีกรรมเป็นของตน”
  5. เมื่อรู้สึกโกรธ ให้ระลึกบุพพจริยา(การทำความดีครั้งอดีต)ของพระพุทธองค์
  6. เมื่อรู้สึกโกรธ ให้ระลึกถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในวัฏฏสงสาร
  7. เมื่อรู้สึกโกรธ ให้พิจารณาอานิสงส์เมตตา
  8. เมื่อรู้สึกโกรธ ให้ใช้วิธีพิจารณาตัวคนโดยแยกธาตุ
  9. เมื่อรู้สึกโกรธ ให้ทำทานสังวิภาค คือให้สิ่งของแก่คนที่โกรธและรับสิ่งของจากคนที่โกรธ

แถมด้วยให้ดูกาละเทศะก่อนใช้คำพูด  แต่ได้ยินเสียงแว่วๆว่า  บ่ายโมงแล้ว….หิว…..  อิอิ

Post to Facebook Facebook


“ศาสนเสวนา:สันติวิธีในวิถีชีวิต” (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 1 สิงหาคม 2011 เวลา 2:16 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2209

ประเด็นร้อนๆในการปฏิรูปประเทศไทยคือการสร้างความเป็นธรรม

ยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำทั้ง 5 มิติ

  1. รายได้
  2. สิทธิ
  3. โอกาส
  4. อำนาจ
  5. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

“สันติจะไม่เกิด ถ้าไม่มีความเป็นธรรม”

การปฏิรูปการเมืองต้องเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจ กลุ่มที่พลังอำนาจมีอยู่สามกลุ่มคือ

  1. กลุ่มคนกลไกรัฐ คือข้าราชการ ตำรวจ ทหาร
  2. กลุ่มทุน
  3. ประชาชนทั่วไป

กลุ่มกลไกรัฐและกลุ่มทุนผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้ปกครอง ประชาชนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศกลับไม่มีอำนาจเลย

ปฏิรูปการเมืองต้องเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจ?
ถ้าเราต้องการปฏิรูปการเมือง เราต้องปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ต้องทำให้ภาคประชาชนนั้นมีดุลย์ อำนาจใกล้เคียง หรือไม่แตกต่างกันมากกลับอำนาจของกลไกรัฐและอำนาจของทุนภาคประชาชน มวลชนจะต้องเป็นกลไกอำนาจตัวหนึ่งที่สามารถดุลย์ ถ่วง คาน งัดกับกลไกรัฐและทุนได้ ในปัจจุบันกลุ่มคนกลไกรัฐที่มีทหาร ตำรวจ ข้าราชการทั้งหลายก็จับมือกับกลุ่มทุน จะเห็นว่ากลุ่มทุนนั้นอำนาจมากมายมหาศาลอยู่แล้ว บางครั้งทั้งสองอำนาจนี้ก็ปะทะกัน บางครั้งก็ประสานกัน และยิ่งซับซ้อนขึ้นอีก เมื่อกลุ่มทุนแบ่งเป็นสองซีก อีกกลุ่มหนึ่งร่วมมือกับกลไกรัฐ ขณะเดียวกันกลุ่มทุนอีกกลุ่มก็ร่วมมือกับกลไกรัฐอีกกลุ่มหนึ่ง กลายเป็นสองซีกที่แต่ละซีกมีทั้งทุนและกลไกรัฐจับมือกันอยู่ทั้งสิ้น จากนั้นก็พยายามที่จะผลักดันใช้ประชาชนมาหนุนตนเอง แล้วก็สร้างปรากฏการณ์ต่างๆ ในนามประชาชน

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ http://thaireform.in.th/

อาจารย์เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ที่ไปพบเด็กชาวม้งกินข้าวกับน้ำ กินข้าวกับเกลือ ไม่เคยเจอไข่เจียว น่องไก่ทอด

มีกรณีของการที่ระยองปล่อยก๊าซ Carbon dioxide 75% ของทั้งประเทศ แต่ชาวเขาปล่อยแค่ 4% ถูกจับติดคุก 150 ปี ถูกปรับกรณีทำให้เกิดก๊าซ Carbon dioxide เป็นเงินค่าปรับ 150 ล้านบาท

สังคมขาดความเข้าใจคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากเรา  ไม่ทราบว่าเขาคิดอย่างไร? อยากได้อะไร?

Marshall B. Rosenberg มีข้อสงสัยอยู่ว่า

  1. เพราะเหตุใดมนุษย์จึงถูกตัดขาดจากความกรุณาอันเป็นธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์  และหันไปใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น
  2. แล้วเพราะเหตุใดมนุษย์บางคนยังคงไว้ซึ่งความกรุณา  แม้ว่าเขาจะอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายเพียงใดก็ตาม

จึงค้นหาจนได้คำตอบว่าพื้นฐานของมนุษย์ต้องการความรัก  ความเข้าใจ  สันติ  มิตรภาพ  ความมั่นคง  และการดูแลเอาใจใส่

นักสันติวิธีทำหน้าที่เป็นคนกลางที่จะทำให้คนที่ขัดแย้งกันทราบความต้องการในส่วนลึกของแต่ละฝ่าย  ทำให้ได้ยินกัน

ในการเจรจากัน  ต่างฝ่ายต่างไม่สามารถบอกความต้องการส่วนลึกของตนเองได้  อีกทั้งยังไม่สามารถทราบและเข้าใจความต้องการของอีกฝ่าย  จึงเป็นหน้าที่ของนักสันติวิธีที่ต้องมีทักษะ  ทำให้ทุกฝ่ายได้ยิน เข้าใจ รับรู้ความต้องการของอีกฝ่าย

เช่นฝ่ายหนึ่งแค่ต้องการความปลอดภัย  ไม่ต้องการใช้ความรุนแรง  อีกฝ่ายอาจต้องการความเท่าเทียมกัน  หรือต้องการความจริง  ความชัดเจน

หลังจากพักเที่ยงก็เป็นรอบที่ 2

อ.วินัย สะมะอุน

ในศาสนาอิสลามสอนไว้…

  1. ต้องพยายามรู้จักซึ่งกันและกัน  แม้จะแตกต่างกัน  พระเจ้าได้สร้างเผ่าพันธ์ที่แตกต่างกันเพื่อให้มารู้จักกัน
  2. ห้ามไม่ให้เกลียดชังซึ่งกันและกัน เพราะเป็นเหตุให้ไปประทุษร้ายต่อผู้อื่นและทำให้ไม่เป็นธรรม
  3. ไม่ให้ข่มเหง ดูถูกดูแคลนซึ่งกันและกัน เพราะจะทำให้เกิดความหวาดระแวง

ถ้าติดตามดูข่าวอาจเห็นว่ามุสลิมชอบความรุนแรง  แต่ศาสนาสอนให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  ความขัดแย้งเป็นเรื่องอื่น  เป็นเรื่องการเมือง  ไม่ใช่สาเหตุจากศาสนา

อ.นริศ มณีขาว

1-8-2554 2-09-34

ถ้าเรายึดเอาเงิน อำนาจ  และการได้รับการยกย่องเป็นเป้าหมาย  เราก็คิด  ใช้ชีวิตและทำงานไปแบบหนึ่ง

1-8-2554 2-09-07

แต่ถ้าเป้าหมายของเราเป็นความรักต่อพระเจ้า  ความรักต่อเพื่อนมนุษย์และความรักต่อธรรมชาติ  เราก็จะคิดต่างออกไป  ใช้ชีวิตและทำงานต่างไปจากเดิม  โดยใช้เงิน อำนาจและการยกย่องเป็นเครื่องมือและวิธีการ  ไม่ใช่เป็นเป้าหมาย

อาจารย์พยายามเน้นให้เห็นความสำคัญของการค้นหาความต้องการ

คำทักทายภาษาฮีบรู  ทักทายกันด้วยคำว่า Shalom  ซึ่งแปลว่า ขอให้ปลอดภัย

ความต้องการของคนภาคใต้  ต้องการความปลอดภัย  ความสงบสุข

บทบาทของศาสนา

  1. ให้วิธีคิด
  2. ให้ย้อนมองตัวเอง
  3. ให้แบบอย่าง - แนวปฏิบัติ
  4. เตือนสติ - ให้เข้มแข็ง
  5. เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของเพื่อนมนุษย์

อาจารย์ยกตัวอย่างของสามีภรรยาที่ทะเลาะกันมานานถึง 39 ปี  เริ่มทะเลาะหลังแต่งงานกันได้ 6 เดือน  เพราะภรรยาเขียนเช็คเกินบัญชี  สามีเลยคุม  ไม่ให้เขียนเช็คอีก  เลยทะเลาะกันเพราะเรื่องนี้มา 39 ปี

นักสันติวิธีบอกว่าสามารถจัดการเรื่องนี้ได้ภายใน 20 นาทีหลังจากที่ทั้งสองคนสามารถบอกได้ว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไร?

จะทะเลาะกันด้วยเรื่องอะไรก็ตาม  คนกลางหรือนักสันติวิธีต้องพยายามหาความต้องการให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจกัน

บางครั้งความต้องการก็ซ่อนอยู่ในความรู้สึก  และบางครั้งคู่กรณีก็เจ็บปวดมากที่คนกลางต้องปฐมพยาบาล(ด้านจิตใจ)

ในการเจรจาที่เริ่มด้วยการต่อว่ากันไปมา  คนกลางก็พยายามให้ทั้งสองฝ่ายหาความต้องการส่วนลึกออกมา

จนได้ความต้องการของสามี

ความต้องการของสามี สามี “รู้สึกกลัว ต้องการปกป้องครอบครัวเรื่องการเงิน”

ความต้องการของภรรยา ภรรยา “ต้องการความไว้วางใจ”

คนกลางอาจจะไม่เห็นด้วย  แต่คู่กรณีเกิดความเข้าใจกัน

เมื่อทั้งคู่เข้าใจ ทราบความต้องการของกันและกันแล้ว เรื่องของวิธีการ  ข้อตกลงที่จะพูดคุยกันต่อไปก็จะง่าย…และจบลงด้วยดี

Post to Facebook Facebook


“ศาสนเสวนา:สันติวิธีในวิถีชีวิต” (1)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 1 สิงหาคม 2011 เวลา 0:59 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3004

29 กรกฎาคม 2554  9.30-12.30 น.

Photo987 (Small)

อาจารย์วินัย สะมะอุน

อาจารย์นริศ มณีขาว

พระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(ติดธุระ)

วิชาที่เรียนกันวันนี้เป็นเรื่องของสันติวิธีจากมุมมองของศาสนาต่างๆ  อาจารย์วินัย สะมะอุนมาให้มุมมองจากศาสนาอิสลาม  อาจารย์นริศ มณีขาวมาให้มุมมองจากศาสนาคริสต์  พระศรีคัมภึรญาณติดธุระ  แต่ก็เมตตาฝากเอกสารมาให้ศึกษา

อาจารย์วินัย สะมะอุน

อาจารย์ทักทายพวกเราด้วยภาษอาหรับ …ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสุขและสันติ กล่าวสดุดีพระเจ้าและประสาทพรให้แก่กัน

31-7-2554 22-23-38

อาจารย์อธิบายเรื่องสัญชาติไทย  ว่าแม้เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประเพณี วัฒนธรรมจะแตกต่างกัน  เมื่อได้สัญชาติไทยแล้วก็จะมีสิทธิเสรีภาพ  และหน้าที่เท่าเทียมกันหมด

สมันกรุงศรีอยุธยา เมืองไทยเรามีผู้คนหลายเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประเพณีและวัฒนธรรม  แต่ก็มาอยู่ร่วมกันได้ ไม่เป็นเหตุที่จะให้มีความรู้สึกว่าเป็นคนละพวกกัน  หรือทำให้เป็นศัตรูกัน  มีสำนึกร่วมในความเป็นชาติเดัยวกัน  เมืองไทยยอมรับพหุวัฒนธรรมมาแต่เดิม

อย่าไปมองว่าต้องมีวัฒนธรรมเดียวกัน

รัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้  แต่ก็มีประเด็นที่ระบุว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ  คนสัญชาติไทยทุกเชื้อชาติ ศาสนาก็ถูกเกณฑ์เป็นทหาร  มีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าเทียมกัน

ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี  อยู่ร่วมกันอย่างสันติแม้พิธีกรรมทางศาสนาจะแตกต่างกัน

ประวัติศาสตร์มีไว้เรียนรู้  แต่ไม่ใช่เอามาเป็นประเด็นให้เกลียดกัน  อย่าเอาอารมณ์มาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ในคัมภีร์อัล-กุรอาน ก็สอนไว้:

……แต่ละชีวิตต้องพิจารณาอดีต เพื่อเตรียมอนาคต

……ต้องมีสำนึกร่วม  ต้องอยู่อย่างมิตร

ไม่ใช่เอาอดีตมาต่อเชื่อมกับอนาคต  แต่สอนให้พิจารณาอดีตเป็นบทเรียน เพื่อนำไปสู่อนาคต

เรื่องในอดีต  คนในอดีตเป็นผู้รับผิดชอบ  เหตุการณ์ในปัจจุบัน  เราซึ่งเป็นคนในปัจจุบันเป็นผู้รับผิดชอบ

อาจารย์นริศ มณีขาว

อาจารย์เริ่มเปิดประเด็นว่า “ ศาสนาสร้างสันติหรือสร้างความขัดแย้ง”

ตามด้วยให้ดู VDO เรื่องค้างคาวกับนกเงือก

200409191204130.bat

เริ่มด้วยฉากตอนใกล้รุ่ง ค้างคาวกลับจากการออกหาอาหารก็กลับมาห้อยหัวนอนนอนที่กิ่งไม้ใกล้ๆกับโพรงนกเงือก  พอเริ่มสว่างนกเงือกที่หลับอยู่ที่กิ่งไม้ข้างๆโพรงก็ตื่น  ส่งเสียงร้องปลุกลูกๆสามสี่ตัวในโพรง  ลูกๆก็ส่งเสียงร้องดังมากเพราะหิว  นกเงือกจึงไปหาอาหารจำพวกหนอนมาป้อนลูกๆซึ่งส่งเสียงร้องเพราะความหิว  รบกวนค้างคาวที่ต้องการพักผ่อน

ค้างคาวต้องสะดุ้งตื่นบ่อยครั้ง  ท่าทางอารมณ์เสียเอามากๆเพราะอดนอน  และรำคาญเสียงของนกเงือกและลูกๆ

ตกกลางคืน นกเงือกและลูกๆก็หลับ  ค้างคาวก็ออกหากิน  แต่ตกดึกค้างคาวก็แอบมาที่โพรงของนกเงือก  แล้วก็อาศัยความมืดหลบเข้าไปในโพรงของนกเงือกซึ่งมีลูกๆของนกเงือกนอนหลับอยู่

พอเช้า  นกเงือกก็ตื่น  ส่งเสียงปลุกลูกๆ  แต่คราวนี้เงียบกริบทีเดียว  เกิดอะไรขึ้น ?

นกเงือกรีบชะโงกเข้าไปดูในโพรงด้วยความตกใจ !!!!!!!!!!!

อาจารย์ก็อธิบายเรื่องความต้องการ

31-7-2554 23-59-04

ค้างคาวมีทางเลือกดังนี้

1-8-2554 0-08-07

ใน VDO นกเงือกพบว่าที่ลูกนกเงียบเสียงไปเพราะมัวกินหนอนหลายตัวที่ค้างคาวหาเผื่อมาให้กิน  ค้างคาวเลือกหาอาหารให้ลูกนก  ค้างคาวก็ได้พักผ่อนนอนหลับอย่างสบาย

หลักสันติวิธี

  1. ให้ความสัมพันธ์ (ความเข้าใจ) ก่อนแก้ปัญหา
  2. ใส่ใจ ให้คุณค่ากับความต้องการของทุกคน (รวมทั้งของตัวเองด้วย)

Marshall B. Rosenberg  www.cnvc.org

แก่นของศาสนาต้องเพื่อมวลมนุษยชาติ

Post to Facebook Facebook


พูดคุย ซักถามกับอาจารย์มารค ตามไท

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 31 กรกฏาคม 2011 เวลา 20:49 ในหมวดหมู่ การจัดการขยะมูลฝอย, จอมป่วน, สุขภาพ #
อ่าน: 2418

อาจารย์มารค ตามไทจะทำความเข้าใจและเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง  แล้วจะเปิดโอกาสให้ซักถาม พูดคุยแสดงความคิดเห็น  ตามสไตล์ของหลักสูตร 4ส

เริ่มด้วย พอ. เอื้อชาติ หนุนภักดี นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก  แสดงความคิดเห็น

ลักษณะของสังคมสันติสุข …ไม่ใช่สังคมอุดมคติ  ไม่ใช่สังคมในอดีต

คนไทยมักจะอยากกลับไปสงบสุขเหมือนเก่า  เดิมคนไทยก็ไม่รักสงบ  ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเราก็ไม่สงบสุข  มีการรบราฆ่าฟันกันเองมาตลอด

เราไม่ระวัง  คิดว่าเรามีสันติมาตลอด

อ. มารค ตามไท

ถูกหมด วิธีแก้คือ ความรู้ รู้ว่าอดีตเราคืออะไร?

เรารู้แต่จากประสบการณ์ของเรา  แต่ประสบการณ์ของคนอื่นเราไม่รู้เลย เรื่องอดีตของสังคมไทย  ประวัติศาสตร์ไทยต้องมาเรียนรู้กันใหม่หมด  ต้องสนใจเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา

ภาพยนต์ เพลง ก็ไม่มีกล่าวถึง  ยกเว้นแต่เพลงลูกทุ่ง  ถึงมีก็ไม่ค่อยตรงกับความจริง

ประวัติศาสตร์ในหนังสือก็เอามาจากหนังสือ 5 เล่มที่เขียนมา 100 กว่าปีมานี้เอง  เพื่อปลุกกระแสรักชาติในสมัยล่าอาณานิคมในสมัยนั้น

ที่ว่าอยากกลับไปอดีตที่สงบสุขก็ไม่จริง  ต้องเรียนรู้  แต่จะเรียนรู้จากที่ไหน? อย่างไร?

สมัยก่อนอาจมีปัญหาน้อยกว่าปัจจุบัน  ถ้ามีข้อขัดแย้งคนเราก็พยายามเลี่ยงหนี  ย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น  ย้ายไปเรื่อยๆ  เข้าป่าไป

แต่ปัจจุบันไม่มีที่จะไปแล้ว มีพรมแดน  บางที่ก็เป็นป่าสงวน  การโยกย้ายของชุมชนทำไม่ได้แล้ว  ต้องอยู่เผชิญหน้าความขัดแย้ง  มันหนีกันไม่ได้

ปัจจุบันการเลือกตั้งอาจทำให้เกิดผลกระทบกับคนอื่นที่อยู่คนละที่กัน  ผลกระทบผ่านกลไกการเมืองการปกครอง  เป็นลักษณะของโลกปัจจุบัน  จึงมีความพยายามศึกษาเรื่องสันติวิธี

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

ถาม การแก้ไขความขัดแย้งที่ยั่งยืน อาจารย์มีมุมมองอย่างไรต่อปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทยในปัจจุบัน ?  อะไรเป็นรากเหง้า ?

ตอบ เป็นคำถามที่ยากมาก  ปัญหาอยู่ที่ไหน?   ถ้ารู้ก็จะแก้ได้

จริงๆปัญหามันเป็น multifactor

  • สังคมไทยไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจที่จะเผชิญกับของใหม่  ไม่กล้าเสี่ยง  ไม่หลุดจากกรอบเดิม  ความพร้อมที่จะเสี่ยงต้องมั่นใจในตัวเอง  สังคมไม่เคยคิดเอง  มีแต่คนอื่นคอยคิดให้  เสี่ยงร่วมกันทำไม่เป็น
  • ปัญหาระบบอุปถัมภ์เก่า  กลไกของรัฐอ่อนแอ  ก็จำเป็นต้องใช้ระบบอุปถัมภ์  นานๆเข้าก็ทำให้สังคมอ่อแอ
  • เป็นระบบที่หาผู้ใหญ่มาช่วย
  • ปัญหาปัจจุบันต้องร่วมกันแก้ปัญหา

อาจารย์ก็บอกว่าอาจารย์ก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร?

  • ต้องทำให้เกิดความมั่นใจกับสังคม  ไม่ใช่ตัวบุคคล  ถ้าเป็นตัวบุคคลก็ลองได้  แต่ถ้าเป็นเรื่องของสังคมจะลองได้ไหม?
  • ภาคธุรกิจ ไม่ติดกับดักสังคมไทยเพราะต้องแข่งขันทั่วโลก  จึงมีการปรับตัว  แต่สังคมเจ๊ง  ทำยังไง?

อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

31-7-2554 20-35-30

ถาม สันติวิธี ต้องมีการหาข้อเท็จจริง  หาข้อสรุป  ชำระประวัติศาสตร์  มีการลงโทษ  มีการขอโทษ  มีการยกโทษ  ภาคใต้มีปัญหามานาน  จะทำอย่างไร?

ตอบ ต้องแยกเป้าหมายออกจากวิธีการ  เราสับสนระหว่างเป้าหมายกับวิธีการสร้างความสมานฉันท์  เราต้องการให้ได้เป้าหมายคือสมานฉันท์  ส่วนที่พูดมาเป็นวิธีการ  อยู่ที่วิธีการไหนเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ของแต่ละสังคม

การหาข้อเท็จจริง  การหาข้อสรุป  การจับคนผิดมาลงโทษ  การนิรโทษกรรม  ต้องแยกแยะความผิดทางการเมืองไม่ใช่ความผิดทางอาญา

แต่ละประเทศ สถานการณ์ก็แตกต่างกัน เช่นในเขมร ราวันดา แอฟริกาใต้

สังคมต้องค้นหาและไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  ไม่ได้มีวิธีเดียว  จะใช้วิธีไหนก็ลึกซึ้งมาก

ในอเมริกาใต้ยึดหลักจับตัวมาลงโทษ  แอฟริกาใต้เน้นการอภัยโทษ

ความเชื่อทางศาสนาก็มีส่วน  มีผล  ขึ้นอยู่กับความเชื่อของสังคมว่า ลึกๆจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร?

Conflict Transformation ต้องมีการเปลี่ยนลักษณะบางอย่างของสังคม

พิเศษ นาคะพันธุ์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

31-7-2554 20-38-08

ถาม ขอความเห็นของอาจารย์  ความขัดแย้งทางการเมือง  ตั้งแต่ 10 เมษายน 2553,   28 เมษายน 2553, 19 พฤษภาคม 2553 ที่ราชประสงค์

การแก้ปัญหาที่ผ่านมา  มีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างไรบ้าง ?

ตอบ ขอตอบแบบคนที่รู้ไม่หมด

ภาพสรุปคือไม่มีความพยายามพอที่จะแก้ไขปัญหา  ไม่มีความรู้พอที่จะจัดการความขัดแย้ง

ถ้าจะแก้ปัญหา  ต้องรู้วิธี  ไม่ใช่แค่อยากจะทำ  ในฐานะคนดูแลรับผิดชอบต้องมีความสามารถมากกว่านี้

คนที่ทำงานด้านสันติวิธี  ยังไม่สามารถ convince รัฐบาลให้ยอมรับเรื่องราวเหล่านี้  เพราะเป็นเรื่องใหม่ของสังคม

เวลามีปัญหาคนสู้กันไม่ต้องโทษคู่กรณี  แต่ปัญหาอยู่ที่คนจัดการ  แต่เผอิญกรณีดังกล่าวรัฐบาลเป็นคู่กรณี  รัฐบาลและ ศอฉ. เป็นคู่กรณีเสียเอง  ไม่มีเจ้าภาพที่จะไปแก้ไขปัญหา  เป็นเรื่องที่ยากมาก  ตอนเกิดเหตุการณ์คงทำอะไรไม่ได้มาก  แต่ที่สำคัญคือ  อย่าให้เกิดอีก

พลตำรวจตรี อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ

31-7-2554 20-39-16

ถาม ถ้ารัฐบาลใหม่มอบหมายให้อาจารย์รับผิดชอบ

  1. ปัญหาภาคใต้ จะเสนอแนะรัฐบาลอย่างไร?  ประเมินอย่างไร?
  2. ถ้ามีเหตุการณ์ชุมนุมคัดค้านเกิดขึ้น  จะมีข้อเสนอแนะอะไรให้รัฐบาล

ตอบ

1. ปัญหาภาคใต้ก็ทำงานร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติอยู่แล้ว  มีทิศทางที่ดำเนินการอยู่ ใช้ Conflict Resolution  กับ  Conflict Transformation ควบคู่กันไป

มีการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล มีกระบวนการทำงานร่วมกับภาคสังคม  ที่สำคัญที่สุดคือ  คนที่อยู่ที่นั่น

การประเมินผลก็ยากมาก  ผลเป็นอย่างไร? วัดอย่างไร? เป็นคำถามที่ตอบยากมาก  จะประเมินด้วยตัวเลขศพ ?  สถานการณ์จริงๆไม่ Linear แบบนั้น

การทำงานให้สำเร็จองค์ประกอบต่างๆต้องครบ  เช่นแนวคิดด้านการเมืองการปกครอง  การปรับโครงสร้าง..ฯ  ถ้าทำสำเร็จบางส่วน  ยังไม่ครบองค์ประกอบ  มันก็ยังไม่จบ

2. ถ้าเกิดราชประสงค์ภาค 2 มีข้อแนะนำอย่างไร?

อย่ารอให้เกิดปัญหาแล้วขยับ  ต้องเริ่มทำงานตั้งแต่บัดนี้

รัฐบาลกำลังใช้อำนาจบริหาร  ถ้ามัวแต่ไล่แก้ปัญหาโดยมีเวลาเป็นข้อจำกัดก็จะยาก  ต้องทำการบ้านล่วงหน้า  และน่าจะเป็นของใหม่  วิธีใหม่  ไม่น่าจะเป็นเหตุการณ์ วิธีการเดิม

ต้องป้องกัน  ทำไมจะมีการชุมนุม?  ชอบธรรมมั๊ย?   จะมีมาทุกรูปแบบ  น่าจะมีทีมงานคิดตั้งแต่แรก

กิจจา อาลีอิสเฮาะ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

31-7-2554 20-40-23

ถาม ภาคใต้มีเจ้าหน้าที่รัฐ  ขบวนการ  ประชาชน  ต้องลดความรุนแรง  จะเริ่มอย่างไร?

ตอบ ปัญหาไม่ใช่ไม่รู้ว่าจะคุยกับใคร? แต่ปัญหาคือมีหลายกลุ่มมาก  ต้องคุยกับหลายๆฝ่าย  ภาครัฐก็ยังไม่มีเอกภาพระหว่างฝ่ายนโยบายกับฝ่ายปฏิบัติ  ไม่ใช่ไม่รู้  รู้  แต่เหตุการณ์มัน Dynamic

เกียรติเกริกไกร ใจสมุทร รองเลขาธิการมูลนิธิอัศนี พลจันทร์(นายผี)

31-7-2554 20-41-12

ถาม บทบาทนักสันติวิธี มีบทบาท มีศักยภาพในการจูงใจประชาชนและรัฐบาลมากน้อยแค่ไหน?

ตอบ ปัญหาอาจอยู่ที่ชื่อ “นักสันติวิธี” มันไม่ใช่แค่องค์ความรู้  ทฤษฎี  แต่เป็นเรื่องการปฏิบัติ  เป็นคนที่ต้องทำหลายอย่าง  ในการปฏิบัติเหมือนงานช่าง  เป็นงานใหม่ในสังคมไทย

เดิมมีผู้ใหญ่คอยไกล่เกลี่ย  ลดความขัดแย้งของตัวเอง  ทำมานานแล้ว  แต่คราวนี้เป็นเรื่องความขัดแย้งที่ใหญ่  เดิมก็แค่คุยกัน  ขอร้องแล้วก็ใช้อำนาจ  แล้วก็จบได้

แต่ปัจจุบัน  ความขัดแย้งซับซ้อนขึ้น  ขนาดใหญ่ขึ้น

งานของนักสันติวิธี เริ่มมาสิบกว่าปี เดิมก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้  ตอนนี้เริ่มรู้ว่าอะไรไม่ใช่  เป็นเรื่องของการปฏิบัติ  แต่อะไรใช่ก็ยังไม่รู้

ตอนนี้อยู่ในระยะที่ต้องพิสูจน์ตัวเอง  งานแบบนี้สงวนไว้ให้หน่วยงานความมั่นคง  คนนอกจะเข้าไปไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  ไม่ใช่เรื่องที่จะมาลองกัน

มีความคิดที่จะสร้างนักสันติวิธีในหน่วยงานเลย แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้

กองทัพอเมริกาก็พยายามดึงนักสันติวิธีไปคุยกับกลุ่มตาลีบัน

สังคมไทยก็อยู่ในระยะที่ให้โอกาสลองทำงานดู

นักสันติวิธีก็มีจรรยาบรรณ

  1. Do no harm
  2. ไม่ใช่เรื่องของมือสมัครเล่น
  3. มีเครือข่าย  ปรึกษาหารือกัน - Networking & Consultation (แต่วงการสันติวิธีทุกประเทศจะหวงงาน…ปัญหาอยู่ที่เงิน)

Post to Facebook Facebook


สันติวิธีในสังคมไทย:การรับรู้และความเข้าใจ–ศ. ดร. มารค ตามไท

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 31 กรกฏาคม 2011 เวลา 18:27 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2011

22 กรกฎาคม 2554   13.30-16.30 น.

sssDSC_0589

ก่อนอื่นอาจารย์ก็พยายามทำความเข้าใจกับนักศึกษาก่อนที่จะลงรายละเอียดต่อไป

อยู่ดีๆประเทศไทยเราจะกระโดดไปสร้างสังคมสมานฉันท์คงไม่ได้  เพราะ concept หรือความหมายของสังคมสมานฉันท์ก็ยังไม่ตรงกัน  แต่จะมุ่งไปหาวิธีทำกันแล้ว

คำถามคือ

  1. สังคมสมานฉันท์มีลักษณะอย่างไร?
  2. จะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมสมานฉันท์ได้อย่างไร?

ความคิดของอาจารย์คือ ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป

ในการสร้างสังคมสมานฉันท์เรากำลังมุ่งสร้างสังคมแบบไหน?

อาจารย์เริ่มจากที่ไม่ใช่ก่อน

  1. ไม่ใช่สังคมอุดมคติ (ต้องทำได้จริง และคงจะไม่ง่ายแน่นอน)
  2. ไม่ใช่สังคมในอดีต  (เราอาจมองว่าสังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่สงบสุข สมานฉันท์  แจ่อาจไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้  เราคงไม่รู้ความทุกข์ของอีกหลายภาคส่วน ในอดีตอาจมีความอึดอัด  แต่ประชาชนไม่แสดงออกหรือไม่สามารถแสดงออก)
  3. ไม่ใช่สังคมที่ทุกคนในสังคมรักและห่วงใยกัน (เอาแค่ทุกคนเคารพกันน่าจะง่ายกว่า  แต่ก็ยังคงยาก)

ลักษณะของสังคมสมานฉันท์

  1. มีความหลากหลายทางความคิดในเรื่องต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง  การปกครอง  หรือนโยบายสาธารณะต่างๆ สามารถแสดงออกได้เพื่อให้มีการถกกัน (ถ้าพูดไม่ได้  เก็บกดก็จะเกิดความรุนแรง)
  2. ทุกคนในสังคมรู้สึกว่าวัฒนธรรมเฉพาะของตนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมรวมของสังคมเท่าๆกับวัฒนธรรมอื่นในสังคม (คือยอมรับว่าสังคมไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม)
  3. ทุกภาคส่วนของสังคมเข้าใจและพยายามใช้หลักสันติวิธี  ในการจัดการกับความขัดแย้งในสังคม (มีวิธีจัดการกับความเห็นที่แตกต่างกัน  หาวิธีอยู่กับความเห็นที่แตกต่างกัน)
  4. ทุกคนในสังคมมีสถานะเป็นพลเมืองเต็มที่  รวมทั้งรับทราบในสิทธิและความรับผิดชอบต่างๆที่ตามมา (เข้าใจและยอมรับกติกาเดียวกัน  รวมถึงวิธีที่จะเปลี่ยนกติกา)
  5. ทุกคนในสังคมมีความหวังในการที่จะปรับฐานะทางเศรษฐกิจของตัวเองและครอบครัวให้ดีขึ้นได้

สังคมไทยจะไปสู่สังคมสมานฉันท์ดังกล่าวได้อย่างไร?

ในอดีตเราไม่มีทั้ง 5 ข้อดังกล่าว อดีตเป็นเหมือนเมฆที่ทอดเงาคลุมสังคมอยู่  สิ่งที่เราต้องทำคือ  ต้องหาวิธีออกจากเงานี้ให้ได้  เพื่อแสงสว่างจะได้ส่องลงมาถึง  แล้วเราก็จะสามารถเริ่มสร้างสังคมสมานฉันท์ที่เหมาะสมกับกาลเวลาได้ สังคมตะวันออก อดีตผูกมัดผู้คนไว้แน่น  ออกไม่ได้

สันติวิธีในสังคมไทย:การรับรู้และความเข้าใจ

ความเข้าใจสันติวิธีแตกต่างกัน  บางคนเห็นเป็นเรื่องตลก

อาจารย์อธิบายว่า คำว่าสันติวิธีมีความหมาย 3 อย่างที่แตกต่างกัน ภาษาอังกฤษใช้ศัพท์ 3 คำที่แตกต่างกัน  แต่ภาษาไทยใช้คำคำเดียวกัน  คือ

  1. สันติวิธีในบริบทของการต่อสู้เรัยกร้อง (ชุมนุมอย่างสันติ)
  2. สันติวิธีในบริบทของการรักษาความสงบ (รักษาความสงบโดยไม่ใช้ความรุนแรง)
  3. สันติวิธีในแง่ของการจัดการความขัดแย้ง (พยายามจัดการความขัดแย้งโดยหลักสันติวิธี)

1. สันติวิธีในการต่อสู้เรียกร้อง

Civil Disobedience -อารยะขัดขืน

  • ทำเพื่อเรียกความสนใจของมวลชน เป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชน สังคม (แต่ประชาชน สังคมอาจโกรธ ไม่พอใจเลยไม่เกิดการศึกษา)
  • เป็นวิธีแสดงออกของประชาสังคม
  • ต้องยอมรับโทษที่ตามมา ทำด้วยจิตใจที่มั่นคง มีเป้าหมายทางบวก

ตัวอย่างเช่น

  • การต่อสู้ให้สตรีมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง เดิมสตรีไม่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง  เกิดขบวนการเรียกร้องโดยสตรี  มีการเสนอให้แก้กฏหมายแต่ก็ไม่รับฟัง ต้องชุมนุมอย่างสันติ ทำผิดกฏหมายจนได้ผล  เป็นการต่อสู้ของประชาชน(สตรี)
  • สหภาพแรงงาน กว่าจะตั้งสหภาพแรงงานให้ถูกต้องตามกฏหมายได้ ก็มีการเรียกร้องจากกลุ่มคนที่มีอำนาจต่อรองน้อยกว่าในสังคม  มีการเคลื่อนไหว  มีการล้อมโรงงาน  จนเกิดสหภาพแรงงานที่ถูกกฏหมาย
  • แรงงานเด็ก เดิมการใช้แรงงานเด็กไม่ผิดกฏหมาย มีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิเด็กจนสำเร็จ
  • คนสีผิว เรื่องนี้ก็มีเรื่องราวของการต่อสู้จนสำเร็จ

สันติวิธี ความหมายของสันติวิธีของแต่ละสังคมก็แตกต่างกันไปตามบริบทของสังคมนั้นๆ  ต่างก็มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป

แต่ละสังคมต้องกำหนดและมีข้อตกลงร่วมกันให้ได้ว่าการกระทำแบบไหนเป็นสันติวิธีในสังคมนั้นๆ  โจทย์นี้ค่อนข้างยาก  เพราะแค่ในห้องนี้ก็เข้าใจไม่ตรงกัน  แล้วสังคมล่ะ?

บางสังคม ด่ากันเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางสังคมยอมรับไม่ได้

สังคมไทยล้อชื่อพ่อก็ต่อยกัน  สังคมอื่นเห็นว่าแปลก  ตลกมาก

หลากหลายวิธีที่ “สันติ” แต่อาจแตกต่างกันไปตามบริบทของสังคม ลองพิจารณาดูว่าเห็นด้วยไหม?

  • เขียนป้ายติดตามแหล่งสาธารณะต่างๆ
  • ให้รางวัลประชด
  • จัดพิธีกรรมทางศาสนา
  • ถอดเสื้อผ้าตามที่สาธารณะ
  • ทำลายทรัพย์สินของตัวเอง
  • ทำป้ายตั้งชื่อถนนและตึกใหม่
  • แสดงท่าทางและพูดหยาบคาย
  • เจาะจงบุคคลเฉพาะเพื่อกดดันโดยการล้อเลียนหรือยืนเฝ้าหน้าบ้านต่อเนื่อง
  • ทำพิธีหลอกเกี่ยวกับการตายของบุคคลต่างๆ
  • ไม่จ่ายค่าเช่า
  • นัดกันหยุดงาน
  • ถอดป้ายชื่อราชการ
  • ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ยุติการชุมนุม
  • ไม่ปฏิบัติตามกฏหมายที่คิดว่าไม่เป็นธรรม
  • ฯลฯ

2. สันติวิธีในแง่ของการรักษาความสงบก็มีปัญหาเหมือนกัน  แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม

อาจารย์ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เมืองเวโก รัฐเทกซัส  มีกลุ่มคนจับคนไปขังไว้  เผชิญหน้ากับตำรวจนาน 2 เดือน  มีการเจราจากันตลอด  สุดท้ายก็ตายกันหมด  ตำรวจก็ตาย

เกิดอะไรขึ้น ผลการศึกษาพบว่า  ตลอดเวลา 2 เดือนที่คุยกัน  มีการพูดกันแต่ไม่ได้ยินเสียงของกันและกัน  คือต่างฝ่ายต่างไม่ฟังกัน

คน 2 กลุ่มนี้คุยกันแบบคนละโลกทัศน์ กลุ่มหนึ่งมุ่งประเด็นทางศาสนา  อีกกลุ่มหนึ่งมุ่งรักษากฏหมาย  รักษาความสงบ

การเจรจาไม่ใช่งานของมือสมัครเล่น

3. สันติวิธีในบริบทของการจัดการความขัดแย้ง

Conflict Resolution เป็นการระงับความขัดแย้ง  เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ชั่วคราว  ลดความร้อนแรง  ลดความรุนแรง  การเจรจาขณะที่เกิดความรุนแรงแล้ว  ฆ่ากันแล้วเป็นเรื่องชั่วคราว  แต่ไม่ยั่งยืน  ต้องเสริมด้วย

Conflict Management คือบริหารความขัดแย้ง  อาจจะแค่ควบคุมสถานะการณ์ได้  แต่ไม่ยั่งยืน

Conflict Transformation แก้ไขที่ระดับรากเหง้าของความขัดแย้ง

แต่มีความขัดแย้งบางอย่างที่เกิดมานานแล้ว  ลุกลามไปไกลแล้ว  เหมือนมะเร็งปอด  เป็นแล้วถึงหยุดสูบบุหรี่ก็ไม่หาย  แต่อาจช่วยลูกหลานได้

ความขัดแย้งที่ทิ้งไว้นาน  ลุกลามไปไกลแล้วต้องหาวิธีใหม่ๆ

งานสันติวิธียังมีเรื่องของวัฒนธรรม  ไม่ใช่แค่ไปเรียนรู้มาจากที่อื่นแล้วนำมาใช้ได้เลย  แต่ต้องประยุกต์กับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

Post to Facebook Facebook


แนวคิดเอกนิยม-Monism vs พหุนิยม-Pluralism

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 31 กรกฏาคม 2011 เวลา 17:07 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2544

ขณะเรียนเรื่อง “สังคมพหุวัฒนธรรม” กับอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม และเรื่อง “สันติวิธีในสังคมไทย : การรับรู้และความเข้าใจ” จาก ศ.ดร. มารค ตามไท  ก็เกิดกรณี 2011 Norway Attacks คือมีการวางระเบิดสถานที่ราชการในกรุง Oslo และกราดยิงที่เกาะ Utoya โดยนาย Anders Behring Breivik เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 93 คน

31-7-2554 12-05-48    220px-Anders_Behring_Breivik_in_diving_suit_with_gun_(self_portrait)

จะเห็นได้ว่าประเทศนอร์เวย์ซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  มีการแบ่งเป็น 19 เขตการปกครองกับอีกหนึ่งเขตการปกครองพิเศษ  มีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล 435 แห่ง  รัฐบาลมีนโยบายที่จะยอมรับสังคมพหุนิยม มีคนต่างชาติที่ได้รับสัญชาตินอร์เวย์อยู่ประมาณร้อยละ 8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (จำนวน 364,981คน สถิติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548) ส่วนมากเป็นชาวปากีสถาน ชาวเคิร์ด โซมาเลีย และเวียดนาม)

แนวคิดของผู้ก่อเหตุออกมาแนวชาตินิยม ขวาจัด  ไม่ชอบให้มีผู้อพยพต่างชาติมาอาศัยอยู่ในประเทศ แนวคิดนี้ก็เริ่มมีคนสนับสนุนมากขึ้น

ข้อความออนไลน์ 1,500 หน้า ที่มีเนื้อความต่อต้านศาสนาอิสลามเป็นข้อความที่นายแอนเดอร์ส เบห์ริง เบรวิก ชาวนอร์เวย์ วัย 32 ปี เผยแพร่ก่อนวางระเบิดในกรุงออสโลและกราดยิงบนเกาะ สังหารผู้คนรวมไม่ต่ำกว่า 93 คน

ข้อความออนไลน์ยังบรรยายการวางแผนก่อเหตุร้าย การทำระเบิดและความคิดรุนแรงถูกเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่นายเบรวิกก่อเหตุสะเทือนขวัญ เขาตั้งชื่อข้อความว่า “2083-การประกาศเอกราชยุโรป” มีประโยคเช่น “เมื่อตัดสินใจโจมตีก็ควรฆ่าให้มากเข้าไว้ดีกว่าฆ่าไม่พอ ไม่เช่นนั้นการโจมตีจะก่อผลทางความคิดตามที่ต้องการได้น้อยลง” เขายังเขียนวิจารณ์แนวคิดการทำให้ยุโรปตะวันตกเป็นอิสลาม การเติบโตของวัฒนธรรมมาร์กซิสต์และพหุวัฒนธรรม

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทางแนวความคิดของผู้คน  ประเทศที่เจริญแล้วเช่นนอร์เวย์  มีแนวนโยบายพหุนิยมก็เกิดปัญหาจากผู้คนที่คิดต่างออกไปได้

ในขณะเดียวกันเป็นไปได้ไหมว่าประเทศไทยมีแนวคิด Centralism (การปกครองหรือการควบคุมจากศูนย์กลาง) พยายามสร้างเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย  ไม่ยอมรับสังคมพหุนิยม หรือพหุวัฒนธรรม  จึงทำให้เกิดปัญหากับกลุ่มคนที่แตกต่างทางชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม ทำให้ให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบและเกิดปัญหาต่างๆขึ้นประเทศ

หรือแม้แต่คนเชื้อชาติเดียวกัน ศาสนาเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกัน  ก็มีความขัดแย้งเพราะมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน  ประเทศไทยเราก็ยังหาวิธีที่จะป้องกัน  จัดการและเยียวยาความขัดแย้งดังกล่าวไม่ได้

คงถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกภาคส่วนจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวร่วมกัน  แต่ทุกคนก็ตั้งคำถามว่า 

  • แล้วจะเริ่มต้นอย่างไร?
  • เริ่มต้นจากเรื่องอะไรดี?
  • ใครเป็นคนเริ่ม ?
  • เริ่มเมื่อไหร่ดี?
  • เริ่มที่ไหนดี?

&#)^*@)(+_^()+!+_%+_+^))#*&&*@^T

 

 

Post to Facebook Facebook


พูดคุย ซักถามกับอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 22:41 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 4188

อาจารย์จะเล่าเรื่องให้ฟังตามเวลาที่กำหนดแล้วเปิดโอกาสให้พูดคุย ซักถามกับอาจารย์

เริ่มคำถามโดยคุณนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม หรือคุณเอ

เอ (Small)

คำถาม ความเข้มแข็งของชุมชนเป็นทางรอดของประเทศไทย  จะต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ได้อย่างไร?  มีตัวอย่างไหม?

ตอบ ทางรอดของมนุษย์ในกระแสโลกาภิวัฒน์ อยู่ที่ Small Group หรือกลุ่มเล็กๆ

โลกาภิวัฒน์มีมานานแล้ว  การล่าอาณานิคมก็เป็นโลกาภิวัฒน์  ก็ต้านด้วยชาตินิยม

การต้าน Globalization คือ Localization  ต้องแยกแยะสองอย่างนี้ออกจากกันได้  ต้องใช้ท้องถิ่นนิยม การมีสำนึกร่วม  การอยู่รอดร่วมกันต้องมีกลไกการจัดการ Fraction คือกระบวนการสมานฉันท์  ต้องปลุกกระแส  คุณตายร่วมกันในท้องถิ่นนี้ท่ามกลางความหลากหลาย

กลุ่มเล็กๆไปด้วยกันได้  Mechanical Model อาชีพเดียวกัน พวกเดียวกัน

กลุ่มใหญ่เป็นการพึ่งพาอาศัยกัน Organic Model

อินเดียมี Class System หรือ วรรณะ  จำเป็นสำหรับอินเดีย  แต่ละวรรณะก็มีหน้าที่แตกต่างกันแต่ก็พึ่งพาอาศัยกัน  ไม่ Cross กัน  เป็น Organic Model

ท้องถิ่น เมือง ต้องเป็น Organic Model ต้องพึ่งพากัน  สร้างสำนึกร่วมกัน  ว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน

คนในชุมชนต้องสร้างประวัติศาสตร์ของตัวเอง  มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น  ให้เด็กได้เรียนรู็ความหลากหลาย  จะได้รู้จักตัวเอง  รู้จักเพื่อนบ้าน  รู้จักโลก

ชุมชนจะเข้มแข็งได้ต้องทำเอง คนอื่นมาช่วยขับเคลื่อนได้ (Empowerment) แต่ทำให้ไม่ได้  ต้องให้ชุมชนทำกันเอง  สร้างโดยชุมชน  รัฐบาลต้องปล่อยการศึกษาให้ท้องถิ่นโดยเฉพาะเรื่องของชีวิตและวัฒนธรรม

ประเทศภูฏาน เป็นต้นแบบการใช้ดัชนีวัดความสุขของประชาชน (GNH –Gross National Happiness) แทนดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) คนภูฏานอยู่กับที่  ไม่ปฏิเสธคนนอก  แต่คนนอกจะกลายเป็นคนต่างถิ่น

สังคมอุตสาหกรรมมีการเคลื่อนย้าย ต้องยอมรับโลกาภิวัฒน์  แต่มีกระบวนการ Localization เช่นศาสนาจากอินเดียมาไทย  แต่วรรณะไม่มา  เพราะ Localization การรับเอาสิ่งต่างๆจากภายนอกแตกต่างกัน

ต้องเข้าใจคำว่า Local Autonomy  ไม่เหมือนหรือไม่ใช่ Independence

ตามด้วยคำถามจาก พอ. เอื้อชาติ หนุนภักดี (Great) นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก

เอื้อชาติ (Small)

คำถาม กระบวนการปลูกฝังทางประวัติศาสตร์มีถูก  มีผิด  มีมิตร  มีศัตรู  แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร?

ตอบ ประวัติศาสตร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างความเป็นชาตินิยม

ประวัติศาสตร์นิพนธ์  แต่เราถูกทำให้เชื่อว่าเป็นความจริง  ต้องเป็นประวัติศาสตร์ที่ชุมชนสร้างขึ้นมา  เช่นบางระจัน ขุนรองปลัดชู  ไม่จริงทั้งหมด  แต่ก็มีเค้าโครงเรื่องอยู่บ้าง

ลิลิตตะเลงพ่าย ก็เป็นเรื่องที่มองเห็นคน  มีเรื่องราวของพระมหาอุปราชให้เราเรียนรู้มากในฐานะที่เป็นคน

ที่เหมาะควรเป็น Culture Hero แต่ถูกดันไปเป็น National Hero

พระเจ้าบุเรงนอง  ในสังคมเถรวาท  ไม่ได้มากดขี่ข่มเหง  แต่ต้องการถวายความเป็นจักรพรรดิราช  ถวายพระพุทธเจ้า  เหมือนพระเจ้าอโศก

ปัตตานีเดิมอยู่ในดินแดนมลายู  ชาติพันธุ์เป็นมาเลย์  เหนือขึ้นมาจึงเป็นสยาม สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเป็นประเทศราช  ท้องถิ่นปกครองกันเอง  รัชกาลที่ 5 เป็นอีกแบบหนึ่ง  คือส่งคนจากส่วนกลางไปปกครอง

Culture Hero ท้องถิ่นเคารพยกย่อง  แต่รัฐถือว่าไม่ดี  ให้ประหารชีวิต

พระเป็นที่พึ่งพาของชาวบ้าน  แต่รัฐมองไปอีกแบบหนึ่ง

ดร. สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร (หมาย)

สมหมาย

คำถาม ความเป็นมนุษย์ต้องมีความเชื่อ  บางคนไม่นับถือศาสนา เป็นมนุษย์หรือไม่ ?

ตอบ ตะวันตกไม่ให้ความสนใจสิ่งเหนือธรรมชาติและท้าทายจักรวาล  พยายามให้เป็นวิทยาศาสตร์  เช่นโรมัน ยุโรป

ตะวันออกแตกต่างออกไป  มองสมดุล (Harmony) กับจักรวาล

มนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูง  เชื่อว่ามนุษย์จะสามารถใช้วิทยาศาสตร์ควบคุมธรรมชาติได้

การอธิบายสิ่งต่างๆ ก็คือความเชื่อ

ตะวันตกหันมาสนใจแนวตะวันออกมากขึ้นๆ  แต่ตะวันออกกลับขั้ว  หันไปทางตะวันตกมากขึ้น

การปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำลายธรรมชาติ  โดยเฉพาะภาคใต้ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน เกษตรอุตสาหกรรมจะไปลงที่ภาคใต้  การต่อต้านก็จะมากขึ้น  ความยุ่งยากจะเริ่มจากภาคใต้

การปฏิวัติจะเกิดจากข้างล่าง  ไม่นานนี้ ??

อีสานก็มีปัญหาแร่โปแตซ

เวียตนามฟื้นจากข้างล่าง  ใช้ประวัติศาสตร์สร้างสำนึกคน  อนุสาวรีย์สร้างจากหลุมศพของวีรชน  จากครอบครัว  จากท้องถิ่น  เวียตนามมีสำนึกของความเป็นเวียต  การเป็นชาติต้องมาจากข้างล่าง

อาจารย์อวยชัย คูหากาญจน์(ซุ่น) คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

อวยชัย

คำถาม เราให้ความสำคัญกับท้องถิ่น  แต่แนวโน้มในการเลือกตั้งที่ผ่านมา  พรรคการเมืองมีการใช้ภาคต่างๆเป็นฐาน  เช่นภาคเหนือภาคอีสานก็พรรคหนึ่ง  ภาคใต้ก็อีกพรรคหนึ่ง  การคำนึงถึงท้องถิ่นเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้ชาติแตกแยกมากขึ้นหรือไม่ ?

ภาคอีสานที่มีคนมาก  จำนวน สส. มากก็จะมีอำนาจในการปกครองประเทศ  จะเป็นการตอกย้ำคนภาคใต้ที่มี สส. น้อย  อาจเกิดการไม่ยอมรับ

ตอบ รู้สึกคุณจะมองการปกครองแบบรวมศูนย์ซึ่งมักไม่เข้าใจท้องถิ่น

การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น  ท้องถิ่นแต่ละแห่งจะมีอำนาจในตัวเอง  จะมีการต่อรองกันเองเพื่อความอยู่รอด  มีสำนึกร่วมกันของความเป็นชาติไทย  ความเป็นชาติไม่ได้มาจากข้างบน

ยกตัวอย่างมาเลเซียก็แบ่งออกเป็นหลายรัฐก็ยังคงความเป็นชาติไว้ได้

คุณมองว่าประชาธิปไตยต้องมาจากข้างบน  ความจริงเมืองไทยมีความหลากหลาย  พื้นฐานของทางอีสานเป็นลาว  ทางใต้เป็นพวกมลายู แต่ส่วนกลางไปกด  โดยใช้คำว่าสยามไปครอบเขา  มีการสร้างกระแสว่าท้องถิ่นนิยมเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ตั้งแต่สมัยจอมพล ป. แล้ว

อ.อวยชัย สมัยก่อนปัญหาไม่มาก  แต่ปัจจุบันการใช้อำนาจจากส่วนกลาง  อาจเกิดความไม่เสมอภาค  เลยมีความรู้สึกอยากแบ่งแยก  ถ้ากินดี อยู่ดี มีความสุข ก็จะไม่มีปัญหา

แต่ถ้ามีความทุกข์เกิดขึ้นก็จะมีการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหา

ขณะที่พยายามกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น  แต่ท้องถิ่นเองโดยเฉพาะผู้บริหารท้องถิ่นจะเป็นตัวก่อปัญหาหรือไม่ ?

ตอบ ตั้งแต่สมัยก่อน  ท้องถิ่นถูกครอบด้วยนโยบายประชานิยมมาตลอด เอาเงินไปให้เขา  ให้เขาแย่งกันเอง  แบบนี้ถือว่าไม่ได้มีท้องถิ่น  ท้องถิ่นต้องการเอาตัวรอด  เขาไม่ได้คิดทำลายชาติ  ไม่ได้คิดแบ่งแยกดินแดน

ทางใต้คิดว่าก็ไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน  ต้องอ่านบทความของ หะยี สุหลง  ซึ่งก็ไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน  ต้องการแค่ Autonomy  แต่ถ้ามองจากส่วนกลางก็จะเข้าใจว่าต้องการแบ่งแยกดินแดน

สังคมภาคเหนือ  ภาคอีสานเป็นชาวนา  ไม่ใช่สังคมอุตสาหกรรม  อีสานมีแต่คนแก่กับเด็กอยู่  คนหนุ่มสาวเข้ามาทำงานในเมือง ในกรุงเทพฯ  เวลาระบบอุปถัมภ์เข้าไปก็ไปอุปถัมภ์พ่อแม่เขา  การจะแก้ปัญหาต้องตรึงคน  ดึงคนให้อยู่ในพื้นที่ได้ระดับหนึ่ง   แล้วให้ไปต่อรองกันเอง  แต่เราไปเน้นเรื่องเศรษฐกิจการเมืองกันมากเกินไป

ต่างกับประเทศเวียตนาม  ลาว จีน  ระบบท้องถิ่นเขาแข็งแรง

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัฐชาการกองทัพไทย

พิเชษฐ

คำถาม การต่อสู้ทางแนวความคิดในมุมมองมิติทางสังคมและวัฒนธรรม  กับมิติทางเศรษฐกิจและการเมือง  สังคมไทยพร้อมที่จะรับ  แต่จะปฏิบัติได้ไหม?

ในอดีตคนไทยเชื่อในศาสนาพุทธ  ปัจจุบันก็เปลี่ยนความเชื่อไป  วิธีคิดแบบมิติสังคมและวัฒนธรรมเริ่มที่ท้องถิ่น  จะเป็นไปได้ไหม?

ตอบ 2 นิเวศน์มากระทบกัน ปัจจุบันโลกเราเจอ Humanitarian Crisis  เริ่มมี demoralization  ซึ่งนำไปสู่  Dehumanization

มิติทางสังคมและวัฒนธรรม  ความเป็นมนุษย์  ซึ่งมีเรื่องของมนุษยธรรม ศีลธรรม  และจริยธรรมต้องต่อรองกับภาคเศรษฐกิจและภาคการเมือง

ประเทศไทยเราเป็นสังคมเกษตร

อดีตเราเป็นชุมชน ต้อง Go Back to Basic ต้องกลับไปเริ่มที่ตัวเอง  ครอบครัว  ชุมชน สังคม เมือง ประเทศ

Post to Facebook Facebook



Main: 0.23708295822144 sec
Sidebar: 0.52590584754944 sec