อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม: แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 20:14 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1975

ต่อ……

wanlipodom

อาจารย์พูดถึงการศึกษาของประเทศไทย

กระทรวงศึกษาธิการ  ไม่เห็นความเป็นคน  ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ชอบเงิน ชอบอำนาจ  ชอบคุกคาม  ไม่ยอมกระจายอำนาจ  มีแนวคิดและนโยบายที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก

ถ้าจะแก้ปัญหาต้องหลุด  ให้ชุมชนมีส่วนในการจัดการศึกษาเอง

ต้องเริ่มจากให้รู้จักตัวเอง  แล้วรู้จักสังคม  แล้วรู้จักโลก  แต่การศึกษาบ้านเราให้รู้จักโลก  แต่ไม่รู้จักสังคม  ไม่รู้จักตัวเอง

สิ่งที่ถูกทำลายคือ ศาสนา และสถาบันการแต่งงาน ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่ wedding แต่เป็น Mating

สมัยก่อนสังคมเครือญาติและชุมชนจะช่วยดูแลครอบครัวและสังคม

การแก้ไขต้องนำความเป็นมนุษย์กลับมา

มิติของความเป็นคน

  • คน  คนค้นคน  ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  หรือเราต้องรู้จักตัวเองได้ว่าเราเป็นคนอย่างไร เราเคยอยู่ในแผ่นดินเกิดที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน เป็นครอบครัว เป็นชุมชน เป็นสังคม แต่ว่ากระแสโลกาภิวัตน์ทำสังคมเป็นปัจเจก การเป็นปัจเจกนั่นคือการทำลายความสัมพันธ์ของมนุษย์
  • คนกับธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับพื้นที่  กับสิ่งแวดล้อม
  • ความเชื่อ  หรือความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ หมายถึงความเชื่อเชื่อในเรื่องศาสนาซึ่งเป็นสถาบันสากลของมนุษย์และไสยศาสตร์ เป็นความเชื่อที่ช่วยจรรโลงศาสนา สิ่งเหล่านี้ได้ถูกทำลายไป  เป็นเรื่องของจิตวิญญาณ  ไม่ใช่แค่สัญชาติญาณความเชื่อ - สิ่งเหนือธรรมชาติ

มิติทางสังคมไทยมีพุทธ พราหมณ์ และผี  เป็นความเชื่อที่เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานะการณ์

อาจารย์พูดถึงโลกภูมิ ชาติภูมิและมาตุภูมิ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยชอบไปเปลี่ยนแปลงประเพณีเพื่อการท่องเที่ยว  เช่นประเพณีแห่ผีตาโขน ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานบุญประเพณีใหญ่ที่เรียกว่า “งานบุญใหญ่” หรือ “งานบุญผะเหวด”  ซึ่งเป็นงานของท้องถิ่นที่มีความหมายทางจิตวิญญาณ  เป็นเรื่องของผีผสมพุทธ แต่คนจากข้างนอก  ข้างบน  เข้าไปยุ่ง  เข้าไปจัดการ  ก็ไปทำลายประเพณีโดยไม่เข้าใจ

อาจารย์พูดถึงสมดุลของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา (เหมือน Soft Side กับ Hard Side ที่ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญพูดถึง)  พุทธศาสนาอยู่กึ่งกลางระหว่างอัตตากับอนัตตา

แนวคิดใหม่เรื่องคน  ปัจจุบันเรามองคนพหุวัฒนธรรม  ชุมชนเป็นหลายชาติพันธุ์  (Ethnic City)

ท้องถิ่นจะสร้างกลไกอะไรที่จะ

  • เกิดการอยู่ร่วมกัน
  • สมานฉันท์
  • เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสำนึกร่วม  เพราะไม่มีชาติพันธุ์ไหนบริสุทธิ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมกับพื้นที่ทางการปกครองไม่ทับซ้อนกันเลย

เพราะสังคมจะเริ่มจากบ้าน  ไปสู่เมือง  และไปสู่นครรัฐ

การจะสร้างสังคมสันติสุข ให้ผู้คนในพื้นที่ทำกันเอง  อย่าไปทำให้เขา

Post to Facebook Facebook


อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม: แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม (1)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 18:48 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14511

แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม

22 กรกฏาคม 2554  9.30-12.30 น.

Photo983 (Small)

อาจารย์ตั้งคำถามว่าสังคมพหุวัฒนธรรมในมุมมองของเราคืออะไร?

  • คนทั่วไปจะมองประเทศเป็นเอกลักษณ์
  • มองภาคใต้เป็นสังคมที่แตกต่าง มองจากข้างบนลงไปข้างล่าง  หรือ มองจากเมืองไปสู่ท้องถิ่น  มองจากข้างนอกเข้าไปข้างในอาจมองไม่เห็น
  • สังคม วัฒนธรรม คือคน  ไม่ใช่อาคาร  เขตการปกครอง  มองด้วยมุมมองด้านเศรษฐกิจและการเมืองอย่างเดียวไม่ได้
  • มองแบบ Bird’s eye view อย่างเดียวไม่ได้  ต้องมองด้วยมุมมอง Worm’s eye view ด้วย
  • จริงๆประเทศไทยเรามีสังคมพหุวัฒนธรรมอยู่แล้ว  แต่เรามองไม่เห็นเอง
  • คนชั้นกลางเราถูกฝรั่งครอบในแง่ประชาธิปไตย  มองจากข้างบนลงมา  เอากฏหมายรัฐธรรมนูญไปทำลายวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • ข้างล่างเต็มไปด้วยความหลากหลาย  คนหลายกลุ่มมาต่อรองเพื่ออยู่ร่วมกัน สร้างสำนึกร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย
  • จะอยู่ร่วมกันต้องเริ่มจากเล็กๆ  จากข้างล่างขึ้นมา  ไม่มองผ่านเศรษฐกิจและการเมืองด้านเดียว  ต้องมองมิติด้านสังคมและวัฒนธรรม
  • ต้องมองเห็นคน  ต้องเข้าถึงคน

การศึกษาก็ไม่ได้ทำให้ คน เห็น คน อาจารย์ไม่เห็นด้วยกับคำว่าทรัพยากรมนุษย์  เพราะคนไม่ใช่ทรัพยากร  มนุษย์เป็นสัตว์สังคม  ไม่ใช่สัตว์เดรฉาน

การแก้ไขต้องเริ่มแก้จากตัวตนของเรา  กลุ่มเครือญาติและชุมชน เน้นที่ความสัมพันธ์ว่าจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร?

อาจารย์ยกตัวอย่างประเทศอินเดียว่าเป็นประเทศหลากสี  เป็นตัวอย่างที่ดี  เป็นสังคมพหุลักษณ์  เป็นสังคมอหิงสาที่คนต่างเชื้อชาติ  ต่างศาสนาอยู่ร่วมกันได้

ไทย พม่า มาเลเซีย เดิมก็เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมแต่ระบบเศรษฐกิจและการเมืองเข้ามาแทรก เลยยุ่ง

อาจารย์ยกตัวอย่างชาวบ้านที่เริ่มมองจากข้างล่าง ขณะที่หลายคนมองจากข้างบน  เช่นที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง  ชาวบ้านนับถือ  “เจ้าพ่อขุนตาน” เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่คนลุ่มน้ำแม่ตานต่างให้ความ เคารพยำเกรงและเชื่อมั่นว่าสามารถปกปักรักษาและดลบันดาลให้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ไหลหล่อเลี้ยง พอเพียงแก่การดื่มกินและทำนา

เป็นการใช้อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นมิติทางจิตวิญญาณประกอบพิธีกรรมร่วมกันเป็นประเพณี  เกิดสันติสุข  สร้างขึ้นโดยคนที่อยู่ด้วยกัน  อยู่ร่วมกัน

หรือกรณีที่ฟิลิปปินส์  มีหลายชนเผ่า  รบกัน ฆ่ากัน  มีการล่าหัวมนุษย์  แต่ก็จบลงด้วยการที่ชนเผ่ามานั่งคุยกัน

เมืองไทยเราแต่เดิม  เป็นเรื่องของบ้าน  เรื่องของเมือง  คืออยู่กันที่บ้าน  มีวัดเป็นศูนย์กลางของสังคม  เกิดความเป็นชุมชน  มีองค์กร  พระสงฆ์  ผู้สูงอายุ  ผู้อาวุโส  มีการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน  มีครู

ถ้าเกิดความขัดแย้งในชุมชน  ในสังคมก็ไม่ใช่เรื่องของ ขาวหรือดำ  ถูกหรือผิด  แต่มีการไกล่เกลี่ย (สมานฉันท์-Conciliation)

ถ้ามีความรุนแรงมากก็ใช้กฏหมายบ้านเมือง

ประสบการณ์ภาคใต้  อาจารย์เล่าว่าทางภาคใต้เค้าต้องการองค์กรชุมชนกลับคืนมา  เช่นสภาอูลามาอ์  โต๊ะครูมีบทบาท  เป็นภาคประชาสังคม (Civic Group)  กลุ่มแบบนี้ถูกทำลายไปโดนการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ (Internal Colonization)  ซึ่งไปทำลายองค์กรท้องถิ่น

เดิมองค์กรชุมชนมีองค์กรตรวจสอบ  ไม่ใช่บังคับ  การแก้ไขต้อง Back to The Base  ต้องหันกลับไปให้ความสำคัญของบ้านเกิดเมืองนอน  ท้องถิ่น กลุ่มประชาสังคมหรือเครือข่ายองค์กรชุมชน

สังคมปัจจุบันเป็นสังคมกดขี่  ต้องลดอำนาจรัฐ  กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)  กลุ่มประชาสังคมก็ต่อรองกับ อปท. กลุ่มประชาสังคมมีอำนาจ Sanction  แต่ไม่มีอำนาจบังคับใช้  ซึ่งก็ตรงกับที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) ซึ่งมีคุณอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธาน ประกาศแนวทางไว้  และ “ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ” ที่ คปร. ได้นำเสนอเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554  มีสาระบางตอนดังนี้……

………สำหรับข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ มีสาระสำคัญดังนี้

ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคลงทั้งหมด โอนอำนาจบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น, เศรษฐกิจท้องถิ่น, สังคมท้องถิ่น และการเมืองท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดย อปท.จะเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับที่ดิน ป่า น้ำ ฯ การศึกษา การวางแผนพัฒนาของท้องถิ่น รวมทั้งสามารถกำหนดอัตราภาษีบางประเภทในท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ยังสามารถออกกฎเกณฑ์บางประการ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจของท้องถิ่นเอง เพื่อดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและการบังคับใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าว

ถ้าสนใจฉบับเต็มก็ดาวน์โหลดได้ที่นี่

…………….

ฟังแล้วคิดถึง Centralism ที่ อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์พูดถึง  และ เอกนิยม(monism)


Post to Facebook Facebook


ปรองดอง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 20 กรกฏาคม 2011 เวลา 23:26 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14447

เข้าเยี่ยม facebook ของสถาบันพระปกเกล้า แนะนำให้ไปดู ก้าวแรกรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์”…เดินหน้าปรองดอง ? ในรายการ Intelligence  มี

20-7-2554 19-13-30

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช อดีตสมาชิกวุฒิสภา

พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

คุณสมชาย หอมลออ จากคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

ดำเนินรายการโดยคุณจอม เพชรประดับ

ย่อๆนะครับ  สนใจไปรับชมรับฟังเองนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช…

การจะปรองดองคงต้องดูเหตุการณ์ทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะแรกตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญ 2540 จนถึงมีการปฏิวัติ ในปี 2549

ระยะที่ 2  ตั้งแต่หลังการปฏิวัติ รัฐบาลสมัยนายกฯ สมัคร  นายกฯ สมชาย

ระยะที่ 3  ตั้งแต่รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ จนถึงปัจจุบัน

การปรองดองก็มี 2 แนวทางหรือทฤษฎีง่ายๆ  คือลืมซะให้หมด กับจัดการให้ยุติธรรมให้หมด ซึ่งก็เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ทั่วโลก

พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ

กลุ่มที่มีปัญหาเรียกร้องเรื่องต่างๆมีมาก มีอยู่เดิมแล้ว  และยังไม่ได้รับการแก้ไข เยียวยา

กลุ่มใหม่ก็มีอีกหลายกลุ่มที่แนวคิดแตกต่างกัน  เป็นปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมืองอยู่ในปัจจุบัน

ในการที่จะปรองดองคงต้องหาความจริงก่อน  แต่มักจะใช้เวลานานมาก  ในต่างประเทศ บางกรณีใช้เวลาหลายสิบปี  และใช้บุคลากรและงบประมาณมากมาย  เพราะจะมุ่งหารากเหง้าของปัญา  รวมทั้งแนวทางป้องกันที่จะไม่ให้เกิดขึ้นอีก

แต่ความจริงประเทศไทยก็มีองค์กรต่างๆหลายองค์กรที่แยกกันทำงานแต่ก็มุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน เช่น

คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ซึ่งมีท่านนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป  (คสป.) ซึ่งมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน

คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

ถ้ารัฐบาลจริงใจก็สามารถนำข้อเสนอของคณะกรรมการที่ได้ศึกษาไว้เริ่มดำเนินการในส่วนที่ทำได้ไปเลย

คุณสมชาย หอมลออ

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ  และผู้เชี่ยวชาญจาก UN ทำการค้นหาความจริง

ต้องตรวจสอบค้นหาความจริง หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ? สาเหตุของความขัดแย้ง  คณะกรรมการไม่เชื่อทฤษฎีลืมให้หมด เพราะจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต  แต่ไม่ได้แปลว่าต้องลงโทษทั้งหมด  แต่เป็นเรื่องของแสวงหาความจริงให้สังคมเข้าใจ  เยียวยา ลงโทษ  ให้ความยุติธรรม  จะให้อภัยหรือนิรโทษกรรมก็ได้  แต่ประชาชนต้องมีความเข้าใจ

การปรองดองต้องให้มีส่วนร่วม  ความเห็นชอบจากทุกภาคส่วน เงื่อนไขที่สำคัญ 3 ประการของการปรองดองที่ยั่งยืนและถาวร  คือ

  1. ความจริง  ต้องตรวจสอบค้นหาความจริง  แม้จะมีบางฝ่าย  บางคนต้องเจ็บปวด
  2. ความยุติธรรม  ให้ความยุติธรรมกับคนที่ถูกคุมขังอยู่ ที่เสียชีวิต บาดเจ็บล้มตายไป  มีการเยียวยาซึ่งมีการลงโทษ  การขอโทษ การชดเชย  การให้อภัย
  3. การปรับปรุง  มีการปรับปรุงทั้งด้านโครงสร้าง  พรรคการเมือง  กองทัพ  ระบบราชการ  กลไกความยุติธรรม ฯ

ในเรื่องของการปรองดอง  คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะสอบสวนหาข้อเท็จจริงเท่านั้น

พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ

รัฐบาลต้องมีความจริงใจในเรื่องนี้  จนทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น  ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้นำเอาสิ่งที่คณะกรรมการทั้ง 5 ชุดที่แต่งตั้งขึ้นมาทำให้เกิดความเชื่อมั่นเลย

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช

รัฐบาลต้องตั้งหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ปรองดองโดยตรงขึ้นมา  เพราะ คอป. เป็นแค่ Fact Finding Committee

คณะกรรมการหรือหน่วยงานนี้รัฐบาลใหม่ไม่ควรตั้งเอง  ต้องให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแลัเป็นที่ยอมรับของประชาชน

ต้องหา Model ที่ทุกฝ่ายยอมรับ

การปรองดองขึ้นอยู่กับการกระทำของรัฐบาล  ต้องสร้างบรรยากาศของความปรองดอง ตั้งแต่การเข้าสู่อำนาจอย่างพอเหมาะพอสม  ไม่แสดงความยิ่งใหญ่เกิน

การแต่งตั้งบุคลากรเข้ามาทำงาน  ต้องเป็นบุคลากรที่ประชาชนยอมรับ

การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ  ให้มีความเป็นธรรม

มุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจและเดินหน้สาเรื่องปรองดองไปด้วย

คุณสมชาย หอมลออ

ประเด็นนิรโทษกรรมเป็นเรื่องของการทำให้เกิดความยุติธรรม ทุกฝ่ายต้องได้รับความยุติธรรม

ประเด็นนิรโทษกรรมเป็นเพียงประเด็นหนึ่งของการปรองดอง

อย่าคิดว่าเสียงคนรากหญ้าเป็นเสียงนกเสียงกา  ยุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว

20-7-2554 19-07-46

ถ้าสนใจก็รับชมรับฟังเองดีกว่านะครับ อิอิ

แนะนำบทความ ประจักษ์ ก้องกีรติ: ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน: เมื่อโลกไม่หันหลังให้โศกนาฏกรรม ของ อาจารย์ ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ  ก็มีประเด็นการปรองดองและประเด็นนิรโทษกรรมที่น่าสนใจครับ

Post to Facebook Facebook


สันติวิธี

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 20 กรกฏาคม 2011 เวลา 20:54 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 12614

สันติวิธี (Nonviolent Action)  เรียนรู้เรื่องความขัดแย้ง – อำนาจ - ความรุนแรงมาแล้ว  ลองมาทำความเข้าใจเล็กๆน้อยๆกับเรื่องสันติวิธีดูบ้าง

คงไม่เริ่มด้วยคำจำกัดความ  แต่เอาว่าสันติวิธีมี 2 แบบ

สันติวิธีในการต่อสู้หรือเรียกร้อง (Peaceful Demonstration / protest)  เช่นอหิงสา  อารยะขัดขืน

อารยะขัดขืน (Civil Disobedience) เป็นการใช้สันติวิธีที่มุ่งเปลี่ยนแปลงกฏหมายหรือนโยบาบของรัฐบาล  โดยมุ่งกระตุ้นให้สังคมโดนรวมเห็นว่ามีความอยุติธรรมเกิดขึ้น  มีลักษณะเด่นอยู่ที่เป็นการละเมิดกฏหมาย เป็นการกระทำสาธารณะ  โดยแจ้งให้ทางบ้านเมืองทราบก่อน  และผู้กระทำผิดยอมรับผลของการละเมิดกฏหมายนั้น

***  บางคนเน้นที่จิตใจที่ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น  การไม่เบียดเบียนกันในทางร่างกายและด้วยวาจา

อาจรวมถึง สัตยาเคราะห์ หรือการเคารพในความจริงด้วย ***     

***  อ. ประมวล เพ็งจันทร์

สันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Peaceful Conflict Resolution)

ทั้งนี้ต้องไม่ลืมการป้องกัน  การแก้ไข  และการเยียวยาความขัดแย้งที่จะนำไปสู่การปรองดอง

 

 

Post to Facebook Facebook


ความรุนแรง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 20 กรกฏาคม 2011 เวลา 18:19 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 54303

 

ความรุนแรง (Violence)  เดิมในหลักสูตรจะเป็น ศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ สอนเรื่อง ความขัดแย้ง – อำนาจ - ความรุนแรง  ก็เลยไปค้นๆบทความของอาจารย์มาอ่านเตรียมตัว  เลยเอามาเล่าสู่กันฟังสักเล็กน้อยในเรื่องของความรุนแรง

ความรุนแรงก็คือการทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน  ซึ่งอาจเกิดจากธรรมชาติ อุบัติเหตุ หรือจากน้ำมือมนุษย์ก็ได้

ส่วนในอีกความหมายหนึ่ง  ความรุนแรงคือสิ่งที่มาสกัดกั้นศักยภาพของชีวิต

ความรุนแรงไม่ใช่อำนาจ

ความรุนแรงไม่ใช่ความขัดแย้ง

แต่อาจเป็นจุดจบของสิ่งเหล่านั้น

ฐานคิดเรื่องความรุนแรงให้มองที่ ประธาน กริยา กรรม

ประธาน - อาจเป็นตัวผู้กระทำเอง  หรือตัวโครงสร้าง

กริยา    - การทำให้เกิดความรุนแรงแบ่งออกเป็นทางกายภาพ (Anatomy) กับ Physiology เป็นความรุนแรงที่แทบมองไม่เห็นเลย เช่นการไม่ให้อาหาร  ไม่ให้น้ำ การทำให้น้ำเป็นพิษ การทำให้อากาศเสีย การไม่ให้ยา(ขายยาในราคาแพงหรือการแซงชั่น)

กรรม       - หรือเหยื่อก็แบ่งออกเป็นผลที่เกิดทางกาย  และผลที่เกิดทางใจ  และอาจส่งผลถึงบุคคลอื่นๆด้วย

องค์ประกอบของความรุนแรง

Input     - Intentional Physical Force

            - Sexual

            - Psychological

Victim    - Person, Individual

            - Group

            - Community

            - Society

Results  - Injury

           - Death

           - Psychological Harm

           - Maldevelopment / Deprivation or Neglect

 

Post to Facebook Facebook


ความขัดแยัง–อำนาจ - ความรุนแรง (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 17 กรกฏาคม 2011 เวลา 16:28 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 12989

ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ

อำนาจ  (Power) ความสามารถในการควบคุมผู้อื่นในด้านความคิดและพฤติกรรม

สิทธิอำนาจ (Authority) คืออำนาจที่มีความชอบธรรมด้วย

**** จาก สถาบันการเมืองการปกครอง

……..

คำว่า อำนาจ เป็นคำทั่วไปที่ใช้พูดกันเสมอ เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งหรือผู้ใดผู้หนึ่งสามารถกำหนดให้คนกลุ่มอื่นหรือ บุคคลอื่นกระทำไปตามที่ตนต้องการ แต่ในความเป็นจริงแล้วคำว่า อำนาจ สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบดังนี้
1. พลังอำนาจ (Power) คือ ความสามารถของคนหรือกลุ่มคนในการควบคุมหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำของบุคคล อื่นหรือกลุ่มคนกลุ่มอื่นแม้ว่าการกระทำที่เกิดขึ้นจะเป็นการให้ความร่วมมือ หรือไม่ก็ตาม อำนาจแบบนี้ทางสังคมวิทยาเรียกว่าอำนาจนอกกฎหมาย (Illegitimate power)
2. สิทธิอำนาจ (Authority) คือ ความสามารถของคนหรือกลุ่มคนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามตำแหน่งหน้าที่ในการควบ คุมหรือบังคับให้ผู้อื่นยอมรับและกระทำตาม อำนาจแบบนี้ทางสังคมวิทยาเรียกว่าอำนาจทางกฎหมาย (Iegitimate power)

…….

ฐานหรือที่มาของอำนาจ (Sources of Power)

- Coercive Power อำนาจในการลงโทษ

- Wealth อำนาจจากทุนทางเศรษฐกิจ

- Knowledge  อำนาจที่มาจากอุดมการณ์ ความคิด เหตุผล ความรู้

- Positional Power หรือ Legitimate Power  อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่

- Skill or  Expert Power  อำนาจจากทักษะหรือที่เกิดจากความชำนาญ

- Charisma  อำนาจจากบุคลิกลักษณะส่วนบุคคล

- Reward Power อำนาจที่เกิดจากการให้รางวัล

- Informational Power อำนาจที่เกิดจากการมีข้อมูลข่าวสาร

อาจารย์แสดงความคิดเห็นต่อความขัดแย้งของสังคมไทยในปัจจุบัน

ปัญหาของประเทศไทยไม่ใช่ปัญหาระหว่างพรรคการเมือง  สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน  จริงๆเป็นความขัดแย้งของกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งอิงกับ Traditional Power ( Charisma และประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อ )  กับกลุ่มที่อิงกับระบบประชาธิปไตย (อำนาจรัฐธรรมนูญ)  ซึ่งมีที่มาของฐานอำนาจคนละอย่าง

Traditional Power vs Modern Power

อำนาจที่เผชิญกันระหว่างรัฐ –Beurocratic/ ชนชั้นนำ/ประชาสังคม

พ.ศ. 2475-2516  การเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นนำ ที่มีระบบราชการเข้มแข็ง  เป็นความขัดแย้งหลักระหว่างผู้นำซึ่งมักเป็นผู้นำในระบบราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหาร

พ.ศ. 2516-2549 เป็นความขัดแย้งทางการเมืองของชนชั้นนำ vs การเมืองมวลชน  หรือเป็นความขัดแย้งหลักระหว่างรัฐกับประชาสังคม เช่นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 , 6 ตุลาคม 2519, พฤษภาคม 2535  เป็นต้น

ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาก็ได้พัฒนามาเป็น

การเมืองชนชั้นนำ + มวลชน  vs การเมืองชนชั้นนำ + มวลชน

เป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำและขบวนการสังคมขนานใหญ่สองกลุ่ม

ปัจจุบันมีความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งลุกลามไปทุกภาคส่วนของสังคม  รวมทั้งนักวิชาการและภาคประชาสังคม

…………….

“…….คนที่อยู่ในประสบการณ์ตรงมาด้วยตัวเอง เขาไม่ใช่แต่ได้ยินหรือได้เห็น  แต่มันมีความรู้สึกด้วย…”

“……ไม่ต้องกังวลเรื่องภาพพจน์ไทยในสายตาชาวโลก สิ่งที่ต้องทำคือทำอย่างไรให้มันน่าอยู่สำหรับคนไทยก็แล้วกัน…”

…เอกพันธ์ ปัณฑวณิช

Post to Facebook Facebook


ความขัดแย้ง - อำนาจ - ความรุนแรง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 17 กรกฏาคม 2011 เวลา 11:21 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14326

ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ

9 กรกฎาคม 2554  13.30 น.- 16.30 น.

บรรยากาศสนุกมาก เพราะอาจารย์เริ่มแบบเล่าเรื่องชิวๆ  นักศึกษาเริ่มซักถามและแสดงความคิดเห็น  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในบรรยากาศที่ไม่ใช้ความรุนแรง

อาจารย์เริ่มด้วยเรื่อง

- ทฤษฎีเป็นเพียงกรอบแนวคิด  เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

- ความรุนแรงในการเลือกตั้งในรูปแบบต่างๆ

- Post Election Stress Syndrome

- ความขัดแย้งทางการเมืองก็เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของความขัดแย้ง

- Domono Effect ที่เริ่มจากการปฏิวัติในประเทศตูนีเซีย หรือปฏิวัติดอกมะลิ (The Jasmine Revolution)

tunisia-revolution-babes-425x432

ซึ่งเริ่มจากนายโมฮัมหมัด บูอะซิซี่ บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวเมืองซิดี บูซิส วัย 26 ปี ได้ตัดสินใจเผาตัวตายประท้วง หลังจากที่เขาถูกตำรวจหญิงไล่ไม่ให้ขายผลไม้ในรถเข็นเพื่อเลี้ยงครอบครัว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 ซึ่งหลังจาการเสียชีวิตของนายโมฮัมหมัด เพียง 18 วัน ก็เกิดการปฏิวัติดอกมะลิขึ้น โดยหนุ่มสาวที่ทราบเหตุการณ์ดังกล่าว ได้สร้างเครือข่ายของการปฏิวัติประชาชนขับไล่รัฐบาลเผด็จการผ่านสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์

อิทธิพลของการปฏิวัติดอกมะลิลุกลามไปใน เยเมน ซูดาน จอร์แดน อียิปต์ และลิเบีย  ทำให้รัฐบาลของอีกหลายๆชาติ เช่น จีน สิงคโปร์ พม่า.. เริ่มจับตามองด้วยความกังวล

- ความขัดแย้งเป็นรื่องธรรมชาติในปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และในสังคมการเมือง

ความขัดแย้ง และความรุนแรงไม่ใช่เรื่องเดียวกัน  ความขัดแย้งไม่จำเป็นต้องใช้หรือยุติด้วยความรุนแรง

ความขัดแย้งเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมหรือเป็นบ่อเกิดของการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของสังคมด้วยซ้ำ

การดำรงอยู่ของความจัดแย้งไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ถึงความล้มเหลวของสังคมหรือระบบการเมือง  การจัดการความขัดแย้งอย่างไรต่างหากที่เป็นตัวชี้วัด  ป้ญหาอยู่ที่วิธีหรือกลไกที่จะป้องกัน  แก้ไข  และเยียวยา  หลายๆประเทศเรียนรู้ที่จะจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี  ไม่ใช้ความรุนแรง

ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ  ไม่ได้รับการแก้ไขจะเป็นโทษ

ความขัดแย้งในประเทศไทยยังไปไม่ถึง Failed State  ยังไม่เกิด Civil War หรือสงครามกลางเมือง  ทั้งๆที่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้ง

เรายังมีความหวัง คาดว่าการเลือกตั้งจะช่วยแก้ปัญหา  แต่กลายเป็นเริ่มเกิดความรุนแรงในการเลือกตั้ง  แถมติดตามมาด้วย Post Election Stress Syndrome แต่ก็ยังไม่รุนแรงจนจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ?

สังคมเผด็จการจะควบคุมสื่อ  ทำให้ข้อมูลข่าวสาร ความจริงไม่ปรากฏ

ความขัดแย้งแต่ละกรณีมีลักษณะเฉพาะ  การวิเคราะห์ต้องคำนึงถึงบริบทที่เฉพาะเจาะจงของความขัดแย้งนั้นๆ

ความขัดแย้งมักจะไม่ได้มีสาเหตุเดียว (Mono-causal Phenomena) แต่มีหลายเหตุปัจจัยเชื่อมโยงกัน ( a set of interconnected conflict factors) และไม่หยุดนิ่ง ((Dynamics)

“……Conflicts are not mono-causal phenomena and arise from a set of interconnected conflict factors and dynamics.

การวิเคราะห์ความขัดแย้ง  ต้องพิจารณา

  • Issues  ประเด็นของปัญา
  • Stakeholders  ผู้มีส่วนได้เสีย  ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • Content  บริบทของความขัดแย้ง  สภาพแวดล้อมทางการเมือง  เศรษฐกิจ วัฒนธรรม กฏหมาย  และความสนใจของสื่อมวลชน

ประเภทของความขัดแย้ง

  1. Data Conflict  ชนิด ปริมาณ การตีความ
  2. Interest Conflict  วัตถุ เงิน ทรัพยากร บุคลากร
  3. Structural Conflict  อำนาจ หน้าที่ การตัดสินใจ
  4. Relationship Conflict  ทัศนคติ การสื่อสาร ความประพฤติ
  5. Values Conflict  ความเชื่อ ระบบค่านิยม

Post to Facebook Facebook


Global Conflict

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 16 กรกฏาคม 2011 เวลา 17:16 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1522

ยังมีเรื่องที่ลุงเอกไม่ได้เล่าให้ฟัง  แต่บอกว่าถ้ามีเวลาจะค่อยๆเล่าให้ฟัง ถ้ามีเวลาก็ศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้  เพื่อเป็นแนวทางที่จะทำความเข้าใจในกระบวนการสร้างสังคมสันติสุขในประเทศไทย

Global Conflict

ในปัจจุบันก็มีเรื่องราวต่างๆที่ขัดแย้งกัน เช่น

Globalisation & Localisation

Hard Power & Soft Power

Americanization & Islamization

Capitalization & Socialization

High Technolgy & Low Technology

Tangible & Intangible

Physical & Mental or Spiritual

National Resources

สาเหตุความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

ปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเมืองในตะวันออกกลาง

การปฏิวัติในตะวันออกกลาง

นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

สถานการณ์การก่อการร้าย

เหตุการณ์ 911

ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดเป็น ยุทธศาสตร์ แบบ 4-2-1

โดยให้ความสำคัญต่อ East Asia, North East Asia, South East Asia และ Europe

4-2-1 คือ สามารถยับยั้งภัยคุกคามได้ 4 ภูมิภาค, เอาชนะได้อย่างรวดเร็วใน 2 ภูมิภาค และเอาชนะได้อย่างเด็ดขาดอย่างน้อย 1 ภูมิภาค

ยุทธศาตร์ทหารของสหรัฐอเมริกา  แนวคิด Sea Basing

องค์กรเดินเรือระหว่างประเทศ – International Marintime Organizatiom (IMU)

เรื่องราวของประเทศมุสลิม

ตัวอย่างของความขัดแย้งจากทั่วโลก เช่น

ไอร์แลนด์เหนือ ที่เกิดขึ้นหลังประชาชนถูกฆ่า 19 คน กลายมาเป็นการต่อสู้ที่ทั้งสองฝ่ายต้องสูญเสียเกือบสี่พันคน ใช้เวลาหาความจริงนานถึง 12 ปี  ใช้เงินไปไม่ต่ำกว่า 9,000 ล้านบาท  ใช้เวลาแก้ไขความขัดแย้งยาวนานถึง 37 ปี (เรื่องนี้ไม่มีเวลาพูดคุยกัน  ลุงเอกเลยส่งเอกสารมาให้อ่าน)

เรื่องราวในอาเจะห์ Ache- Indonesia

กรณีศึกษา Rwanda

บทเรียนอนุญาโตตุลาการชุมชน ตำบลเขาพนม อ. อ่าวลึก จังหวัดกระบี่

***ปัญหาเขตแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านไม่จำเป็นต้องสงคราม****

อันนี้เป็นหัวข้อการบรรยายพิเศษที่กองประวัติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเก​ล้า ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุด​าฯ พระองค์ท่านทรงเป็นผู้อำนวย​การกองฯ และพระองค์ทรงเลือกวิทยากรม​าบรรยายพิเศษเอง และทรงประทับรับฟังพร้อมนัก​เรียน จปร. และทรงซักถามและอธิบายเพิ่ม​เติมเอง นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิกุล​ที่สูงสุดของชีวิตอันติดดิน​ของลุงเอก

ลุงเอกพยายามโยงให้เห็นว่าความขัดแย้งของสังคมโลกก็จะมีผลกระทบสู่ประเทศไทย  ลงไปถึงระดับรากหญ้าของสังคมไทย ทั้งหมดคงเป็นแค่จุดประเด็นให้คนที่สนใจเรื่องความขัดแย้งและแนวทางสร้างสังคมสันติสุข  จะได้เริ่มศึกษาทั้งทฤษฎี ตัวอย่างต่างๆทั่วโลก  ก่อนจะเริ่มศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างจริงจังใน 9 เดือนข้างหน้า  ซึ่งจะส่งผลให้กล้าที่จะเริ่มปฏิบัติด้วยตัวเอง กับคนรอบข้าง ในหน่วยงาน  ในสังคม  และร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆเพื่อขยายผลการเสริมสร้างสันคมสันติสุขต่อไป

Post to Facebook Facebook


บทสรุปจากภาพอนาคตประเทศไทย 2562

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 16 กรกฏาคม 2011 เวลา 10:54 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1436

ใครจะเห็นอนาคตประเทศไทยไปทางไหน  จะเป็นเกาเหลาไม่งอก  น้ำพริกปลาทู หรือต้มยำกุ้งน้ำโขงก็ว่้ากันไปนะครับ  แต่ที่สนใจคือยุทธศาสตร์ต่างๆที่จะช่วยสนับสนุนให้ภาพที่พึงประสงค์เกิดขึ้นและเป็นจริง  รวมทั้งแนวคิดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภาพที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น

ทั้งสามภาพอนาคตก็จะมียุทธศาสตร์หรือแนวคิดร่วมกัน ดังนี้

-ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยและการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย

-ให้ความสำคัญในการแก้ไขความขัดแย้งภายในประเทศอย่างจริงจัง

-เสรีภาพ ความเป็นธรรม ความเท่าเทียมกัน

-ปฏิรูปการศึกษา  พัฒนาคนไทยให้ยอมรับความแตกต่างและพร้อมในการแข่งขันและอยู่ร่วมกัน

-ปฏิรูปสื่อมวลชนให้มีบทบาทในการเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของสังคม

-พัฒนาระบบธรรมภิบาลในระดับผู้นำหรือผู้บริหาร

-ลดอำนาจรัฐ กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

-เอาจริงเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-ปรับปรุุงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

-ดูแลคนไร้สัญชาติและแรงงานต่างด้าวให้ดี

ดูแล้วก็เป็นเรื่องเก่าที่รู้และทำกันมานานแล้ว  แต่ทำแล้วไม่สำเร็จ  ไม่เคยเอะใจว่าทำไมทำแล้วไม่ได้ผล

ผู้ที่รับผิดชอบไม่เห็นด้วย  ไม่เต็มใจทำ  หรือทำไม่เป็น  หรือทั้งไม่เต็มใจทำและทำไม่เป็นด้วย

เราวิเคราะห์ถึงรากเหง้าของปัญหาหรือเปล่า ?

เพราะถ้าตั้งโจทย์ผิด  คำตอบก็ผิด

ทำมาตั้งนาน  ไม่ได้ผล  ไม่เอะใจบ้างหรือ?

ที่ใหม่ๆก็น่าจะเป็นเรื่องปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  เราเดินตามนโยบายของบางประเทศมากเกินไปหรือเปล่า?

BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) ที่จะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในอนาคต  เรามีความสัมพันธ์ระดับไหน  การค้าขายกับประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนเท่าไหร่?

ความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคอินโดจีน  หรืออาเซียนเป็นอย่างไร?

การดูแลคนไร้สัญชาติและแรงงานต่างด้าวให้ดีขึ้น  อันนี้ก็ยากครับ  คนไทยด้วยกันยังไม่เข้าใจกัน  ยังดูแลกันแบบนี้  เริ่มมองกันเหมือนไม่ใช่คน?  แล้วคนไร้สัญชาติและแรงงานต่างด้าวจะเหลือหรือ?

แล้วจะเริ่มยังไง ?  ทำยังไงกันดี ?  ใครเป็นคนทำ?    ?????

………อิอิอิอิ

Post to Facebook Facebook


ต้มยำกุ้งน้ำโขง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 16 กรกฏาคม 2011 เวลา 10:13 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2180

ต้มยำกุ้งน้ำโขง

ภาพนี้คงได้อิทธิพลจากประชาคมอาเซียน (ASEAN community)และ BRIC (Brazil, Russia, India และ China)

เหตุการณ์

รายละเอียด

ประชาคมอาเซียน จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน มีการเปิดเสรีทางการค้าขึ้น  มีการเคลื่อนย้ายทั้งการค้า  การลงทุน  แรงงาน  องค์ความรู้  ภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
บริษัทต่างๆของคนไทยต้องแข่งขัน
มีการเย่งชิงบริการขั้นพื้นฐานและสาธารณูปโภคจากรัฐ  ระหว่างแรงงานไทยและต่างด้าว
พันธมิตรทางการค้าใหม่ BRIC น่าจะเป็นพันธมิตรทางการค้าใหม่ของไทย
AFTA  น่าจะมีผลกับประเทศไทยค่อนข้างมาก
การกลับมาของพม่า พม่ามีความอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก  ที่ตั้งของประเทศเชื่อมต่อทั้งจีนและอินเดียซึ่งจะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในอนาคต
เมืองหลวงเชิงเศรษฐกิจ ต้องมีการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศในภูมิภาค
มีการพัฒนาพื้นที่ตามศักยภาพทางเศรษฐกิจ  และกระจายความเจริญไปทุกภูมิภาคของประเทศ
กระจายความเจริญออกจาก กทม. เกิดศูนย์กลางระดับภาคขึ้น เป็นเมืองหลวงเชิงเศรษฐกิจใหม่ๆขึ้นในประเทศ
ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ - จากไทยสู่อาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนจะช่วยเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งดังกล่าว
International School/College สถาบันการศึกษานานาชาติมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากรองรับการเคลื่อนย้าย
สามเหลี่ยมวัฒนธรรมอินโดจีน เกิดความร่วมมือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนและอินเดีย
เกิดมหาวิทยาลัยภูมิภาคระดับอินโดจีนขึ้นในประเทศไทย เพื่อรองรับนักศึกษาจากภูมิภาคในแถบอินโดจีน  ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัยทางสังคม  วัฒนธรรม  และการพัฒนาพื้นที่ในภูมิภาค

 

ภาพอนาคตที่เล่าให้ฟังมีทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์  แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์จึงมีทั้งที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาพในอนาคตนั้นเกิดขึ้นและเป็นจริง  และแนวคิดเชิงป้องกันไม่ให้ภาพที่ไม่พึงประสงค์นั้นเกิดขึ้นได้

1. ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน

- สร้างความตื่นตัวในการรับรู้ถึงความสำคัญและผลกระทบจากประชาคมอาเซียนให้กับสังคม

- เตรียม SME ให้พร้อมรับมือกับการแข่งขัน

- พัฒนาความพร้อมทั้งด้าน Logistic และ Technology  รองรับการแข่งขัน

 

2.  ยุทธศาสตร์ภาคีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางพาณิชย์ให้เป็นเครือข่ายพันธมิตรทางการค้า

 

3. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงภายใน

- ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบภายในประเทศอย่างจริงจัง

- ผลักดันการกระจายอำนาจบริหารจัดการสู่ท้องถิ่นตามความต้องการของประชาชน  เพื่อบริหารจัดการและดูแลตัวเอง ตามบริบทของท้องถิ่นซึ่งมีความต้องการแตกต่างกัน

 

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคน

- พัฒนาสถาบันการศึกษานานาชาติ และปรับหลักสูตรให้พร้อม ปูพื้นฐานมี่จะเป็น ASEAN Citizen

อ่านมาถึงตรงนี้ยิ่งหนักใจมากขึ้น  แค่เอาตัวรอดให้ผ่านวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองก็หนักหนาแล้ว  ยังต้องมาพัฒนาให้พร้อมกับการแข่งขันอีก……อิอิ

  

Post to Facebook Facebook



Main: 0.099647045135498 sec
Sidebar: 0.14427304267883 sec