ความขัดแย้ง - อำนาจ - ความรุนแรง
อ่าน: 14281ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ
9 กรกฎาคม 2554 13.30 น.- 16.30 น.
บรรยากาศสนุกมาก เพราะอาจารย์เริ่มแบบเล่าเรื่องชิวๆ นักศึกษาเริ่มซักถามและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในบรรยากาศที่ไม่ใช้ความรุนแรง
อาจารย์เริ่มด้วยเรื่อง
- ทฤษฎีเป็นเพียงกรอบแนวคิด เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
- ความรุนแรงในการเลือกตั้งในรูปแบบต่างๆ
- Post Election Stress Syndrome
- ความขัดแย้งทางการเมืองก็เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของความขัดแย้ง
- Domono Effect ที่เริ่มจากการปฏิวัติในประเทศตูนีเซีย หรือปฏิวัติดอกมะลิ (The Jasmine Revolution)
ซึ่งเริ่มจากนายโมฮัมหมัด บูอะซิซี่ บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวเมืองซิดี บูซิส วัย 26 ปี ได้ตัดสินใจเผาตัวตายประท้วง หลังจากที่เขาถูกตำรวจหญิงไล่ไม่ให้ขายผลไม้ในรถเข็นเพื่อเลี้ยงครอบครัว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 ซึ่งหลังจาการเสียชีวิตของนายโมฮัมหมัด เพียง 18 วัน ก็เกิดการปฏิวัติดอกมะลิขึ้น โดยหนุ่มสาวที่ทราบเหตุการณ์ดังกล่าว ได้สร้างเครือข่ายของการปฏิวัติประชาชนขับไล่รัฐบาลเผด็จการผ่านสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์
อิทธิพลของการปฏิวัติดอกมะลิลุกลามไปใน เยเมน ซูดาน จอร์แดน อียิปต์ และลิเบีย ทำให้รัฐบาลของอีกหลายๆชาติ เช่น จีน สิงคโปร์ พม่า.. เริ่มจับตามองด้วยความกังวล
- ความขัดแย้งเป็นรื่องธรรมชาติในปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และในสังคมการเมือง
ความขัดแย้ง และความรุนแรงไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ความขัดแย้งไม่จำเป็นต้องใช้หรือยุติด้วยความรุนแรง
ความขัดแย้งเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมหรือเป็นบ่อเกิดของการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของสังคมด้วยซ้ำ
การดำรงอยู่ของความจัดแย้งไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ถึงความล้มเหลวของสังคมหรือระบบการเมือง การจัดการความขัดแย้งอย่างไรต่างหากที่เป็นตัวชี้วัด ป้ญหาอยู่ที่วิธีหรือกลไกที่จะป้องกัน แก้ไข และเยียวยา หลายๆประเทศเรียนรู้ที่จะจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง
ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ ไม่ได้รับการแก้ไขจะเป็นโทษ
ความขัดแย้งในประเทศไทยยังไปไม่ถึง Failed State ยังไม่เกิด Civil War หรือสงครามกลางเมือง ทั้งๆที่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้ง
เรายังมีความหวัง คาดว่าการเลือกตั้งจะช่วยแก้ปัญหา แต่กลายเป็นเริ่มเกิดความรุนแรงในการเลือกตั้ง แถมติดตามมาด้วย Post Election Stress Syndrome แต่ก็ยังไม่รุนแรงจนจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ?
สังคมเผด็จการจะควบคุมสื่อ ทำให้ข้อมูลข่าวสาร ความจริงไม่ปรากฏ
ความขัดแย้งแต่ละกรณีมีลักษณะเฉพาะ การวิเคราะห์ต้องคำนึงถึงบริบทที่เฉพาะเจาะจงของความขัดแย้งนั้นๆ
ความขัดแย้งมักจะไม่ได้มีสาเหตุเดียว (Mono-causal Phenomena) แต่มีหลายเหตุปัจจัยเชื่อมโยงกัน ( a set of interconnected conflict factors) และไม่หยุดนิ่ง ((Dynamics)
“……Conflicts are not mono-causal phenomena and arise from a set of interconnected conflict factors and dynamics.”
การวิเคราะห์ความขัดแย้ง ต้องพิจารณา
- Issues ประเด็นของปัญา
- Stakeholders ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งทางตรงและทางอ้อม
- Content บริบทของความขัดแย้ง สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม กฏหมาย และความสนใจของสื่อมวลชน
ประเภทของความขัดแย้ง
- Data Conflict ชนิด ปริมาณ การตีความ
- Interest Conflict วัตถุ เงิน ทรัพยากร บุคลากร
- Structural Conflict อำนาจ หน้าที่ การตัดสินใจ
- Relationship Conflict ทัศนคติ การสื่อสาร ความประพฤติ
- Values Conflict ความเชื่อ ระบบค่านิยม
Next : ความขัดแยัง–อำนาจ - ความรุนแรง (2) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "ความขัดแย้ง - อำนาจ - ความรุนแรง"