ความขัดแยัง–อำนาจ - ความรุนแรง (2)

โดย จอมป่วน เมื่อ 17 กรกฏาคม 2011 เวลา 16:28 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 12868

ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ

อำนาจ  (Power) ความสามารถในการควบคุมผู้อื่นในด้านความคิดและพฤติกรรม

สิทธิอำนาจ (Authority) คืออำนาจที่มีความชอบธรรมด้วย

**** จาก สถาบันการเมืองการปกครอง

……..

คำว่า อำนาจ เป็นคำทั่วไปที่ใช้พูดกันเสมอ เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งหรือผู้ใดผู้หนึ่งสามารถกำหนดให้คนกลุ่มอื่นหรือ บุคคลอื่นกระทำไปตามที่ตนต้องการ แต่ในความเป็นจริงแล้วคำว่า อำนาจ สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบดังนี้
1. พลังอำนาจ (Power) คือ ความสามารถของคนหรือกลุ่มคนในการควบคุมหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำของบุคคล อื่นหรือกลุ่มคนกลุ่มอื่นแม้ว่าการกระทำที่เกิดขึ้นจะเป็นการให้ความร่วมมือ หรือไม่ก็ตาม อำนาจแบบนี้ทางสังคมวิทยาเรียกว่าอำนาจนอกกฎหมาย (Illegitimate power)
2. สิทธิอำนาจ (Authority) คือ ความสามารถของคนหรือกลุ่มคนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามตำแหน่งหน้าที่ในการควบ คุมหรือบังคับให้ผู้อื่นยอมรับและกระทำตาม อำนาจแบบนี้ทางสังคมวิทยาเรียกว่าอำนาจทางกฎหมาย (Iegitimate power)

…….

ฐานหรือที่มาของอำนาจ (Sources of Power)

- Coercive Power อำนาจในการลงโทษ

- Wealth อำนาจจากทุนทางเศรษฐกิจ

- Knowledge  อำนาจที่มาจากอุดมการณ์ ความคิด เหตุผล ความรู้

- Positional Power หรือ Legitimate Power  อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่

- Skill or  Expert Power  อำนาจจากทักษะหรือที่เกิดจากความชำนาญ

- Charisma  อำนาจจากบุคลิกลักษณะส่วนบุคคล

- Reward Power อำนาจที่เกิดจากการให้รางวัล

- Informational Power อำนาจที่เกิดจากการมีข้อมูลข่าวสาร

อาจารย์แสดงความคิดเห็นต่อความขัดแย้งของสังคมไทยในปัจจุบัน

ปัญหาของประเทศไทยไม่ใช่ปัญหาระหว่างพรรคการเมือง  สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน  จริงๆเป็นความขัดแย้งของกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งอิงกับ Traditional Power ( Charisma และประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อ )  กับกลุ่มที่อิงกับระบบประชาธิปไตย (อำนาจรัฐธรรมนูญ)  ซึ่งมีที่มาของฐานอำนาจคนละอย่าง

Traditional Power vs Modern Power

อำนาจที่เผชิญกันระหว่างรัฐ –Beurocratic/ ชนชั้นนำ/ประชาสังคม

พ.ศ. 2475-2516  การเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นนำ ที่มีระบบราชการเข้มแข็ง  เป็นความขัดแย้งหลักระหว่างผู้นำซึ่งมักเป็นผู้นำในระบบราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหาร

พ.ศ. 2516-2549 เป็นความขัดแย้งทางการเมืองของชนชั้นนำ vs การเมืองมวลชน  หรือเป็นความขัดแย้งหลักระหว่างรัฐกับประชาสังคม เช่นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 , 6 ตุลาคม 2519, พฤษภาคม 2535  เป็นต้น

ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาก็ได้พัฒนามาเป็น

การเมืองชนชั้นนำ + มวลชน  vs การเมืองชนชั้นนำ + มวลชน

เป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำและขบวนการสังคมขนานใหญ่สองกลุ่ม

ปัจจุบันมีความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งลุกลามไปทุกภาคส่วนของสังคม  รวมทั้งนักวิชาการและภาคประชาสังคม

…………….

“…….คนที่อยู่ในประสบการณ์ตรงมาด้วยตัวเอง เขาไม่ใช่แต่ได้ยินหรือได้เห็น  แต่มันมีความรู้สึกด้วย…”

“……ไม่ต้องกังวลเรื่องภาพพจน์ไทยในสายตาชาวโลก สิ่งที่ต้องทำคือทำอย่างไรให้มันน่าอยู่สำหรับคนไทยก็แล้วกัน…”

…เอกพันธ์ ปัณฑวณิช

Post to Facebook Facebook

« « Prev : ความขัดแย้ง - อำนาจ - ความรุนแรง

Next : ความรุนแรง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ความขัดแยัง–อำนาจ - ความรุนแรง (2)"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.44234204292297 sec
Sidebar: 0.26527500152588 sec