ปรองดอง

โดย จอมป่วน เมื่อ 20 กรกฏาคม 2011 เวลา 23:26 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14389

เข้าเยี่ยม facebook ของสถาบันพระปกเกล้า แนะนำให้ไปดู ก้าวแรกรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์”…เดินหน้าปรองดอง ? ในรายการ Intelligence  มี

20-7-2554 19-13-30

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช อดีตสมาชิกวุฒิสภา

พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

คุณสมชาย หอมลออ จากคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

ดำเนินรายการโดยคุณจอม เพชรประดับ

ย่อๆนะครับ  สนใจไปรับชมรับฟังเองนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช…

การจะปรองดองคงต้องดูเหตุการณ์ทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะแรกตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญ 2540 จนถึงมีการปฏิวัติ ในปี 2549

ระยะที่ 2  ตั้งแต่หลังการปฏิวัติ รัฐบาลสมัยนายกฯ สมัคร  นายกฯ สมชาย

ระยะที่ 3  ตั้งแต่รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ จนถึงปัจจุบัน

การปรองดองก็มี 2 แนวทางหรือทฤษฎีง่ายๆ  คือลืมซะให้หมด กับจัดการให้ยุติธรรมให้หมด ซึ่งก็เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ทั่วโลก

พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ

กลุ่มที่มีปัญหาเรียกร้องเรื่องต่างๆมีมาก มีอยู่เดิมแล้ว  และยังไม่ได้รับการแก้ไข เยียวยา

กลุ่มใหม่ก็มีอีกหลายกลุ่มที่แนวคิดแตกต่างกัน  เป็นปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมืองอยู่ในปัจจุบัน

ในการที่จะปรองดองคงต้องหาความจริงก่อน  แต่มักจะใช้เวลานานมาก  ในต่างประเทศ บางกรณีใช้เวลาหลายสิบปี  และใช้บุคลากรและงบประมาณมากมาย  เพราะจะมุ่งหารากเหง้าของปัญา  รวมทั้งแนวทางป้องกันที่จะไม่ให้เกิดขึ้นอีก

แต่ความจริงประเทศไทยก็มีองค์กรต่างๆหลายองค์กรที่แยกกันทำงานแต่ก็มุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน เช่น

คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ซึ่งมีท่านนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป  (คสป.) ซึ่งมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน

คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

ถ้ารัฐบาลจริงใจก็สามารถนำข้อเสนอของคณะกรรมการที่ได้ศึกษาไว้เริ่มดำเนินการในส่วนที่ทำได้ไปเลย

คุณสมชาย หอมลออ

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ  และผู้เชี่ยวชาญจาก UN ทำการค้นหาความจริง

ต้องตรวจสอบค้นหาความจริง หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ? สาเหตุของความขัดแย้ง  คณะกรรมการไม่เชื่อทฤษฎีลืมให้หมด เพราะจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต  แต่ไม่ได้แปลว่าต้องลงโทษทั้งหมด  แต่เป็นเรื่องของแสวงหาความจริงให้สังคมเข้าใจ  เยียวยา ลงโทษ  ให้ความยุติธรรม  จะให้อภัยหรือนิรโทษกรรมก็ได้  แต่ประชาชนต้องมีความเข้าใจ

การปรองดองต้องให้มีส่วนร่วม  ความเห็นชอบจากทุกภาคส่วน เงื่อนไขที่สำคัญ 3 ประการของการปรองดองที่ยั่งยืนและถาวร  คือ

  1. ความจริง  ต้องตรวจสอบค้นหาความจริง  แม้จะมีบางฝ่าย  บางคนต้องเจ็บปวด
  2. ความยุติธรรม  ให้ความยุติธรรมกับคนที่ถูกคุมขังอยู่ ที่เสียชีวิต บาดเจ็บล้มตายไป  มีการเยียวยาซึ่งมีการลงโทษ  การขอโทษ การชดเชย  การให้อภัย
  3. การปรับปรุง  มีการปรับปรุงทั้งด้านโครงสร้าง  พรรคการเมือง  กองทัพ  ระบบราชการ  กลไกความยุติธรรม ฯ

ในเรื่องของการปรองดอง  คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะสอบสวนหาข้อเท็จจริงเท่านั้น

พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ

รัฐบาลต้องมีความจริงใจในเรื่องนี้  จนทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น  ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้นำเอาสิ่งที่คณะกรรมการทั้ง 5 ชุดที่แต่งตั้งขึ้นมาทำให้เกิดความเชื่อมั่นเลย

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช

รัฐบาลต้องตั้งหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ปรองดองโดยตรงขึ้นมา  เพราะ คอป. เป็นแค่ Fact Finding Committee

คณะกรรมการหรือหน่วยงานนี้รัฐบาลใหม่ไม่ควรตั้งเอง  ต้องให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแลัเป็นที่ยอมรับของประชาชน

ต้องหา Model ที่ทุกฝ่ายยอมรับ

การปรองดองขึ้นอยู่กับการกระทำของรัฐบาล  ต้องสร้างบรรยากาศของความปรองดอง ตั้งแต่การเข้าสู่อำนาจอย่างพอเหมาะพอสม  ไม่แสดงความยิ่งใหญ่เกิน

การแต่งตั้งบุคลากรเข้ามาทำงาน  ต้องเป็นบุคลากรที่ประชาชนยอมรับ

การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ  ให้มีความเป็นธรรม

มุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจและเดินหน้สาเรื่องปรองดองไปด้วย

คุณสมชาย หอมลออ

ประเด็นนิรโทษกรรมเป็นเรื่องของการทำให้เกิดความยุติธรรม ทุกฝ่ายต้องได้รับความยุติธรรม

ประเด็นนิรโทษกรรมเป็นเพียงประเด็นหนึ่งของการปรองดอง

อย่าคิดว่าเสียงคนรากหญ้าเป็นเสียงนกเสียงกา  ยุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว

20-7-2554 19-07-46

ถ้าสนใจก็รับชมรับฟังเองดีกว่านะครับ อิอิ

แนะนำบทความ ประจักษ์ ก้องกีรติ: ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน: เมื่อโลกไม่หันหลังให้โศกนาฏกรรม ของ อาจารย์ ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ  ก็มีประเด็นการปรองดองและประเด็นนิรโทษกรรมที่น่าสนใจครับ

Post to Facebook Facebook

« « Prev : สันติวิธี

Next : อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม: แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม (1) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ปรองดอง"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.18204593658447 sec
Sidebar: 0.10852098464966 sec