อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม: แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม (1)
อ่าน: 14447แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม
22 กรกฏาคม 2554 9.30-12.30 น.
อาจารย์ตั้งคำถามว่าสังคมพหุวัฒนธรรมในมุมมองของเราคืออะไร?
- คนทั่วไปจะมองประเทศเป็นเอกลักษณ์
- มองภาคใต้เป็นสังคมที่แตกต่าง มองจากข้างบนลงไปข้างล่าง หรือ มองจากเมืองไปสู่ท้องถิ่น มองจากข้างนอกเข้าไปข้างในอาจมองไม่เห็น
- สังคม วัฒนธรรม คือคน ไม่ใช่อาคาร เขตการปกครอง มองด้วยมุมมองด้านเศรษฐกิจและการเมืองอย่างเดียวไม่ได้
- มองแบบ Bird’s eye view อย่างเดียวไม่ได้ ต้องมองด้วยมุมมอง Worm’s eye view ด้วย
- จริงๆประเทศไทยเรามีสังคมพหุวัฒนธรรมอยู่แล้ว แต่เรามองไม่เห็นเอง
- คนชั้นกลางเราถูกฝรั่งครอบในแง่ประชาธิปไตย มองจากข้างบนลงมา เอากฏหมายรัฐธรรมนูญไปทำลายวัฒนธรรมท้องถิ่น
- ข้างล่างเต็มไปด้วยความหลากหลาย คนหลายกลุ่มมาต่อรองเพื่ออยู่ร่วมกัน สร้างสำนึกร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย
- จะอยู่ร่วมกันต้องเริ่มจากเล็กๆ จากข้างล่างขึ้นมา ไม่มองผ่านเศรษฐกิจและการเมืองด้านเดียว ต้องมองมิติด้านสังคมและวัฒนธรรม
- ต้องมองเห็นคน ต้องเข้าถึงคน
การศึกษาก็ไม่ได้ทำให้ คน เห็น คน อาจารย์ไม่เห็นด้วยกับคำว่าทรัพยากรมนุษย์ เพราะคนไม่ใช่ทรัพยากร มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่ใช่สัตว์เดรฉาน
การแก้ไขต้องเริ่มแก้จากตัวตนของเรา กลุ่มเครือญาติและชุมชน เน้นที่ความสัมพันธ์ว่าจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร?
อาจารย์ยกตัวอย่างประเทศอินเดียว่าเป็นประเทศหลากสี เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นสังคมพหุลักษณ์ เป็นสังคมอหิงสาที่คนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนาอยู่ร่วมกันได้
ไทย พม่า มาเลเซีย เดิมก็เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมแต่ระบบเศรษฐกิจและการเมืองเข้ามาแทรก เลยยุ่ง
อาจารย์ยกตัวอย่างชาวบ้านที่เริ่มมองจากข้างล่าง ขณะที่หลายคนมองจากข้างบน เช่นที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ชาวบ้านนับถือ “เจ้าพ่อขุนตาน” เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่คนลุ่มน้ำแม่ตานต่างให้ความ เคารพยำเกรงและเชื่อมั่นว่าสามารถปกปักรักษาและดลบันดาลให้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ไหลหล่อเลี้ยง พอเพียงแก่การดื่มกินและทำนา
เป็นการใช้อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นมิติทางจิตวิญญาณประกอบพิธีกรรมร่วมกันเป็นประเพณี เกิดสันติสุข สร้างขึ้นโดยคนที่อยู่ด้วยกัน อยู่ร่วมกัน
หรือกรณีที่ฟิลิปปินส์ มีหลายชนเผ่า รบกัน ฆ่ากัน มีการล่าหัวมนุษย์ แต่ก็จบลงด้วยการที่ชนเผ่ามานั่งคุยกัน
เมืองไทยเราแต่เดิม เป็นเรื่องของบ้าน เรื่องของเมือง คืออยู่กันที่บ้าน มีวัดเป็นศูนย์กลางของสังคม เกิดความเป็นชุมชน มีองค์กร พระสงฆ์ ผู้สูงอายุ ผู้อาวุโส มีการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน มีครู
ถ้าเกิดความขัดแย้งในชุมชน ในสังคมก็ไม่ใช่เรื่องของ ขาวหรือดำ ถูกหรือผิด แต่มีการไกล่เกลี่ย (สมานฉันท์-Conciliation)
ถ้ามีความรุนแรงมากก็ใช้กฏหมายบ้านเมือง
ประสบการณ์ภาคใต้ อาจารย์เล่าว่าทางภาคใต้เค้าต้องการองค์กรชุมชนกลับคืนมา เช่นสภาอูลามาอ์ โต๊ะครูมีบทบาท เป็นภาคประชาสังคม (Civic Group) กลุ่มแบบนี้ถูกทำลายไปโดนการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ (Internal Colonization) ซึ่งไปทำลายองค์กรท้องถิ่น
เดิมองค์กรชุมชนมีองค์กรตรวจสอบ ไม่ใช่บังคับ การแก้ไขต้อง Back to The Base ต้องหันกลับไปให้ความสำคัญของบ้านเกิดเมืองนอน ท้องถิ่น กลุ่มประชาสังคมหรือเครือข่ายองค์กรชุมชน
สังคมปัจจุบันเป็นสังคมกดขี่ ต้องลดอำนาจรัฐ กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กลุ่มประชาสังคมก็ต่อรองกับ อปท. กลุ่มประชาสังคมมีอำนาจ Sanction แต่ไม่มีอำนาจบังคับใช้ ซึ่งก็ตรงกับที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) ซึ่งมีคุณอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธาน ประกาศแนวทางไว้ และ “ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ” ที่ คปร. ได้นำเสนอเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 มีสาระบางตอนดังนี้……
………สำหรับข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ มีสาระสำคัญดังนี้
ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคลงทั้งหมด โอนอำนาจบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น, เศรษฐกิจท้องถิ่น, สังคมท้องถิ่น และการเมืองท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดย อปท.จะเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับที่ดิน ป่า น้ำ ฯ การศึกษา การวางแผนพัฒนาของท้องถิ่น รวมทั้งสามารถกำหนดอัตราภาษีบางประเภทในท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ยังสามารถออกกฎเกณฑ์บางประการ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจของท้องถิ่นเอง เพื่อดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและการบังคับใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าว
ถ้าสนใจฉบับเต็มก็ดาวน์โหลดได้ที่นี่
…………….
ฟังแล้วคิดถึง Centralism ที่ อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์พูดถึง และ เอกนิยม(monism)
« « Prev : ปรองดอง
ความคิดเห็นสำหรับ "อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม: แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม (1)"