พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี (3)

โดย จอมป่วน เมื่อ 3 สิงหาคม 2011 เวลา 22:41 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3350

“สงครามไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” โดย พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ

ลุงเอกเริ่มด้วยการเล่าถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในการจัดการความขัดแย้งปัญหาชายแดนแล้วเริ่มเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน  โดยเปรียบเทียบว่าประเทศอื่นๆจัดการปัญหาชายแดนอย่างไรเปรียบเทียบกับประเทศไทย

ศ. ดร. Benedict O’gorman Anderson กล่าวไว้ในงานสัมมนาวิชาการอุษาคเนย์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2552  อุษาคเนย์: อคติที่แอบแฝงสู่ความขัดแย้งที่ไม่รู้จบ วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552  ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในปาฐกถานำ  ลัทธิชาตินิยมเก่า VS ชาตินิยมใหม่ ? ในสังคมไทย

…..

“ชะตากรรม อาเซียน จากอคติที่แอบแฝงสู่ความขัดแย้งที่ไม่รู้จบ อาเซียนน่าจะหันมามองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ สิ่งนี้คือ “สุคติ” ของอาเซียน  ต้องใช้คำว่าเปลี่ยนเหมือนโอบามา  เพราะถ้าไม่เปลี่ยนอาเซียนก็เหมือนลูกโป่งที่ลอยอยู่สวยงามแต่ทำอะไรไม่ได้”

“อาเซียนมีอยู่เพื่อให้เราอุ่นใจ แต่ผลความสำเร็จอย่างจริงจังยังไม่เกิดขึ้นเพราะเน้นการร่วมมือกันพัฒนาทางวัตถุมากกว่าการเน้นความร่วมมือทางการพัฒนาส่งเสริมเรื่องของมนุษย์กับมนุษย์ จะต้องเปลี่ยนวิธีคิด  ถ้าคนยังไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน  ไม่เห็นใจกัน  เศรษฐกิจจะดีได้อย่างไร  มนุษย์คือทุนที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา”

ลุงเอกก็เสนอความเห็นไว้ว่า  ปัญหาเส้นเขตแดนเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ต้องเปลี่ยนให้เป็นการสร้างเส้นเขตแดนสายสัมพันธ์  สร้างแม่น้ำสายสัมพันธ์  สร้างความสัมพันธ์ทางศาสนา  สร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม  และสร้างความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติเผ่าพันธ์

ยกตัวอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนมองเส้นเขตแดนคือโอกาสของประเทศ  ก้าวข้ามความขัดแย้งในอดีต  เริ่มตกลงปักหมุดเขตแดนทางบกระหว่างจีนกับเวียตนาม

เขตแดนทางบกระหว่างสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนามกับสาธารณรัฐประชาชนจีน  มีความยาวประมาณ 1,450 กิโลเมตร  หลังจากทำสงครามกันมานานก็มีความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยสนธิสัญญาและการปักปันเขตแดน  เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2534

มีการตกลงชั่วคราวว่าด้วยการแก้ไขปัญหาชายแดนระหว่างสองประเทศ  จนสำเร็จในปี พ.ศ. 2552  ปักหลักเขตแดนทั้งสิ้น 1,970 หลัก  ใช้เวลาเพียง 20 ปี

ที่ประสบความสำเร็จเพราะได้มองข้ามปัญหาความขัดแย้งที่เคยมีในอดีตและหันมาร่วมมือกันสร้างสันติภาพ ความเจริญให้เกิดขึ้นระหว่างภูมิภาคได้อย่างน่าชื่นชม  ก่อให้เกิดความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม ระหว่างกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันและกัน  เป็นผลดีกับทั้งสองฝ่าย

รัฐบาลทั้งสองประเทศได้ผ่านกระบวนการเจรจากัน  ในปัญหาการปักหลักเขตแดนทางบก  ในพื้นที่ 232 ตารางกิโลเมตร  สุดท้ายได้ข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนได้พื้นที่ 117.1 ตารางกิโลเมตร  สาธารณนัฐสังคมนิยมเวียตนามได้พื้นที่ 114.9 ตารางกิโลเมตร เป็นต้น

ลุงเอกเล่าถึงภูมิศาสตร์แบบไข่แดง (Encave/Excave) ซึ่งใช้เรียกดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศใดประเทศหนึ่งที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนแผ่นดินของประเทศตัวเอง  แต่ตั้งอยู่บนแผ่นดินของประเทศอื่น  สาเหตุที่ทำให้เมืองของประเทศหนึ่งไปอยู่อีกประเทศหนึ่ง  มีสาเหตุมาจากเงื่อนไขในอดีตก่อนเกิดพรมแดนแบบรัฐชาติ  เช่น อาจจะมอบเมืองให้เป็นของกำนัลให้กัน  เป็นต้น

ยกตัวอย่างภูมิศาสตร์ไข่แดงในยุโรป  เป็นการจัดการพื้นที่ข้ามจินตนาการรัฐชาติ  เช่นกรณีหนึ่งหมู่บ้านสองแผ่นดิน  ส่วนของหมู่บ้านที่เรียกว่าบาร์เลอร์นาซเซาเป็นของประเทศเนเธอร์แลนด์  ส่วนบาร์เลอร์แฮร์ท็อกเป็นของประเทศเบลเยียม  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่พบทั่วไปในยุโรปตั้งแต่ยุคกลางเรื่อยมาจนถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18-19

141637-1-9515 141637-4-4770

141637-7-3479 141637-9-3855

รูปจาก  ดูคนเบลเยี่ยม/เนเธอร์แลนด์ เขาแบ่งเขตแดนกัน‏

การเจรจาเรื่องเขตแดนของเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์เริ่มขึ้นอย่างจริงจังประมาณ พ.ศ. 2372  ยืดเยี้อมานาน  เสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2529  สามารถลงนามในข้อตกลงความร่วมมือข้ามพรมแดน  และข้อตกลงนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2534 และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2538  รวมการเจรจาใช้เวลา 156 ปี

หรือกรณีหอระฆังที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกันระหว่างเบลเยียมและฝรั่งเศส  เป็นมรดกโลกข้ามพรมแดนภูมิภาคและรัฐชาติ   หอระฆัง ๒๓ หอ ในตอนเหนือของฝรั่งเศสและหอระฆังแห่งจอมบลูซ์ (Gembloux) ในเบลเยียมได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเป็นกลุ่ม เป็นส่วนต่อขยายจากหอระฆัง ๓๒ หอของเบลเยียม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนใน คริสต์ศักราช ๑๙๙๙ (พุทธศักราช ๒๕๔๒) ในชื่อ “หอระฆังแห่งฟลันเดอร์สและวาลโลเนีย (Belfries of Flanders and Wallonia)” หอระฆังเหล่านี้สร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑–๑๗ (พุทธศตวรรษที่ ๑๖–๒๒) มีรูปแบบสถาปัตยกรรมโรมัน โกธิค เรอเนสซองส์ และบาโรค เป็นเครื่องหมายแห่งการได้ชัยขนะของประชาชน

หรือกรณีของ “น้ำตกอีกวาซู” (Iguazu falls)

brazil2 15375_Iguacu falls

ซึ่งเป็นน้ำตกที่อยู่ระหว่างอาร์เจนตินากับบราซิล  สภาพภูมิศาสตร์และธรรมชาติเป็นดินแดนผืนเดียว  มีเส้นพรมแดนในน้ำตก  (พื้นที่น้ำตกอาร์เจนตินา 70 บราซิล 30)  อาร์เจนตินาเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติปี 1984  แล้วเกิดกรณีพิพาทกับบราซิล  สุดท้ายแก้ปัญหาขัดแย้งด้วยบราซิลนำน้ำตกส่วนของบราซิลขึ้นจดทะเบียนมรดกโลกกับยูเนสโกในปี 1987 ปัญหาจบลงในเวลา 3 ปี

หรือกรณีน้ำตกเต๋อเทียน  ที่หนานหนิงเป็นน้ำตกที่ชายแดนจีน-เวียตนาม ฉายามินิไนแองการา

ส่วนใหญ่แล้วถ้ามองเส้นเขตแดนเป็นเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต้องเปลี่ยนให้เป็นการสร้างเส้นเขตแดนสายสัมพันธ์ สร้างแม่น้ำสายสัมพันธ์ สร้างความสัมพันธ์ทางศาสนา สร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม และสร้างความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติเผ่าพันธ์  อย่างที่ลุงเอกบอก  ก็จะมีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมกัน  มีการค้าชายแดน  ทำให้ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

ประเทศไทยเราก็มีตัวอย่างประเพณีตักบาตรสองแผ่นดิน ที่จุดผ่อนปรนชายแดนไทยลาวที่บ้านฮวก อ.ภูซาง จังหวัดพะเยา

หรือกรณีหมู่บ้านสองแผ่นดินที่ โจกเจีย-หนองจาน เดิมมีแนวรั้วลวดหนามเป็นแนวสันติภาพที่ชาวไทย-กัมพูชาทั้งสองฟากฝั่งข้ามมาทำมาหากินกันได้  ประชาชนทั้งสองฝั่งไม่ได้มีปัญหาต่อกัน  แต่ไม่นานมานี้ก็เกิดกรณีชาวไทยถูกจับที่บ้านโจกเจีย  หรือชายแดนเราจะถูกพัฒนาเป็นสนามรบ ?

ดูตัวอย่างของเพื่อนบ้านมามากแล้ว  คราวหน้าฟังลุงเอกเล่าแนวคิดยุทธศาสตร์ของจีน เปรียบเทียบกับมุมมองหรือนโยบายของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านบ้าง….โปรดติดตาม  อิอิ

Post to Facebook Facebook

« « Prev : พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี (2)

Next : พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี (4) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี (3)"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.076110124588013 sec
Sidebar: 0.12996387481689 sec