พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี (4)
อ่าน: 2032“สงครามไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” โดย พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
ลุงเอกฉาย VCD ให้ดูแล้วเล่าแนวคิดของจีนให้ฟัง
ตามนโยบายมุ่งสู่ใต้ของจีนที่ต้องการเปิดเส้นทางค้าขายของจีนทางใต้ผ่านอินโดจีนและหาทางออกทะเลทั้งทางด้านทะเลอันดามัน, มหาสมุทร์อินเดีย, ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย
มีการขับเคลื่อนผ่านกรอบความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจที่มุ่งเปิด เส้นทางคมนาคมจากซีหนาน-อาเซียนผ่าน คุน-มั่ง กงลู่ หรือถนนคุนหมิง-กรุงเทพฯ (ทั้ง R3b ผ่านพม่า และ R3a ผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว), รวมทั้งเส้นทางเดินเรือในแม่น้ำโขง ตอนบน โดยมีท่าเรือจิ่งหงหรือเชียงรุ่งเป็นเกตเวย์ในการขนถ่ายสินค้าเข้า-ออก
จีนจะใช้เส้นทางคมนาคมขนส่งและเส้นทางรถไฟผ่านพม่าเป็นเส้นทางส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติผ่านมายังมหาสมุทร์อินเดีย
(ถ้าสนใจเรื่องนี้ก็ดูเรื่อง North-South Corridor, East-West Corridor, Northern Corridor, Central Corridor, Eastern Corridor, Northeastern Corridor ฯ)
นี่ยังไม่รวมเรื่องทางรถไฟความเร็วสูงที่จีนจะสร้างมาที่เวียงจันทร์ ไทย สิงคโปร์
ก่อนปี 1990 สินค้าไทยครองตลาดพม่าได้กว่า 80% ทั้งอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า ฯลฯ โดยส่งผ่านชายแดน ระนอง กาญจนบุรี แม่สอด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และแม่สาย ที่เหลือจะเป็นสินค้าจากจีน อินเดีย สิงคโปร์ เป็นต้น
แต่หลังจากจีนเปิดชายแดน จนถึงช่วงหลังปี 2000 ปรากฏว่าในตลาดพม่าสินค้าจีนสามารถครองส่วนแบ่งได้มากถึง 50-60% ขณะที่สินค้าไทยเหลือเพียง 20-30% ที่เหลือเป็นสินค้าจากอินเดีย สิงคโปร์ เหตุผลสำคัญ เนื่องจากสินค้าจีนมีราคาถูกกว่า
และที่ชายแดนจีน-พม่า ระหว่างเมืองมูเซของพม่ากับรุ่ยลี่ เขตปกครองตนเองของชนชาติไต ที่เต๋อหง มณฑลยูนาน ของจีน ถูกใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นพื้นที่พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต่อยอดไปสู่การพัฒนาการค้า-การลงทุนระหว่างกัน
ที่หมู่บ้านน่งเต่า (ในสำเนียงชาวไต หรือไทลื้อ) หรือ “หนองเตา” จีนและพม่าปักหลักเขตแดนผ่านหมู่บ้านที่เป็นชุมชนชายแดนจีน-พม่า ที่เส้นพรมแดนตัวกำหนดเขตแดนรัฐชาติของ 2 ประเทศไม่มีผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน
หมู่บ้านที่มีกว่า 100 ครัวเรือนแห่งนี้ถูกเส้นเขตแดนผ่าลงกลางหมู่บ้าน กลายเป็น “1 หมู่บ้าน 2 ประเทศ ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงดำเนินวิถีชีวิตกันตามปกติ สามารถข้าม แดนไปมาภายในหมู่บ้านได้โดยไม่ต้องตรวจลงตราเอกสารผ่านแดนใดๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า “เขตแดน” เป็นเพียงองค์ประกอบในความเป็นรัฐชาติของทั้ง 2 ประเทศเท่านั้น
บริเวณริมเส้นเขตแดนมีบ่อน้ำมิตรภาพ เป็นบ่อน้ำบาดาลซึ่งคนในหมู่บ้านแห่งนี้ใช้มาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย จนทุกวันนี้ มีหม้อกรองน้ำดื่มที่สร้างขึ้นใหม่ทับเส้นเขตแดน โดยด้านหนึ่งเขียนไว้ว่าพม่า และอีกด้านหนึ่งระบุว่าอยู่ฝั่งจีน กลายเป็น “บ่อน้ำบาดาล 2 ชาติ” ไปโดยปริยาย
มีชิงช้ามิตรภาพกลางหมู่บ้าน ที่สร้างขึ้นบนเส้นเขตแดนเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ความเป็น 1 หมู่บ้าน 2 ประเทศ เมื่อผู้นั่งโล้ชิงช้าไปด้านหลังก็จะเข้าไปอยู่ในเขตประเทศพม่า ถ้าโล้มาด้านหน้าก็จะอยู่ในเขตจีน
ทางการจีนโปรโมตให้หมู่บ้านแห่งนี้เป็น 1 ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของรุ่ยลี่
ทิศทางของสถานการณ์โลกในอนาคต
สถานการณ์ความมั่นคงมีความเปราะบาง
ความขัดแย้งระหว่างรัฐและภายในรัฐขยายวงกว้างในทุกภูมิภาค
ผลประโยชน์ของประเทศทับซ้อนกันมากขึ้น
การกอบโกยแย่งชิงทรัพยากรของรัฐต่างๆ
มีแนวโน้มจะใช้กระบวนการทางการเมืองแก้ไขปัญหาแทนการสู้รบด้วยอาวุธ
ความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ที่เกิดจากแตกต่างในเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ต้องมีมาตรการแก้ไขที่ไม่ให้ขยายขอบเขตกว้างขวางขึ้น
ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งในระดับปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองไม่ให้ขยายตัวเป็นความขัดแย้งขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของประเทศต่างๆ
ลุงเอกตบท้ายด้วยมุมมองของประเทศต่างๆต่อประเทศไทย
คนไทยถูกสอนให้เชื่อเรื่องเขตแดนทางกายภาพมากกว่าเขตแดนสายสัมพันธ์ ในอนาคตเขตแดนของกลุ่มประเทศอาเซียนจะค่อยๆลบเลือน ประเทศในยุโรปที่มีความขัดแย้งเรื่องเขตแดนก็จบลงด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
เราอาจจะเถียงคอเป็นเอ็นว่าเป็นเรื่องภายในของประเทศไทยเรา ประเทศอื่นๆไม่ต้องมายุ่ง แต่รู้ไว้ว่าโลกมองประเทศไทยเราอย่างไรก็คงมีประโยชน์บ้าง
มีการจัดอันดับ Peace Country โดยตัวชี้วัดจะให้น้ำหนัก Internal Peace 60% และ External Peace 40%
ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 107 ได้คะแนน 2,247 คะแนน
มาเลเซีย อยู่อันดับที่ 19 ได้คะแนน 1,467 คะแนน
เวียตนาม อยู่อันดับที่ 30 ได้คะแนน 1,670 คะแนน
ลาว อยู่อันดับที่ 32 ได้คะแนน 1,687 คะแนน
เกาหลีใต้ อยู่อันดับที่ 50 ได้คะแนน 1,829 คะแนน
อินโดนีเซีย อยู่อันดับที่ 68 ได้คะแนน 1,979 คะแนน
จีน อยู่อันดับที่ 80 ได้คะแนน 2,054 คะแนน
………..
Uganda อยู่อันดับที่ 96 ได้คะแนน 2,159 คะแนน
ไม่ต้องตกใจนะครับ ประเทศไทยเราเริ่มดีขึ้น เริ่มไต่อันดับจากอันดับที่ 118 ในปี 2008-2009 และอันดับที่ 124 ในปี 2010 มาเป็นอันดับที่ 107 ในปีนี้ ……..อิอิ
ถ้าสนใจก็ไปดูได้ที่ Global Peace Index
ยกตัวอย่างตัวชี้วัดการสร้างสังคมสันติสุข
- การให้การต้อนรับชาวต่างชาติ (Hospitality to foreeigners) คงหมายถึงแรงงานต่างด้าวด้วย
- การรวมกลุ่มในภูมิภาคอย่างลุ่มลึก (Depth of regional intregration) อันนี้ดูจากการสำรวจความรู้สึกว่าเป็นประชากรอาเซียนเมื่อปี 2008 ไทยก็อยู่อันดับที่ 8 ได้ 67.0% ขณะที่ลาวได้ 96.0% , กัมพูชาได้ 92.7%, เวียตนามได้ 91.7% และมาเลเซียได้ 86.8% และการสำรวจความคุ้นเคยกับอาเซียนและความอยากรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนอื่นๆ ประเทศไทยก็ได้คะแนนท้ายๆ แสดงว่าประเทศไทยไม่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนแก่ประชาชนเท่าที่ควร
- การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน (Relation with neighbors) ก็รู้สึกว่าประเทศเราจะมีความสัมพันธ์ที่ไม่สู้ดีนักกับประเทศต่างๆในอาเซียน
นี่ยังไม่รวมถึงความสงบภายใน ที่ความขัดแย้งยังเป็นปัญหาหลักและยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงได้ในอนาคตอันใกล้
การก้าวข้ามเพื่อนำชาติไทยไปสู่สังคมสันติสุข
- คนไทยต้องศึกษาประวัติศาสตร์ให้รู้ความเป็นมาของชาติไทย
- ลดทัศนคติที่มองเพื่อนบ้านเป็นศัตรู
- อยู่กับความจริง(Truth) ให้อภัย ยกโทษให้กัน(Forgiveness) ประนีประนอมคืนดีกัน(Reconcillation) เพื่อสร้างความปรองดองในภูมิภาค
- สงครามไม่ใช่ทางออกของปัญหา
- สันติมิใช่ทางเลือกในการจัดการปัญหา แต่เป็นทางเดียวที่จะจัดการปัญหาได้
แล้วนโยบายของประเทศไทยเป็นอย่างไร ?
เรามีปัญหาทั้งภายในประเทศและมีปัญหาระหว่างประเทศ ประเทศไทยมีนโยบายหรือมุมมองต่อเรื่องเหล่านี้อย่างไร ?
ถ้าปัญหาในบ้านเรายังแก้ไม่ได้ แล้วเราจะแก้ปัญหากับเพื่อนบ้านได้อย่างไร?
« « Prev : พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี (3)
Next : ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับลุงเอก » »
ความคิดเห็นสำหรับ "พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี (4)"