ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับลุงเอก
อ่าน: 3030เริ่มเปิดประเด็นโดยเจ้าเก่า พันเอก เอื้อชาติ หนุนภักดี นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก
ถาม พม่าเคยรบกับจีน แต่สามารถพัฒนาความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นได้ แต่เรายังมีปัญหารอบบ้าน รวมที่งจีน เป็นเพราะประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตก ถูกครอบงำโดยบางประเทศ
ลุงเอกตอบ
เราเปลี่ยนระบบ รูปแบบการศึกษามา 40-50 ปีแล้ว แต่ไป copy ต่างชาติมา แม้กระทั่ง Militarization
สมัยก่อนกรมช่างอากาศ (ซึ่งเริ่มจากแผนกการบิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2456) ของกองทัพอากาศสามารถสร้างเครื่องบินได้เอง
……
๒๔ พฤษภาคม ๒๔๕๘
สร้างเครื่องบินแบบ เบรเกต์ ชนิดปีก ๒ ชั้นเป็นผลสำเร็จ ได้ทดลองทำการบินโดยพันโท พระเฉลิมอากาศ ผู้บังคับการกองบินทหารบกเครื่องบินสามารถขึ้นสู่อากาศได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถบินไปมาในระยะสูงประมาณ ๑๐๐ เมตร
๑๒ พฤษภาคม ๒๔๖๔
สร้างเครื่องบินนิออร์ปอร์ท และทำการบินได้สำเร็จ จำนวน ๔ เครื่อง การสร้างลำตัว ปีก หางและใบพัดของเครื่องบิน สร้างด้วยพันธุ์ไม้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ปี พ.ศ. ๒๔๗๐
ได้ทำการออกแบบและสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บ.ท.๒ ซึ่งเครื่องบินแบบนี้เรียกว่า เครื่องบินบริพัตร เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด ๒ ที่นั่ง ปีก ๒ ชั้น ใช้เครื่องยนต์จูปิเตอร์ ๔๐๐-๖๐๐ แรงม้า ๑ เครื่อง ในปี พ.ศ.๒๔๗๒ ใช้บินเดินทางไปเยือนอินเดีย และในปี ๒๔๗๓ ได้บิน ไปฮานอย ปัจจุบันมีตัวอย่างให้ชมบริเวณช่องทางเข้าสโมสรนายทหารอากาศ บางซื่อ
ปี พ.ศ. ๒๔๗๒
ได้ออกแบบ และสร้างเครื่องบินขับไล่ แบบ ข.๕ ซึ่งเครื่องบินแบบนี้เรียกว่า“เครื่องบินประชาธิปก” ตามพระนามพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานชื่อไว้ นับว่าเป็นเครื่องบินแบบที่สองที่ออกแบบและสร้างเองโดยคนไทย
๑๕ มิถุนายน ๒๔๗๒
ได้สร้างเครื่องบินแบบนิออร์ปอร์ท โดยใช้เครื่องยนต์เลอโรน ๘๐ แรงม้า จำนวน ๑ เครื่อง
ปี พ.ศ. ๒๔๙๐
พัฒนาการสร้าง บ.ทอ.๒ ดัดแปลงชุดหางจากเครื่องบินสื่อสาร แบบที่ ๕ ซึ่งเดิมเป็น V Type ให้เป็นแบบใช้แพนหางดิ่ง และแพนหางระดับ แผนแบบ บ.ทอ.๓ และผลิตหุ่นจำลองขนาด ๑:๖ ไปทดลองที่ประเทศญี่ปุ่น, บ.ทอ.๔ ใช้แบบจากเครื่องบินฝึก แบบที่ ๙ โดยเปลี่ยนเครื่องยนต์และแผ่นโครงสร้างบริเวณปีก และลำตัวจำนวน ๑๒ เครื่อง เข้าประจำการกองทัพอากาศเป็นเครื่องบินฝึก แบบ ๑๗
๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔
พัฒนาเครื่องบินแบบ บ.ทอ.๔ เป็นเครื่องบินแบบฝึก ปีกชั้นเดียว ๒ ที่นั่งตามกัน ฐานพับไม่ได้ ใช้เครื่องยนต์คอนติเนนตัลไอโด-๓๖๐ ดี กำลัง ๒๑๐ แรงม้า จำนวน ๑๒ เครื่อง ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๕
ปี พ.ศ. ๒๕๑๗
แผนแบบด้านโครงสร้างและอากาศพลศาสตร์ บ.ทอ.๕ โดยทำการสร้างและทดสอบการบิน จำนวน ๑ เครื่อง
ปี พ.ศ.๒๕๒๖
สร้างเครื่องบิน Fantriner ร่วมกับบริษัท RHEIN FLUGZEUGBAU GMBH จากประเทศเยอรมนีและได้บรรจุเข้าประจำการกองทัพอากาศ เป็นเครื่องบินฝึกแบบ ๑๘/ก (FT ๔๐๐ และ FT ๖๐๐) จำนวน ๒๐ เครื่อง
จากประวัติและความเป็นมาของกรมช่างอากาศ
ตอนหลังมารับความช่วยเหลือจากต่างชาติแบบให้เปล่า ปัจจุบันสร้างไม่ได้แล้ว ตอนนี้ต้องซื้อทั้งหมด ชุดความรู้หายไปหมดเลย
ในวงการทหารก็ copy หมดทุกอย่าง
จีนไม่เคยส่งทหารออกรบนอกประเทศเลย แต่เราก็ระแวงว่าเป็นภัยคุกคาม
อีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะระบบการศึกษาไม่ได้ให้ความสนใจประวัติศาสตร์ ถูกครอบงำด้วยวิถีของอาหาร ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรม
สิงห์ชัย ทุ่งทอง สมาชิกวุฒิสภา
ในอาเซียน ประเทศไหนมีความเป็นชาตินิยมมากที่สุด อเมริกาไม่มีประวัติศาสตร์ ไทยมีความสวยงามผ่านประเพณีวัฒนธรรม
เรื่องแบบนี้ต้องโทษผู้นำ
สรุปว่าสิ่งที่พัฒนาไม่ได้มองตัวเอง คนไทยสำนึกในความเป็นไทยน้อยลง ขาดความเป็นมาและความเชื่อมโยง
สถาบันพระปกเกล้าน่าจะมีบทบาทมากกว่านี้ น่าจะเป็นส่วนนำ ทำอะไรมากกว่านี้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มที่ไหน? เริ่มเมื่อไหร่?
พล.ต.ต. วีรพงษ์ ชื่นภักดี รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญระบุราชอาณาจักรไทยไม่สามารถแบ่งแยกได้
ประเทศเยอรมัน ใน พ.ศ.2549 ไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติเลยไม่ยอมขายอาวุธปืน HK ให้กับประเทศไทย
ต่างชาติหลายๆประเทศไม่ยอมรับการปฏิวัติ
สิงห์ชัย ทุ่งทอง สมาชิกวุฒิสภา
คณะของวุฒิสภาไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ต่างประเทศไม่ให้ความสนใจ ไม่ให้เกียรติเพราะการปฏิวัติ
ลุงเอก
อเมริกาตัดทุนการศึกษาทันทีช่วงปฏิวัติ
อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
ดู VCD เมืองชายแดนจีน-พม่า เปรียบเทียบกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาที่สอง ซึ่งการใช้ภาษามลายูจะสามารถเชื่อมกับประเทศต่างๆได้อีกมาก น่าจะมีการผลักดันให้ใช้จุดแข็งมาเป็นประโยชน์มากกว่านี้
ลุงเอก
พม่าพูดไทยได้ 4 ล้านคน
กัมพูชาพูดไทยได้หลายแสนคน
มาเลย์ก็พูดไทยได้มากมาย
แต่คนไทยที่รู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านรอบๆบ้านเรามีน้อยมาก แต่เราเรียนภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ฯ กัน
เรารู้เรื่องโลกก่อน แล้วมาสนใจ สังคม ตัวเรา แต่ความจริงเราต้องรู้เรื่องตัวเราก่อน แล้วรู้เรื่องของสังคมบ้านเรา สังคม(ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา) ของเพื่อนบ้านด้วย แล้วค่อยไปรู้เรื่องโลก
ดร. สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์
เพิงกลับจากเยอรมัน ไปเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “โลกแห่งคุณค่าที่แตกต่าง” เราไม่รู้จักคนรอบๆข้างในอาเซียนเลย
มีการจัด Cross Border Dialogue โดยจัดคุยกันที่เสียมเรียบ อยุธยา พุกาม
ได้เรียนรู้ว่า กัมพูชาโกรธไทย ไทยก็โกรธพม่า มีความรู้สึกว่าทำไมเราเกลียดกันได้ถึงขนาดนี้
เลยมีประเด็นในใจว่าประวัติศาสตร์ถูกไหม? หรือเป็นเพราะวิธีคิดของพวกเรา
ทำไมเราจัดกันเองไม่ได้? ต้องให้เยอรมันคิดและออกเงินให้เราคุยกัน
กัมพูชาโกรธและเกลียดไทยมาก ย้อนมาคิดเรื่องคนไทยเราก็โกรธและเกลียดพม่า มีอะไรผิดปกติ? จะเปลี่ยนอะไร? อย่างไร?
มุมมองความถูกต้องก็เรื่องหนึ่ง ?
มุมมองด้านสันติสุขก็อีกเรื่องหนึ่ง?
ได้เรียนรู้เรื่องอดีตและวิธีมองเรื่องอนาคตมากเลย
เกียรติเกริกไกร ใจสมุทร รองเลขาธิการมูลนิธิอัศนี พลจันทร(นายผี)
เราได้พบจุดอ่อน ข้อบกพร่องของคนไทย ประวัติศาสตร์ไทย จริงๆแล้วเราได้บทเรียนอะไร?
ความสัมพันธ์ภายในประเทศ
ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน
จะนำบทเรียนไปใช้พัฒนาได้อย่างไร?
ลุงเอก
ต้องไม่ให้รัฐบาล คณะรัฐมนตรี เห็นว่าเรื่องราวต่างๆนี้เป็นของส่วนตัว
ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากกว่านี้
รศ. ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา
ไทยจะเป็นสมาชิกอาเซียน
ไทยสอนประวัติศาสตร์ให้รักชาติมากขึ้น vs การจะอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นประวัติศาสตร์บาดหมาง
ประวัติศาสตร์หรือการใช้ประวัติศาสตร์ อะไรมีปัญหา ? ตัวประวัติศาสตร์หรือการนำประวัติศาสตร์มาใช้
ประวัติศาสตร์ทำให้เราคิดว่าเรายิ่งใหญ่ที่สุด ดีที่สุดในอาเซียน ไม่สนใจคนอื่น
ต้องเขียนประวัติศาสตร์ เรียนประวัติศาสตร์กันใหม่
มุมมองของคนไทยกับภายนอกที่มองเข้ามาต่างกัน
นฤมล ศิริวัฒน์ สมาชิกวุฒิสภา
สังคมไทยเป็นสังคมปากว่า ตาขยิบ
สอนให้เคารพ แต่เราไม่เคยเคารพใคร
สอนให้เท่าเทียม แต่คิดว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น
Modernization without Development
« « Prev : พระมหากษัตริย์ไทยกับสันติวิธี (4)
Next : ศาสตร์และศิลป์แห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย(1) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับลุงเอก"