ศาสตร์และศิลป์แห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย(1)
อ่าน: 2297
อาจารย์นพพร โพธิรังสิยากร ท่านเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นผู้ที่สนใจและทำงานด้านการเจรจาไกล่เกลี่ยของวงการยุติธรรมของประเทศไทยมาตั้งแต่เริ่มต้น เป็นผู้ที่มีความสามารถและมีประสบการณ์ แถมบรรยายสนุก จนอับดุลอซิซ กล่าวขอบคุณอาจารย์ที่มาให้ทั้งความรู้และความบันเทิง
อาจารย์เริ่มจาก……
สัตว์มีความสามารถในการสื่อสารกัน แต่มีเพียงมนุษย์ที่มีความสามารถในการเจรจา แต่จะเจรจาเป็นหรือไม่เป็น จะรู้วิธีเจรจารหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เวลาคนขับรถเฉี่ยวชนกัน ก็ทะเลาะกัน ผู้นำเจรจากับม็อบไม่สำเร็จก็เป็นเรื่องปกติ เวลามีเรื่องก็เจรจากันไป แต่วิธีการเจรจาจะแตกต่างกับการสื่อสาร
หลักการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีมีอยู่สองด้าน คือด้านการป้องกันและการแก้ไข ก็ต้องอาศัยการเจรจาทั้งคู่ วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งวิธีที่ดีที่สุดคือการเจรจาไกล่เกลี่ย
ถ้าจะเริ่มต้นเจรจาไกล่ไกลี่ยต้องทราบอะไรบ้าง
อาจารย์ก็อธิบายคำภาษาจีน ซึ่งแปลว่าประเทศ
มาจากเส้นสามเส้นที่หมายถึงดิน คนที่ยืนอยู่บนดิน และสวรรค์
ถ้ามีเส้นเชื่อมสามเส้นนี้เข้าด้วยกันก็หมายถึงฮ่องเต้ และถ้ามีติ่งเล็กๆที่ฮ่องเต้ถือก็หมายถึงหยก
แต่ถ้าขีดเส้นสี่เหลี่ยมล้อมรอบก็จะหมายถึงประเทศ
แล้วอาจารย์ก็อธิบายคำว่า ถ้าเอาตัวแรกคำว่าวิกฤติ (Danger) มารวมกับคำแรกของคำว่าโอกาส (Opportunity)จะเป็นคำใหม่ว่า ความขัดแย้ง (Conflict)
* แต่ไปค้นมา ถ้าเอาคำแรกของคำว่าอันตราย (Danger) มารวมกับคำแรกของโอกาส (Opportunity) จะได้คำว่าวิกฤติ (Crisis)
เพราะฉะนั้นความขัดแย้งก็มาจากวิกฤติและโอกาส มนุษย์เราจะมองเห็นวิกฤติก่อนเพราะเป็นคำแรกของคำว่าความขัดแย้ง ในทุกความขัดแย้ง ถ้าเรามองเป็นความขัดแย้งเป็นวิกฤติก็จะเจอแต่วิกฤติเป็นคำตอบ ถ้าเรามองความขัดแย้งเป็นโอกาสก็จะเจอโอกาสเป็นคำตอบ อยู่ที่มุมที่เรามองและความประสงค์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเด็กที่ชอบเถียง เราอาจมองว่าเป็นเด็กที่มีปัญหา เป็นเด็กดื้อ หรือเป็นเด็กที่ฉลาด กล้าคิดกล้าแสดงออก
หรือถ้ากลับบ้าน เมียบ่นๆๆๆๆๆ เราหงุดหงิดก็ทะเลาะกันแน่นอน แต่ถ้ากลับบ้าน เมียบ่นๆๆๆๆๆ ….โอ้ พระเจ้าได้บอกความบกพร่องของเราผ่านเมีย ….ก็เกม มีความสุข
ทุกวิกฤติสร้างโอกาส
ยกตัวอย่างประเทศเกาหลี เมื่อ 17 ปีที่แล้วเกาหลีมีปัญหาความขัดแย้งในประเทศมี่รุนแรงมาก ตีกันทุกวันนานถึง 3 ปี เหมือนประเทศไทยหมดยกเว้นเรื่องเผาบ้านเผาเมือง แต่ปัจจุบันก็แก้ไขข้อขัดแย้งได้และพัฒนาประเทศจนเจริญไปมาก
ที่อาเจะห์ อินโดนีเซีย ฟิลลิปปินส์ ไอร์แลนด์เหนือ อัฟริกาใต้ต่างก็สามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งได้
วิกฤติเป็นตัวจั้งให้ผ่านไปสู่โอกาส คนที่สำเร็จก็ต้องผ่านวิกฤติมาก่อน ไม่มีวิกฤติก็ไม่มีโอกาส
ถ้ารู้ว่าอีก 5 วันฝนจะตก คงไม่มีใครกางร่มตั้งแต่วันนี้ มนุษย์เรามีเวลาแค่ 7 วินาทีที่จะลืม ถ้าอยากจะจำต้อง Save ข้อมูลไว้ภายใน 7 วินาทีนี้
ถ้าปล่อยทิ้งไว้วิกฤติจะมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาจะมากขึ้นเรื่อยๆ อารมณ์ก็จะเกิดมากขึ้น คนที่เกี่ยวข้องก็จะมากขึ้น ประเด็นก็จะมากขึ้น ทุนทรัพย์ก็จะมากขึ้น ซึางจะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้นเรื่อยๆ
ในความเป็นจริงจะมีสัญญาณเตือนตลอด แต่เรามักไม่ให้ความสนใจ 1…2…3….4…5….6…7…วินาที เราก็ลืมไปแล้ว มนุุษย์เราถึงต้องมาแก้ปัญหาในระยะที่ 4 มาตลอด คือปล่อยให้มันสุกงอม ปัญหาลุกลาม ใหญ่เกินจะแก้ ความขัดแย้งแก้ไขยิ่งเร็วยิ่งดี
คนเราทำผิดพลาดกันทุกคน มีใครไม่เคยทำผิด? มีใครมีสติตลอดเวลา? คนเราทำผิดพลาดกันบ้างทุกคน แต่ถ้าแก้ไขปัญหาทันทีก็ไม่มีปัญหา
ยกตัวอย่างน้องผู้หญิง กรณีรถซีวิคชนรถตู้ มีผู้เสียชีวิต 9 คน แก้ปัญหาช้าเลยถูกคนทั้งเมืองด่า เปรียบเทียบกับอีกกรณีที่ขับรถพุ่งชนคนเสียชีวิตแต่แก้ไขเหตุการณ์อย่างรวดเร็ว ปัญหาจึงน้อยกว่า สังคมเงียบ
วันที่ ๙ ม.ค. ๕๓ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่นและคณะผู้บริหารโรงพยาบาล
ได้มอบเงินเยียวยาช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก จำนวน ๖ ครอบครัว
และ วันที่ ๑๐ ม.ค. ๕๓ จำนวน ๒ ครอบครัว และได้กล่าวขอโทษในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
โรงพยาบาลขอนแก่นจะให้การดูแลรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป โดยดูแลดุจญาติมิตร
ร่วมทุกข์ร่วมสุข พร้อมกันนี้ได้กล่าวขอขอบคุณครอบครัวผู้ป่วยที่ให้อภัยโรงพยาบาลขอนแก่น
และสร้างความมั่นใจแก่ผู้ป่วยในการดูแลรักษาพยาบาลต่อไป
….จาก website โรงพยาบาลขอนแก่น
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และทางโรงพยาบาลก็ขอโทษ ปลอบขว้ญและแก้ปัญหาทันที
การแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้งต้องทำให้รวดเร็ว เพราะถ้าปล่อยไว้นาน การเจรจาจะยากขึ้นๆ
« « Prev : ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับลุงเอก
Next : ศาสตร์และศิลป์แห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย(2) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "ศาสตร์และศิลป์แห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย(1)"