ศาสตร์และศิลป์แห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย(2)
อ่าน: 2424ทำที่เหตุ / ทำที่ผล
เวลามีปัญหาต้องเข้าใจเหตุผล แต่จริงๆมันแยกกัน ต่างกัน ต้องแยกเหตุออกจากผล เหตุกับผลเกี่ยวข้องกัน
เหตุ คือสิ่งที่ก่อให้เกิดผล
ผล คือสิ่งที่สร้างมาจากเหตุ
คนทะเลาะกัน เจรจาให้ดีกันไม่มีทาง เพราะเหตุไม่มี ผลไม่เกิด
ถ้าต้องการทำที่ผล ก็จะไม่เกิด ต้องไปทำที่เหตุ เช่นอยากให้ลูกนอน บังคับให้ลูกนอน ลูกก็จะนอนไม่หลับ แต่ลองให้นั่งอ่านหนังสือ อ่านแป๊บเดียวก็ง่วง เพราะการอ่านหนังสือเป็นเหตุให้ง่วงนอน ทำที่เหตุก็สำเร็จ
ผู้ชายเจอผู้หญิงแล้วชอบ รัก ถ้าลุยไปบอกรักทันที ผู้หญิงเดินหนีแน่นอน เพราะถ้าต้องการให้รัก ไปทำที่ผล ไม่ได้สร้างเหตุ
อะไรเป็นเหตุให้เกิดความรัก
- ความใกล้ชิด
- พิเศษ
- ความผูกพัน
ถ้าทำ 3 อย่างนี้ได้ รักแน่นอน
แต่บางครั้งก็ต้องสร้างเหตุซ้อนเหตุ แล้วก็จะได้ผล
ผู้หญิงถ้าอยากบอกเลิกฝ่ายชาย ไปบอกเลิกไม่ได้ผลเพราะไปทำที่เหตุ จะไม่สำเร็จ ถ้าจะเลิกได้สำเร็จต้องทำที่เหตุ เช่นอยากเลิกกับแฟนก็ต้องทำสิ่งที่ผู้ชายไม่ชอบอย่างเคร่งครัด 3 เดือนเลิกแน่นอน ไม่ต้องไปบอกเลิก
หรือต้องรักอย่างที่สุด เช่นไปหาทุกวัน อะไรที่วิเศษที่สุดก็กระตุ้นให้ทำ ให้เลิกเหล้า ให้เลิกบุหรี่ ให้เลิกกลับบ้านดึก ให้ออกกำลังกายทุกวัน จู้จี้ๆๆๆๆ บังคับให้ทำสิ่งที่ดีๆ อย่างนี้ก็เลิกได้แน่นอน
สิ่งที่ทำให้มนุษย์มีปัญหาเกิดจากจิตสำนึก 10% เกิดจาดจิตใต้สำนึก 90%
จิตสำนึกไม่ได้ทำงานตลอดเวลา แต่จิตใต้สำนึกทำงานตลอดเวลา
สิ่งที่ซ่อนอยู่ในจิตใต้สำนึกคือความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ได้ หรือก็คือความโลภนั่นเอง ความโลภมีอยู่ในตัวคน 24 ชั้วโมง โกรธ หลง ไม่ได้อยู่ตลอด 24 ชั่วโมง
ถ้าตัดความโลภได้หมด จะบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดในแต่ละศาสนา
การแก้ปัญหาด้วยการเจรจาด้วยวิธีต่างๆ เช่น
- ลุยให้แหลกไปข้าง (Contending, Conpeting)
- ยอม (Yielding, Accommodating)
- เฉยๆ (Inaction)
- พบกันครึ่งทาง, หารสอง (Compromising)
- ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา (Collaborating)
อาจารย์ยกตัวอย่างเวลาไปซื้อส้มจากแม่ค้า ก็จะเลือกส้มลูกที่ดีๆ เวลาจ่ายตังก็จะเลือกเอาแบงค์เก่าๆจ่าย ไม่มีใครเลือกส้มเน่าๆแล้วเอาแบงค์ใบใหม่สุดจ่ายแม่ค้า
ในการเจรจาไกล่เกลี่ย การหารสองหรือพบกันครึ่งทางไม่ได้ผล เพราะทุกคนอยากได้สิ่งที่ดี และไม่อยากได้สิ่งที่ไม่ดี มนุษย์เราไม่รู้ว่าตัวเองโลภ
ยกตัวอย่างเวลาซื้อของจากแม่ค้า ครึ่งกิโล แม่ค้าจะหยิบหรือตักมาขาดก่อน แล้วจะค่อยๆเติมจนครบครึ่งโล แต่ถ้าหยิบหรือตักเกินครึ่งโลแล้วค่อยๆหยิบออกให้เหลือครึ่งโล เราจะรู้สึกไม่ดี
การหารสองหรือพบกันครึ่งทางทำให้รู้สึกสูญเสีย ไม่ดี
หารสองได้ความสัมพันธ์ต้องดี ถ้าความสัมพันธ์ไม่ดี หารสองไม่สำเร็จ
« « Prev : ศาสตร์และศิลป์แห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย(1)
Next : ศาสตร์และศิลป์แห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย(3) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "ศาสตร์และศิลป์แห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย(2)"