ศาสตร์และศิลป์แห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย(3)
อ่าน: 1743ความสัมพันธ์มีความสำคัญในเรื่องของความขัดแย้ง
Circle of Conflict
จะเห็นว่าคนเราจะมีความขัดแย้งกัน
- ด้านความสัมพันธ์
- ข้อมูล
- ผลประโยชน์
- โครงสร้าง
- ค่านิยม
ความสัมพันธืเป็นสิ่งที่สร้างได้ง่ายและสามารถทำลายได้ง่ายที่สุดด้วย
ความเสี่ยงช่วยสร้างและทำลายความสัมพันธ์ ความเสี่ยงน้อยความสัมพันธ์ก็จะดี ความเสี่ยงมากความสัมพันธ์จะไม่ดี
ความหวง ความห่วงและความกังวลทำให้เกิดความเสี่ยง ถ้าต้องการลดความเสี่ยงก็จะต้องลดความหวง ความห่วง และความกังวลลงให้เหลือน้อยที่สุด แล้วความสัมพันธืจะดีขึ้น ความใส่ใจก็จะกลับมา
ในกรณีที่คนไข้ฟ้องหมอ ก็เป็นเพราะความสัมพันธ์ไม่ดี เพราะหมอทำให้เกิดความเสี่ยงมาก พ่อแม่ ญาติพี่น้องพาคนไข้ไปโรงพยาบาลจะมีความเป็นห่วง ความกังวลมาก แต่ไปเจอหมอ พยาบาล บุคลากรในโรงพยาบาลท่าทีเฉยๆเพราะเจอมามาก เห็นมามาก รู้ว่าไม่เป็นอะไรมากก็มีท่าทีเฉยๆ อาจจะรอผลแลป ผลการตรวจเอกซ์เรย์ แต่ญาติเห็นไม่ทำอะไร รู้สึกว่าไม่ใส่ใจ ไม่เอาใจใส่ ห่วงมาก กังวลมาก ทำให้เกิดความเสี่ยงมาก
ต้องทำให้ความเสี่ยงน้อยลง ในต่างประเทศโรงพยาบาลจะมีหลักสูตรบริหารความเสี่ยง ลดความเสี่ยง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโรงพยาบาล บุคลากรของโรงพยาบาลกับคนไข้และญาติดีขึ้น
การจะพบกันครึ่งทางหรือหารสองต้องสร้างโอกาสเริ่มจากลดความเสี่ยง ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น
มนุษย์เรามีกิเลสซ่อนอยู่ในตัว มนุษย์เรายากหรือจะไม่มีวันที่จะมองเห็นหรือยอมรับความดี ประโยชน์ ความเป็นธรรม ที่ผู้อื่นหยิบยื่นให้ ถ้าจะให้ผู้อื่นยอมรับต้องให้มีส่วนร่วม
ความจริงเส้นดำทั้งสองเส้นเท่ากัน แต่คนเรามักจะมองว่ามันไม่เท่ากัน
การเจรจาที่ไม่สำเร็จมักเกิดเพราะติดจุดยืน ถ้าไม่เอาหารสอง ไม่เอาเกลี้ยกล่อม ต้องการ win-win ก็ต้องเจรจาที่เหตุ ไม่ใช่เริ่มที่ผล ยกตัวอย่างกรณีเขื่อนแก่งเสือเต้น มีคนอยู่ 2 ฝ่าย คือสร้าง กับไม่สร้าง
สร้างก็เป็นผล ไม่สร้างก็เป็นผล เจรจากันที่ผล จึงไม่สำเร็จ ต้องดึงมาเจรจาที่เหตุ
สร้าง(ผล) ทำไมอยากจะสร้าง เพราะจะได้บริหารน้ำและได้กระแสไฟฟ้า (เหตุ)
ไม่สร้าง(ผล) ไม่อยากให้สร้างเพราะกลัวสิ่งแวดล้อมจะเสียหาย วิถีชุมชนจะเสียหาย
น้ำต้องบริหารไหม? ต้อง
ไฟฟ้าจำเป็นไหม? จำเป็น
สิ่งแวดล้อมเสียเอาไหม? ไม่เอา
วิถีชุมชนเสียหายเอาไหม? ไม่เอา
ก็คุยกัน น่าจะเป็น win-win
ที่บราซิล เจรจากันนานสิบปี ตอนนี้สร้างเสร็จแล้วเพราะคุยกันที่เหตุ เหตุเปลี่ยน ผลก็เปลี่ยน
ยกตัวอย่างคดีมรดก ทั้ง 2 ฝ่ายต้องการเป็นผู้จัดการมรดก การหารสองป่านอาจทะเลาะกันหนักกว่าเดิม ไม่จบกันง่ายๆ ถ้าเริ่มที่หาความต้องการ ทั้งสองฝ่ายต้องการหลักประกันว่าจะรวบรวมมรดกอย่างไร? จะแบ่งอย่างไร? ตกลงกันได้ตรงนี้ ใครจะเป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่สำคัญแล้ว
กรณีคนสองคนทะเลาะกัน คนหนึ่งต้องการเปิดหน้าต่าง อีกคนหนึ่งต้องการปิดหน้าต่าง หาความต้องการ
คนหนึ่งอึดอัด อยากให้อากาศระบาย อีกคนหนึ่งบอกว่าลมพัด กระดาษปลิว ทำงานไม่ได้ คงไม่ตกลงกันว่างั้นก็แง้มๆหน้าต่างก็แล้วกัน แต่ควรจะมานั่งคุยกันว่าทำอย่างไรถึงจะมีการระบายอากาศ และลมก็ไม่พัดกระดาษปลิวจนทำงานไม่ได้
กรณีที่เจอศพเด็ก 2002 ศพ ก็เกิดประเด็นทำแท้งดี หรือไม่ให้ทำแท้ง ซึ่งไปมองที่ผล เถียงกันก็ไม่จบ แต่ถ้ามามองที่เหตุ ฝ่ายทำแท้งเพราะไม่อยากมีลูก ฝ่ายไม่ให้ทำเพราะกลัวผิดศีลธรรม กลัวเป็นอันตราย หันมาคุยกันว่าทำอย่างไรไม่ให้มีลูก ไม่ผิดศีลธรรม ไม่เป็นอันตราย ก็พบคำตอบ ทำอย่างไรไม่ให้มีเพศสัมพันธ์หรือให้มี Safe Sex ไปเปลี่ยนที่ค่านิยม หันมารณรงค์ให้ความรู้เพศศึกษาดีกว่า
นักศึกษาโอกาสในการไกล่เกลี่ยระดับชาติ ระดับหน่วยงานน้อย แต่โอกาสไกล่เกลี่ยเรื่องครอบครัว เรื่องการหย่าร้าง อาจมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาปรึกษา ยึดหลักเหตุเปลี่ยน ผลเปลี่ยน
คุยทีละฝ่าย
หาความต้องการของภรรยา
- ไม่ต้องการให้เตะ ซ้อม
- ไม่อยากให้เมา
- ไม่กลับบ้านดึก
- ให้เกียรติกันบ้าง
- ให้เงินใช้ตามสมควร
- ทำการบ้านมั่ง
- ฯลฯ
คุยกับทางสามีบ้าง
- เตะทำไม? ซ้อมทำไม?
- ทำไมเมา?
- ทำไมกลับบ้านดึก?
- ทำไมไม่ให้เกียรติ
- ทำไมไม่ให้เงินใช้
- ทำไมไม่ทำการบ้าน
- ฯลฯ
ถ้าเปลี่ยนเหตุได้ก็จะเปลี่ยนผลได้
« « Prev : ศาสตร์และศิลป์แห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย(2)
Next : แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์นพพร โพธิรังสิยากร » »
ความคิดเห็นสำหรับ "ศาสตร์และศิลป์แห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย(3)"