พูดคุย ซักถามกับอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม

โดย จอมป่วน เมื่อ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 22:41 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 4078

อาจารย์จะเล่าเรื่องให้ฟังตามเวลาที่กำหนดแล้วเปิดโอกาสให้พูดคุย ซักถามกับอาจารย์

เริ่มคำถามโดยคุณนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม หรือคุณเอ

เอ (Small)

คำถาม ความเข้มแข็งของชุมชนเป็นทางรอดของประเทศไทย  จะต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ได้อย่างไร?  มีตัวอย่างไหม?

ตอบ ทางรอดของมนุษย์ในกระแสโลกาภิวัฒน์ อยู่ที่ Small Group หรือกลุ่มเล็กๆ

โลกาภิวัฒน์มีมานานแล้ว  การล่าอาณานิคมก็เป็นโลกาภิวัฒน์  ก็ต้านด้วยชาตินิยม

การต้าน Globalization คือ Localization  ต้องแยกแยะสองอย่างนี้ออกจากกันได้  ต้องใช้ท้องถิ่นนิยม การมีสำนึกร่วม  การอยู่รอดร่วมกันต้องมีกลไกการจัดการ Fraction คือกระบวนการสมานฉันท์  ต้องปลุกกระแส  คุณตายร่วมกันในท้องถิ่นนี้ท่ามกลางความหลากหลาย

กลุ่มเล็กๆไปด้วยกันได้  Mechanical Model อาชีพเดียวกัน พวกเดียวกัน

กลุ่มใหญ่เป็นการพึ่งพาอาศัยกัน Organic Model

อินเดียมี Class System หรือ วรรณะ  จำเป็นสำหรับอินเดีย  แต่ละวรรณะก็มีหน้าที่แตกต่างกันแต่ก็พึ่งพาอาศัยกัน  ไม่ Cross กัน  เป็น Organic Model

ท้องถิ่น เมือง ต้องเป็น Organic Model ต้องพึ่งพากัน  สร้างสำนึกร่วมกัน  ว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน

คนในชุมชนต้องสร้างประวัติศาสตร์ของตัวเอง  มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น  ให้เด็กได้เรียนรู็ความหลากหลาย  จะได้รู้จักตัวเอง  รู้จักเพื่อนบ้าน  รู้จักโลก

ชุมชนจะเข้มแข็งได้ต้องทำเอง คนอื่นมาช่วยขับเคลื่อนได้ (Empowerment) แต่ทำให้ไม่ได้  ต้องให้ชุมชนทำกันเอง  สร้างโดยชุมชน  รัฐบาลต้องปล่อยการศึกษาให้ท้องถิ่นโดยเฉพาะเรื่องของชีวิตและวัฒนธรรม

ประเทศภูฏาน เป็นต้นแบบการใช้ดัชนีวัดความสุขของประชาชน (GNH –Gross National Happiness) แทนดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) คนภูฏานอยู่กับที่  ไม่ปฏิเสธคนนอก  แต่คนนอกจะกลายเป็นคนต่างถิ่น

สังคมอุตสาหกรรมมีการเคลื่อนย้าย ต้องยอมรับโลกาภิวัฒน์  แต่มีกระบวนการ Localization เช่นศาสนาจากอินเดียมาไทย  แต่วรรณะไม่มา  เพราะ Localization การรับเอาสิ่งต่างๆจากภายนอกแตกต่างกัน

ต้องเข้าใจคำว่า Local Autonomy  ไม่เหมือนหรือไม่ใช่ Independence

ตามด้วยคำถามจาก พอ. เอื้อชาติ หนุนภักดี (Great) นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก

เอื้อชาติ (Small)

คำถาม กระบวนการปลูกฝังทางประวัติศาสตร์มีถูก  มีผิด  มีมิตร  มีศัตรู  แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร?

ตอบ ประวัติศาสตร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างความเป็นชาตินิยม

ประวัติศาสตร์นิพนธ์  แต่เราถูกทำให้เชื่อว่าเป็นความจริง  ต้องเป็นประวัติศาสตร์ที่ชุมชนสร้างขึ้นมา  เช่นบางระจัน ขุนรองปลัดชู  ไม่จริงทั้งหมด  แต่ก็มีเค้าโครงเรื่องอยู่บ้าง

ลิลิตตะเลงพ่าย ก็เป็นเรื่องที่มองเห็นคน  มีเรื่องราวของพระมหาอุปราชให้เราเรียนรู้มากในฐานะที่เป็นคน

ที่เหมาะควรเป็น Culture Hero แต่ถูกดันไปเป็น National Hero

พระเจ้าบุเรงนอง  ในสังคมเถรวาท  ไม่ได้มากดขี่ข่มเหง  แต่ต้องการถวายความเป็นจักรพรรดิราช  ถวายพระพุทธเจ้า  เหมือนพระเจ้าอโศก

ปัตตานีเดิมอยู่ในดินแดนมลายู  ชาติพันธุ์เป็นมาเลย์  เหนือขึ้นมาจึงเป็นสยาม สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเป็นประเทศราช  ท้องถิ่นปกครองกันเอง  รัชกาลที่ 5 เป็นอีกแบบหนึ่ง  คือส่งคนจากส่วนกลางไปปกครอง

Culture Hero ท้องถิ่นเคารพยกย่อง  แต่รัฐถือว่าไม่ดี  ให้ประหารชีวิต

พระเป็นที่พึ่งพาของชาวบ้าน  แต่รัฐมองไปอีกแบบหนึ่ง

ดร. สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร (หมาย)

สมหมาย

คำถาม ความเป็นมนุษย์ต้องมีความเชื่อ  บางคนไม่นับถือศาสนา เป็นมนุษย์หรือไม่ ?

ตอบ ตะวันตกไม่ให้ความสนใจสิ่งเหนือธรรมชาติและท้าทายจักรวาล  พยายามให้เป็นวิทยาศาสตร์  เช่นโรมัน ยุโรป

ตะวันออกแตกต่างออกไป  มองสมดุล (Harmony) กับจักรวาล

มนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูง  เชื่อว่ามนุษย์จะสามารถใช้วิทยาศาสตร์ควบคุมธรรมชาติได้

การอธิบายสิ่งต่างๆ ก็คือความเชื่อ

ตะวันตกหันมาสนใจแนวตะวันออกมากขึ้นๆ  แต่ตะวันออกกลับขั้ว  หันไปทางตะวันตกมากขึ้น

การปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำลายธรรมชาติ  โดยเฉพาะภาคใต้ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน เกษตรอุตสาหกรรมจะไปลงที่ภาคใต้  การต่อต้านก็จะมากขึ้น  ความยุ่งยากจะเริ่มจากภาคใต้

การปฏิวัติจะเกิดจากข้างล่าง  ไม่นานนี้ ??

อีสานก็มีปัญหาแร่โปแตซ

เวียตนามฟื้นจากข้างล่าง  ใช้ประวัติศาสตร์สร้างสำนึกคน  อนุสาวรีย์สร้างจากหลุมศพของวีรชน  จากครอบครัว  จากท้องถิ่น  เวียตนามมีสำนึกของความเป็นเวียต  การเป็นชาติต้องมาจากข้างล่าง

อาจารย์อวยชัย คูหากาญจน์(ซุ่น) คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

อวยชัย

คำถาม เราให้ความสำคัญกับท้องถิ่น  แต่แนวโน้มในการเลือกตั้งที่ผ่านมา  พรรคการเมืองมีการใช้ภาคต่างๆเป็นฐาน  เช่นภาคเหนือภาคอีสานก็พรรคหนึ่ง  ภาคใต้ก็อีกพรรคหนึ่ง  การคำนึงถึงท้องถิ่นเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้ชาติแตกแยกมากขึ้นหรือไม่ ?

ภาคอีสานที่มีคนมาก  จำนวน สส. มากก็จะมีอำนาจในการปกครองประเทศ  จะเป็นการตอกย้ำคนภาคใต้ที่มี สส. น้อย  อาจเกิดการไม่ยอมรับ

ตอบ รู้สึกคุณจะมองการปกครองแบบรวมศูนย์ซึ่งมักไม่เข้าใจท้องถิ่น

การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น  ท้องถิ่นแต่ละแห่งจะมีอำนาจในตัวเอง  จะมีการต่อรองกันเองเพื่อความอยู่รอด  มีสำนึกร่วมกันของความเป็นชาติไทย  ความเป็นชาติไม่ได้มาจากข้างบน

ยกตัวอย่างมาเลเซียก็แบ่งออกเป็นหลายรัฐก็ยังคงความเป็นชาติไว้ได้

คุณมองว่าประชาธิปไตยต้องมาจากข้างบน  ความจริงเมืองไทยมีความหลากหลาย  พื้นฐานของทางอีสานเป็นลาว  ทางใต้เป็นพวกมลายู แต่ส่วนกลางไปกด  โดยใช้คำว่าสยามไปครอบเขา  มีการสร้างกระแสว่าท้องถิ่นนิยมเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ตั้งแต่สมัยจอมพล ป. แล้ว

อ.อวยชัย สมัยก่อนปัญหาไม่มาก  แต่ปัจจุบันการใช้อำนาจจากส่วนกลาง  อาจเกิดความไม่เสมอภาค  เลยมีความรู้สึกอยากแบ่งแยก  ถ้ากินดี อยู่ดี มีความสุข ก็จะไม่มีปัญหา

แต่ถ้ามีความทุกข์เกิดขึ้นก็จะมีการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหา

ขณะที่พยายามกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น  แต่ท้องถิ่นเองโดยเฉพาะผู้บริหารท้องถิ่นจะเป็นตัวก่อปัญหาหรือไม่ ?

ตอบ ตั้งแต่สมัยก่อน  ท้องถิ่นถูกครอบด้วยนโยบายประชานิยมมาตลอด เอาเงินไปให้เขา  ให้เขาแย่งกันเอง  แบบนี้ถือว่าไม่ได้มีท้องถิ่น  ท้องถิ่นต้องการเอาตัวรอด  เขาไม่ได้คิดทำลายชาติ  ไม่ได้คิดแบ่งแยกดินแดน

ทางใต้คิดว่าก็ไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน  ต้องอ่านบทความของ หะยี สุหลง  ซึ่งก็ไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน  ต้องการแค่ Autonomy  แต่ถ้ามองจากส่วนกลางก็จะเข้าใจว่าต้องการแบ่งแยกดินแดน

สังคมภาคเหนือ  ภาคอีสานเป็นชาวนา  ไม่ใช่สังคมอุตสาหกรรม  อีสานมีแต่คนแก่กับเด็กอยู่  คนหนุ่มสาวเข้ามาทำงานในเมือง ในกรุงเทพฯ  เวลาระบบอุปถัมภ์เข้าไปก็ไปอุปถัมภ์พ่อแม่เขา  การจะแก้ปัญหาต้องตรึงคน  ดึงคนให้อยู่ในพื้นที่ได้ระดับหนึ่ง   แล้วให้ไปต่อรองกันเอง  แต่เราไปเน้นเรื่องเศรษฐกิจการเมืองกันมากเกินไป

ต่างกับประเทศเวียตนาม  ลาว จีน  ระบบท้องถิ่นเขาแข็งแรง

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัฐชาการกองทัพไทย

พิเชษฐ

คำถาม การต่อสู้ทางแนวความคิดในมุมมองมิติทางสังคมและวัฒนธรรม  กับมิติทางเศรษฐกิจและการเมือง  สังคมไทยพร้อมที่จะรับ  แต่จะปฏิบัติได้ไหม?

ในอดีตคนไทยเชื่อในศาสนาพุทธ  ปัจจุบันก็เปลี่ยนความเชื่อไป  วิธีคิดแบบมิติสังคมและวัฒนธรรมเริ่มที่ท้องถิ่น  จะเป็นไปได้ไหม?

ตอบ 2 นิเวศน์มากระทบกัน ปัจจุบันโลกเราเจอ Humanitarian Crisis  เริ่มมี demoralization  ซึ่งนำไปสู่  Dehumanization

มิติทางสังคมและวัฒนธรรม  ความเป็นมนุษย์  ซึ่งมีเรื่องของมนุษยธรรม ศีลธรรม  และจริยธรรมต้องต่อรองกับภาคเศรษฐกิจและภาคการเมือง

ประเทศไทยเราเป็นสังคมเกษตร

อดีตเราเป็นชุมชน ต้อง Go Back to Basic ต้องกลับไปเริ่มที่ตัวเอง  ครอบครัว  ชุมชน สังคม เมือง ประเทศ

Post to Facebook Facebook

« « Prev : อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม: แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม (2)

Next : แนวคิดเอกนิยม-Monism vs พหุนิยม-Pluralism » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "พูดคุย ซักถามกับอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.69474196434021 sec
Sidebar: 0.27910995483398 sec