แนวคิดเอกนิยม-Monism vs พหุนิยม-Pluralism
อ่าน: 2479ขณะเรียนเรื่อง “สังคมพหุวัฒนธรรม” กับอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม และเรื่อง “สันติวิธีในสังคมไทย : การรับรู้และความเข้าใจ” จาก ศ.ดร. มารค ตามไท ก็เกิดกรณี 2011 Norway Attacks คือมีการวางระเบิดสถานที่ราชการในกรุง Oslo และกราดยิงที่เกาะ Utoya โดยนาย Anders Behring Breivik เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 93 คน
จะเห็นได้ว่าประเทศนอร์เวย์ซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีการแบ่งเป็น 19 เขตการปกครองกับอีกหนึ่งเขตการปกครองพิเศษ มีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล 435 แห่ง รัฐบาลมีนโยบายที่จะยอมรับสังคมพหุนิยม มีคนต่างชาติที่ได้รับสัญชาตินอร์เวย์อยู่ประมาณร้อยละ 8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (จำนวน 364,981คน สถิติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548) ส่วนมากเป็นชาวปากีสถาน ชาวเคิร์ด โซมาเลีย และเวียดนาม)
แนวคิดของผู้ก่อเหตุออกมาแนวชาตินิยม ขวาจัด ไม่ชอบให้มีผู้อพยพต่างชาติมาอาศัยอยู่ในประเทศ แนวคิดนี้ก็เริ่มมีคนสนับสนุนมากขึ้น
ข้อความออนไลน์ 1,500 หน้า ที่มีเนื้อความต่อต้านศาสนาอิสลามเป็นข้อความที่นายแอนเดอร์ส เบห์ริง เบรวิก ชาวนอร์เวย์ วัย 32 ปี เผยแพร่ก่อนวางระเบิดในกรุงออสโลและกราดยิงบนเกาะ สังหารผู้คนรวมไม่ต่ำกว่า 93 คน
ข้อความออนไลน์ยังบรรยายการวางแผนก่อเหตุร้าย การทำระเบิดและความคิดรุนแรงถูกเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่นายเบรวิกก่อเหตุสะเทือนขวัญ เขาตั้งชื่อข้อความว่า “2083-การประกาศเอกราชยุโรป” มีประโยคเช่น “เมื่อตัดสินใจโจมตีก็ควรฆ่าให้มากเข้าไว้ดีกว่าฆ่าไม่พอ ไม่เช่นนั้นการโจมตีจะก่อผลทางความคิดตามที่ต้องการได้น้อยลง” เขายังเขียนวิจารณ์แนวคิดการทำให้ยุโรปตะวันตกเป็นอิสลาม การเติบโตของวัฒนธรรมมาร์กซิสต์และพหุวัฒนธรรม
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทางแนวความคิดของผู้คน ประเทศที่เจริญแล้วเช่นนอร์เวย์ มีแนวนโยบายพหุนิยมก็เกิดปัญหาจากผู้คนที่คิดต่างออกไปได้
ในขณะเดียวกันเป็นไปได้ไหมว่าประเทศไทยมีแนวคิด Centralism (การปกครองหรือการควบคุมจากศูนย์กลาง) พยายามสร้างเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย ไม่ยอมรับสังคมพหุนิยม หรือพหุวัฒนธรรม จึงทำให้เกิดปัญหากับกลุ่มคนที่แตกต่างทางชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม ทำให้ให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบและเกิดปัญหาต่างๆขึ้นประเทศ
หรือแม้แต่คนเชื้อชาติเดียวกัน ศาสนาเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกัน ก็มีความขัดแย้งเพราะมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ประเทศไทยเราก็ยังหาวิธีที่จะป้องกัน จัดการและเยียวยาความขัดแย้งดังกล่าวไม่ได้
คงถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกภาคส่วนจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวร่วมกัน แต่ทุกคนก็ตั้งคำถามว่า
- แล้วจะเริ่มต้นอย่างไร?
- เริ่มต้นจากเรื่องอะไรดี?
- ใครเป็นคนเริ่ม ?
- เริ่มเมื่อไหร่ดี?
- เริ่มที่ไหนดี?
&#)^*@)(+_^()+!+_%+_+^))#*&&*@^T
« « Prev : พูดคุย ซักถามกับอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม
Next : สันติวิธีในสังคมไทย:การรับรู้และความเข้าใจ–ศ. ดร. มารค ตามไท » »
ความคิดเห็นสำหรับ "แนวคิดเอกนิยม-Monism vs พหุนิยม-Pluralism"