๓๓. เตรียมข้อมูลก่อนไประยอง ๔

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 17 สิงหาคม 2008 เวลา 11:31 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 1610

ในคราวที่แล้วผมได้เล่าให้ฟังว่าเขามีแผนลดปริมาณการทิ้งมลสารถ้าจะถามว่าแล้วจะเอาอะไรเป็นตัวชี้วัด  ก็ บอกว่าเขาใช้ค่าเฉลี่ยของปริมาณการระบายไนโตรเจนไดออกไซด์ และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สูงสุดเมื่อเดินเครื่องจักรเต็มกำลังผลิตโดยใช้ฐานปี ๒๕๔๙ เป็นเกณฑ์ครับโดยมีเป้าหมายลดปริมาณที่ปลดปล่อยสารดังกล่าว ในพื้นที่มาบตาพุดลง ๑๐-๒๐ %  (มีการอ้างอิงว่าผู้ประกอบการในมาบตาพุดสามารถลดการระบายลงได้ ๒๓-๒๖ %) ส่วนสารอินทรีย์ระเหยง่าย VOCs จะต้องควบคุมการรั่วซึมจากแหล่งต่างๆให้ได้มาตรฐานภายในปี ๒๕๕๑  ส่วนเรื่องน้ำทิ้งของชุมชนพื้นที่มาบตาพุด ต้องจัดการน้ำเสีย ๒๕ % ภายในปี ๒๕๕๑ และ ๕๐% ในปี ๒๕๕๔ กับทั้งโรงงานต้องระบายมลสารให้เป็นไปตามมาตรฐาน ๑๐๐ % ภายใน ๑ ปี ลดปริมาณการระบายน้ำเสียในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะสั้น ๗๐๐,๐๐๐ ลบม.ต่อปี และอีก ๖๐๐,๐๐๐ ลบม.ต่อปีภายใน ๒๕๕๔ (เขามีปริมาณการใช้น้ำวันละ ๓-๔ แสนลูกบาศก์เมตร),กากของเสียและขยะจัดการให้ถูกต้อง ๑๐๐ % และอาชีวอนามัยเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

ที่มาบตามพุด กรมควบคุมมลพิษจะมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ๔ สถานี ในปัจจุบันก็จะมีหน่วยติดตามตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่  ส่วน ของสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ก็จะมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ อีก ๔ สถานี และของบริษัทบีแอลซีพี ซึ่งเป็นบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน ก็มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ อีก ๕ สถานี ซึ่งได้ตั้งตามที่ต่างๆ แต่บางทีก็ตั้งไว้ซ้ำซ้อนกัน เช่น ของสำนักงานนิคมมาบตาพุด กับของบริษัท บีแอลซีพี ต่างก็ตั้งที่วัดตากวนคงคาราม เมืองใหม่มาบตาพุด วัดมาบชะลูด (นึกอีกทีก็ดีเหมือนกันว่าวัดค่าได้เท่ากันไหม อิอิ แต่เราก็ไม่ได้ไปดู หวังว่าคงเป็นคนละเครื่องฮิ)

เรามามองการทำงานของทางด้านการนิคมอุตสาหกรรม เขาก็รายงานว่าการดำเนินการลดไอสารอินทรีย์ระเหยง่าย VOCs มาจากคำว่า Volatile Organic Compounds ครับ ได้มีการดำเนินไปกว่า ๘๐ % แล้ว ครับ และกลุ่ม ปตท.และเครือซีเมนต์ไทยพิจารณาลงทุนในมาบตาพุดกว่า ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อลดการปล่อยก๊าซทั้งสองชนิด (แต่ชาวบ้านสงสัยว่าทำไมเขาเรียกร้องให้ชลอการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม เพราะภาวะมลพิษแพร่กระจายยังไม่ลดลง ทำไม ปตท.ยังสร้างเพิ่มเรื่อยๆ..ฮึๆ)

ในส่วนเรื่องน้ำลดปริมาณน้ำเสียได้ประมาณ ๒,๑๐๖,๙๙๔.๔ ลบ.ม.หรือ ๓๐๑% ของเป้าหมาย(๗๐๐,๐๐๐ ลบ.ม.)

ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) Corperate Social Responsibility เปิด โอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น,ดูแลสุขภาพอนามัยของชุมชน,เพิ่มศักยภาพของ คนในพื้นที่ รับคนในพื้นที่เข้าทำงานมากขึ้น(อิอิ ยังงี้ใครก็มองออกว่าหาพวก ลดพวกต่อต้าน อิอิ),พัฒนาเรื่องน้ำกินในภาคตะวันออก(อันนี้เข้าท่าหน่อย ชาวบ้านเขาเดือดร้อนหลังบ้านอยู่ติดโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่มีความ พร้อมทุกด้าน แต่แถวนั้นไม่มีน้ำประปา ขุดบ่อก็ไม่ได้เพราะน้ำใช้ดื่มไม่ได้),เพิ่มพื้นที่สีเขียว,ให้ความรู้ชุมชน ด้านมลพิษ,สนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดตั้งกองทุนต่างๆ(เอาเงินมาล่ออีกแล้ว ….เหอๆ) และทางกลุ่มผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ก็ได้ร่วมมือกันลดการปล่อยมลสาร,ลดการใช้น้ำและระบายน้ำทิ้ง,เพิ่มพื้นที่สี เขียว,สนับสนุนงบประมาณ (แต่ได้ข่าวว่าให้เงินสนับสนุนไปตั้งกองทุนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยมี ผู้ว่าเป็นผู้ดูแล(ไม่ใช่ผู้ว่าท่านปัจจุบัน) กองทุนนั้นมีอยู่ ๓๑ ล้านบาท แต่เอาไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ๒๗ ล้าน แหะๆ แล้วคนระยองจะเอาเงิน ๔ ล้านไปแก้ปัญหายังไงครับจ้าวนายยยยย)

เขียนมาถึงตรงนี้ชักเขินมีเรื่องสารภาพ เพราะเวลาฟังวิทยากรได้ยินไม่ชัดและไม่มีการฉายคำภาษาอังกฤษขึ้นจอ ผมได้ยินเวลาเขาบรรยายเรื่องบับเบิ้ลโซน แล้วก็นึกไม่ออกว่ามันเป็นยังไง แต่เข้าใจตามที่เขาอธิบายว่ามีการปลูกต้นไปเป็นเขตระหว่างโรงงานอุตสาหกรรม กับชุมชน เพิ่งรู้ว่าเขาเรียกบัฟเฟอร์โซน Buffer Zone อิอิ โปรดเข้าใจตามนี้

บทบาทของสภาอุตสาหกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก

สภาอุตสาหกรรมส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้คำนึง ถึงสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทำลายสังคมและสิ่ง แวดล้อม กระตุ้นให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมมากยิ่ง ขึ้น ทั้งยังเป็นศูนย์กลางข้อมูล ข้อสนเทศ และการสร้างองค์ความรู้ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้ความเข้าใจถึงสภาพ ปัญหาและแนวทางการลดภาวะโลกร้อน โดยสร้างความตระหนักและจิตสำนึกของภาคอุตสาหกรรมในการมีส่วนร่วมต่อการลด ปัญหาภาวะโลกร้อน มีการจัดทำโครงการต่างๆ เช่น การบริหารจัดการเพื่อลดการระบายมลพิษอากาศหลักจากโรงงานอุตสาหกรรม,โครงการ ฝึกอบรมเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรด้านประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ,โครงการสัมนาวิชาการเพื่อให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจและทราบถึงแนวคิดของ ความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR เป็นต้น

คุณพยุงศักดิ์ ได้จบหัวข้อ “การ พัฒนาอุตสาหกรรมกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่เพียงเท่านี้ และยังไม่เปิดโอกาสให้ถามคำถาม เพราะคุณศิริบูรณ์ ขอให้ ดร.สมยศ จากเจนโก้ ได้บรรยาย ต่อ แต่ภาคคำถามก็สนุกครับ กรุณารออ่านตอนต่อไปฮิ….

« « Prev : ๓๒. เตรียมข้อมูลก่อนไประยอง ๓

Next : ๓๔. เตรียมข้อมูลก่อนไประยอง ๕ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.029094934463501 sec
Sidebar: 0.4292950630188 sec