แนวคิดกับการปฏิบัติ
เรื่องของการแยกขยะเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก หลาย ๆ หน่วยงานหรือหลาย ๆ โครงการ ต่างมีแนวคิดและการดำเนินการที่แตกต่างกัน การเริ่มต้นทำตามแนวคิดนั้นไม่ยาก ถ้าหัวหน้าเห็นชอบ แต่การปฏิบัติให้เกิดผลตามที่คิดหรือคาดหวังไว้ในทางปฏิบัตินั้นไม่ง่าย โดยเฉพาะการทำให้เกิดผลอย่างยั่งยืนนั้นค่อนข้างยาก
จากรูปที่นำมาให้ดู เป็นที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง พยายามจะให้มีการแยกขยะออกเป็นแค่สองกลุ่ม ใส่แยกลงเป็นสองถัง คือ ถังสีเขียว สำหรับ ขยะทั่วไป และ ถังสีเหลือง สำหรับ ขยะรีไซเคิล และมีป้ายบอกติดไว้บริเวณเหนือถังทั้งสองให้ กรุณาแยกขยะก่อนทิ้ง พร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า ขยะทั่วไปนั้นรวมพวกเศษอาหารด้วย สำหรับขยะรีไซเคิล ก็บอกไว้ว่า ได้แก่ เศษเหล็ก ขวดแก้ว ขวดพลาสติก เศษกระดาษ กระป๋อง ใหม่ ๆ ก็มีการประชาสัมพันธ์ให้คนในมหาวิทยาลัย รวมทั้งนิสิตหรือนักศึกษาช่วยกัน แยกขยะก่อนทิ้งครับ ก็คงได้ผลในระดับหนึ่ง แต่พอเลิกประชาสัมพันธ์ ผลเป็นอย่างไรผมไม่แน่ใจครับ ถ้าดูจากรูป ก็คิดว่าน่าจะไม่ได้ผล เพราะแม้แต่ที่ตั้งถังขยะก็ย้ายที่อยู่ ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิม ทีแรกผมก็คิดว่าเขาจะย้ายเพื่อทำความสะอาดบริเวณตั้งถังแล้วเลื่อนกับมาที่เดิม แต่เปล่าครับมันย้ายไปอยู่ที่ใหม่ถาวร เพราะเหตุใดผมไม่สามารถเดาได้ครับ
นอกจากนั้นผมเคยสังเกตเห็นว่า เวลารถเก็บขยะมาเก็บขยะ คนเก็บเขาก็จับถังขยะยกขึ้นเทขยะลงไปรวมกันในรถ….ผมจึงงง ว่าแล้วให้แยกขยะไปทำไม เวลาจะขนไปทิ้งก็เทรวมกันคืน……ผู้คิดโครงการหรือผู้บริหารโครงการฯ คงไม่มีเวลาหรือไม่ได้มาติดตามดูในภาคปฏิบัติว่าเป็นไปตามโครงการที่คิดไว้หรือเปล่า….อิอิ
« « Prev : อย่างนี้ช่วยลดอะไร ?
5 ความคิดเห็น
ก็ถูกต้องแล้วนี่ค่ะ ว่าได้จัดถังแยกขยะให้ พร้อมคำอธิบายไว้เรียบร้อย ให้แยกขยะใส่ถังให้ถูกต้อง สะดวกแก่การเก็บลงถัง แต่ไม่มีรถแยกขยะ ต้องเทขยะรวมกันเป็นการประหยัด และทำการแยกขยะตั้งแต่แรกแล้ว……อิอิอิ
นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการคิด การทำงานแบบแยกส่วน ไม่ได้ทำงานแบบองค์รวม
ส่วนมากจะทำงานแบบผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ไม่ค่อยคุยกัน
คนที่มีหน้าที่กำจัดขยะก็ไม่มีระบบที่จะจัดการขยะอินทรีย์หรือชีวภาพ เช่นโรงงานทำปุ๋ย โรงงานไบโอก๊าซ ฯ
คนที่มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ก็ว่าไปตามทฤษฎี ให้แยกโน่นแยกนี่ โดยไม่รู้ว่าองค์กรของตัวเองมีความพร้อมแค่ไหน
คนที่ทำหน้าที่เก็บก็เก็บไป ชาวบ้านมีหน้าที่ทิ้งก็ทิ้งไป อิอิ
ถ้าทำงานแบบองค์รวม แบบมีส่วนร่วม ทุกฝ่าย รวมทั้งประชาชนก็จะมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความพร้อม ได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันประเมิน ก็จะไม่เกิดปัญหาแบบนี้
ที่พิษณุโลกเวลาประชาสัมพันธ์จะชัดเจน เช่น
ถ้าท่านทำปุ๋ยเองที่บ้านหรือในชุมชนก็แยกขยะอินทรีย์แล้วทำเองนะ แต่ถ้าไม่ทำเองก็ไม่ต้อง(เสือก)แยก แล้วไม่ต้อง(เสือก)ถามว่าแยกแล้วทำไมเก็บรวมกัน เอาไปทิ้งหลุมเดียวกัน ฮ่าๆๆๆๆๆๆ
ขอบคุณ ท่านจอมป่วน ที่มาให้ความกระจ่าง จากผู้ปฏิบัติจริงครับ……มีโอกาสคงได้รบกวนท่าน….อิอิ
เป็นแนวคิดที่ดีนะครับ สามารถนำความคิดไปสานต่อได้