เตรียมบันทึก มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

อ่าน: 3070

บริหารร่างกาย

เมื่อเช้าอาม่า ออกกำลังกายตั้งแต่เช้า พอให้เส้นสายยืดตัวก่อนลงมาทำอาหารเช้า หลังรับประทานอาหาร เช้า เสร็จ รีบทำการบ้านที่เคยรับปากกับครูบาไว้เรื่อง ที่ครูบาฯ จะไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ลืมถามไปว่าสอนระดับปริญญาตรี หรือระดับบัณฑิตศึกษา จะได้เตรียมให้ได้เหมาะสมค่ะ เรื่อง “มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม” ตอนนี้อ่านหนังสือ The State of the Environment ของ United Nations Environment Programme จบแล้วกำลังอ่านเล่มอื่นๆ ต่อ หยิบหนังสือ”ทรัพยากรชีวภาพ” เส้นทางสู่เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ(องค์กรมหาชน) เพื่อนำมาศึกษาทำความเข้าใจ จะได้สรุปให้ตรงประเด็น

ตั้งใจเขียนบันทึกนี้ไว้ในลานเจ๊าะแจ๊ะ เพื่อเปิดโอกาสใ้ห้ชาวเฮได้ร่วมด้วยช่วยกัน มาปรับเติมเสริมข้อมูลตามสไตล์สหเฮด แต่ทำอย่างไรๆ  ก็ไม่สามารถโพสได้ มีข้อความบนแถบสีเหลืองว่า “บันทึกถูกปรับปรุง” ได้พยายามจนสุดความสามารถก็โพสไม่ได้ ไม่ว่าจะเข้าไปเอาดราฟออกมาแล้วเผยแพร่ใหม่ก็ไม่สำเร็จ จึงคัดลอกมาไว้ในลานทับทิม จึงสามารถโพสได้ เลยทำให้เข้าใจว่า คงถูกจัดให้เป็นเรื่องสว่นตัว พักหลังไม่สามารถติดต่อครูบาได้ทั้งทางโทรศัพท์ และทาง เอมฯได้ ก็ไม่ทราบว่าจะติดต่อทางไหนได้อีก หากไม่สะดวกช่วยแนะวิธีด้วยค่ะ


เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน

อ่าน: 4120

จั่วหัวไว้อย่างนี้ คงทำให้หลายคนถึงกับเบือนหน้าหนี แต่มันคือสิ่งที่น่าสนใจเรียนรู้ต่อไปค่ะ อันที่จริงเราพูดถึงมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มาจนกลายเป็นแผ่นเสียงตกร่องมานานพอสมควร เรื่อง่ายๆ ใกล้ตัวลืมมอง แต่กลับไปฮือฮาตามกระแส ที่สื่อส่วนหนึ่งที่ส่งเข้ามาถึงทุกครัวเรือน แม้แต่ถึงห้องนอน ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ ไม่มีละเว้น แต่การปฏิบัติจริงกลับไม่ใส่ใจ ทั้งที่ทุกครัวเรือนทำได้ไม่ยาก ยกตัวอย่างถุงพลาสติกที่ทิ้งเกลือนทั่วไป ทั้งที่ก็รู้อยู่ว่าถุงพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากการผลิตน้ำมันจากปริโตเลียม  ในทางกลับกันมันก็ย้อนกลับไปสู่ปริโตเลียม ที่กลั่นเป็นน้ำมันได้เช่นกัน เรื่องนี้ดูเหมือนมหาวิทยาลัยมหานคร ได้มีโรงการผลิตน้ำมันจากถุงพลาสติก ฯลฯ. ที่ใช้แล้ว เพราะฉะนั้นการใช้ และการนำกลับมาแปรรูปให้สมดุลกับการใช้ถุงพลาสติก ฯลฯ.ก็ไม่น่ารังเกียจกัน เพียงแต่ระวังผลิตภัณฑ์พลาสติกที่บรรจุอาหารทุกรูปแบบ ที่ควรกำกับดูแลให้มีมาตรฐาน ไม่ก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพอย่างจริงจัง ส่วนพลาสติกทุกชนิดที่ใช้แล้วเปลี่ยนไปเป็นขยะที่มีค่า เพื่อนำไปใช้ผลิตน้ำมัน ที่เหมาะสมต่อการใช้ในเครื่องยนต์ที่จำเป็นต่อวิถีชีวิตคนไทยอย่างเหมาะสม รัฐควรลงทุนสนับสนุน ถึงแม้การผลิตจะมีต้นสูง ให้มองถึงต้นทุนชีวิตที่รัฐต้องจ่ายผ่านกระทรวงสาธารณะสุข ทางด้านสุขภาพ และ รายการยาที่จ่ายแพงจากลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตรยา การดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมผ่ากระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะผ่าน องค์กรบริหารทุกระดับ ฯลฯ.ซึ่งเป็นงบประฒาณแผ่นดินมหาศาล  จะเห็นได้ว่าการนำขยะพลาสติก ฯลฯ. ที่สามารถนำใช้ผลิตน้ำมัน เพิ่อใช้เองภายในประเทศ น่าจะได้รับการสนับสนุนอย่างสมเหตุเหตุผลยิ่ง มากกว่ามาตั้งงบประมาณมากมายในการกำจัด การดูสิ่งแวดล้อมการรักษาสุขภาพ ฯลฯ.

อ่านต่อ »


ข้าวกล้องงอก

4 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ สิงหาคม 1, 2009 เวลา 0:39 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 2722

คนไทยชาวชนบทโดยทั่วไป ในสมัยก่อน ทำนาปลูกข้าวพื้นเมืองไว้กินเอง เหลือกินจึงขาย และมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหลากหลาย ล้วนเป็นเสน่ห์ของแต่ละท้องถิ่นในทุกภูมิภาคของประเทศ ตั้งแต่เหนือจดใต้ ตั้งแต่ตะวันออกจดตะวันตก ไม่ว่าตะวันออกเฉียงเหนือ ดินแดนแห่งข้าวหอมอันลือชื่อจากทุ่งกุลาร้องไห้ หรือที่ราบลุ่มภาคกลางอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ สมัยก่อนเราปลูกข้าว อาศัยปุ๋ยจากธรรมชาติ ที่ธรรมชาติแจกจ่ายทั่วท้องทุ่งในฤดูน้ำหลาก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นเยี่ยม สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน เราปลูกข้าวนาปี แล้วทิ้งนาให้พักช่วงฤดูแล้ง บางพื้นที่เคยเป็นชุ่มน้ำพอถึงฤดูแล้ง ปริมาณน้ำกำลังเหมาะสำหรับปลูกข้าวได้ ก็มีการปลูกข้าวในช่วงแล้ง ล้วนเป็นการใช้ที่ดินสอดคล้องกับธรรมชาติ ขณะเดียวกันผืนนาบางแห่งพอมีความชื้นสามารถปลูกพืชตระกูลถัว ปลูกหอมปลูกกระเทียมได้ ก็จะทำการปลูก เพื่อใช้ในท้องถิ่น และ ขายหากมีเหลือ เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย  แม้แต่ผักก็ปลูกตามฤดูกาล นอกจากนั้นก็ยังมีพืชผักมากมายที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ถึงฤดูกาล เขาจะแทงยอดอ่อน ออกดอก ออกผล ซึ่งเป็นทั้งพืชผักพื้นเมือง และผลไม้พื้นเมือง เหมาะกับสุขภาพของคนไทยในแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นความหลากหลายทางชีวภาพที่งดงาม อันเป็นผลพวงของชัยภูมิที่ตั้งของประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้น มีแสงแดด 12 เดือนต่อปี มีสองฤดูที่ชัดเจน คือร้อนกับแล้ง ฤดูร้อนก็จะมีฝนทำให้ฝุ่นลดลงความร้อนก็คลายลง มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก ปลายฝนย่างเข้าฤดูแล้งที่อากาศเย็นลง ที่เราเรียกหน้าหนาวของไทย ก็ถึงฤดูเก็บเกี่ยว พอผ่านช่วงแล้งอากาศเย็น ก็แล้งจริงจริงและร้อนพร้อมฝุ่น ผลไม้จากทุกภูมิภาคเริ่มสุก จากเหนือลงใต้มา เป็นฤดูผลไม้มีให้กินไม่หวาดไม่ไหว ทุกภูมิภาคก็จะมีผลไม้ของถิ่นนั้นๆ เป็นความหลากหลายที่ลงตัวตามธรรมชาติ อ่านต่อ »



Main: 0.28921914100647 sec
Sidebar: 2.3988220691681 sec