โครงการความมั่นคงทางอาหารของอาม่า เป็นความฝันที่อาม่ามีมานานพอสมควร และไม่เคยท้อเลยค่ะแม้จะอายุมากแล้ว แต่ด้วยความเพียรที่เห็นเพื่อนๆ ปราชญ์ชาวบ้าน ปราชญ์เดินดิน เกษตรกรในท้องถิ่นในภาคอีสาน กระจายกันอยู่ทั่วไป แต่ยังไม่สามารถรวมกลุ่มให้เป็นปึกแผ่น ทั้งในระดับหมูบ้าน หรือ ตำบลได้ ถึงแม้มีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่ก็เป็นส่วนน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับจำนวนเกษตรกรทั้งหมด สาเหตุที่ทำให้เกษตรกรที่ปราชญ์ชาวบ้านหันมาฟื้นวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะล้วนเจอความล้มเหลวแบบเศรษฐกิจตาโต ….ผ่านความทุกข์มามากโข ด้วยขาดความรู้ความเข้าใจธรรมชาติ “รู้เขารู้เรา” อย่างแท้จริง อาม่าก็พยายามที่จะสร้างชุมชนเกษตรคุณภาพ สิ่งแรกที่อาม่าพยายามกระตุ้นให้ชุมชนเข้าใจคือ รู้จุดอ่อนจุดแข็ง ของทรัพยกรที่มีอยู่ภายในชุมชน ไม่ว่าทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยยากรมนุษย์ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม และองค์ความรู้ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ แท้ที่จริงก็คือการนำกาลามสูตรมาใช้ แค่รู้อย่างเดียวไม่เกิดอะไรค่ะ ต้องนำมาใช้จะเกิดผล เราชาวพุทธส่วนใหญ่ก็รู้กันอยู่แล้ว ขาดแค่การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นธรรมชาติของเรา อาม่าเชื่อมั่นว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนที่มีเหตุผลใช้ธรรมนำการเกษจร อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเป็นสุข มั่นคงและยั่งยืน ลำพังอาม่าคนเดียวไม่มีพลังมากพอที่จะช่วยสร้างเกษตรกรคุณภาพได้ แต่มีเครื่อข่ายที่ให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่ง คือฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีุรนารี และเริ่มมีหลายหน่วยงานความสำคัญในงานที่อาม่าลงไปช่วยชุมชน และพร้อมร่วมด้วยกันอีกหน่วยงาน คือ ศูนย์อามัยที่๕ นครราชสีมา ผ่านทางชมรม สว.๙ ศูนย์อนามัยที่๕
นับเป็นวาสนาของอาม่าได้ มีโอกาสรู้จัก และเป็นเพื่อนกับคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสา และล้วนแต่เป็นคนคุณภาพเป็นเกษตรกรคุณภาพยืนบนขาตัวเองอย่างมั่นคงแล้วยังมีจิตอาสาแบ่งปันความรู้ช่วยเหลือเกษตรกรและสังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยมีความสามารถทางด้าน ไอที และใช้โอเพ่นซอร์ดพัฒนาโปรมแกรมเองใช้เองตามความต้องการ ดูแลปรับปรุงได้เอง และลงไปช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพสามารถใช้ ไอที อย่างเข้มแข็งยืนบนขาตัวเองได้ พัฒนาโปรแกรมม เพื่อใข้ให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง เขาผู้นี้คือน้องโสทร อาม่าได้เรียนรู้อะอีกมากมายจากน้องโสทร แล้วนำมาปรับใช้ถ่ายทอดสู่เกษตรกร
คนหนุ่มรุ่นใหม่อีกคนที่อาม่า่ประทับใจมาก คือน้องต้นกล้า ที่เข้าใจชีวิตและอาชีพเกษตรกร มีความฝันเหมือนอาม่า ที่จะช่วยกันพ้ฒนาอาชีพเกษตรกรให้มีความมั่นคงและยั่งยืน เป็นเกษตรกรคุณภาพ แบบเกษตรญี่ปุ่น น้องต้นกล้ากำลังส่งทีมงานมาช่วยอาม่าอีกแรงหนึ่งค่ะ
ฝันนี้เป็นจริงได้ หากมีความร่วมมือ ร่วมใจหลายภาคส่วน ลงมาช่วยกัน สร้างเกษตรกรยุคข่าวสารข้อมูล ภายใต้สังคมไทยที่เป็นยุคก้าวย่างสู่สังคมผู้สูงวัย เราไม่ปฏิติเสธเครื่องมือทุนแรง แต่เราจะรวมแรงแบ่งปันแรง(ลงแขก) ฟื้นคือวิถีชีวิตที่งดงามของชนบท สร้างความเป็นปึกแผ่น ทำเกษตรที่มีแผนชัดเจนผสมผสานเทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่สำคัญคือเกษตรอินทรีย์ ลดภาวะโลกร้อน ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต เป็นเกษตรคุณภาพที่มีตลาดรองรับ เกษตรกรต้องมีอาหารที่มีคุณภาพอย่างพอเพียงสำหรับครอบครัว มีพลังงานเหลือมาลงแรงทำการเกษตรที่สร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงยั่งยืน เป็นการยกระดับเกษตรกร เป็นธุรกิจการเกษตรที่มีคุณภาพและยั่งยืน