ความมั่นคงทางอาหาร 26(เกษตรกรใหม่)

อ่าน: 2377

๑๔ เมษายน ๒๕๕๔

ลูกศิษย์เกษตรพอเพียง มารดน้ำดำหัวขอพรวันปีใหม่ อาม่าอัญเชิญพระพุทธรูป ภปร.ปางประทานพร ซึ่งเป็นพระประธานจากห้องพระบนบ้านลงมาไว้ที่ห้องรับแขกชั้นล่าง ให้ลูกศิษย์ได้สรงน้ำพระในเทศกาลสงกรานต์ เพื่อความเป็นศิริมงคลในวันปีใหม่ไทย

สำหรับลูกศิษย์เกษตรพอเพียงผู้มีความมุ่งมันหันมาทำเกษตรอินทรีย์ กลุ่มนี้มีอาชีพ เป็นสัตวบาลสองคน และเป็นเจ้าของธุระกิจสองคน ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำการเกษตรแนวใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ คือการทำการเกษตรประณีต ที่ต้องใส่ใจ ทำเองได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่เรื่องดิน-น้ำ ก็จะต้องรู้ให้ได้ว่าดิน-น้ำที่จะใช้ทำการเกษตร มีโลหะหนักอันตราย และสารพิษตกค้างหรือไม่ต้องเก็บตัวอย่างน้ำ-ดิน ส่งไปวิเคราะห์ ยังหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง อย่างกรมพัฒนาที่ดิน หรือสถาบันการศึกษาที่มีห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อม ฯลฯ.

การทำการเกษตร อาจเริ่มลงมือทำเกษตรประณีตในพื้นที่เล็กๆ ก่อนก็ได้ หากแต่ ต้องมีความเข้าใจการบริหารจัดการ ตั้งแต่เรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องปุ๋ยเรื่องการกำจัด โรค แมลงศัตรูทั้งของพืช และสัตว์  ในการทำการเกษตรผสมผสาน ด้วยแรงงานจากทุกคนในครอบครัว สำหรับในพื้นที่หนึ่งไร่ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก และเลี้ยงสัตว์ที่ต้องกินต้องใช้ ต้องมีข้าวกินตลอดทั้งปี มีเนื้อสัตว์ และพืชผัก ผลไม้ และสมุนไพรไว้ใช้ยามจำเป็น เพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างพอเพียง และอย่างมั่นคง โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจ มาปรับใช้ให้เหมาะกับพื้นที่และความสามารถของแต่และครอบครัว เพื่อลดรายจ่าย แล้วค่อยๆเพิ่มรายได้ จากผลผลิตที่เหลือกินเหลือใช้ที่แจกจ่ายเพื่อนบ้าน ก็ขายในท้องถิ่น เช่นพืชผัก ผลไม้ ปลา เป็ดไก่ ไข่ ฯลฯ.ที่ต้องกินต้องใช้ทุกวัน พืชผัก และเนื้อสัตว์ คุณภาพปลอดสารพิษ ทั้งผู้ปลูกและผู้กินย่อมปลอดภัย แล้วยค่อยๆ ขยายเท่าที่ทำได้ ทำแล้วมีความสุข ทำแล้วมีผลผลิตที่เก็บได้เป็นรายวัน รายอาทิตย์ รายเดือน รายไตรมาส รายหกเดือน รายปี เหลือใกินเหลือใช้ ย่อมเกิดรายได้หมุนเวียนให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี กลายเป็นเงินเก็บ สร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างสมบูรณ์ และความมั่นคงในชีวิต สร้างความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกร

ข้าวนั้นจะปลูกด้วยวิธี ปลูกข้าวต้นเดียวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ตอนนี้ทุกคนได้แหนแดงไปขยายให้เพียงพอต่อการใช้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ การทำไว้ใช้เอง จากมูลสัตว์ จากการหมักเศษอาหารพืชผักผักเลี้ยงจุลินทรีย์ เพื่อใช้ปรับปรุงดินและคืนชีวิตเล็กๆ ให้กลับไปสู่ดิน เพื่อฟื้นฟูสภาพดินให้คืนสู่ธรรมชาติที่สมดุลย์ พร้อมที่จะรองรับการเพาะปลูกที่ฉลาด มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมในพื้นที่ และการปลูกพืชหลายๆชั้นในพื้นที่บริเวณเดียวกัน เหมือนคอนโดพืชค่ะ

ทุกคนมีความพร้อม วันนี้จึงมาหาเพื่อแสดงความพร้อมที่จะเป็นเกษตรอินทรีย์ ที่พอเพียงในยุคข่าวสารข้อมูลค่ะ

ทุกคนมีรอยยิ้มสู้ที่จะเป็นเกษตรกร รุ่นปลุกเสกของอาม่าค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร25(งานสงกรานต์วัดสารภี)

8 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ เมษายน 13, 2011 เวลา 22:21 ในหมวดหมู่ ความพอเพียง, เรื่องเล่าของLin Hui, เศรษฐกิจพอเพียง #
อ่าน: 2237

๑๓ เมษายน ๒๕๕๔

วันสงกรานต์ วันปีใหม่ไทย รื่นเริงเถลิงศกใหม่ อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เพิ่มพูนความดีด้วย การสืบสานประเพณี ด้วยการอนุรักษ์วัฒนธรรม สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย สภาเด็กและเยาวชน อบต.สารภี อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา

อาม่าในฐาน สว.ที่เป็นคนคุ้นเคย ของชาวบ้านเครือข่ายเกษตรพอเพียง ได้รับการเชิญมาให้กำลังใจแก่เด็กๆ ผู้จัดงานครั้งนี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีหลายฝ่าย ทั้งกลุ่มเครื่อข่ายสตรี  โรงเรียน วัด และ อบต. เด็กๆจัดงานได้ยิ่งใหญ่ ไม่ต่างจากผู้ใหญ่เลยค่ะ ไม่ว่าอาหารการกิน มีอาหารพื้นบ้าน อาหารโบราณ การแสดง การละเล่น ล้วนสืบสานวัฒนธรรม สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ครบถ้วน ที่สำคัญคือการสรงน้ำพระ การทำบุญ และทอดป่า ที่มีกองผ้าป่ามากมาย จากหลายๆ กลุ่มมาร่วมด้วยช่วยกัน อาม่าขออนุญาตใช้ภาพบรรยายค่ะ

ผู้นำสภาเด็กและเยาวชน ผู้จัดงานในครั้งนี้ ได้มาพบและพูดคุยกับอาม่า แน่นอนเด็กคือเมล็ดพันธุ์ที่กำลังจะเติบใหญ่ และเป็นผู้นำในทุกภาคส่วน ทดแทนผู้ใหญ่ในอนาคต หากผู้ใหญ่ให้โอกาส สนับสนุน และฝึกเยาวชน ให้รู้จัก เข้าใจวัฒนธรรมวิถีชีวิตตัวเองและภูมิปัญญาของท้องถิ่น เริ่มเข้ามาเรียนรู้การทำงานของท้องถิ่น  ตั้งแต่เด็กๆ การร่วมแรงแข็งขยันลงมือทำจริงๆ ก็จะได้เรียนรู้ ทำได้ เขาก็จะได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อให้ขวัญกำลังใจ นอกจากนิยมชมชื่นเด็กๆ แล้วคุณพิสิษฐ์ นาคำ กรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงหอการค้าหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายเกษตรพอเพียงของอาม่า ได้มอบเงินสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชน

กลุ่มสตรีที่ผ่านการอบรมเรียนรู้ การทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้นำผลิตภัณฑ์ มาให้อาม่าดูสามชนิด มีน้ำมันเหลือง(น้ำมันไพล) ยาหม่องเสลดพังพอน ยาหม่องไพล อาม่าลองดมกลิ่นและทดลองใช้ กับตัวเอง บอกได้เลยค่ะ ของเขาทำได้ดีทีเดียว ทั้งกลิ่นก็หอมถูกใจ อาม่าค่ะ เพราะกลิ่นแตกต่างจากที่เคยใช้ ขนาดก็น่าใช้ ซึ่งล้วนทำได้มาตรฐาน ระดับของอภัยภูเบศรที่เดียว อาม่าเลยขอให้ทางหอการค้า สนับสนุนนำผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปเปิดตัวในงาน บีโอไอแฟร์ ปลายปีนี้ ซึ่งเป็นงานระดับภูมิภาคเอเชีย เพียงแต่ต้องปรับปรุงแพกเกจจิ้งให้ดึงดูดใจ และให้ใช้ สามภาษาอังกฤษ จีน และอาหรับค่ะ เพื่อให้ถูกใจลูกค้าจากสามกลุ่มประเทศหลักๆค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 23(ความกตัญญู)

อ่าน: 1556

๑๑ เมษายน ๒๕๕๔

เดือนเมษายน เป็นเดือนที่วาสนาอาม่า พุ่งปรีดมีแต่สิ่งดีๆ เกิดขึ้น งานเข้าอีกตะหาก มีคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แทบทุกวัน สิ่งสำคัญคือมาด้วยหัวใจที่เปิดรับประดุจแก้วน้ำที่หงายพร้อบรับน้ำ แม้แก้วนั้นอาจจะมีน้ำอยู่เต็มแล้ว ยังอุตส่าห์เทน้ำเก่าออก เพื่อรับน้ำใหม่ด้วยใจเบิกบาน มาด้วยความรักแผ่นดินเกิด มาเพราะอยากเรียนรู้ ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่อาม่าทำแค่เป็นเรื่องเล็กๆ  เป็นการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ แค่รู้จักตัวเองรู้จักธรรมชาติ ดัดแปลงธรรมชาติรอบตัวให้เกิดประโยชน์ แค่รู้อย่างเดียวไม่เกิดประโยชน์ค่ะ ต้องปฏิบัติลงมือทำให้เกิดผล และเป็นประโยชน์ต่อตัวเองให้ได้ ทำจนเป็นเรื่องปกติ จนเป็นความเคยชิน แต่กลายเป็นว่าโดนใจคนทั้งในเมืองและชนบท  อาม่าเป็นครูเป็นอาจารย์ จะสอนอะไรใครต้องย้อนถามตัวเองเสมอว่า รู้พอหรือยัง ทำได้เพียงไหน พอที่สอนใครๆ ได้หรือยัง ต้องทบทวนปรับการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ผลเชื่อถือได้แค่ไหน หากพูดแล้วไปแล้วสอนไปแล้ว ไม่ทำมันก็ไม่เกิดผล หากทำแล้วเกิดมีปัญหา ก็จะเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เพราะเป็นเรื่องถ้าทายให้ใช้สติปัญญามาแก้ไข ก่อให้เกิองค์ความรู้ใหม่ จากการลงมือปฏิบัติจริง

อาม่าตั้งใจจะสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนในชนบท ที่มีอาชีพเป็นเกษตรส่วนใหญ๋ และพูดให้เห็นภาพรวมของความสำคัญทางด้านอาหาร ชี้ให้เห็นว่า เราอยู่ในประเทศที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เรามีธรรมชาติที่เหมาะแก่การทำการเกษตรเราอยู่ในเขตร้อนชื้น มีน้ำ มีแสงแดดทุกเดือน.. หากเราเข้าใจธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ต่อธรรมชาติ ธรรมชาติก็ตอบแทนเราด้วยผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ อย่าว่าแต่พอเพียงเลย ถึงขั้นเหลือกินเหลือใช้ด้วยซ้ำ  ด้วยวิถีชีวิตดั้งเดิมที่งดงามสอดคล้องกับธรรมชาติ ก็จะมีกินมีใช้อย่างสุขสมบูรณ์ มีน้ำใจเอื้ออารี แบ่งปัน นั่นคือรางวัลสำหรับคนกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน

แต่การพัฒนาประเทศที่ขาดความรู้ความเข้าใจธรรมชาติอย่างถ่องแท้ ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติอย่างใหญ่หลวง ผลที่ปฏิบัติมิชอบต่อธรรมชาติตัด เผา ทำร้าย ทำลายธรรมชาติ ใช้สารเคมีเกินความจำเป็น ใช้สารพิษทำลายชีวิตพืชสัตว์ ของคนส่วนน้อย แต่ผลร้ายถูกธรรมชาติลงโทษ เนื่องจากธรรมชาติสูญเสียดุลภาพ ความพินาทก็เกิดขึ้น เดือนร้อนกันสาหาสากันกับคนเป็นจำนวนมากมาย ไม่ว่าภัยพิบัติจากความแห้งแล้ง- น้ำท่วม ล้วนเป็นบทเรียนที่น่ากลัว ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์มหาศาล

เราต้องหันมาใส่ใจและฟื้นฟูธรรมชาติอย่างจริงจัง  เริ่มจากจุดเล็กๆ อาม่าทำในจุดเล็กๆ ระดับหมู่บ้านตำบล ซึ่งอาม่าได้ทำมาได้ระดับหนึ่งแล้ว และคนในชุมชนเขาพร้อมเรียนรู้พร้อมลงมือทำ เขาอยากเรียนรู้อะไร อาม่าก็จะจัดหามาให้ เมื่อนเรียนรู้แล้วเข้าใจแล้ว เกษตรกรลงมือทำทันที อาม่าก็ชื่นใจ แล้วสร้างความเข้าใจเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อันดับแรกเราต้องมีพันธุ์ข้าวที่เพียงพอ ต้องมีเมล็ดพันธุ์พืช-สัตว์ทุกชนิดที่เรากิน  สำรวจและเข้าใจธรรมมชาติจุดอ่อนจุดแข็งของธรรมชาติ พยายามแก้ไขฟื้นคืนธรรมชาติให้ดินให้น้ำหากขาดความรู้ความเข้าใจ อาม่าก็หาเครือข่ายจากสถาบันการศึกษาที่มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ ให้พอเพียงเพื่อปรับฟื้นดินให้มีชีวิต ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ บำรุงรักษาดินให้อุดมสมบูรณด้วยวิธีทางธรรมชาติ ที่ยั่งยืนด้วยความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง โดยน้อมนำและปรับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างสมเหตุสมผล เหมาะกับภูมิสังคมของชุมชนนั้นๆ ด้วยการทำการเกษตรประณีต อย่างมีความสุขที่ยั่งยืน

เราไม่อดตายหากหันมาใส่ใจกู้แผ่นดินให้ฟื้นคืนสู่สภาพสมดุลย์ ทำให้ดินมีชีวิต เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยและยั้งยืนตลอดไปด้วยการลงมือทำค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร22(ตักบาตรอาหารแห้ง)

อ่าน: 3040

วันนี้เป็นวันดี สืบสานประณีไทยสงกรานต์ม่วนใจ ศูนย์อนามัยที่ ๕

และเป็นวันพัฒนาส่งเสริมบุคคลากรสู่องกรต้นแบบสุขภาพดี ศูนย์อนามัยที่ ๕       ๘ เมษายน ๒๕๕๔

เริ่มงานด้วยสิ่งที่เป็นมงคลของชาวพุทธ คืออาราชธนาศีล อาราชธนาธรรม รับศีลรับพรฟังเทศที่สนุกสนานกระชับสั้น แล้วถวายสังฆทานภัตราอาหารและปัจัย แล้วกันก็ตักบาตรอาหารแห้งแก่พระภิกษุและสามเณร(วัดหนองลังกา) ชื่นมื่นกันทั่วหน้า ทั้งุคคลากร ของศูนย์อนามัยฯ.และผู้สูงวัยค่ะ

จากนั้นก็ไปสรงน้ำพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประจำศูนย์อนามัยที่๕ แล้วพากันไปไหว้ศาลเพระภูมิจ้าี่ที่ ที่ปกปักรักษาทุกคนที่ทำงานในที่นี้ค่ะ

ถึงเวลารื่นเริงสำราญ ชาวสว.๙ ก็ร่วมถ่ายภาพหมูไว้เป็นหลักฐาน แล้วก็สนุกสนาน ร้องรำทำเพลง คลื้นเคลง สนุกสนาน ด้วยเสียงขับขานร้องเพลง ขับกล่อมกันเองไมเกรงใจใคร คุณภาพใครได้ยินนึกว่าเปิดเพลง ทั้งรำวง เต้นรำก็หัดกันเดี่๋ยวนั้นแหละ อาม่าหัดเต้น รัมบ้า กำลังจะเป็นแล้วเชียวเพลงจบเสียงั้น จนแล้วจนรอดก็ยังเต้นไม่ได้ พอเพลงรำวงอาม่าก็ว่ารำได้ชนิดที่ตัวเองคิดว่ารำเป็น เพลงเปลี่ยนจังหวะเร้าใจทำนองเซิ้งของอีสานม่วนหลาย อยากเซิ้งเป็น ก็ดูคนเซิ้งเก่งที่อยู่หัวแถว ต้องเอียงคอดูตลอด จนคอเกือบเคล็ด พอทำท่าพอจะเซิ้งตามได้ เธอเล่นเปลี่ยนท่าอีกใหม่อีกแล้ว เล่นเอาอาม่าเหงือกแตกยิ่งกว่าปลูกต้นไม้ เห็นทีเอาดีทางนี้ไม่ได้แน่ๆ ขอเป็นเกษตรกรตัวจริงดีกว่า จะได้ผู้สืบสานอาชีพเกษตรกรที่ภาคภูมิใจเมื่อแก่ๆ อย่างนี้แหละ จะได้ส่งเกษตรกรสร้างความมั่นคงทางอาหารให้พวกเราได้อิ่มท้องอย่างปลอดภัยค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร20 (เกษตรพอเพียง1ไร่1แสน)

อ่าน: 2515

๖ เมษยน ๒๕๕๔

ประชุมโครงการ “เกษตรพอเพียง 1ไร่1แสน ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงในวโรกาสพระชนมายุ ๘๔ พรรษา หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา

กรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง นับเป็นน้องใหม่ล่าสุดของหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะต้องดำเนินการแต่งที่ปรึกษาฝ่ายฯ คณะอนุกรรมการเฝ่ายฯ และคณะทำงานโครงการ “เกษตรพอเพียง 1ไร่1แสน “  เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงในวโรกาสพระชนมายุ ๘๔ พรรษา ที่ประชุมได้ดำเนินการเสนอแต่งตั้ง ที่ปรึกษาฝ่ายฯ คณะอนุกรรมการเฝ่ายฯ และคณะทำงานโครงฯ เป็นที่เรียบร้อย โดยคณะทำงานโครงการฯเป็นผู้ที่รับผิดชอบ พิจารณปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม โครงการฯ ฉบับร่างทั้งสามฉบับ และจัดทำโครงการฯ ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นรูปเล่มโดยเร็ว เสนอขอการสนับสนุนงมประมาณจาก หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และเป็นโครงการของภาคเอกชน เพื่อเสนอท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา รับทราบ ในภาคส่วนเอกชน ที่ร่วมขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัด ที่เป็นรูปธรรม เพื่อถวายในหลวง ในมหามงคลเฉลิมพระชนม ๘๔ พรรษา

ประชมโครงการฯ

การประชุมโครงการที่หอการค้า

วันนี้อาม่าสวมหมวกหลายใบค่ะ ใบที่หนึ่งเป็นที่ปรึกษาฝ่ายฯ ใบที่สองประธานในที่ประชุม ใบที่สามนี่ซิเป็นมวยแทน อ.แพนด้า(คณะทำงานประธานโครงการฯ) ที่ป่วยกระทันหัน ไม่สามารถไปประชุมได้ ใบที่สีคือชาวบ้านที่เป็นเกษตรพอเพียง ตัวจริงเสียงจริง เล่นเอาเหนื่อเอาการที่เดียวเปลี่ยนโหมดแทบไม่ทัน แต่ในที่สุดการประชุมจบด้วยการมีผู้รับผิดชอบทำงานครบถ้วน พร้อมทำงานทันที่ แต่อันที่จริง คุณพิสิษฐ์ นาคำ กรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ได้เริ่มดำเนินงานก่อนที่โครงการจะเขียนเสร็จด้วยซ้ำ และได้ติดตามอาม่าไปเข้าร่วมฝึกอบรมเกษตรประณีต เกษตรพอเพียงตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านใหม่อุดมเมื่อวันที ๒๔ มีนาคม๒๕๕๔ และประชุมนอกรอบกับอาม่าและฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี สองครั้ง เมื่อ ๒๒ มีนาคม และวันที่ ๒๙ มีนาคมที่ผ่านมา จนได้รูปแบบโครงการที่ชัดเจน

อบรมที่บ้านใหม่อุดม

อบรมที่หนองบุญมาก



Main: 0.92060804367065 sec
Sidebar: 7.3784880638123 sec