ประวัติศาสตร์ที่นำพาไปสู่การค้นหา
อ่าน: 2052หลังจาก การใช้เทคโนโลยี่ไอซีที ในการรับส่งข้อมูล และการสืบค้นประวัติศาสตร์ประเทศจีนยุค ดร.ซุนยัดเซ็น ซึ่งป๋าได้เล่าให้ฟังตั้งแต่เด็กๆ ยิ่งประทับใจในผู้นำทางจิตวิญญาณท่านนี้ จำได้ว่าตอนเป็นเด็ก ที่อยู่จ.สตูลจะเห็นภาพในหลวง แขวนอยู่ในบ้านชาวจีน นอกเหนือจากนั้นก็จะมีภาพ ดร.ซุนยัดเซ็น จนชินตา
ชีวิตความเป็นอยู่ตอนเด็กๆของครอบครัวหลินฮุ่ย เสื้อผ้าของใช้ อาหารการกินส่งมาจากปีนัง ประเทศมาเลเซียแทบทั้งสิ้น จึงไม่ทราบว่าชีวิตความเป็นจริงของคนไทยส่วนใหญ่เป็นอย่างไร จนโตค่อยๆเรียนรู้ไปที่ละเล็กทีละน้อย ทั้งการแต่งตัว ความเป็นอยู่ ตลอดจน อาหารการกินแบบไทยแต่ละภูมิภาค จนบัดนี้หลินฮุ่ย กินเผ็ดได้เล็กน้อย แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุดต่อชีวิตหลินฮุ่ย คือการใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดน ไม่ว่าใน ฮอลแลนด์ อเมริกา หรือฝรั่งเศส ในสมัยที่ต้องไปเรียนที่นั่น ไม่มีปัญหาในเรื่องความเป็นอยู่ อาหารการกิน เป็นผลลัพท์จากฝีมือการเลี้ยงดูจากคุณแม่ซึ่งเป็นลูกบาบ๋า (ยอนย่า/ย่าหยา) ที่มีฝีมือในการทำอาหารล้ำเลิศยิ่งนัก คุณแม่ทำอาหาร จีนฮกเกี้ยน อาหารของชาวเพอรานากัน(มาเลย์ -จีน) อาหารจีนแผ่นดินใหญ่ อาหารฝรั่งตะวันตก นับว่าเป็นวาสนายิ่งนักที่ได้มาเกิดเป็นลูกของท่าน
หลังจากค้นคว้าหาข้อมูล แลกเปลี่ยนกับน้องชาย จนพร้อมถึงระดับหนึ่ง น้องชายคนเดียวของอาม่า ที่อยู่ที่ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็วางแผนเดินทาง ออกตามหาบ้านเกิด และครอบครัวของป๋า ในประเทศจีน ซึ่งออกเดินทางในสัปห์ดาแรกของเดือนนี้ค่ะ หวังว่าเราคงได้เจอบรรพบุรุษของเราที่นั่น หากมีความคืบหน้าจะได้นำมาเล่าสู่กันฟัง สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของครอบครัวในยุคไอทีค่ะ
« « Prev : ประวัติศาสตร์ช่วยให้เข้าใจรากเง้าของตัวเอง
Next : เส้นทางประวัติศาสตร์เริ่มแล้ว » »
6 ความคิดเห็น
รอติดตามความคืบหน้าด้วยใจจดจ่อครับ อาม่าครับ
บทเกริ่นนำก็น่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะเมนูอาหาร ปารานากัน เพิ่งเคยได้ยินครั้งแรกครับ
ขอบคุณค่ะ น้องปาลิออน ความจริงทางใต้เขาใช้คำว่า อาหารของชาวบาบ๋า ลูกครึ่งจีนกับชนพื้นเมืองมาเลย์ (ไม่แบ่งแยกว่าหญิงหรือชาย)ซึ่งตอนหลังมีการอบพยพเข้ามอยู่ทางใต้ของประเทศไทย หลังจากเราเสียแผ่นดินรัฐไทรบุรีให้อังกฤษไปค่ะ ทางมาละกา สิงคโปร์ มาเลย์ ฯลฯ เรียกแตกต่างจากไทยค่ะผู้ชายจะเรียก บาบ๋า ผู้หญิง ยอนย่า หรือย่าหยา เป็นวัฒนธรรมเพอรานากัน ที่กำลังจะสูญหายไปค่ะ
เป็นลูกหลานของฮกเกี้ยนเหมือนกันครับ ก๋งผมมาจากเมืองจิ้นก้าง พ่อบอกว่าเวลาบอกพวกฮกเกี้ยนให้บอกว่า ก๋งเป็นจิ้นก้างหลาง หมายถึงคนจิ้นก้าง ชื่อนายตัน หงอ ผมยังไม่เคยไปมณฑลฮกเกี้ยนเหมือนกันครับ เคยคุยกับอัยการมณฑลฮกเกี้ยนเขาถามว่าอยู่ทิศไหนของฮกเกี้ยน ผมตอบไม่ถูกเพราะพ่อไม่ได้บอกว่าอยู่ที่จิ้นก้าง แต่ตอนหลังนี่รู้แล้ว พวกอัยการฮกเกี้ยนบอกว่าถ้าไปให้ไปหาพวกเขาแล้วเขาจะพาไป น่าสนใจดี
อาม่าสบายดีนะครับ
ขอบคุณค่ะท่านอัยการ อาม่ากับน้องชายคนเดียว กำลังสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ไว้ให้ลูกหลาน ได้ศึกษารู้จักประวัติที่มาของบรรพบุรุษค่ะ
ดีใจที่ ที่อาจารย์มีความคิดที่ไม่ต่างจากอาม่า ไม่มีบรรพบุรุษก็จะไม่มีเรา ทำให้ดีทุกวันเพื่อบรรพบุรุษของเราค่ะ