สมุนไพรพลูคาวมีประโยชน์อย่างไร?

โดย Lin Hui เมื่อ มีนาคม 6, 2009 เวลา 10:02 ในหมวดหมู่ สมุนไพร, เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 27517

สืบเนื่องจากคำถามของป้าจุ๋ม พลูคาวที่สวนป่านี้ป้าจุ๋มนำมาจากแหล่งที่ claim ว่าได้innoc.ด้วย Probiotic bacteria :ซึ่งพวกเราเคยคิดกันว่าพลูคาวหรือคาวตองที่มีProbiotic bacteriaอยู่ในcellจะเป็นประโยชน์มากกว่าทั่วไป ซึ่งดีอยู่แล้วเรื่องนี้ไม่ทราบอาจารย์เห็นเป็นอย่างไรคะ

เนื่องจากเรื่องสมุนไพรเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ และได้ติดตามมาหลายปีแล้วค่ะ ความจริงเรื่องการใช้สมุนไพรรักษาโรค เป็นศาสตร์ของโลกตะวันออกซึ่งมี จีนและอินเดียเป็นผู้นำในเรื่องนี้ มาตั้งแต่สมัยโบราณ และได้พัฒนาศึกษาวิจัย และใช้กันมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ยอมรับกันในซีกโลกตะวันตกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย แต่การพัฒนาสมุนไพรเป็นยารักษาโรคมีขั้นตอนยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก จึงพัฒนาออกมาในรูปอาหารเสริม และสามารถขอ อย. ได้สะดวกกว่าค่ะ

เมื่อป้าจุ๋มถามมา  Lin Hui ก็ไปค้นคำตอบที่ดีๆ มาให้ค่ะ ก่อนอื่นก็ควรจะรู้ว่า
สมุนไพรพลูคาวมีประโยชน์อย่างไร?

MaxieX
สรรพคุณ ทางเภสัชวิทยาของพลูคาวคือ *สร้างภูมค้มกันกระตุ้นการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวและทำงานได้ดีขึ้น *ทำลายเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยงทั่วไป 5 ชนิด ; ปอด, สมอง, เนื้อร้าย, รังไข่, ลำไส้ใหญ่, เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว 5 ชนิด li210, u937, k526, raja, p3 hr 1 *ฆ่าเชื้อไวรัส ชนิด HIV-1, HIV1 ไข้หวัดใหญ่, งูสวัด, หัดเยอรมัน, โดยไม่ทำลายHostCell *ต้านเชื้อรา_กลาก, เกลื้อน, สังคัง, ฮ่องกงฟุต, สะเก็ดเงิน-ทอง, เยื้อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อรา, ปอดอักเสบ *ต้านแบคทีเรีย_โรคท้องร่วง, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, ฝี, โรคระบาดทางระบบสืบพันธ์_ตกขาว *ต้านอักเสบ_หลอดลมอักเสบ, ปอดอักเสบในเด็ก, รูมาตอย, แผลหลังการผ่าตัด, แผลไฟไหม่, น้ำร้อนลวก, หนองใน, ปวดฟัน, *ขับปัสสาวะ
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณ ธรรมศักดิ์ ทองเดือน085 001 6475 / 084 515 1348

* 1 ปี ผ่านไป

แจ้งลบ
Q_jaguar

คำตอบที่ดีที่สุด - เลือกโดยเพื่อนๆ ที่ช่วยกันโหวต
ประโยชน์ของพลูคาว
1. ฤทธิ์ระงับปวด เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ห้ามเลือด รักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย
2. ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบสารฟลาโวนอยด์ ที่แยกได้จากใบพลูคาวเป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์
3. ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นส่วนเหนือดินของพลูคาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างแรงต่อเชื้อ Bacillus cereus และ B. Subtilis เชื้ออหิวาต์ Vibrio cholerae 0-1 และ V. Parahaemolyticus
4. ฤทธิ์ต้านไวรัส น้ำมัน

พลูคาว.มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Houttuynia cordata Thunb. จัดอยู่ในวงศ์ (family) Saururaceae เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกอายุหลายปี พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่แถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม รวมทั้งไทยและญี่ปุ่น พลูคาวจะเป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันดีของทางภาคเหนือของไทย ผักพื้นบ้านที่ทางภาคเหนือเรียกว่า “ผักคาวตอง” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสานเรียก “ผักคาวทอง”… เนื่องจากว่ามัน ที่กลิ่นคล้ายกับกลิ่นคาวของปลา
สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ป่วยได้สูงขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิ
ภาพในรักษาได้มากขึ้น เมื่อใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีรังสีรักษา ส่งผลให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและยืดอายุของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามได้นาน ขึ้น

ปัจจุบัน พลูคาวหรือคาวตองได้ถูกนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ชื่อว่า “โดคุดามิ” โดยบริษัทโปรแลคประเทศไทยจำกัด ซึ่งมี นพ.สมทรง รักษ์เผ่า อดีตอธิบดีกรมควบคุมโรค(กรมควบคุมโรคติดต่อ) และอดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยา (อย.) มีเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง ” โดคุดามิ” นี้ได้ถูกส่งออกขายไปยังตลาดต่างประเทศ โดยมีตลาดใหญ่ ได้แก่ อเมริกา และแอฟริกา

“โดคุดามิ” หรือ “พลูคาว” นอกจากใช้ได้ดีในผู้ป่วยโรคมะเร็งแล้ว ยังพบว่าสามารถใช้ได้ผลในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัมพาต รักษาแผลเรื้อรังซึ่งสามารถใช้ทาแผลได้ และผลในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคร้ายต่างๆ จะช่วยในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งผลการทดลองในห้องปฎิบัติการพบว่าสามารถทำลายเชื้อ HIV-1(โรคเอดส์) เชื้อรา และแบคทีเรียหลายชนิดอีกด้วย

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tarad.com/proact
ที่มา:
ที่มาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549
http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/nl/2003/12/03.php
http://www.budpage.com/budboard/show_content.pl?b=1&t=10138

* 1 ปี ผ่านไป

SODA_PLW

สมุนไพรพลูคาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Houttuynia cordata Thunb และมีชื่ออื่น คือ ผักคาวตอง (เชียงใหม่), ผักก้านตอง, ผักเข้าตอง, พลูแก, พลูคาว (กลาง), ผักคาวทอง (อุดรธาน-อีสาน), อื้อซิงเฉ่า (จีนกลาง), หื่อแชเช่า (จีนแต้จิ๋ว) มักขึ้นเองตามธรรมชาติ พบตามริมห้วย ลำธาร และที่ชื้นแฉะริมน้ำ หรือตามใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีความชื้นสูง มีมากทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกันกับพลู ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นรูปหัวใจ แต่มีลักษณะแตกต่างกันที่ใต้ใบจะมีสีแดงตั้งแต่อ่อนๆ ไปจนถึงแดงเข้ม เมื่อนำมาใส่มือขยี้เพียงเบาๆ จะได้กลิ่นฉุนคล้ายคาวปลาออกมาอย่างรุนแรง ส่วนลำต้นทอดไปตามดิน รากแตกตามข้อ ชาวบ้านภาคเหนือและภาคอีสานนิยมรับประทานพลูคาวเป็นผักสด โดยแกล้มกับน้ำพริก ลาบหมู ลาบเนื้อ ก้อย ช่วยดับกลิ่นคาว

เมื่อนำมาตรวจดูผลทางเภสัชวิทยา (จากทดลองในห้องปฏิบัติการ) พบว่า พลูคาวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์, มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เนื่องจากมีสารเควซิติน (Quercetin) ซึ่งมีผลขยายหลอดเลือดฝอย ทำให้การไหลเวียนของเลือดและปัสสาวะเพิ่มขึ้น และมีฤทธิ์อื่น ๆ ได้แก่ ระงับปวด ห้ามเลือด เร่งการเจริญของเซลล์ ควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกาย มีผลระงับอาการไอ แต่ไม่มีฤทธิ์ขับเสมหะ และระงับอาการหอบ

สำหรับในตำราไทยโบราณ ใช้ใบพลูคาวแก้กามโรค หนองใน เข้าข้อออกดอก เป็นแผลเปื่อยพุพอง ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้โรคผิวหนัง แก้พิษแมลงป่อง พอกฝี ซึ่งชาวเหนือเชื่อว่าใบขับพยาธิได้ ส่วนในตำรายาจีน พลูคาวทั้งต้นมีสรรพคุณขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบในทางเดินปัสสาวะ ระงับเชื้อโรคหลายชนิด รวมทั้งยังมีรายงานระบุถึงการใช้พลูคาวในการรักษาโรคเอดส์ โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นๆ ตลอดจนใช้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อไวรัสเริม ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังมีรายงานวิจัยระบุว่า สีแดงใต้ใบของพลูคาวมีสารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย และต้านทานเนื้องอก พร้อมกับไปขับพิษที่จะเป็นสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย แต่สารนี้อาจจะมีคุณภาพไม่คงทนหรือไม่คงที่ อีกทั้งยังไม่พบรายงานการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับคุณสมบัติต้านมะเร็ง ของพลูคาวอย่างเป็นทางการ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ยังต้องมีการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนต่อเนื่องต่อไปอีก

ที่มา:

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • 1 ปี ผ่านไป

ที่มา   http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080124002808AAla0Ff

« « Prev : เบื้องหน้าเบื้องหลัง

Next : ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจร » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2349 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 6.4497539997101 sec
Sidebar: 0.051100969314575 sec