เม้งเป็นไผ? ไผ่คือพืชตระกูลหญ้าที่สูงที่สุดในโลก

4 ความคิดเห็น โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 31 มีนาคม 2009 เวลา 12:00 (เช้า) ในหมวดหมู่ การศึกษา, แนวคิด ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3014

สวัสดีครับทุกท่าน

เรื่องราวที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นเพียงเกร็ดข้อเท็จจริงที่จะบอกเส้นทางเดินและแนวคิดที่ผ่านมาในอดีตและสิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคต มิได้เขียนเพื่อให้ใครหมั่นไส้หรือชื่นชม เพียงแต่หากท่านอยากจะทราบว่าผมเป็นใคร ท่านคงได้รับรู้รายละเอียดพื้นฐานและรากเหง้าหลายส่วนในชีวิตผม (ครั้งแรกเขียนไว้ในโกทูโนว์ http://gotoknow.org/blog/mrschuai/138532 )

อ่านต่อ »


แม้นเห็นโลงศพ ก็มิอาจจะหลั่งน้ำตา กับการศึกษาไทย

อ่าน: 6292

สวัสดีครับทุกท่าน

ขออนุญาตคัดลอกจาก…

ที่คัดลอกไม่ใช่เพราะกล้าท้าทายลิขสิทธิ์ของข่าว แต่เพราะเห็นว่าเรื่องนี้เริ่มสำแดงแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะเห็นโลงศพ แต่มิได้หลั่งน้ำตาตาม….

สสวท.แนะปลูกฝังวิญญาณ”นักวิทย์ฯ”ให้เด็ก ชี้ครูสอน”คณิต”ขาดแคลน

สสวท.ชี้ปัญหาเด็กอ่อนวิทย์-คณิต แจ้งศธ.มาตลอด “จุรินทร์” ตั้งคกก.แก้กำหนด 7 ยุทธศาสตร์ เน้นส่งเสริม 3 วิชาหลัก สอนเด็กอ่านจับประเด็นปลูปฝังวิญญาณนักวิทยาศาสตร์ เผยผลวิจัยครูสอนเลขน้อยมาก อ่านต่อ »


ก่อนจะสร้างนักวิจัยไทย ควรจะปูพื้นการทำวิจัยตั้งแต่เด็กๆ อย่างช้าก็ มัธยมศึกษา

284 ความคิดเห็น โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 25 มีนาคม 2009 เวลา 11:33 (เช้า) ในหมวดหมู่ การศึกษา, แนวคิด ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3203

สวัสดีครับทุกท่าน

ก่อนจะสร้างนักวิจัยไทย ควรจะปูพื้นการทำวิจัยตั้งแต่เด็กๆ อย่างช้าก็ มัธยมศึกษา

เพื่อจะให้พร้อมในการฝึกฝนอยู่กับสิ่งรอบตัวและมองเห็นสิ่งใกล้ตัวเป็นเนื้อเดียวกับการวิจัย พอถึงเวลาจะทำวิจัยจะได้ไม่ตื่นกลัว เพราะงานวิจัยก็คือการดำเนินชีวิตประจำวัน การนำเสนองานวิจัยก็เป็นการบอกเล่าสิ่งที่ค้นพบ ค้นเจอและมารับฟังข้อคิดเห็นจากมุมมองต่างๆจากคนในสาขาหรือต่างสาขาเพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป

หากเราทุ่มเทให้กับการศึกษาอย่างแท้จริงๆ ทุกๆ อย่างก็จะเกิดประโยชน์ต่อชาติในภาพรวมเอง หากจะพัฒนาการศึกษาคงต้องกัดไม่ปล่อยอย่างคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง แต่หากจะหลั่งอย่างน้ำฝนที่ตกปรอยๆ ตกแล้วหยุดก็คงไม่ได้ หรือว่าได้แต่…. อ่านต่อ »


การนำเสนอผลงานวิจัยระดับอุมศึกษา (โปรแกรมการจำลองน้ำท่วม โดยอนุรักษ์ บูสะมัญ)

อ่าน: 32552

สวัสดีครับทุกท่าน
สบายดีนะครับ หลับและตื่นเอียงไปทางเวลาเมืองไทยครับ นาฬิกาชีวะยังปรับไม่ได้ครับ ก็เลยนั่งแปลงคลิปการนำเสนองานของนักศึกษามาให้ชมครับ เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยระดับอุมศึกษา ที่งาน ไบเทคบางนา เมืองวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมาครับ
คลิกได้ที่นี่ http://www.schuai.net/VirtualFlood3D/Anurak-present.wmv

อ่านต่อ »


สมมติว่า ถ้าเขื่อนศรีนครินทร์แตก น้ำจะไหลอย่างไร?

อ่าน: 135734

สวัสดีครับทุกท่าน

สบายดีนะครับ จากเมื่อตั้งแต่สึนามิเกิดกับบ้านเมืองไทยเรา แล้วก็เกิดแผ่นดินไหวต่อที่ทางภาคเหนือ เกิดคำถามกันมากมายว่าหากเขื่อนศรีนครินทร์ชำรุดที่เกิดจากแรงแผ่นดินไหว ส่วนใดจะมีปัญหามากน้อยแค่ไหน มาจนถึงวันนี้ เราพอจะหาแนวทางการไหลของน้ำคร่าวๆ ได้ว่าเส้นทางน้ำจะเป็นอย่างไรต่อไป แล้วจะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง

เป็นโอกาสดีที่ นศ. ได้เริ่มทำโครงงานส่วนบุคคลเกี่ยวกับน้ำท่วมในกรณีต่างๆ ทั้งน้ำทะเลหนุน ฝนตกหนัก หรือกรณีเขื่อนชำรุดหรือปล่อยน้ำออกจากเขื่อน เส้นทางน้ำไหลจะเป็นอย่างไร วันนี้จะนำภาพจำลองที่ทดสอบวาดคราวๆ ว่าน้ำจะไหลเป็นเส้นทางอย่างไรจากโปรแกรมการจำลองน้ำท่วม ผลงานของนักศึกษา (อนุรักษ์ บูสะมัญ) เราได้ภาพแบบนี้ออกมาครับ

อ่านต่อ »


เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรไม่เป็นมะเร็ง

2536 ความคิดเห็น โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 17 มีนาคม 2009 เวลา 2:31 (เช้า) ในหมวดหมู่ การศึกษา, คณิตศาสตร์, แนวคิด ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 31666

สวัสดีครับทุกท่าน

สบายดีกันนะครับ ได้มีโอกาสสอนวิชาคณิตศาสตร์มาระยะหนึ่ง ทำให้ทราบว่าก่อนที่เราจะสอนวิชาใดๆ เราจำเป็นจะต้องซ่อมส่วนที่สึกหรอในใจของผู้เรียนก่อนเสมอ เพื่อปรับสภาพส่วนที่สึกหรอนั้นให้พร้อมที่จะยึดเกาะกับสิ่งใหม่ๆที่จะต่อย อดเพิ่มเติมเข้าไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเขียนหนังสือขึ้นมาหนึ่งเล่มชื่อว่า

อ่านต่อ »


เดินคนละเส้นทาง การศึกษาไทย การศึกษาเทศ

อ่าน: 3505

กราบสวัสดีงามๆ ญาติพี่น้องและท่านผู้อ่านที่ผ่านมาทุกท่านครับ

จากที่หายไปนานจนหลายๆ คนบ่นจนมาวันนี้คงบ่มอีกเรื่องมาบ่นครับ มีอยู่หลายเรื่องที่จะปล่อยออกทางบล็อกแต่ปล่อยออกไม่ทันครับ ตอนนี้กำลังรอเทคโนโลยีเบรนทูเท็กท์ (Brain to text) อยู่ครับ คือถ่ายความคิดในสมองลงเป็นตัวอักษรโดยไม่ต้องพิมพ์ อิๆๆๆ (ง่อยแน่ๆ ครับ)

หนึ่งช่วงสั้นๆ ที่กลับมาสัมผัสการศึกษาบ้านเราอีกครั้งครับ สิ่งที่ผมเห็นแปลกตาไปมากคือ สำนักติวหรือสำนักขุนสมองด้วยสูตรพิเศษต่างๆ อ่านต่อ »


แยกส่วนด้วยกฏเกณฑ์ บูรณาการด้วยใจ (Differentiation by Rules/ Integration by Hearts)

562 ความคิดเห็น โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 22 กุมภาพันธ 2009 เวลา 1:00 (เช้า) ในหมวดหมู่ การศึกษา, ลานปัญญา, แนวคิด ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 5634

สวัสดีครับทุกท่าน

สบายดีกันนะครับ วันนี้ได้มีโอกาสในการทบทวน การแยกส่วน และการบูรณาการอีกครั้งครับ ในทางคณิตศาสตร์จะมีการแยกส่วน อาจจะเรียกว่า Differentiation หรือเรียกว่า อนุพันธ์ อย่างพวก dy/dx ดีวายบายดีเอ็กซ์ เป็นการแบ่งแยก แยกส่วน ตัวกระทำดีวายบายดีเอ็กซ์นี่ก็จะกระทำักับฟังก์ชันใดๆ ผลที่ได้คือการแบ่งแยกส่วนๆ ออกจากกัน ซึ่งมีความหมายทางคณิตศาสตร์เป็นความหมายต่างๆ ขึ้นกับว่าเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงอะไรเทียบกับอะไร เป็นดั่งเหมือนการที่คนเราในสังคมแยกกันไปทำหน้าที่ของตัวเองตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง หรือว่าให้คนไปทำงานหรือแยกกันอยู่ หรือต่างคนอาจจะต่างอยู่ หรือแต่ละคนไปอยู่ในห้องของตัวเอง มีกำแพงแบ่งกั้นกันชัดเจน

กับอีกคำหนึ่งคือ คำว่า บูรณาการ หรือ Integration คำๆ นี้ เรามักจะคุ้นเคยกันดี คือการรวมหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน หากย้อนมองคนที่ถูกแบ่งแยกด้วยวิธีการขั้นต้น หากเราจะให้คนหลายๆคนที่อยู่จากที่ต่างๆ กัน มาอยู่ร่วมกัน หรือการลดกำแพงห้องให้มองเห็นตา เห็นใจ เห็นตัวกันนั้น ก็จำเป็นต้องมีเทคนิคในการบูรณาการใจของคนต่างที่ต่างถิ่นมาอยู่กันอย่างเข้าใจเขา ใจเรา เข้าใจกัน ในทางคณิตศาสตร์ เราเรียกว่า ปริพันธ์ การหาปริพันธ์ หรือการอินทิเกรตในทางคณิตศาสตร์จำเป็นต้องมีการเรียนรู้เทคนิคการอินทิเกรต หรือเทคนิคในการบูรณาการนั่นเอง มิใช่ว่าจะบูฯ กันได้ง่ายๆ ในการบริหารใจคน

ดังนั้นคำสองคำนี้ อนุพันธ์และปริพันธ์ จะมันเป็นปฏิกริยาต่อกัน เราเรียกว่า ปฏิยานุพันธ์

ในโลกแห่งความจริงของเรา จะเห็นว่าการแบ่งแยก เรามักจะใช้กฏเกณฑ์ต่างๆ ในการแบ่งแยก แยกส่วนสิ่งต่างๆ เรามักจะใช้กฏหมาย คัมภีร์ หนังสือ และกฏต่างๆ ในการแบ่งแยก ลองสังเกตดูครับ ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เรามองหาความต่าง เราอาจจะหาความเหมือนไม่เจอเลย

ส่วนการอินทิเกรตหรือบูรณาการ เราจำเป็นต้องใช้หัวใจในการบูรณาการ ต้องใช้เทคนิคในการรวมคนบริหารใจคน มิใช่จะบริหารใจคนด้วยเพียงแค่กฏเกณฑ์เท่านั้น กฏเกณฑ์อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ

ดังนั้น การแยกส่วนจะดูเหมือนง่าย แต่บูรณาการจึงมิใช่เป็นเรื่องง่าย ที่จะทำได้แค่คำสั่งหรือนโยบายครับ….

แยกส่วนด้วยกฏเกณฑ์ บูรณาการด้วยใจ (Differentiation by Rules/ Integration by Hearts)

ด้วยมิตรภาพ

เม้ง


สมาร์ทเลกเชอร์ การเรียนการสอนแนวใหม่…

541 ความคิดเห็น โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 19 กุมภาพันธ 2009 เวลา 8:43 (เย็น) ในหมวดหมู่ seminar, การศึกษา, ลานปัญญา, แนวคิด ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 6528

สวัสดีครับทุกท่าน

สบายดีกันนะครับ วันก่อนผมได้มีโอกาสอบรมบุคลากรเกี่ยวกับการเรียนการสอนแนวใหม่โดยการบูรณาการเทคโนโลยีให้เข้ากับยุคปัจจุบันและบูรณาการอดีตให้เข้าถึงพร้อมในการรับรู้ของเด็กแบบเขียนไปพร้อมๆ กันกับผู้เรียน

กระดานดำ –> กระดานขาว –> เครื่องฉายแผ่นใส –> เครื่องฉายแผ่นทึบ –>เครื่องฉายฝาผนัง Projector –> กระดานปากกาเขียนหน้าจอคอมพิวเตอร์ –> พูดสดๆ คอมพิวเตอร์เขียนให้เอง ตามฟอนต์รูปแบบต่างๆ –> อื่นๆ

ผมมีแผ่นสไลด์มาให้ท่านดูๆ กันครับ ดาวโหลดได้ที่นี่ครับ http://www.schuai.net/books/SmartLecture.ppt

มีอะไรแลกเปลี่ยนกันได้ตามสบายครับผม

ด้วยมิตรภาพครับ

สมพร ช่วยอารีย์

ภาพบรรยากาศในการอบรมครับ


บรรยากาศในห้องเรียนวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ (แนวทางสมาร์ทเลกเชอร์)

826 ความคิดเห็น โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 14 กุมภาพันธ 2009 เวลา 9:07 (เช้า) ในหมวดหมู่ การศึกษา, ลานปัญญา, แนวคิด ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 5409

สวัสดีครับทุกท่าน

สบายดีกันไหมครับ พอดีได้ลองเล่นเทคโนโลยีใหม่ในการเขียนหน้าจอผ่านโปรแกรมด้วยอุปกรณ์ในการเขียนสดๆ ต่อเข้าโนตบุคแล้วส่งผลอออกโปรเจคเตอร์ โดยที่คนสอนก็เห็น นศ.ทั้งในหน้าจอและเห็น นศ.จากในห้องจริง โดยไม่ต้องหันหลังไปดูว่า ที่เขียนตกขอบจออย่างที่เคยใช้แผ่นใส หรือเครื่องฉายแผ่นทึบ ไม่ต้องเขียนกระดานดำให้ผงชอล์คฟุ้งเข้าจมูกหรือว่ากระทบจากกลิ่นหมึกปากกาไวท์บอร์ดให้แสบจมูกครับ

มาลองดูตัวอย่างนะครับ ตัวอย่างการสอนวิชาสมการเชิงอนุพันธ์

การอัดคลิปไว้จากที่สอนสดๆ ก็อัพโหลดให้ นักศึกษาเข้าไปทบทวนได้ต่อในห้องเรียนเสมือน Virtual Classroom ได้ต่อครับ ซึ่งหวังว่าอาจจะเป็นทางหนึ่งให้ นศ.พัฒนาและฝึกตนเองได้มากขึ้น

คุณคิดเห็นเป็นอย่างไร ร่วมแสดงความเห็นไว้ได้นะครับ

ด้วยมิตรภาพครับ



Main: 0.062232971191406 sec
Sidebar: 4.2854840755463 sec