การระดมความคิดของวช.”การปฏิรูปการศึกษา”

โดย ลูกหว้า เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2009 เวลา 20:46 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 30053

ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเรื่อง”การกำหนดหัวข้อการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2553-2554″ ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ย. 2552 ณ โรงแรมมิราเคิล  แกรนด์ คอนเวนชั่น  กรุงเทพมหานคร   ในหัวข้อเรื่อง  การปฏิรูปการศึกษา มีวิทยากร 3 ท่านได้แก่ ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาการศึกษา  ดร.รุ่งเรือง  สุขาภิรมย์ กระทรวงศึกษาธิการ  รศ.ทองอินทร์  วงศ์โสธร  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ท่านวิทยากร กล่าวว่า…กลไกการศึกษาแยกแยะคนดีคนชั่วไม่ได้  แยกแยะความจริงกับความคิดเห็นไม่ได้   สังคมที่เราต้องการคือ…. สังคมสันติภาพ  ระเบียบกระบวนการศึกษาความขัดแย้ง   เรื่องสื่อมีอิทธิพลมาก ทำอย่างไรให้รู้เท่าทันสื่อและมีทักษะความรู้เรื่อง ICT ด้วย

เป้าหมายในการปฏิรูปรอบแรก    คนเราควรมีความถึงพร้อมด้วยสุขภาวะ 4 ประการ(กาย  จิต  สังคม  ปัญญา)

ครองคุณสมบัติของความเป็นคน “เก่ง-ดี-มีสุข”

“เก่ง”  หมายถึง การ “รู้/เข้าใจ-คิด-ทำ”

“ดี”  หมายถึง การมี “ศีล-สมาธิ-ปัญญา” และ”มัชฌิมาปฏิปทา”

“มีสุข” หมายถึง  “สุขกับตัวเอง  คนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม”

ต้องเป็นเรื่องการรู้  ความเข้าใจ   นิยามนี้ต้องมานั่งทบทวน  พอพูดถึงเก่ง ก็ O-NET พอไม่ดีก็เครียด  มาโทษว่าสมรรถนะการแข่งขันไม่ดี  ข้างนอกมีแหล่งเรียนรู้มาก แต่เวลาสอบเน้นวิชาการ

ปัญหาความล้มเหลวของการศึกษา

ปัญหาเกี่ยวกับครู ปัญหาที่แก้ไขได้โดยการวิจัยต่อไปในอนาคต

- การขาดแคลนครู                  - ขาดแคลนครูเฉพาะสาขา

- คุณภาพและมาตรฐานครู         - การผลิตครูยุคใหม่ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ปัญหาด้านการจัดการศึกษา

- การพัฒนาหลักสูตร               -  การจัดทำหลักสูตรที่ยึดความดีเป็นตัวตั้ง

- ความสมบูรณ์ของหลักสูตร    -  ปัญหาความคล่องตัวในการปรับหลักสูตรให้ทันสมัยเหมาะสมกับสังคม

- การจัดการเรียนการสอน       -  ปัญหาการขาดสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

เราให้ความสำคัญกับความรู้เก่งมาก ก็แสวงหาอำนาจ เงินตรา ยิ่งสร้างตนเองให้มี power  จึงต้องเปลี่ยนการพัฒนารหัสใหม่ให้ความดีเป็นตัวตั้ง  การอยู่ร่วมกันให้ได้ การแสวงหาความรู้  พัฒนาความดี   หาช่องทางให้เกิดความรู้เพื่อนำไปสู่ในการพัฒนาสังคม  กระบวนการศึกษาของเราต้องเน้นความดีเป็นตัวตั้ง

เราจะจัดการศึกษาอย่างไรต้องวิจัย  ครูรุ่นใหม่ควรใส่จิตวิญญาณของการพัฒนาแนวคิด   มีงานวิจัย McKinsey กับประเทศต่างๆ ตรงไหนดีไม่ดี เลือกที่มี best  practice 20-30 ประเทศได้ข้อสรุปว่าคุณภาพการศึกษาก็คือ คุณภาพครู

งานวิจัยของ McKinsey  และคณะ(2007) ได้ข้อสรุปว่า…

- การศึกษาที่ดีมาจากคุณภาพของคนที่มาเป็นครู

- คุณภาพการศึกษาไม่มีทางเกินคุณภาพครู

- ต้องสร้างความมั่นคงในระบบและกลไกลที่จะทำให้ครูสอนผู้เรียนทุกคนดีที่สุด

-  วางระบบการคัดคนที่เหมาะสมมาเป็นครู

-  สร้างแรงเสริมให้คนเก่ง/ดีเป็นครู

-  ผลิตและพัฒนาครูให้มีทักษะความสามารถในการพัฒนาคน

ทำอย่างไรจะรักษาครูเก่งๆให้คงอยู่…..

หลักกระบวนการขัดเกลาทางสังคมและการเรียนรู้ทางสังคม(Social learning)

กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมกับจิตวิทยาซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการ      ทำให้ผู้ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มได้เรียนรู้และรับระเบียบวิธีกฏเกณฑ์ความประพฤติและค่านิยมต่างๆที่กลุ่มได้กำหนดไว้เป็นระเบียบของความประพฤติและความสัมพันธ์ของสมาชิกของสังคมนั้น

สมาชิกของสังคมจะต้องผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมตลอดชีวิตทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพตามความต้องการของสังคม  มีความเป็นคนไทยโดยแท้จริง  สามารถอยู่ร่วมและมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น

วิจัยเพื่อพัฒนาคนเป็นงานวิจัยหลัก พยายามผลักดัน งานวิจัย R&D ที่เน้นการใช้ปัญญาแก้ปัญหาการขัดแย้งในสังคม    ต้องแสกนกลุ่มเสี่ยง  กลุ่มเป้าหมายในแต่ละสังคม  ในสิบปีข้างหน้าเราจะปลอดอะไรบ้าง เช่นการอ่านหนังสือไม่ได้  ตำบลเรา จังหวัดเรา  ภูมิภาคเรามีมั้ย  จนนำไปสู่ระดับชาติ

การพัฒนาคนระดับนโยบาย

- การวิจัยและพัฒนารูปแบบการใช้ปัญญาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม

- การวิจัยเพื่อสำรวจปริมาณและพัฒนาคนไทยให้มีระดับจิตใจสูงขึ้นตามรหัสใหม่ของการพัฒนา(ยึดความดีเป็นตัวตั้ง)

- การวิจัยนโยบายเพื่อวางระบบการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนไทยที่มีประสิทธิผล

การพัฒนาระบบการศึกษา

- การประเมินเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง/จุดอ่อนในทุกขั้นตอนของระบการจัดการศึกษา   (เช่น การเรียนการสอนเน้น”การคิด” แต่การประเมิน เน้น “การจำ”) ระบบการปฏิรูปไม่เปลี่ยน

- การวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการศึกษาแบบองค์รวมที่เน้นกระบวนการขัดเกลาทางสังคม/ทักษะการเรียนรู้ทางสังคม

- การพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาทุกระบบ

การปฏิรูปการศึกษาแต่ระบบการประเมินยังไม่เปลี่ยน  การคิดเชิงทักษะชีวิต การโยงความรู้ไปใช้ในห้องเรียน  แต่ไม่มีการคิดให้เขามีความสุข   คนทำวิจัยเรื่องครู  ระบบการผลิตครู  เรารู้ว่าคนเก่งไม่มาเรียนครู   มีการพูดว่าให้เพิ่มเงินเดือน  แต่ถึงเพิ่มไปคนเก่งก็ไม่มาเรียน สามารถไปประกอบอาชีพอื่นได้

คนเก่งที่มีไอคิวสูง  เขาก็ไม่สามารถทนกับการมาอธิบายผู้เรียนระดับปกติให้เข้าใจได้  เพราะเขาก็จะสามารถพูดคุยได้แต่คนที่มีไอคิวระดับเดียวกันเท่านั้น   การดึงคนเก่งมาเป็นครูอย่าคิดมิติเดียวว่าขึ้นเงินเดือน  ลองหากลยุทธ์ที่คนเรียนไม่เก่งมาก แต่รักจะเป็นครูคนเรียนครูแต่อยากประกอบอาชีพครู 60%  เป็นคนต่างจังหวัด อีก 40% ไปทำอาชีพอื่น

ควรมีการวิจัยระบบต่อยอดสายวทบ.ดึงให้มาเป็นครู  แต่กลายเป็นว่าเด็กเปลี่ยนไปเรียนสายอาชีพมากขึ้น  นับวันจะหาคนที่เก่งฟิสิกส์ยากขึ้น

ครูวางเป้าหมายมาตรฐานเด็กระดับไหน  แล้วถึงเป้ามาตรฐานหรือยัง ต่อไปต้องนำข้อสอบ O-NET มาให้อาจารย์วิเคราะห์ว่าข้อสอบดีไม่ดีอย่างไร ไม่มีใครที่จะรู้ได้ดีกว่าครู

การพัฒนาคุณภาพครู

1. การวิจัยเพื่อปรับปรุงสมาคมวิชาชีพครูให้มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล

2. การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการผลิตครู(มีกลยุทธ์ที่ดีในการดึงคนเก่งมาเรียนครู)

3. การวิจัยและการแก้ปัญหาสุขภาวะทางอาชีพของครู(occupational  well-being)

4. การวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายครูในการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาชีพ

5. การวิจัยและพัฒนาศาสตร์การสอน  เทคโนโลยีการศึกษาและการประเมินที่มีประสิทธิภาพสำหรับครู

6. การพัฒนากระบวนการผลิตครูที่เป็นระบบต่อยอดจากปริญญาตรีสาขาวิชาการ

การแก้ปัญหาความยากจน

- การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- การพัฒนาชุดฝึกอบรมการแก้ปัญหาทางสังคมด้วยตนเอง

- การวิจัยเพื่อหาแนวทางการยกระดับจิตใจของคนไทย

- การวิจัยเพื่อหามาตรการกระจายรายได้สู่สังคมชนบทผ่านกิจกรรมทางการศึกษา

การพัฒนาทางเทคโนโลยี

1.การวิจัยเพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติทางสังคม

2.การพัฒนาคนไทยให้มีความรู้ที่จำเป็นด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร(ICT Literacy)

3.การพัฒนาแนวทางการปฏิรูประบบการผลิตเทคโนโลยีการสื่อสาร(ทั้งการพัฒนาที่ตัวผู้ผลิตและการพัฒนาที่ตัวเทคโนโลยี)

4.การวิจัยและพัฒนามาตรการควบคุมการเผยแพร่ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

5.การวิจัยเพื่อสำรวจปริมาณและพัฒนาคุณภาพจิตสำนึกสาธารณะของนักสื่อสารมวลชน

ควรมีงานวิจัยที่ยกระดับคุณภาพการศึกษาสื่อสารมวลชนด้วย

ตัวอย่างโจทย์วิจัย

1.  การพัฒนา “ครูดี มีความรู้”

2.  การพัฒนาหลักสูตรตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมสันติสุข  หลักสูตรแบบนี้หน้าตาอย่างไร

3.  การพัฒนาสื่อการสอนและตำรา ควรมาเทียบสื่อก่อนปฏิรูปและหลังปฏิรูปว่าผลิตตำราเปลี่ยนไปหรือเปล่า

4.  การปฏิรูประบบการผลิตครู

5.  ทิศทางการพัฒนากำลังคนในอนาคต

6.  การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อการใช้ชีวิตในสังคม

7.  การพัฒนาคนรุ่นใหม่โดยใช้กระบวนการขัดเกลาทางสังคมและการเรียนรู้ทางสังคม

8.  การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ประชาธิปไตย   ตอนนี้มีวิธีการสอนแบบหนึ่งที่ให้เด็กได้ใช้ประชาธิปไตยในเรียน  คือผู้สอนใช้การสอนที่เด็กมีสิทธิมีเสียงในการเรียน

9.  การสร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทยพอเพียง

10. การพัฒนาคนเพื่อสรรค์สร้างสังคมสันติ  วิถีไทย

11. การปฏิรูปการศึกษาเน้นการพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น

12. พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อการใช้ชีวิตในสังคม

13. การพัฒนาหลักสูตรเน้นการสอนคิดมากกว่าการสอนความรู้

14. การพัฒนาระบบประเมินผู้เรียนทุกระดับให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการพัฒนานโยบาย

15. การพัฒนาระบบการประเมินผู้เรียนที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่

จะทำอย่างไรที่ข้อสอบไม่ได้วัดแต่ความรู้ แต่วัดกระบวนการเรียนรู้อย่างแท้จริง

หมายเหตุ: ข้อมูลทั้งหมดถอดมาจากการบรรยายของวิทยากรก่อนการระดมความคิดเพื่อพัฒนาโจทย์วิจัย   อาจมีบางส่วนที่ไม่ได้นำเสนอบ้างเพราะข้อมูลค่อนข้างมาก

« « Prev : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมู่บ้านปางจำปีตอนที่ 3

Next : พักใจริมแม่น้ำโขง….เมืองโบราณเชียงคาน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6866 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 9.0380339622498 sec
Sidebar: 0.062155961990356 sec