การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมู่บ้านปางจำปีตอนที่ 3

โดย ลูกหว้า เมื่อ 2 มกราคม 2009 เวลา 20:04 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 7561

คณะกรรมการหมู่บ้านได้อนุมัติเงินจากกองทุน SML มา 200,000 บาทในการสร้างอุทยานการเรียนรู้บ้านปางจำปีขึ้น ชื่อ “บ้านวังปลา”

ซึ่งก่อสร้างโดยใช้ไม้ไผ่เป็นความร่วมมือกันของชาวบ้าน  โดยชาวบ้านจะนำไม้ไผ่มาหลังคาเรือนละ 10 เล่ม ใช้เวลาสร้างรวม 4 เดือน มีพิธีเปิดเมื่อเดือน พฤษภาคม 2548

ที่บ้านวังปลานั้นประกอบด้วยสวนสมุนไพร แปลงสาธิต เขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา”วังปลา” น้ำตกท่าบันได ตลอดจนภูมิปัญญาเรื่องการจัดการน้ำริน ฝายแม้ว

ซึ่งถ้าผู้มาเยี่ยมเยียนอยากมีเวลาศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มากขึ้นก็สามารถพักที่บ้านพักรับรองได้ประกอบด้วยกัน 4 ห้องนอน มีห้องน้ำในตัว มีพื้นที่สำหรับนั่งแลกเปลี่ยนเป็นหมู่คณะ

ห้องพักมี 4 ห้องนอน พร้อมห้องน้ำในตัว

ทางพ่อหลวงบอกว่า….มีการแบ่งกลุ่มกันในหมู่บ้านเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลความรู้ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน กลุ่มองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากร

อาหารธรรมดา แกงจืด น้ำพริกกะิปิ ไำ้ำก่ทอดตะไคร้ แต่รู้สึกอร่อยจริงๆ

อาหารธรรมดาแกงจืด  น้ำพริกกะปิ  ไก่ทอดตะไคร้ แต่อร่อยจริงๆ

มีกลุ่มแม่บ้านสำหรับดูแลห้องพักและทำอาหารรับรองซึ่งจะสลับสับเปลี่ยนกันมาทำ อาหารธรรมดาๆแต่อร่อยจังเลยค่ะ ไม่รู้ว่าเหนื่อยกันหรือเปล่า ดูจากโตกของผู้เขียนได้ว่าเหลืออะไรบ้าง…

กลุ่มรักษาความปลอดภัย มีการเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมคือกลุ่มมัคคุเทศก์น้อยพาเดินป่าศึกษาธรรมชาติ และกลุ่มการคลัง

บริเวณน้ำตกท่าบันได
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งหมดก่อให้เกิดรายได้เข้ามาหมุนเวียนในหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆก็สามารถเข้ามาร่วมเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

การทำฝายแม้วบริเวณน้ำตกท่าบันได

ซึ่งมีทีมนักวิจัยท่านหนึ่งซึ่งเสียดายที่ผู้เขียนไม่ได้เจอคือ..คุณธนากรกล่าวไว้ว่า…..
“เราไม่ได้ขายทรัพยากรธรรมชาติ แต่เราขายวิธีการเรียนรู้ วิธีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ”

ความประทับใจเล็กๆในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงที่หมู่บ้านปางจำปี แต่ผู้เขียนรู้สึกอิ่มเอิบใจกับผลของงานวิจัยที่เกิดขึ้น งานวิจัยหลายชิ้นล้มเหลวเพราะนักวิชาการเข้าไปช่วยคิด ช่วยจัดการชุมชนมากเกินไป โดยไม่ได้มองจากความต้องการจริงๆของชุมชน แต่สำหรับที่นี่งานวิจัยเกิดจากการเข้าไปชี้แนะของนักวิชาการ ทำให้ชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมแรงร่วมใจกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้และมีการจัดการทรัพยากรธรรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
สำหรับข้อเสนอแนะที่ชุมชนฝากไว้คือ นักวิชาการที่คิดจะเข้าไปทำวิจัยชุมชนควรจะมีตัวกลางที่สามารถเชื่อมกันได้ระหว่างชาวบ้านและนักวิชาการ เพราะนักวิชาการเองก็คุยกับชาวบ้านไม่รู้เรื่อง ส่วนชาวบ้านก็ไม่รู้จะสื่อสารกับนักวิชาการอย่างไร และที่สำคัญงานวิจัยควรเกิดจากความต้องการจริงๆของชุมชน

« « Prev : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หมู่บ้านปางจำปี ตอนที่ 2

Next : การระดมความคิดของวช.”การปฏิรูปการศึกษา” » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1252 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 2.7606928348541 sec
Sidebar: 0.11142015457153 sec