โปรแกรมเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเพื่อเสริมศักยภาพจิตอาสา

โดย khajitf เมื่อ 24 ตุลาคม 2010 เวลา 8:49 (เช้า) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 2611

วันนี้ผู้เขียนอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาครครับ      วันนี้ดีใจที่จะได้ทำความดีเพราะโรงพยาบาลสมุทรสาครร่วมกับ เทศบาลตำบลนาดีได้จัดโปรแกรมเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเพื่อเสริมศักยภาพจิตอาสาในวันที่23-24 กันยายน 2553 ผู้เข้าร่วมประชุมเป็น ผู้ป่วยเบาหวานและ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรวม  80 คน

  

  พี่ครูต้อยกับพี่ปราณีหรือพี่มดได้ชวนไว้นานแล้ว โปรแกรมนี้เป็นการสร้างแกนนำจิตอาสาให้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน พี่มดบอกผู้เขียนว่า ที่ใดสนใจต้องการสร้างแกนนำเรื่องจิตอาสาให้ติดต่อพี่มดได้เลย(พี่มดน้องขอค่าโฆษณาให้ gotoknow ด้วย ฮา)

  

  ผู้เขียนคิดว่าการสร้างแกนนำจิตอาสาให้ผู้ป่วยเบาหวานดูแลตนเองและช่วยดูแลสมาชิกท่านอื่นๆเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการสร้างความเอื้ออาทรของความเป็นมนุษย์ การสร้างเครือข่าย(Network)การแลกเปลี่ยนข้อมูล(Sharing) การดูแลรักษาเบาหวานในกลุ่มผู้ป่วยเองเพื่อลดภาระการมารักษาที่โรงพยาบาลบ่อยๆ

  

ตอนนี้ผู้เขียนขอเอาตารางมาให้ดูก่อน

  

  

วันที่ 23 ก.ย  25537.00-8.00น.  ลงทะเบียน

  

วิทยากร
8.30-9.00น. กิจกรรมรู้รักกัน   อาจารย์พูนสุข  โอ่เอี่ยมคุณพัชรี  สุวรรณ์

คุณลัดดา ปุกกอง

  

9.00-10.00น. Deep  listening   โดย ดร.ขจิต ฝอยทองคุณสุจินดา ไชยพยอม

ภญ.สุภางค์ พิรุณสาร

  

10.00-10.10น.        อาหารว่าง     
10.10-12.00น.        สรุปบทเรียน                                            โดย ดร. ขจิต ฝอยทอง อาจารย์พูนสุข  โอ่เอี่ยม และภญ. ปราณี  ลัคนาจันทโชติ
12.00-13.00น.        อาหารกลางวัน   
13.00-13.20น.        ผ่อนพักตระหนักรู้   โดย ดร.ขจิต ฝอยทองคุณสุจินดาไชยพยอม

ภญ.สุภางค์ พิรุณสาร

  

  

13.20-14.00น.        กิจกรรมหอคอย (ฝันของผู้ป่วย)    โดย ดร. ขจิต ฝอยทองอาจารย์พูนสุข  โอ่เอี่ยม    ภญ. ปราณี  ลัคนาจันทโชติ และคุณอรชร  อ่อนโอภาส
14.00-14.10น.        อาหารว่าง     
14.10-16.00น.        ถอดบทเรียน     โดย ดร. ขจิต ฝอยทองอาจารย์พูนสุข  โอ่เอี่ยม    ภญ. ปราณี  ลัคนาจันทโชติ และคุณอรชร  อ่อนโอภาส

  

 

ตอนเช้าพี่ครูต้อย พี่มดและผู้ป่วยเบาหวานทำพิธีมอบธงให้แก่ ผอ.โรงพยาบาล เพื่อเป็นการทำความดีในการป้องกันตัวเองและช่วยเหลือผู้อื่นจากเบาหวาน

พี่ครูต้อย พี่มดและทีมทำงานกล่าวรายงานท่านรองนายกเทศบาลตำบลนาดีมาเปิดงาน

กิจกรรมก่อนการฝึกการฟัง

กิจกรรมสนุกๆก่อนการฝึกฟังครับ

  

   ขอบคุณมากครับที่เข้ามาอ่าน  เอาภาพมาให้ดูนะครับ…

วันนี้ผู้เขียนขอเขียนต่อจากบันทึกนี้นะครับ วันนี้อยู่กับพี่ครูต้อย พี่มด และเจ้าหน้าที่ที่น่ารักขยันทำงานของโรงพยาบาลสมุทรสาคร เจ้าที่หน้าของเทศบาลตำบลนาดีและผู้ป่วยที่จะเป็นจิตอาสาเรื่องเบาหวาน

 Large_samutsakorns8 

  

       เมื่อวานตอนทำ deep listening หลังจากที่ผู้เขียนเล่นเกมเพื่อดึงความสนใจกลับมาสู่การการดำเนินกิจกรรม ตอนแบ่งกลุ่มพบว่ามีพื้นที่ค่อนข้างน้อย (หลังจากทำAAR มีเจ้าหน้าที่แสดงความคิดเห็นด้วยเช่นกัน) เสียงในแต่ละกลุ่มไปรบกวนผู้ที่กำลังคุยกันอยู่ แต่ผู้เขียนเองคิดว่าเป็นการฝึกที่ใช้ได้ถึงแม้นว่าจะเป็นการเริ่มต้น

 Large_samutsakorns7 

       ตอนสรุปกิจกรรมว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างพบว่าได้ข้อมูลที่หลากหลาย พี่ครูต้อยเขียนสรุป mind mapping ได้อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นก็แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ อยู่ดี กินดี มีสุขและพอเพียง โดยให้ผู้ป่วยที่จะเป็นจิตอาสาได้เรียนรู้เรื่องของอาหารเช่นฐานกินดี ก็ได้เรียนรู้เรื่องอาหารในแต่ละหมู่ คนไข้เบาหวานควรกินอาหารประเภทใดบ้าง ในอัตราวันละเท่าไร เพื่อให้จิตอาสาได้ดูแลตนเองและนำไปช่วยเหลือผู้อื่นด้วย

Large_samutsakorns9 

       ผู้เขียนชอบฐานนี้ เพราะเคยเห็นแม่ออกกำลังกาย ฐานนี้เป็นการออกกำลังกายด้วยยาง และฮูราฮูป ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่มีหลายท่ามาก ไม่ต้องใช้พื้นที่มากนัก เหมาะสำหรับคนป่วย ลองดูท่าการออกกำลังกาย เผื่อสมาชิกชอบจะเอาไปออกกำลังกายบ้าง

Large_samutsakorns10 

       ฐานต่อไปเป็นฐานการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ผู้เขียนชอบตอนทำ สปาเท้า  (ไม่ใช่นวดหน้าด้วยฝ่าเท้านะ ฮา) มีท่าที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การดูแลรักษาเท้าในกรณีที่เป็นเบาหวาน

Large_samousakorns11 

       ฐานสุดท้ายเป็นที่หวาดเสียวของคนที่เป็นเบาหวานบางท่าน เนื่องจากเป็นบานเจาะเลือดเพื่อเช็คดูน้ำตาล เมื่อจิตอาสาเบาหวานออกไปชุมชนจะได้เจาะเลือดผู้ป่วยคนอื่นๆได้ นพ. สิทธิพร ห่อหริตานนท์ อยู่ให้ความรู้ในฐานนี้ด้วย

Large_samutsakorns12 

       ในเวลาสุดท้าย น้องแม่สีได้ให้แต่ละกลุ่มสรุปว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง มีอะไรที่จะเอาไปทำต่อไป  ผู้เขียนใช้โปรแกรมแต่งรูป สรุปกิจกรรมทั้งวันออกมาเป็น music video ว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง

       เมื่อทำ AAR กันตอนที่กลุ่มจิตอาสากลับไปแล้วพบว่า

ตอนลงทะเบียนมีปัญหาเล็กน้อย เนื่องจากชื่อไม่ตรงกันคนที่มา พี่มดเลยเสนอว่าให้เช็คชื่อตอนที่อยู่บนรถ

กิจกรรมตอนที่มอบธงให้ผอ.หน้าโรงพยาบาลทุกๆคนตกใจและบอกว่าฉุกละหุกเกินไป พี่ต้อยบอกว่าต้องการให้ตื่นเต้น

กิจกรรม deep listening น้องเภสัชกรบอกว่าใช้เวลามากไป คำสั่งไม่ชัดเจนและมีพื้นที่สำหรับการคุยน้อย (ห้องแคบไป) เลยมีเสียงรบกวนคนข้างๆ

คุณแหม่มอยากให้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นว่า ผู้ป่วยจะต้องมีบทบาทที่ชัดเจนว่าเป็นจิตอาสาได้…

       วันนี้น้อง Dr. Pop มาจัดกิจกรรมสมาธิบำบัด ผู้เขียนพี่ครูต้อยและพี่มดจะจัดกิจกรรมอีกหลายอย่างรออ่านนะครับ…

  

                  อ่านเพิ่มเติมได้ที่บันทึกพี่ครูต้อยบันทึกนี้ครับ

                           อ่านได้ที่บันทึกพี่มดบันทึกนี้ครับ

วันนี้ผู้เขียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ติดค้างบันทึกไว้เลยขอเขียนต่อจากบันทึกนี้นะครับ ตอนเช้าผู้เขียนมาที่ประชุม พี่ครูต้อย พี่มด และเจ้าหน้าที่พร้อมที่จะทำกิจกรรมแล้ว คุณหมอนพ. สิทธิพร ห่อหริตานนท์บรรยายเรื่อง เส้นทางแห่งสุขภาวะที่ดีและยั่งยืน

พี่ครูต้อยเริ่มกิจกรรมสัมพันธ์กายและใจพร้อมกับคุณพัชรี สุวรรณ์และคุณลัดดา ปุกกองโดยแบ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นสองกลุ่มเพื่อฝึกกิจกรรมสัมพันธ์กายและใจ

เมื่อรวมกันเสร็จก็แจกอุปกรณ์สำหรับทำหอคอย(แผนชีวิตพิชิตเบาหวาน) ให้แต่ละกลุ่มออกแบบหอคอยที่สูงที่สุดและแข็งแรงที่สุด อาม่าพี่มดก็มาร่วมกิจกรรมด้วย คนใส่เสื้อสีน้ำตาลนั่นแหละ คนวางแผนเลย(ฮา) ตอนทดสอบความแข็งแรงพี่มดใช้กระดาษพัด 5 ครั้งไม่ล้ม ผู้เขียนใช้ถาดขนาดใหญ่พัดครั้งเดียว ของบางกลุ่มกระเด็น(ฮา) หลังจากนั้นก็ช่วยกันสรุปกิจกรรมว่าได้เรียนรู้อะไรจากการสร้างหอคอยบ้าง

เมื่อทานข้าววันเสร็จพบว่ามีหลายท่านเข้ามานอนแล้ว (ฮา) เลยยังไม่ได้บอกสักหน่อย คงเกิดการเรียนรู้จากเมื่อวานเลยทำกิจกรรมผ่อนพักตระหนักรู้และนวดคลายเครียด(อ่านจุดประสงค์การดำเนินกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและการประเมินกิจกรรม  ได้ที่นี่ครับ )

หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มก็ไปวัดความดัน ผู้เขียนก็ไปวัดความดันพร้อมกับพี่เภสัชและคณะทำงานทุกๆๆท่าน เพราะ น้อง Dr. Pop จะสอนสมาธิสำหรับการบำบัดโรคตอนบ่าย

ตอน น้อง Dr. Pop สอนผู้เขียนเสียดายไม่ได้ถ่ายภาพไว้เพราะว่า ปฏิบัติกิจกรรมด้วย ผู้เขียนและสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การฝึกสมาธิหลายแบบมาก นอกจากนั้นยังฝึกการกำหนดลมหายใจ การจับชีพจร  เสียดายเวลาค่อนข้างน้อย…แต่เมื่อวันความดันครั้งหลังลดลงกว่าครั้งแรกเกือบทุกคนรวมทั้งผู้เขียนด้วย(ผู้เขียนเหลือแต่ความดันทุรังสูง ฮา)

ตอนก่อนจะเลิกกิจกรรมก็มีการเขียนพันธะสัญญากันและรับมอบเป็นที่ระลึกจากการร่วมกิจกรรม หลังจากนั้นก็ถ่ายภาพรวม กิจกรรมนี้เป็นเพียงกิจกรรมเริ่มต้นของการสร้างจิตอาสา ผู้เขียนได้เรียนรู้กิจกรรมหลายอย่างจากเจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมท่านหนึ่งเขียนกลอนไว้ ขอไปหาก่อนแล้วจะเอามาให้อ่าน รอดูกิจกรรมนี้ต่อไปนะครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…

 

                  อ่านเพิ่มเติมได้ที่บันทึกพี่ครูต้อยบันทึกนี้ครับ

                           อ่านได้ที่บันทึกพี่มดบันทึกนี้ครับ

 บันทึกใหม่พี่ครูต้อย 1

 บันทึกน้อง Dr.Pop

« « Prev : ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์:แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี(1)


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "โปรแกรมเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเพื่อเสริมศักยภาพจิตอาสา"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.67018294334412 sec
Sidebar: 0.45597290992737 sec