ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์:แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี(1)

โดย khajitf เมื่อ 14 กันยายน 2010 เวลา 5:00 (เย็น) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 4319

ตอนนี้ผู้เขียนอยู่มหาวิทยาลัย ห่างหายการบันทึกนาน ฮ่าๆ เอาเรื่องที่อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีมาฝาก  มีเตรียมการถอดบทเรียนของบ้านน้ำทรัพย์ อำเภอแก่งกระจานของท่าน ผอ.สุนันทา พี่ครูต้อยคงกำลังเดินทางมาร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรมวันนี้ด้วย

    วันนี้เข้าใจว่าจะมีชาวบ้าน ครูกศน.ของอำเภอแก่งกระจาน และผู้เข้าร่วมประชุมจากที่ต่างๆมาเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เขียนในเรื่องการจัดการความรู้(Knowledge management)  วันนี้ตั้งใจเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator) เพื่อให้ครูกับชาวบ้านของหมู่บ้านน้ำทรัพย์ได้นำเอากระบวนการไปใช้ในการถอดบทเรียนที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์

   ผู้เขียนได้เตรียมเอกสาร สำหรับคู่มือการถอดบทเรียนสำหรับวิทยากรกระบวนการไว้ที่นี่ครับ  หน้าปกและคำนำที่นี่

               เอาภาพห้องประชุมก่อนทำกิจกรรมมาให้ดูก่อน ครั้งแรกเป็นห้องแบบมีระเบียบ ผู้เขียนจัดใหม่เป็นแบบนี้

วันที่ 4 สิงหาคม 2553

 

08.00-08.30  -ลงทะเบียน

08.30-09.00  -พิธีเปิด

09.00-10.30  -การถอดบทเรียนคืออะไร

                   -ความสำคัญของการถอดบทเรียน

                   -วงจรการถอดบทเรียน               

10.30-10.45 เบรคเช้า(Morning break)

 

10.45-12.00 -การพัฒนาทีมของวิทยากรกระบวนการ

                   -ความสำคัญของวิทยากรกระบวนการ

                   -บทบาทวิทยากรและการประยุกต์ใช้

                   -การพัฒนาทักษะวิทยากรกระบวนการ

                   -บทบาทวิทยากรกระบวนการในการถอด

                     บทเรียน

12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน(Lunch Time)

 

13.00-14.00 - การดำเนินการถอดบทเรียน

                   - การสร้างบรรยากาศในการถอดบทเรียน

                   - การกำหนดกติกา

                   - การจัดกิจกรรมเสริมพลัง

                   - การนำเข้าสู่ประเด็นในการถอดบทเรียน

                   - การสรุปการถอดบทเรียน

 

14.00-15.30 -เครื่องมือและเทคนิคสำหรับใช้ในการ

                     ถอดบทเรียน

                   - แผนที่ความคิด(Mind mapping)

                   - Word café

                   - การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ

                     (After Action Review :AAR)

                   - การสะท้อนกลับ (Reflection)

15.30-16.30  -ฝึกปฏิบัติจริงและประเมินผล(Evaluation)

18.00-21.00 น. -กิจกรรมภาคกลางคืน

 

    ตอนนี้ผู้เขียนรอพี่ครูต้อย และรอไปที่อุทยานฯแก่งกระจาน   จะเอาภาพกิจกรรมมาให้ดูนะครับ  ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…

 ตอนนี้ผู้เขียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นะครับ วันนี้มีชาวบ้านจากหมู่บ้านน้ำทรัพย์มาอบรมเรื่องมะนาวกับคุณสามารถ ผู้เขียนโชคดีได้มีโอกาสได้คุยกับท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี เลยได้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานวิชาการและลงชุมชนเพิ่ม นอกจากนี้ยังได้คุยกับท่านรองฯผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อนด้วย เอาภาพมาให้ดูก่อน

  ผู้เขียนขอเขียนบันทึกต่อจากบันทึกนี้นะครับ  ตอนอยู่ที่แก่งกระจานตอนเช้า ผู้เขียนได้แบ่งกลุ่มให้ชาวบ้านปนกับครู กศน. เพราะอยากให้ช่วยกันทำงาน เริ่มด้วยการเขียนแผนที่ความคิดจากปัญหาของชุมชนที่ม้าของชุมชนตาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันหาแนวทางแก้ไข ถ้ามีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นจะได้ระวังและมีแนวทางป้องกันที่ดี

 

  พี่ครูต้อยตามมาสบทบพร้อมลูกสาว พี่ครูต้อยมาช่วยเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator)  ผู้เขียนให้ผู้เข้าร่วมประชุมเขียนความคาดหวังของชุมชนและครูว่าคาดหวัง(Before Action Review)อะไรจากกิจกรรมการถอดบทเรียนนี้ ได้แผนที่ความคิดแบบนี้ครับ

 

 หลังจากนั้นก็แบ่งกลุ่มสำหรับการนำเสนอแหล่งเรียนรู้ในชุมชนบ้านน้ำทรัพย์ สำหรับครูและชาวบ้าน ได้ออกมาเป็นหัวข้อเช่น กลุ่มเลี้ยงม้าของผู้ใหญ่ กลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษของผู้ช่วยฯ กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มประมงน้ำจืด กลุ่มเกษตรผสมผสานของลุงส่ง กลุ่มเลี้ยงแพะ(ผู้เขียนจะเขียนเล่ารายละเอียดในวันหลังนะครับ) เป็นต้น

  ตอนกลางวันกินข้าวเสร็จให้สมาชิกทำผ่อนพักตระหนักรู้ ลุงส่งบอกว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตการอบรมที่ได้นอนกลางวัน พี่ครูต้อยมาช่วยผู้เขียนต่อจากกลางวัน ช่วงนี้มีท่านผอ.วรวิทย์ ผอ.กศน.จังหวัดและดร.ปาน กิมปีมาร่วมด้วย พี่ครูต้อยให้เล่นเกมเป่ายิงฉุบและสรุปผลเรียน กิจกรรมที่ท้าทายทุกๆๆท่านคือกิจกรรมการต่อหอคอย กลุ่มที่ชนะกลายเป็นกลุ่มพี่ครูเสงี่ยม ดร.ปานและท่าน ผอ.วรวิทย์

 

 

  ผู้เขียนให้ทุกๆๆท่านช่วยกันสรุปความรู้ทั้งหมดและสะท้อนความคิดเห็นว่าได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง(Reflection) จะนำเอาความรู้ไปทำอะไร(After Action Review)

  พรุ่งนี้ผู้เขียนจะเริ่มเขียนการถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์นะครับ ตอนนี้เอารูปการลงชุมชนมให้ดูก่อนครับ…ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน ขอไปดูคุณสามารถอบรมเกษตรกรก่อน…

           อ่านต่อได้ที่บันทึกพี่ครูต้อยนะครับ

ตอนนี้ผู้เขียนอยู่มหาวิทยาลัยนะครับมาเขียนข้อมูลเพิ่มเติมจากบันทึกนี้ ในตอนเช้าวันนี้ท้องฟ้าและอากาศสดชื่น เสียงนกเล็กๆร้องตอนเช้าอย่างไพเราะ ผู้เขียนพร้อมด้วยผอ.วรวิทย์ กิตติคุณศิริ ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดเพชรบุรี ผอ.สุนันทา การะเวกผู้อำนวยการ กศน.อำเภอแก่งกระจานและดร.ปาน กิมปี ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพี่ครูต้อย ผอ.กศน.บางสะพานน้อยและคณะครูกศน.อำเภอแก่งกระจานได้เดินทางไปที่ หมู่บ้านน้ำทรัพย์ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งมามากกว่า 40 ปีอยู่ในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี คำว่า”น้ำทรัพย์”นั้นเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “น้ำซับ” ซึ่งหมายถึงน้ำที่ซึมออกมากจากพื้นดิน จากข้อมูลทั่วไปของสภาพหมู่บ้านพบว่า หมู่บ้านน้ำทรัพย์ ตั้งอยู่ในระดับความสูงตั้งแต่ 100-352 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

 ในอดีตกลุ่มคนที่เข้ามาอยู่ที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์กลุ่มแรกคือ กลุ่มของนายพรานที่มาบ้านซ่อง ตำบลวังจันทร์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้แก่นายเกตุ นายทับ โล๊ะหนองลิ้น นายเสงี่ยม พุ่มไสว นายวอน นายริด ต่อมาได้อพยพออกมาจากจุดเดิม ขึ้นมาอยู่บริเวณขอบอ่าง เนื่องจากมีการสร้างอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ในอดีตผู้คนในหมู่บ้านเดินทางโดยทางเรือ

ข้อมูลของ กศน.แก่งกระจาน

    ในอดีตหมู่บ้านน้ำทรัพย์เป็นหมู่บ้านเดียวกับหมู่บ้านลำตะเคียน ต่อมาได้แยกออกมาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 โดยมีผู้ใหญ่คนแรกคือผู้ใหญ่ชื้น วรรณขำ ปัจจุบันมีผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำซึ่งเป็นลูกชายของผู้ใหญ่ชื้น วรรณขำ เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านใหม่มู่บ้านลำตะเคียน รือ ี ซึ่งได้แก่นายเกตุ นายทับ โล๊ะทองลิ้น นายเสงี่ยม พุ่มไสว นายวอน นายริดตั้งแต่ปี 2540 หมู่บ้านน้ำทรัพย์มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 แห่ง แต่ไม่มีวัด ชาวบ้านจะไปทำบุญและรักษาศีลกันที่วัดลำตะเคียนและวัดแม่คะเมย

    เมื่อไปถึงหมู่บ้านน้ำทรัพย์ตอนสายๆอากาศสดชื่นมาก มีลมพัดมาอ่อนๆ สิ่งที่ตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็นสิ่งแรกคือ ม้าลูกผสมร่างกายสมบูรณ์อยู่ในคอกกับครูฝึกสอนขี่ม้า นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านที่ใบหน้ายิ้มแย้มรอคอยต้อนรับพวกเราอยู่ กลุ่มของครูกศน.แก่งกระจานที่เดินทางไปล่วงหน้าได้อยู่ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอแก่งกระจานแล้ว 

       ผู้เขียนได้เปิดประเด็นเรื่องการถอดบทเรียน ท่านผอ.รวิทย์ กิตติคุณศิริ ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดเพชรบุรี ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของการมาถอดบทเรียนครั้งนี้โดยมีครูเสงี่ยม สัมพันธารักษ์และครูเกล้ากนก ฉ่ำมะนาเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator)  ผู้เขียนให้ครูที่เป็นคุณลิขิต(Note taker) ช่วยจดประเด็นให้ได้รายละเอียดดังนี้

       นายวรวิทย์  กิตติคุณศิริ      ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเพชรบุรี: กล่าวถึงกิจกรรมต่อเนื่องเมื่อวันที่  4  สิงหาคม  2553  บ้านน้ำทรัพย์ย้อนอดีตว่าชุมชนบ้านน้ำทรัพย์มีความเป็นมาอย่างไร  จนปัจจุบันที่ประสบความสำเร็จ  คือ

  1. ชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้
  2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์สิ่งที่ได้ทำไปแล้วไปบอกต่อ ๆ กัน  ได้ฝึกการถ่ายทอดว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร  จนได้รับการยอมรับ
  3. เป็นประโยชน์ในเชิงพัฒนาประเทศด้วย  การถอดบทเรียนเป็นตำรา  1  เรื่องในการพัฒนาประเทศสามารถทำเป็นเอกสารที่เป็นระบบได้สิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์  เห็นการเติมโตของชุมชนเป็นจุดที่จำทำต่อในการพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า  การถอดบทเรียน  ทุกคนได้รูปแบบว่าการที่เราจะจัดการศึกษากับชุมชน  โดยเฉพาะผู้อำนวยการ  และครู กศน.

การดำเนินการทำต่อเนื่องในวันที่  5  สิงหาคม   2553

  1. รู้จักชุมชนมากขึ้น
  2. ชุมชนมีของดี  เช่นมีแพทย์แผนไทย,  หมอนวด,  ช่างไม้  ฯลฯ

คุณยายมะลิ เปี่ยมทอง: ในสมัยก่อนยังไม่เจริญเดินทางมาทางรถยนต์  ถิ่นดั้งเดิมอยู่ที่บ้านซ่อง
ลุงใบ โล๊ะหนองลิ้น: เข้ามาอยู่ที่นี้โดยการจับเป็นพื้นราบในอ่าง  เดินทางมาทางเขาเจ้า  มาจับจองพื้นที่ในสมัยพ่อ  เดิมพื้นที่เป็นป่าสัมปทาน  (เมื่อ 47 ปี)  ชุดนี้มาพร้อมกับการสร้างเขื่อน  พ.ศ.  2505  ยุคแรกย้ายบ้านเรือนประมาณ  4 - 5  ครั้ง  มีบ้านอยู่  4  หลังคาเรือน

 

              ชุดที่2   มาทำถ่าน  มาเผาถ่าน  สมัยก่อนปลูกถั่วลิสงเพราะเป็นที่ราบ  มีตาน้ำออกมาตลอดบริเวณกระชังปลา  ต่อมาได้ปลูกข้าวโพด  ฝ้าย  ต่อมาเริ่มจับปลาเมื่อประมาณ  20  กว่าปี  เพราะน้ำจะนิ่งตลอดในปี  พ.ศ.  2522  น้ำจะแห้ง    ก่อนปี  16 เดินทางทางเรือ  และมีรถเมล์อยู่  1  คัน  เป็นรถของนายช่างประสาท 

 -การขายของนำใส่เรือไปขาย  จะมีละหุ่ง  ฝ้ายไปขาย  เรือที่ใช้เป็นเรือที่ต่อขึ้นเอง  เรือมาดและเรือขุดต้องซื้อมา

 -การต่อเรือส่วนมากทำกันเอง

 -การเจ็บป่วย  ต้องไปทางเรือ  ใช้วิธีการรักษาทางแผนโบราณ  ยาที่มีอยู่ประจำบ้าย  ยาทัมใจ  ยาหัวสิงห์  ถ้าเกิดกระดูกหักต้องมีหมอกระดูกที่วัดเขื่อนเพชร

 - ไฟฟ้าเข้ามาปี  พ.ศ.  2532

 - ถนน รพช.  ปี พ.ศ,  2517

 -  มีรถยนต์ในปี  พ.ศ.  2515 - 2516

 -   มีโรงเรียน  ปี  พ.ศ.  2521  ซึ่งค่ายฝึกการรบพิเศษกระจานเข้าฝึกได้เห็นระยะทางห่างไกล  ท่านพันตรีฉลอง   ได้แบบสร้างอาคารจากการโดดร่มค่ายฝึกรบพิเศษ

 -   พลเอกอาทิตย์  กำลังเอก  มาทำพิธีเปิดโรงเรียนในปี  พ.ศ.  2522

 -     เปิดสอนในปี  พ.ศ.  2522  (โรงเรียนบ้านน้ำทรัพย์)  ครูใหญ่คนแรกชื่อครูล้วน แจ้งจัด

-     นักเรียนรุ่นแรก  ลำบากมาก  ทางถนนลูกรัง  นักเรียนมาทางเรือ  มาสาย

  ผู้เขียนยังมีข้อมูลหมู่บ้านน้ำทรัพย์มาเขียนให้อ่านอีกครับ จะพยายามเขียนให้ได้ทั้งหมด  มีคุณยยสองท่านน่ารักมาก ยายเล่ามาเดินทางมาจากอำเภอสองพี่น้องจังหวัดสุพรรณบุรี

 ตอนที่เราลงหมู่บ้าน ได้ไปดูเรื่องการเลี้ยงแพะ  พอดีกับช่วงที่ปศุสัตว์กำลังจะไปสาธิตการผสมพันธุ์แพะพอดี  เลยมีโอกาสแวะไปดู

 ในหมู่บ้านทำหมู่บ้านเชิงอนุรักษ์ มีที่พักแบบ Homestay ด้วย สนใจติดต่อที่ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ(เบอร์ติดต่อ ๐๘-๙๕๕๐-๐๘๐๙, ๐๓๒-๔๕๙๐๖๒ ๐๘-๙๘๓๗-๒๕๓๕ ) นะครับ หรือเข้าไปอ่านเรื่องหมู่บ้านน้ำทรัพย์ที่นี่

  ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่น่าสนใจคือการขี่ม้า  ที่เห็นในภาพไม่ใช่ cowboy นะครับ แต่เป็นท่าน ดร.ปาน กิมปี ศึกษานิเทศก์ของ กศน.กำลังฝึกขี่ม้า  ที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์ให้บริการสอนขี่ม้าและล่องแก่งด้วย ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…

« « Prev : ค่ายภาษาอังกฤษโรงเรียนบ้านควนเสม็ด(1)

Next : โปรแกรมเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเพื่อเสริมศักยภาพจิตอาสา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.7357771396637 sec
Sidebar: 0.56131482124329 sec