ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์:แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี(1)

3 ความคิดเห็น โดย khajitf เมื่อ 14 กันยายน 2010 เวลา 5:00 (เย็น) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 4318

ตอนนี้ผู้เขียนอยู่มหาวิทยาลัย ห่างหายการบันทึกนาน ฮ่าๆ เอาเรื่องที่อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีมาฝาก  มีเตรียมการถอดบทเรียนของบ้านน้ำทรัพย์ อำเภอแก่งกระจานของท่าน ผอ.สุนันทา พี่ครูต้อยคงกำลังเดินทางมาร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรมวันนี้ด้วย

    วันนี้เข้าใจว่าจะมีชาวบ้าน ครูกศน.ของอำเภอแก่งกระจาน และผู้เข้าร่วมประชุมจากที่ต่างๆมาเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เขียนในเรื่องการจัดการความรู้(Knowledge management)  วันนี้ตั้งใจเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator) เพื่อให้ครูกับชาวบ้านของหมู่บ้านน้ำทรัพย์ได้นำเอากระบวนการไปใช้ในการถอดบทเรียนที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์

   ผู้เขียนได้เตรียมเอกสาร สำหรับคู่มือการถอดบทเรียนสำหรับวิทยากรกระบวนการไว้ที่นี่ครับ  หน้าปกและคำนำที่นี่

               เอาภาพห้องประชุมก่อนทำกิจกรรมมาให้ดูก่อน ครั้งแรกเป็นห้องแบบมีระเบียบ ผู้เขียนจัดใหม่เป็นแบบนี้

วันที่ 4 สิงหาคม 2553

 

08.00-08.30  -ลงทะเบียน

08.30-09.00  -พิธีเปิด

09.00-10.30  -การถอดบทเรียนคืออะไร

                   -ความสำคัญของการถอดบทเรียน

                   -วงจรการถอดบทเรียน               

10.30-10.45 เบรคเช้า(Morning break)

 

10.45-12.00 -การพัฒนาทีมของวิทยากรกระบวนการ

                   -ความสำคัญของวิทยากรกระบวนการ

                   -บทบาทวิทยากรและการประยุกต์ใช้

                   -การพัฒนาทักษะวิทยากรกระบวนการ

                   -บทบาทวิทยากรกระบวนการในการถอด

                     บทเรียน

12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน(Lunch Time)

 

13.00-14.00 - การดำเนินการถอดบทเรียน

                   - การสร้างบรรยากาศในการถอดบทเรียน

                   - การกำหนดกติกา

                   - การจัดกิจกรรมเสริมพลัง

                   - การนำเข้าสู่ประเด็นในการถอดบทเรียน

                   - การสรุปการถอดบทเรียน

 

14.00-15.30 -เครื่องมือและเทคนิคสำหรับใช้ในการ

                     ถอดบทเรียน

                   - แผนที่ความคิด(Mind mapping)

                   - Word café

                   - การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ

                     (After Action Review :AAR)

                   - การสะท้อนกลับ (Reflection)

15.30-16.30  -ฝึกปฏิบัติจริงและประเมินผล(Evaluation)

18.00-21.00 น. -กิจกรรมภาคกลางคืน

 

    ตอนนี้ผู้เขียนรอพี่ครูต้อย และรอไปที่อุทยานฯแก่งกระจาน   จะเอาภาพกิจกรรมมาให้ดูนะครับ  ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…

 ตอนนี้ผู้เขียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นะครับ วันนี้มีชาวบ้านจากหมู่บ้านน้ำทรัพย์มาอบรมเรื่องมะนาวกับคุณสามารถ ผู้เขียนโชคดีได้มีโอกาสได้คุยกับท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี เลยได้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานวิชาการและลงชุมชนเพิ่ม นอกจากนี้ยังได้คุยกับท่านรองฯผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อนด้วย เอาภาพมาให้ดูก่อน

  ผู้เขียนขอเขียนบันทึกต่อจากบันทึกนี้นะครับ  ตอนอยู่ที่แก่งกระจานตอนเช้า ผู้เขียนได้แบ่งกลุ่มให้ชาวบ้านปนกับครู กศน. เพราะอยากให้ช่วยกันทำงาน เริ่มด้วยการเขียนแผนที่ความคิดจากปัญหาของชุมชนที่ม้าของชุมชนตาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันหาแนวทางแก้ไข ถ้ามีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นจะได้ระวังและมีแนวทางป้องกันที่ดี

 

  พี่ครูต้อยตามมาสบทบพร้อมลูกสาว พี่ครูต้อยมาช่วยเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator)  ผู้เขียนให้ผู้เข้าร่วมประชุมเขียนความคาดหวังของชุมชนและครูว่าคาดหวัง(Before Action Review)อะไรจากกิจกรรมการถอดบทเรียนนี้ ได้แผนที่ความคิดแบบนี้ครับ

 

 หลังจากนั้นก็แบ่งกลุ่มสำหรับการนำเสนอแหล่งเรียนรู้ในชุมชนบ้านน้ำทรัพย์ สำหรับครูและชาวบ้าน ได้ออกมาเป็นหัวข้อเช่น กลุ่มเลี้ยงม้าของผู้ใหญ่ กลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษของผู้ช่วยฯ กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มประมงน้ำจืด กลุ่มเกษตรผสมผสานของลุงส่ง กลุ่มเลี้ยงแพะ(ผู้เขียนจะเขียนเล่ารายละเอียดในวันหลังนะครับ) เป็นต้น

  ตอนกลางวันกินข้าวเสร็จให้สมาชิกทำผ่อนพักตระหนักรู้ ลุงส่งบอกว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตการอบรมที่ได้นอนกลางวัน พี่ครูต้อยมาช่วยผู้เขียนต่อจากกลางวัน ช่วงนี้มีท่านผอ.วรวิทย์ ผอ.กศน.จังหวัดและดร.ปาน กิมปีมาร่วมด้วย พี่ครูต้อยให้เล่นเกมเป่ายิงฉุบและสรุปผลเรียน กิจกรรมที่ท้าทายทุกๆๆท่านคือกิจกรรมการต่อหอคอย กลุ่มที่ชนะกลายเป็นกลุ่มพี่ครูเสงี่ยม ดร.ปานและท่าน ผอ.วรวิทย์

 

 

  ผู้เขียนให้ทุกๆๆท่านช่วยกันสรุปความรู้ทั้งหมดและสะท้อนความคิดเห็นว่าได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง(Reflection) จะนำเอาความรู้ไปทำอะไร(After Action Review)

  พรุ่งนี้ผู้เขียนจะเริ่มเขียนการถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์นะครับ ตอนนี้เอารูปการลงชุมชนมให้ดูก่อนครับ…ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน ขอไปดูคุณสามารถอบรมเกษตรกรก่อน…

           อ่านต่อได้ที่บันทึกพี่ครูต้อยนะครับ

ตอนนี้ผู้เขียนอยู่มหาวิทยาลัยนะครับมาเขียนข้อมูลเพิ่มเติมจากบันทึกนี้ ในตอนเช้าวันนี้ท้องฟ้าและอากาศสดชื่น เสียงนกเล็กๆร้องตอนเช้าอย่างไพเราะ ผู้เขียนพร้อมด้วยผอ.วรวิทย์ กิตติคุณศิริ ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดเพชรบุรี ผอ.สุนันทา การะเวกผู้อำนวยการ กศน.อำเภอแก่งกระจานและดร.ปาน กิมปี ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพี่ครูต้อย ผอ.กศน.บางสะพานน้อยและคณะครูกศน.อำเภอแก่งกระจานได้เดินทางไปที่ หมู่บ้านน้ำทรัพย์ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งมามากกว่า 40 ปีอยู่ในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี คำว่า”น้ำทรัพย์”นั้นเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “น้ำซับ” ซึ่งหมายถึงน้ำที่ซึมออกมากจากพื้นดิน จากข้อมูลทั่วไปของสภาพหมู่บ้านพบว่า หมู่บ้านน้ำทรัพย์ ตั้งอยู่ในระดับความสูงตั้งแต่ 100-352 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

 ในอดีตกลุ่มคนที่เข้ามาอยู่ที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์กลุ่มแรกคือ กลุ่มของนายพรานที่มาบ้านซ่อง ตำบลวังจันทร์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้แก่นายเกตุ นายทับ โล๊ะหนองลิ้น นายเสงี่ยม พุ่มไสว นายวอน นายริด ต่อมาได้อพยพออกมาจากจุดเดิม ขึ้นมาอยู่บริเวณขอบอ่าง เนื่องจากมีการสร้างอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ในอดีตผู้คนในหมู่บ้านเดินทางโดยทางเรือ

ข้อมูลของ กศน.แก่งกระจาน

    ในอดีตหมู่บ้านน้ำทรัพย์เป็นหมู่บ้านเดียวกับหมู่บ้านลำตะเคียน ต่อมาได้แยกออกมาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 โดยมีผู้ใหญ่คนแรกคือผู้ใหญ่ชื้น วรรณขำ ปัจจุบันมีผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำซึ่งเป็นลูกชายของผู้ใหญ่ชื้น วรรณขำ เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านใหม่มู่บ้านลำตะเคียน รือ ี ซึ่งได้แก่นายเกตุ นายทับ โล๊ะทองลิ้น นายเสงี่ยม พุ่มไสว นายวอน นายริดตั้งแต่ปี 2540 หมู่บ้านน้ำทรัพย์มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 แห่ง แต่ไม่มีวัด ชาวบ้านจะไปทำบุญและรักษาศีลกันที่วัดลำตะเคียนและวัดแม่คะเมย

    เมื่อไปถึงหมู่บ้านน้ำทรัพย์ตอนสายๆอากาศสดชื่นมาก มีลมพัดมาอ่อนๆ สิ่งที่ตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็นสิ่งแรกคือ ม้าลูกผสมร่างกายสมบูรณ์อยู่ในคอกกับครูฝึกสอนขี่ม้า นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านที่ใบหน้ายิ้มแย้มรอคอยต้อนรับพวกเราอยู่ กลุ่มของครูกศน.แก่งกระจานที่เดินทางไปล่วงหน้าได้อยู่ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอแก่งกระจานแล้ว 

       ผู้เขียนได้เปิดประเด็นเรื่องการถอดบทเรียน ท่านผอ.รวิทย์ กิตติคุณศิริ ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดเพชรบุรี ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของการมาถอดบทเรียนครั้งนี้โดยมีครูเสงี่ยม สัมพันธารักษ์และครูเกล้ากนก ฉ่ำมะนาเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator)  ผู้เขียนให้ครูที่เป็นคุณลิขิต(Note taker) ช่วยจดประเด็นให้ได้รายละเอียดดังนี้

       นายวรวิทย์  กิตติคุณศิริ      ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเพชรบุรี: กล่าวถึงกิจกรรมต่อเนื่องเมื่อวันที่  4  สิงหาคม  2553  บ้านน้ำทรัพย์ย้อนอดีตว่าชุมชนบ้านน้ำทรัพย์มีความเป็นมาอย่างไร  จนปัจจุบันที่ประสบความสำเร็จ  คือ

  1. ชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้
  2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์สิ่งที่ได้ทำไปแล้วไปบอกต่อ ๆ กัน  ได้ฝึกการถ่ายทอดว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร  จนได้รับการยอมรับ
  3. เป็นประโยชน์ในเชิงพัฒนาประเทศด้วย  การถอดบทเรียนเป็นตำรา  1  เรื่องในการพัฒนาประเทศสามารถทำเป็นเอกสารที่เป็นระบบได้สิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์  เห็นการเติมโตของชุมชนเป็นจุดที่จำทำต่อในการพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า  การถอดบทเรียน  ทุกคนได้รูปแบบว่าการที่เราจะจัดการศึกษากับชุมชน  โดยเฉพาะผู้อำนวยการ  และครู กศน.

การดำเนินการทำต่อเนื่องในวันที่  5  สิงหาคม   2553

  1. รู้จักชุมชนมากขึ้น
  2. ชุมชนมีของดี  เช่นมีแพทย์แผนไทย,  หมอนวด,  ช่างไม้  ฯลฯ

คุณยายมะลิ เปี่ยมทอง: ในสมัยก่อนยังไม่เจริญเดินทางมาทางรถยนต์  ถิ่นดั้งเดิมอยู่ที่บ้านซ่อง
ลุงใบ โล๊ะหนองลิ้น: เข้ามาอยู่ที่นี้โดยการจับเป็นพื้นราบในอ่าง  เดินทางมาทางเขาเจ้า  มาจับจองพื้นที่ในสมัยพ่อ  เดิมพื้นที่เป็นป่าสัมปทาน  (เมื่อ 47 ปี)  ชุดนี้มาพร้อมกับการสร้างเขื่อน  พ.ศ.  2505  ยุคแรกย้ายบ้านเรือนประมาณ  4 - 5  ครั้ง  มีบ้านอยู่  4  หลังคาเรือน

 

              ชุดที่2   มาทำถ่าน  มาเผาถ่าน  สมัยก่อนปลูกถั่วลิสงเพราะเป็นที่ราบ  มีตาน้ำออกมาตลอดบริเวณกระชังปลา  ต่อมาได้ปลูกข้าวโพด  ฝ้าย  ต่อมาเริ่มจับปลาเมื่อประมาณ  20  กว่าปี  เพราะน้ำจะนิ่งตลอดในปี  พ.ศ.  2522  น้ำจะแห้ง    ก่อนปี  16 เดินทางทางเรือ  และมีรถเมล์อยู่  1  คัน  เป็นรถของนายช่างประสาท 

 -การขายของนำใส่เรือไปขาย  จะมีละหุ่ง  ฝ้ายไปขาย  เรือที่ใช้เป็นเรือที่ต่อขึ้นเอง  เรือมาดและเรือขุดต้องซื้อมา

 -การต่อเรือส่วนมากทำกันเอง

 -การเจ็บป่วย  ต้องไปทางเรือ  ใช้วิธีการรักษาทางแผนโบราณ  ยาที่มีอยู่ประจำบ้าย  ยาทัมใจ  ยาหัวสิงห์  ถ้าเกิดกระดูกหักต้องมีหมอกระดูกที่วัดเขื่อนเพชร

 - ไฟฟ้าเข้ามาปี  พ.ศ.  2532

 - ถนน รพช.  ปี พ.ศ,  2517

 -  มีรถยนต์ในปี  พ.ศ.  2515 - 2516

 -   มีโรงเรียน  ปี  พ.ศ.  2521  ซึ่งค่ายฝึกการรบพิเศษกระจานเข้าฝึกได้เห็นระยะทางห่างไกล  ท่านพันตรีฉลอง   ได้แบบสร้างอาคารจากการโดดร่มค่ายฝึกรบพิเศษ

 -   พลเอกอาทิตย์  กำลังเอก  มาทำพิธีเปิดโรงเรียนในปี  พ.ศ.  2522

 -     เปิดสอนในปี  พ.ศ.  2522  (โรงเรียนบ้านน้ำทรัพย์)  ครูใหญ่คนแรกชื่อครูล้วน แจ้งจัด

-     นักเรียนรุ่นแรก  ลำบากมาก  ทางถนนลูกรัง  นักเรียนมาทางเรือ  มาสาย

  ผู้เขียนยังมีข้อมูลหมู่บ้านน้ำทรัพย์มาเขียนให้อ่านอีกครับ จะพยายามเขียนให้ได้ทั้งหมด  มีคุณยยสองท่านน่ารักมาก ยายเล่ามาเดินทางมาจากอำเภอสองพี่น้องจังหวัดสุพรรณบุรี

 ตอนที่เราลงหมู่บ้าน ได้ไปดูเรื่องการเลี้ยงแพะ  พอดีกับช่วงที่ปศุสัตว์กำลังจะไปสาธิตการผสมพันธุ์แพะพอดี  เลยมีโอกาสแวะไปดู

 ในหมู่บ้านทำหมู่บ้านเชิงอนุรักษ์ มีที่พักแบบ Homestay ด้วย สนใจติดต่อที่ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ(เบอร์ติดต่อ ๐๘-๙๕๕๐-๐๘๐๙, ๐๓๒-๔๕๙๐๖๒ ๐๘-๙๘๓๗-๒๕๓๕ ) นะครับ หรือเข้าไปอ่านเรื่องหมู่บ้านน้ำทรัพย์ที่นี่

  ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่น่าสนใจคือการขี่ม้า  ที่เห็นในภาพไม่ใช่ cowboy นะครับ แต่เป็นท่าน ดร.ปาน กิมปี ศึกษานิเทศก์ของ กศน.กำลังฝึกขี่ม้า  ที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์ให้บริการสอนขี่ม้าและล่องแก่งด้วย ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…



Main: 0.54343700408936 sec
Sidebar: 0.26372885704041 sec