โปรแกรมเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเพื่อเสริมศักยภาพจิตอาสา

ไม่มีความคิดเห็น โดย khajitf เมื่อ 24 ตุลาคม 2010 เวลา 8:49 (เช้า) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 2610

วันนี้ผู้เขียนอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาครครับ      วันนี้ดีใจที่จะได้ทำความดีเพราะโรงพยาบาลสมุทรสาครร่วมกับ เทศบาลตำบลนาดีได้จัดโปรแกรมเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเพื่อเสริมศักยภาพจิตอาสาในวันที่23-24 กันยายน 2553 ผู้เข้าร่วมประชุมเป็น ผู้ป่วยเบาหวานและ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรวม  80 คน

  

  พี่ครูต้อยกับพี่ปราณีหรือพี่มดได้ชวนไว้นานแล้ว โปรแกรมนี้เป็นการสร้างแกนนำจิตอาสาให้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน พี่มดบอกผู้เขียนว่า ที่ใดสนใจต้องการสร้างแกนนำเรื่องจิตอาสาให้ติดต่อพี่มดได้เลย(พี่มดน้องขอค่าโฆษณาให้ gotoknow ด้วย ฮา)

  

  ผู้เขียนคิดว่าการสร้างแกนนำจิตอาสาให้ผู้ป่วยเบาหวานดูแลตนเองและช่วยดูแลสมาชิกท่านอื่นๆเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการสร้างความเอื้ออาทรของความเป็นมนุษย์ การสร้างเครือข่าย(Network)การแลกเปลี่ยนข้อมูล(Sharing) การดูแลรักษาเบาหวานในกลุ่มผู้ป่วยเองเพื่อลดภาระการมารักษาที่โรงพยาบาลบ่อยๆ

  

ตอนนี้ผู้เขียนขอเอาตารางมาให้ดูก่อน

  

  

วันที่ 23 ก.ย  25537.00-8.00น.  ลงทะเบียน

  

วิทยากร
8.30-9.00น. กิจกรรมรู้รักกัน   อาจารย์พูนสุข  โอ่เอี่ยมคุณพัชรี  สุวรรณ์

คุณลัดดา ปุกกอง

  

9.00-10.00น. Deep  listening   โดย ดร.ขจิต ฝอยทองคุณสุจินดา ไชยพยอม

ภญ.สุภางค์ พิรุณสาร

  

10.00-10.10น.        อาหารว่าง     
10.10-12.00น.        สรุปบทเรียน                                            โดย ดร. ขจิต ฝอยทอง อาจารย์พูนสุข  โอ่เอี่ยม และภญ. ปราณี  ลัคนาจันทโชติ
12.00-13.00น.        อาหารกลางวัน   
13.00-13.20น.        ผ่อนพักตระหนักรู้   โดย ดร.ขจิต ฝอยทองคุณสุจินดาไชยพยอม

ภญ.สุภางค์ พิรุณสาร

  

  

13.20-14.00น.        กิจกรรมหอคอย (ฝันของผู้ป่วย)    โดย ดร. ขจิต ฝอยทองอาจารย์พูนสุข  โอ่เอี่ยม    ภญ. ปราณี  ลัคนาจันทโชติ และคุณอรชร  อ่อนโอภาส
14.00-14.10น.        อาหารว่าง     
14.10-16.00น.        ถอดบทเรียน     โดย ดร. ขจิต ฝอยทองอาจารย์พูนสุข  โอ่เอี่ยม    ภญ. ปราณี  ลัคนาจันทโชติ และคุณอรชร  อ่อนโอภาส

  

 

ตอนเช้าพี่ครูต้อย พี่มดและผู้ป่วยเบาหวานทำพิธีมอบธงให้แก่ ผอ.โรงพยาบาล เพื่อเป็นการทำความดีในการป้องกันตัวเองและช่วยเหลือผู้อื่นจากเบาหวาน

พี่ครูต้อย พี่มดและทีมทำงานกล่าวรายงานท่านรองนายกเทศบาลตำบลนาดีมาเปิดงาน

กิจกรรมก่อนการฝึกการฟัง

กิจกรรมสนุกๆก่อนการฝึกฟังครับ

  

   ขอบคุณมากครับที่เข้ามาอ่าน  เอาภาพมาให้ดูนะครับ…

วันนี้ผู้เขียนขอเขียนต่อจากบันทึกนี้นะครับ วันนี้อยู่กับพี่ครูต้อย พี่มด และเจ้าหน้าที่ที่น่ารักขยันทำงานของโรงพยาบาลสมุทรสาคร เจ้าที่หน้าของเทศบาลตำบลนาดีและผู้ป่วยที่จะเป็นจิตอาสาเรื่องเบาหวาน

 Large_samutsakorns8 

  

       เมื่อวานตอนทำ deep listening หลังจากที่ผู้เขียนเล่นเกมเพื่อดึงความสนใจกลับมาสู่การการดำเนินกิจกรรม ตอนแบ่งกลุ่มพบว่ามีพื้นที่ค่อนข้างน้อย (หลังจากทำAAR มีเจ้าหน้าที่แสดงความคิดเห็นด้วยเช่นกัน) เสียงในแต่ละกลุ่มไปรบกวนผู้ที่กำลังคุยกันอยู่ แต่ผู้เขียนเองคิดว่าเป็นการฝึกที่ใช้ได้ถึงแม้นว่าจะเป็นการเริ่มต้น

 Large_samutsakorns7 

       ตอนสรุปกิจกรรมว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างพบว่าได้ข้อมูลที่หลากหลาย พี่ครูต้อยเขียนสรุป mind mapping ได้อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นก็แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ อยู่ดี กินดี มีสุขและพอเพียง โดยให้ผู้ป่วยที่จะเป็นจิตอาสาได้เรียนรู้เรื่องของอาหารเช่นฐานกินดี ก็ได้เรียนรู้เรื่องอาหารในแต่ละหมู่ คนไข้เบาหวานควรกินอาหารประเภทใดบ้าง ในอัตราวันละเท่าไร เพื่อให้จิตอาสาได้ดูแลตนเองและนำไปช่วยเหลือผู้อื่นด้วย

Large_samutsakorns9 

       ผู้เขียนชอบฐานนี้ เพราะเคยเห็นแม่ออกกำลังกาย ฐานนี้เป็นการออกกำลังกายด้วยยาง และฮูราฮูป ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่มีหลายท่ามาก ไม่ต้องใช้พื้นที่มากนัก เหมาะสำหรับคนป่วย ลองดูท่าการออกกำลังกาย เผื่อสมาชิกชอบจะเอาไปออกกำลังกายบ้าง

Large_samutsakorns10 

       ฐานต่อไปเป็นฐานการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ผู้เขียนชอบตอนทำ สปาเท้า  (ไม่ใช่นวดหน้าด้วยฝ่าเท้านะ ฮา) มีท่าที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การดูแลรักษาเท้าในกรณีที่เป็นเบาหวาน

Large_samousakorns11 

       ฐานสุดท้ายเป็นที่หวาดเสียวของคนที่เป็นเบาหวานบางท่าน เนื่องจากเป็นบานเจาะเลือดเพื่อเช็คดูน้ำตาล เมื่อจิตอาสาเบาหวานออกไปชุมชนจะได้เจาะเลือดผู้ป่วยคนอื่นๆได้ นพ. สิทธิพร ห่อหริตานนท์ อยู่ให้ความรู้ในฐานนี้ด้วย

Large_samutsakorns12 

       ในเวลาสุดท้าย น้องแม่สีได้ให้แต่ละกลุ่มสรุปว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง มีอะไรที่จะเอาไปทำต่อไป  ผู้เขียนใช้โปรแกรมแต่งรูป สรุปกิจกรรมทั้งวันออกมาเป็น music video ว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง

       เมื่อทำ AAR กันตอนที่กลุ่มจิตอาสากลับไปแล้วพบว่า

ตอนลงทะเบียนมีปัญหาเล็กน้อย เนื่องจากชื่อไม่ตรงกันคนที่มา พี่มดเลยเสนอว่าให้เช็คชื่อตอนที่อยู่บนรถ

กิจกรรมตอนที่มอบธงให้ผอ.หน้าโรงพยาบาลทุกๆคนตกใจและบอกว่าฉุกละหุกเกินไป พี่ต้อยบอกว่าต้องการให้ตื่นเต้น

กิจกรรม deep listening น้องเภสัชกรบอกว่าใช้เวลามากไป คำสั่งไม่ชัดเจนและมีพื้นที่สำหรับการคุยน้อย (ห้องแคบไป) เลยมีเสียงรบกวนคนข้างๆ

คุณแหม่มอยากให้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นว่า ผู้ป่วยจะต้องมีบทบาทที่ชัดเจนว่าเป็นจิตอาสาได้…

       วันนี้น้อง Dr. Pop มาจัดกิจกรรมสมาธิบำบัด ผู้เขียนพี่ครูต้อยและพี่มดจะจัดกิจกรรมอีกหลายอย่างรออ่านนะครับ…

  

                  อ่านเพิ่มเติมได้ที่บันทึกพี่ครูต้อยบันทึกนี้ครับ

                           อ่านได้ที่บันทึกพี่มดบันทึกนี้ครับ

วันนี้ผู้เขียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ติดค้างบันทึกไว้เลยขอเขียนต่อจากบันทึกนี้นะครับ ตอนเช้าผู้เขียนมาที่ประชุม พี่ครูต้อย พี่มด และเจ้าหน้าที่พร้อมที่จะทำกิจกรรมแล้ว คุณหมอนพ. สิทธิพร ห่อหริตานนท์บรรยายเรื่อง เส้นทางแห่งสุขภาวะที่ดีและยั่งยืน

พี่ครูต้อยเริ่มกิจกรรมสัมพันธ์กายและใจพร้อมกับคุณพัชรี สุวรรณ์และคุณลัดดา ปุกกองโดยแบ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นสองกลุ่มเพื่อฝึกกิจกรรมสัมพันธ์กายและใจ

เมื่อรวมกันเสร็จก็แจกอุปกรณ์สำหรับทำหอคอย(แผนชีวิตพิชิตเบาหวาน) ให้แต่ละกลุ่มออกแบบหอคอยที่สูงที่สุดและแข็งแรงที่สุด อาม่าพี่มดก็มาร่วมกิจกรรมด้วย คนใส่เสื้อสีน้ำตาลนั่นแหละ คนวางแผนเลย(ฮา) ตอนทดสอบความแข็งแรงพี่มดใช้กระดาษพัด 5 ครั้งไม่ล้ม ผู้เขียนใช้ถาดขนาดใหญ่พัดครั้งเดียว ของบางกลุ่มกระเด็น(ฮา) หลังจากนั้นก็ช่วยกันสรุปกิจกรรมว่าได้เรียนรู้อะไรจากการสร้างหอคอยบ้าง

เมื่อทานข้าววันเสร็จพบว่ามีหลายท่านเข้ามานอนแล้ว (ฮา) เลยยังไม่ได้บอกสักหน่อย คงเกิดการเรียนรู้จากเมื่อวานเลยทำกิจกรรมผ่อนพักตระหนักรู้และนวดคลายเครียด(อ่านจุดประสงค์การดำเนินกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและการประเมินกิจกรรม  ได้ที่นี่ครับ )

หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มก็ไปวัดความดัน ผู้เขียนก็ไปวัดความดันพร้อมกับพี่เภสัชและคณะทำงานทุกๆๆท่าน เพราะ น้อง Dr. Pop จะสอนสมาธิสำหรับการบำบัดโรคตอนบ่าย

ตอน น้อง Dr. Pop สอนผู้เขียนเสียดายไม่ได้ถ่ายภาพไว้เพราะว่า ปฏิบัติกิจกรรมด้วย ผู้เขียนและสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การฝึกสมาธิหลายแบบมาก นอกจากนั้นยังฝึกการกำหนดลมหายใจ การจับชีพจร  เสียดายเวลาค่อนข้างน้อย…แต่เมื่อวันความดันครั้งหลังลดลงกว่าครั้งแรกเกือบทุกคนรวมทั้งผู้เขียนด้วย(ผู้เขียนเหลือแต่ความดันทุรังสูง ฮา)

ตอนก่อนจะเลิกกิจกรรมก็มีการเขียนพันธะสัญญากันและรับมอบเป็นที่ระลึกจากการร่วมกิจกรรม หลังจากนั้นก็ถ่ายภาพรวม กิจกรรมนี้เป็นเพียงกิจกรรมเริ่มต้นของการสร้างจิตอาสา ผู้เขียนได้เรียนรู้กิจกรรมหลายอย่างจากเจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมท่านหนึ่งเขียนกลอนไว้ ขอไปหาก่อนแล้วจะเอามาให้อ่าน รอดูกิจกรรมนี้ต่อไปนะครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…

 

                  อ่านเพิ่มเติมได้ที่บันทึกพี่ครูต้อยบันทึกนี้ครับ

                           อ่านได้ที่บันทึกพี่มดบันทึกนี้ครับ

 บันทึกใหม่พี่ครูต้อย 1

 บันทึกน้อง Dr.Pop


ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์:แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี(1)

3 ความคิดเห็น โดย khajitf เมื่อ 14 กันยายน 2010 เวลา 5:00 (เย็น) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 4318

ตอนนี้ผู้เขียนอยู่มหาวิทยาลัย ห่างหายการบันทึกนาน ฮ่าๆ เอาเรื่องที่อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีมาฝาก  มีเตรียมการถอดบทเรียนของบ้านน้ำทรัพย์ อำเภอแก่งกระจานของท่าน ผอ.สุนันทา พี่ครูต้อยคงกำลังเดินทางมาร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรมวันนี้ด้วย

    วันนี้เข้าใจว่าจะมีชาวบ้าน ครูกศน.ของอำเภอแก่งกระจาน และผู้เข้าร่วมประชุมจากที่ต่างๆมาเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เขียนในเรื่องการจัดการความรู้(Knowledge management)  วันนี้ตั้งใจเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator) เพื่อให้ครูกับชาวบ้านของหมู่บ้านน้ำทรัพย์ได้นำเอากระบวนการไปใช้ในการถอดบทเรียนที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์

   ผู้เขียนได้เตรียมเอกสาร สำหรับคู่มือการถอดบทเรียนสำหรับวิทยากรกระบวนการไว้ที่นี่ครับ  หน้าปกและคำนำที่นี่

               เอาภาพห้องประชุมก่อนทำกิจกรรมมาให้ดูก่อน ครั้งแรกเป็นห้องแบบมีระเบียบ ผู้เขียนจัดใหม่เป็นแบบนี้

วันที่ 4 สิงหาคม 2553

 

08.00-08.30  -ลงทะเบียน

08.30-09.00  -พิธีเปิด

09.00-10.30  -การถอดบทเรียนคืออะไร

                   -ความสำคัญของการถอดบทเรียน

                   -วงจรการถอดบทเรียน               

10.30-10.45 เบรคเช้า(Morning break)

 

10.45-12.00 -การพัฒนาทีมของวิทยากรกระบวนการ

                   -ความสำคัญของวิทยากรกระบวนการ

                   -บทบาทวิทยากรและการประยุกต์ใช้

                   -การพัฒนาทักษะวิทยากรกระบวนการ

                   -บทบาทวิทยากรกระบวนการในการถอด

                     บทเรียน

12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน(Lunch Time)

 

13.00-14.00 - การดำเนินการถอดบทเรียน

                   - การสร้างบรรยากาศในการถอดบทเรียน

                   - การกำหนดกติกา

                   - การจัดกิจกรรมเสริมพลัง

                   - การนำเข้าสู่ประเด็นในการถอดบทเรียน

                   - การสรุปการถอดบทเรียน

 

14.00-15.30 -เครื่องมือและเทคนิคสำหรับใช้ในการ

                     ถอดบทเรียน

                   - แผนที่ความคิด(Mind mapping)

                   - Word café

                   - การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ

                     (After Action Review :AAR)

                   - การสะท้อนกลับ (Reflection)

15.30-16.30  -ฝึกปฏิบัติจริงและประเมินผล(Evaluation)

18.00-21.00 น. -กิจกรรมภาคกลางคืน

 

    ตอนนี้ผู้เขียนรอพี่ครูต้อย และรอไปที่อุทยานฯแก่งกระจาน   จะเอาภาพกิจกรรมมาให้ดูนะครับ  ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…

 ตอนนี้ผู้เขียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นะครับ วันนี้มีชาวบ้านจากหมู่บ้านน้ำทรัพย์มาอบรมเรื่องมะนาวกับคุณสามารถ ผู้เขียนโชคดีได้มีโอกาสได้คุยกับท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี เลยได้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานวิชาการและลงชุมชนเพิ่ม นอกจากนี้ยังได้คุยกับท่านรองฯผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อนด้วย เอาภาพมาให้ดูก่อน

  ผู้เขียนขอเขียนบันทึกต่อจากบันทึกนี้นะครับ  ตอนอยู่ที่แก่งกระจานตอนเช้า ผู้เขียนได้แบ่งกลุ่มให้ชาวบ้านปนกับครู กศน. เพราะอยากให้ช่วยกันทำงาน เริ่มด้วยการเขียนแผนที่ความคิดจากปัญหาของชุมชนที่ม้าของชุมชนตาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันหาแนวทางแก้ไข ถ้ามีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นจะได้ระวังและมีแนวทางป้องกันที่ดี

 

  พี่ครูต้อยตามมาสบทบพร้อมลูกสาว พี่ครูต้อยมาช่วยเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator)  ผู้เขียนให้ผู้เข้าร่วมประชุมเขียนความคาดหวังของชุมชนและครูว่าคาดหวัง(Before Action Review)อะไรจากกิจกรรมการถอดบทเรียนนี้ ได้แผนที่ความคิดแบบนี้ครับ

 

 หลังจากนั้นก็แบ่งกลุ่มสำหรับการนำเสนอแหล่งเรียนรู้ในชุมชนบ้านน้ำทรัพย์ สำหรับครูและชาวบ้าน ได้ออกมาเป็นหัวข้อเช่น กลุ่มเลี้ยงม้าของผู้ใหญ่ กลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษของผู้ช่วยฯ กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มประมงน้ำจืด กลุ่มเกษตรผสมผสานของลุงส่ง กลุ่มเลี้ยงแพะ(ผู้เขียนจะเขียนเล่ารายละเอียดในวันหลังนะครับ) เป็นต้น

  ตอนกลางวันกินข้าวเสร็จให้สมาชิกทำผ่อนพักตระหนักรู้ ลุงส่งบอกว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตการอบรมที่ได้นอนกลางวัน พี่ครูต้อยมาช่วยผู้เขียนต่อจากกลางวัน ช่วงนี้มีท่านผอ.วรวิทย์ ผอ.กศน.จังหวัดและดร.ปาน กิมปีมาร่วมด้วย พี่ครูต้อยให้เล่นเกมเป่ายิงฉุบและสรุปผลเรียน กิจกรรมที่ท้าทายทุกๆๆท่านคือกิจกรรมการต่อหอคอย กลุ่มที่ชนะกลายเป็นกลุ่มพี่ครูเสงี่ยม ดร.ปานและท่าน ผอ.วรวิทย์

 

 

  ผู้เขียนให้ทุกๆๆท่านช่วยกันสรุปความรู้ทั้งหมดและสะท้อนความคิดเห็นว่าได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง(Reflection) จะนำเอาความรู้ไปทำอะไร(After Action Review)

  พรุ่งนี้ผู้เขียนจะเริ่มเขียนการถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์นะครับ ตอนนี้เอารูปการลงชุมชนมให้ดูก่อนครับ…ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน ขอไปดูคุณสามารถอบรมเกษตรกรก่อน…

           อ่านต่อได้ที่บันทึกพี่ครูต้อยนะครับ

ตอนนี้ผู้เขียนอยู่มหาวิทยาลัยนะครับมาเขียนข้อมูลเพิ่มเติมจากบันทึกนี้ ในตอนเช้าวันนี้ท้องฟ้าและอากาศสดชื่น เสียงนกเล็กๆร้องตอนเช้าอย่างไพเราะ ผู้เขียนพร้อมด้วยผอ.วรวิทย์ กิตติคุณศิริ ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดเพชรบุรี ผอ.สุนันทา การะเวกผู้อำนวยการ กศน.อำเภอแก่งกระจานและดร.ปาน กิมปี ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพี่ครูต้อย ผอ.กศน.บางสะพานน้อยและคณะครูกศน.อำเภอแก่งกระจานได้เดินทางไปที่ หมู่บ้านน้ำทรัพย์ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งมามากกว่า 40 ปีอยู่ในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี คำว่า”น้ำทรัพย์”นั้นเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “น้ำซับ” ซึ่งหมายถึงน้ำที่ซึมออกมากจากพื้นดิน จากข้อมูลทั่วไปของสภาพหมู่บ้านพบว่า หมู่บ้านน้ำทรัพย์ ตั้งอยู่ในระดับความสูงตั้งแต่ 100-352 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

 ในอดีตกลุ่มคนที่เข้ามาอยู่ที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์กลุ่มแรกคือ กลุ่มของนายพรานที่มาบ้านซ่อง ตำบลวังจันทร์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้แก่นายเกตุ นายทับ โล๊ะหนองลิ้น นายเสงี่ยม พุ่มไสว นายวอน นายริด ต่อมาได้อพยพออกมาจากจุดเดิม ขึ้นมาอยู่บริเวณขอบอ่าง เนื่องจากมีการสร้างอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ในอดีตผู้คนในหมู่บ้านเดินทางโดยทางเรือ

ข้อมูลของ กศน.แก่งกระจาน

    ในอดีตหมู่บ้านน้ำทรัพย์เป็นหมู่บ้านเดียวกับหมู่บ้านลำตะเคียน ต่อมาได้แยกออกมาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 โดยมีผู้ใหญ่คนแรกคือผู้ใหญ่ชื้น วรรณขำ ปัจจุบันมีผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำซึ่งเป็นลูกชายของผู้ใหญ่ชื้น วรรณขำ เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านใหม่มู่บ้านลำตะเคียน รือ ี ซึ่งได้แก่นายเกตุ นายทับ โล๊ะทองลิ้น นายเสงี่ยม พุ่มไสว นายวอน นายริดตั้งแต่ปี 2540 หมู่บ้านน้ำทรัพย์มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 แห่ง แต่ไม่มีวัด ชาวบ้านจะไปทำบุญและรักษาศีลกันที่วัดลำตะเคียนและวัดแม่คะเมย

    เมื่อไปถึงหมู่บ้านน้ำทรัพย์ตอนสายๆอากาศสดชื่นมาก มีลมพัดมาอ่อนๆ สิ่งที่ตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็นสิ่งแรกคือ ม้าลูกผสมร่างกายสมบูรณ์อยู่ในคอกกับครูฝึกสอนขี่ม้า นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านที่ใบหน้ายิ้มแย้มรอคอยต้อนรับพวกเราอยู่ กลุ่มของครูกศน.แก่งกระจานที่เดินทางไปล่วงหน้าได้อยู่ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอแก่งกระจานแล้ว 

       ผู้เขียนได้เปิดประเด็นเรื่องการถอดบทเรียน ท่านผอ.รวิทย์ กิตติคุณศิริ ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดเพชรบุรี ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของการมาถอดบทเรียนครั้งนี้โดยมีครูเสงี่ยม สัมพันธารักษ์และครูเกล้ากนก ฉ่ำมะนาเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator)  ผู้เขียนให้ครูที่เป็นคุณลิขิต(Note taker) ช่วยจดประเด็นให้ได้รายละเอียดดังนี้

       นายวรวิทย์  กิตติคุณศิริ      ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเพชรบุรี: กล่าวถึงกิจกรรมต่อเนื่องเมื่อวันที่  4  สิงหาคม  2553  บ้านน้ำทรัพย์ย้อนอดีตว่าชุมชนบ้านน้ำทรัพย์มีความเป็นมาอย่างไร  จนปัจจุบันที่ประสบความสำเร็จ  คือ

  1. ชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้
  2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์สิ่งที่ได้ทำไปแล้วไปบอกต่อ ๆ กัน  ได้ฝึกการถ่ายทอดว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร  จนได้รับการยอมรับ
  3. เป็นประโยชน์ในเชิงพัฒนาประเทศด้วย  การถอดบทเรียนเป็นตำรา  1  เรื่องในการพัฒนาประเทศสามารถทำเป็นเอกสารที่เป็นระบบได้สิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์  เห็นการเติมโตของชุมชนเป็นจุดที่จำทำต่อในการพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า  การถอดบทเรียน  ทุกคนได้รูปแบบว่าการที่เราจะจัดการศึกษากับชุมชน  โดยเฉพาะผู้อำนวยการ  และครู กศน.

การดำเนินการทำต่อเนื่องในวันที่  5  สิงหาคม   2553

  1. รู้จักชุมชนมากขึ้น
  2. ชุมชนมีของดี  เช่นมีแพทย์แผนไทย,  หมอนวด,  ช่างไม้  ฯลฯ

คุณยายมะลิ เปี่ยมทอง: ในสมัยก่อนยังไม่เจริญเดินทางมาทางรถยนต์  ถิ่นดั้งเดิมอยู่ที่บ้านซ่อง
ลุงใบ โล๊ะหนองลิ้น: เข้ามาอยู่ที่นี้โดยการจับเป็นพื้นราบในอ่าง  เดินทางมาทางเขาเจ้า  มาจับจองพื้นที่ในสมัยพ่อ  เดิมพื้นที่เป็นป่าสัมปทาน  (เมื่อ 47 ปี)  ชุดนี้มาพร้อมกับการสร้างเขื่อน  พ.ศ.  2505  ยุคแรกย้ายบ้านเรือนประมาณ  4 - 5  ครั้ง  มีบ้านอยู่  4  หลังคาเรือน

 

              ชุดที่2   มาทำถ่าน  มาเผาถ่าน  สมัยก่อนปลูกถั่วลิสงเพราะเป็นที่ราบ  มีตาน้ำออกมาตลอดบริเวณกระชังปลา  ต่อมาได้ปลูกข้าวโพด  ฝ้าย  ต่อมาเริ่มจับปลาเมื่อประมาณ  20  กว่าปี  เพราะน้ำจะนิ่งตลอดในปี  พ.ศ.  2522  น้ำจะแห้ง    ก่อนปี  16 เดินทางทางเรือ  และมีรถเมล์อยู่  1  คัน  เป็นรถของนายช่างประสาท 

 -การขายของนำใส่เรือไปขาย  จะมีละหุ่ง  ฝ้ายไปขาย  เรือที่ใช้เป็นเรือที่ต่อขึ้นเอง  เรือมาดและเรือขุดต้องซื้อมา

 -การต่อเรือส่วนมากทำกันเอง

 -การเจ็บป่วย  ต้องไปทางเรือ  ใช้วิธีการรักษาทางแผนโบราณ  ยาที่มีอยู่ประจำบ้าย  ยาทัมใจ  ยาหัวสิงห์  ถ้าเกิดกระดูกหักต้องมีหมอกระดูกที่วัดเขื่อนเพชร

 - ไฟฟ้าเข้ามาปี  พ.ศ.  2532

 - ถนน รพช.  ปี พ.ศ,  2517

 -  มีรถยนต์ในปี  พ.ศ.  2515 - 2516

 -   มีโรงเรียน  ปี  พ.ศ.  2521  ซึ่งค่ายฝึกการรบพิเศษกระจานเข้าฝึกได้เห็นระยะทางห่างไกล  ท่านพันตรีฉลอง   ได้แบบสร้างอาคารจากการโดดร่มค่ายฝึกรบพิเศษ

 -   พลเอกอาทิตย์  กำลังเอก  มาทำพิธีเปิดโรงเรียนในปี  พ.ศ.  2522

 -     เปิดสอนในปี  พ.ศ.  2522  (โรงเรียนบ้านน้ำทรัพย์)  ครูใหญ่คนแรกชื่อครูล้วน แจ้งจัด

-     นักเรียนรุ่นแรก  ลำบากมาก  ทางถนนลูกรัง  นักเรียนมาทางเรือ  มาสาย

  ผู้เขียนยังมีข้อมูลหมู่บ้านน้ำทรัพย์มาเขียนให้อ่านอีกครับ จะพยายามเขียนให้ได้ทั้งหมด  มีคุณยยสองท่านน่ารักมาก ยายเล่ามาเดินทางมาจากอำเภอสองพี่น้องจังหวัดสุพรรณบุรี

 ตอนที่เราลงหมู่บ้าน ได้ไปดูเรื่องการเลี้ยงแพะ  พอดีกับช่วงที่ปศุสัตว์กำลังจะไปสาธิตการผสมพันธุ์แพะพอดี  เลยมีโอกาสแวะไปดู

 ในหมู่บ้านทำหมู่บ้านเชิงอนุรักษ์ มีที่พักแบบ Homestay ด้วย สนใจติดต่อที่ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ(เบอร์ติดต่อ ๐๘-๙๕๕๐-๐๘๐๙, ๐๓๒-๔๕๙๐๖๒ ๐๘-๙๘๓๗-๒๕๓๕ ) นะครับ หรือเข้าไปอ่านเรื่องหมู่บ้านน้ำทรัพย์ที่นี่

  ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่น่าสนใจคือการขี่ม้า  ที่เห็นในภาพไม่ใช่ cowboy นะครับ แต่เป็นท่าน ดร.ปาน กิมปี ศึกษานิเทศก์ของ กศน.กำลังฝึกขี่ม้า  ที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์ให้บริการสอนขี่ม้าและล่องแก่งด้วย ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…


จิตอาสา:ค่ายบูรณาการ(2)

2 ความคิดเห็น โดย khajitf เมื่อ 9 กันยายน 2009 เวลา 8:09 (เช้า) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 4482

วันนี้อยู่มหาวิทยาลัยครับ งานยุ่งมากๆๆ  เมื่อเย็นมีพี่จากเชียงใหม่โทรศัพท์มาด้วย ได้ข่าวว่าคนทางใต้ขึ้นไปประชุมงานวิจัยที่ภาคเหนือให้ทายเอาเองว่าใคร ฮ่าๆๆ 

 

   เริ่มฐานแรกครูสิริกาญ เป็นฐานให้นักเรียนร้องเพลงภาษาอังกฤษและทำท่าทาง นักเรียนจะได้ฝึกร้องภาษาอังกฤษคนละ 3 เพลง

     ดูจากรูปภาพนะ คนแรกทางซ้ายมือครูชูศักดิ์จากโรงเรียนวัดทุ่งคอก ครูชูศักดิ์เป็นวิทยากรศูนย์ ERIC กิจกรรมที่ให้นักเรียนทำคือให้นักเรียนทายว่าทำกิจกรรมอะไร โดยถามคำถามนักเรียนเช่น Do you play…..? กิจกรรมนี้จะทำเป็นคู่ เสียดายผู้เขียนไม่มีภาพ ใครมีภาพช่วยเอามาให้ดูหน่อยนะครับ

 

     ฐานต่อไปเป็นของพี่ครูกัญญาพัชร พี่ครูกัญญาพัชรเป็นเลขาศูนย์ ERIC ของโรงเรียนบรรหารแจ่มใส 1 ที่อำเภอดอนเจดีย์ เป็นกิจกรรม Action verb ให้นักเรียนฝึกการพูด( speaking) สนทนา โดยทำเป็นคู่

 

      ดูตามรูปภาพที่สองนะครับ ฐานต่อไปคือฐานของพี่ครูประยุทธ จากโรงเรียนบางลี่วิทยา พี่ครูประยุทธเป็นวิทยากรศูนย์ ERIC นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนในมหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย ฐานนี้เป็นบัตรคำคล้ายกับ hot potato จะส่งบอลไปรอบๆๆวง เมื่อหยุดก็ให้บัตรคำแก่นักเรียนคนนั้น แล้วให้บรรยายว่า คำศัพท์นั้นคืออะไร  เมื่อได้แล้วก็เอาคำศัพท์นั้นมาแต่งประโยค

           ฐานต่อไปเป็นของครูสุมาลีหรือเราเรียกว่า she เพราะเป็นชื่อในบล็อกว่า she โว Phonics  ฐานที่พี่ครูสุมาลีทำคือการฝึก A-Z เช่น 1 = A    2 = B ไปเรื่อยจนครบ 26 ตัว หลังจากนั้นจะถามนักเรียนว่า ถ้าจะช่วยกันดูแลโลก จะต้องทำอะไรบ้าง เช่น Grow the tree  ฯลฯ ฐานนี้สามารถบูรณาการกับวิชาวิทยาศาสตร์ได้

    ฐานสุดท้ายเป็นของน้องมะปรางเปรี้ยว น้องปาณิก น้องเก๋น้อยและ fish ที่ขึ้นมาจากสงขลามาช่วยทำค่ายภาษาอังกฤษ เป็นฐานจำคำศัพท์โดยใช้ผ้าคลุมคำศัพท์ไว้(ตอนแรกใช้ผ้าขาวม้าผู้เขียน คงมีกลิ่นเหม็น ฮ่าๆๆ สงสารทีมงานจาก UsableLabs ผู้เขียนเลยให้เปลี่ยนเป็นผ้าสีฟ้าแทน) และเปิดให้นักเรียนดูสัก 1 นาที แล้วช่วยกันเขียนว่ามีคำศัพท์คำใดบ้าง อากาศร้อนมากๆๆ ทำเอาน้องมะปราง น้องเก๋น้อย น้องปาณิกเหงื่อตก สงสัยจำนวนเด็กมากเกินไป (ให้น้องๆมาอยู่กับเด็กๆๆบ้างก็ดี เพราะปกติอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮ่าๆ)

    ตอนกลางคืนมีกิจกรรมงานวัด(temple fair) นักเรียนจัดกิจกรรมเอง ครูจะคอยไปเข้าซุ้มของนักเรียนเช่น ปาเป้า(เสียวจัง ฮ่าๆ) หนุ่มน้อยตกน้ำ บ้านผีสิง มีเด็กน้อยคนหนึ่งเอาใบเตยมาทำเป็นดอกกุหลาบสวยมากๆๆ ที่ผู้เขียนชอบคือม้าหมุน(ครูวณีวรรณ ในรูป 2 คนที่ 5 นับจากซ้ายมือ) เข้าไปเล่น ปรากฏว่าม้าหมุนโดยให้ครูขี่คอ แต่ม้าหมุนไม่ได้เพราะม้าหนัก ฮ่าๆๆ

     นักเรียนต้องพูดภาษาอังกฤษเชิญครูเข้าร่วมกิจกรรมเมื่อครูเข้าร่วมกิจกรรมก็ให้คูปองนักเรียน 1 ใบมีค่า 10 บาท  ตอนสุดท้ายเลิกงานเอาคูปองมารวมกันภายในกลุ่ม กลุ่มไหนได้คูปองมากที่สุดเป็นผู้ชนะ  จากกิจกรรมทั้งหมดทำให้นักเรียนได้ฝึกพูด ฝึกการอ่าน ฝึกการฟัง ฝึกการเขียน  เป็นกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่หลากหลายจากเพื่อนและวิทยากร

       

 

      ขอบคุณทุกๆๆท่านที่บริจาคน้องตุ๊กตาให้น้อง นอกจากนี้บริจาคงบประมาณสำหรับอุปกรณ์การเรียนและขอบคุณทุกๆๆท่านที่ร่วมเป็นวิทยากร ขอบคุณนักเรียนทุกๆๆคนที่ตั้งใจทำกิจกรรม ขอบคุณทุกๆๆท่านด้วยครับที่เข้ามาอ่าน…


จิตอาสา:ค่ายบูรณาการ(1)

2 ความคิดเห็น โดย khajitf เมื่อ 2 กันยายน 2009 เวลา 11:02 (เช้า) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 2715

วันนี้( 22 สิงหาคม 2552)  ผู้เขียนและเหล่าสมาชิกบล็อกเกอร์ได้ช่วยกันทำค่ายบูรณาการอยู่ที่โรงเรียนวัดท่าไชย(ประชานุกูล) อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

 ครูพิสูจน์ ครูวรรณ พี่ครูพรรณา(ทำท่าแอ๊บแบ๊วให้ดู)และ she คุณหนุ่ย อาจารย์Ernikกับน้อง Thom

  วันนี้จะมีท่าน ผอ.ประจักษ์ และน้องม่อน พี่ครูพรรณา  น้องครูยิ้ม พี่ครูสุมาลี พี่ครูประยุทธ พี่ครูชูศักดิ์ พี่ครูกัญญาพัชร น้องครูวรรณ ครูตุ๊กแก น้องพอลล่า พี่ครูพิสูจน์ น้องมะปรางเปรี้ยว คุณหนุ่ยและอาจารย์เอรินนิค น้อง Thom  พี่ศน.ปวีณา น้องจิ น้องกล้วยแขก คุณ did น้องโย่ น้องเก๋น้อยและน้องปาณิก จะช่วยกันทำค่ายบูรณาการภาษาอังกฤษกับภาษาไทย โดยแบ่งเป็น 15 ฐาน

น้อง Thom น่ารักมากๆๆ

  ตอนเช้าหลังจากมีพิธีเปิดเวลา 09.00 น. โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวโพธิ์ มาเป็นประธานในพิธี แล้วจึงแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้(learning base) ซึ่งมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

กิจกรรมของครูพรรณา

  ตอนนี้ผู้เขียนเอาภาพกิจกรรมเมื่อวานตอนเย็นมาให้ดูก่อนนะครับ เป็นกิจกรรมละลายพฤติกรรม(ice breaking)นักเรียนซึ่งมีประมาณ 320 คน ทำเอาพี่ครูพรรณา พี่ครู she ครูวรรณ ครูตุ๊กแก พี่ครูพิสูจน์ คุณหนุ่ยและอาจารย์ Ernik อึ้งไปเหมือนกัน

 

 

ละลายพฤติกรรม

   ทันทีที่นักเรียนเริ่มเข้ากิจกรรมฐานการเรียนรู้ จะเอาภาพมาให้ดูนะครับ   ตอนนี้น้องตุ๊กตามีมากกว่า 300 กว่าตัว ทำให้อย่างน้อยนักเรียนจะได้น้องตุ๊กตาไปคนละตัวและอุปกรณ์เครื่องเขียนละชุด แน่นอน ขอบคุณทุกๆๆท่านครับ ที่ช่วยส่งตุ๊กตามาให้น้องๆๆและช่วยบริจาคเงินสำหรับเครื่องเขียน…

                

วันที่(22 สิงหาคม 2552)  ผู้เขียนและเหล่าสมาชิกบล็อกเกอร์ได้ช่วยกันทำค่ายบูรณาการอยู่ที่โรงเรียนวัดท่าไชย(ประชานุกูล) อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผอ.ประจักษ์มาพร้อมครอบครัวและน้องม่อน

 

  วันนี้จะมีท่าน ผอ.ประจักษ์ และน้องม่อน พี่ครูพรรณา  น้องครูยิ้ม พี่ครูสุมาลี พี่ครูประยุทธ พี่ครูชูศักดิ์ พี่ครูกัญญาพัชร น้องครูวรรณ ครูตุ๊กแก น้องพอลล่า พี่ครูพิสูจน์ น้องมะปรางเปรี้ยว คุณหนุ่ยและอาจารย์เอรินนิค น้อง Thom  พี่ศน.ปวีณา น้องจิ น้องกล้วยแขก คุณ did น้องโย่ น้องเก๋น้อยและน้องปาณิก จะช่วยกันทำค่ายบูรณาการภาษาอังกฤษกับภาษาไทย โดยแบ่งเป็น 15 ฐาน

 

อาจารย์ชูศักดิ์ อาจารย์กัญญาพัช อาจารย์ประยุทธ อาจารย์สุมาลี และอาจารย์วณีวรรณ

น้อง did น้องนา น้องพอลล่า ผู้เขียน อาจารย์พิสูจน์ น้องโย่

 

    เอารูปสมาชิก gotoknow ที่มาช่วยกิจกรรมให้ดูก่อนนะครับ  เมื่อแบ่งเป็น 15 ฐาน  เป็นข้อผิดพลาดของผู้เขียนเอง เนื่องจากนักเรียนวนเข้าฐานผิดเลย งง งง ไปหลายกลุ่ม  ขอเอากิจกรรมตอนเช้ามาให้ดูก่อนนะครับ เป็นกิจกรรมการออกกำลังกาย 

 

    รายละเอียดของฐานจะเล่าทีหลังนะครับ  เอาตอนวาดภาพมาให้ดูก่อน น้องพอลล่าให้เด็กๆๆวาดภาพโรงเรียนในฝันออกมาว่าจะเป็นอย่างไร โดยแบ่งเป็น 30 กลุ่ม มีกรรมการเป็นบล็อกเกอร์ตัดสิน 4 ท่าน ได้ผู้ชนะออกมาแล้วให้บรรยายด้วยว่า ภาพของตนนั้นมีความหมายอย่างไร

 

น้องมะปรางและทีมเตรียมมอบรางวัลให้เด็กๆๆ

    ตอนเย็นเป็นการเตรียม งานวัด(temple fair) แล้วจะเอาภาพมาให้ดูนะครับ  เช้านี้ตั้งใจว่าจะไปตักบาตรแต่เช้า นัดพี่ครูพรรณนาไว้ แล้วจะมาเขียนเพิ่มนะครับ  ขอบคุณบล็อกเกอร์ทุกๆๆท่านที่ส่งน้องตุ๊กตาและงบประมาณมาให้นักเรียน ขอบคุณทุกๆๆท่านที่มาช่วยกิจกรรมและขอบคุณทุกๆๆท่านที่เข้ามาอ่าน…

                             พี่ศน ปวีณา(ยืมน้องพอลล่ามา)


สวนป่าครูบาสุทธินันท์:นักศึกษาแพทย์จากชลบุรี(4)

3 ความคิดเห็น โดย khajitf เมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 เวลา 5:40 (เย็น) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 2762

      ตอนเย็นมีพี่ๆจากขอนแก่นมา ให้ทายว่าใคร จำได้ไหมครับว่าใคร เพราะพี่ๆเหมือนตัวจริงมาก ๆ  ผู้เขียนลุ้นอยู่ว่า พี่ๆจะเดินทางมาได้ไหมเนื่องจากประสบอุบัติเหตุเล็กน้อย กลัวพี่ถอดใจ แต่พี่ก็ลุยกันน่าดูมาจนถึง น้องมะเดี่ยวหาเข้ามา ใครหนอที่มาเข้าร่วมกิจกรรม..

 

      วันนี้นักศึกษาแพทย์ได้ผ่อนคลายโดยการจัดการแสดงหลังอาหารค่ำ ใครไม่เคยดูจะพบว่า นักศึกษาแสดงเก่งมากพอๆๆกับนักแสดงอาชีพ ถ้าไม่บอกว่าเป็นนักศึกษาแพทย์ ผู้เขียนคิดว่ารับรองไม่มีคนทราบ

 

    คุณหมอและพี่ๆได้ช่วยสะท้อนต่อในเรื่องการทำกิจกรรม ในเรื่องการทำงาน ในเรื่องการเรียน เพราะนักศึกษาแพทย์จะนำเสนอและถอดบทเรียนจากการเข้ามาร่วมกิจกรรมที่สวนป่าครูบาสุทธินันท์

 

  คุณหมอจอมป่วนนำเสนอบทเรียนที่เป็น power point ในเรื่อง key word ของการจัดการความรู้ เช่น สุนทรียสนทนา มณฑลแห่งพลังฯลฯ  เช้าวันนี้จะเป็นกิจกรรมการนำเสนอบทเรียนที่นักศึกษาแพทย์และการนำเอาไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทำงาน… รอดูภาพกิจกรรมนะครับ…

 

            เอาภาพกิจกรรมตอนปิดงานมาฝากครับ


ค่ายภาษาอังกฤษ:ที่บ้านสวนยายเฮ้า(2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย khajitf เมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 เวลา 5:37 (เย็น) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 2401

  ผู้เขียนอยู่ที่ กทม. ( กลางทุ่งมหาสารคาม)เลยครับ ฮ่าๆๆ อากาศที่นี่หนาวมาก  ตอนเช้าและกลางคืนอากาศเย็น ชวนให้เป็นไข้หวัด กิจกรรมเมื่อวานเป็นกิจกรรมตามอัธยาศัยของเด็กๆๆ กิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการฝึกทักษะการฟัง พูดอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ เน้นให้เด็กๆๆได้เรียนรู้เรื่องใกล้ตัวเป็นภาษาอังกฤษ

 

    เด็กๆๆที่นี่น่ารัก ตั้งใจร่วมกิจกรรมมากเมื่อวานเป็นกิจกรรมเรียนปนเล่นและ การเรียนแบบโดยใช้ท่าทาง(Total Physical Response )นอกจากนี้ยังใช้บทบาทสมมุติ(Role play) ที่ผู้เขียนได้เรียนรู้กับเด็กคือการฝึกสมาธิโดยใช้ พุทธกะลา คือฝึกการทรงตัว ฝึกสมาธิโดยการเดินบนกะลา

   เด็กๆๆจะเอาข้าว(เหนียว) ใส่กระติบมากินที่จัดกิจกรรมด้วย อาหารของเด็กมีหลายอย่างเช่นไข่เจียว หมูทอด ที่ขาดไม่ได้คือ Papaya salad (ส้มตำนั่นแหละ) มีเด็กนักเรียนคนหนึ่งตำส้มตำได้อร่อยมาก นึกแล้วน้ำลายไหล…

 

   วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมเพิ่มเป็นการอ่าน  แล้วจะมาเล่ารายละเอียดนะครับ

                                         

ตอนนี้ให้ทายว่าภาพนี้เด็กๆๆออกไปหาอะไรกัน ใครทายถูกมีรางวัลเป็นหนังสือนะครับ รีบทายมาเลยครับ…

                      มีน้องนักศึกษาปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามและ ดร.นลินรัตน์ มาร่วมกิจกรรมกับนักเรียนครับ

      

 

น้องพิธีรายการทีวีสุดหล่อ


ค่ายภาษาอังกฤษ:ที่บ้านสวนยายเฮ้า(1)

3 ความคิดเห็น โดย khajitf เมื่อ 27 เมษายน 2009 เวลา 5:13 (เย็น) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 3077

เช้าวันนี้ผู้เขียนอยู่ที่บ้านสวนยายเฮ้า ที่หมู่บ้านโนนจาน ตำบลเมืองเตา จังหวัดมหาสารคาม  เพิ่งเสร็จจากการอบรมนักศึกษาแพทย์ที่บ้านพ่อครูบาสุทธินันท์  บ้านสวนยายเฮ้า  เกิดขึ้นจากลูกศิษย์เอกพ่อครูบาคือ ดร.ศักดิ์พงษ์ หอมหวล ได้เริ่มจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้แก่ชุมชนในหมู่บ้าน

 

       ตอนนี้อยู่ในระยะเริ่มแรก ต้นไม้เพิ่งปลูก แต่สงบมากๆๆ อยู่กลางทุ่งนาเลย เมื่อคืนลมแรงเหมือนเต็นท์ที่ผู้เขียนนอนจะปลิวไปตามลมเลยต้องเข้าไปนอนในห้องกระจก  (ใครจะรู้ว่าลมมันแรงขนาดนั้น)…เสียงกบร้องรอบที่พัก เหมือนแข่งกัน อ๊บๆๆที่นั่น อ๊บๆๆที่นี่ ถ้าคืนนี้มีเสียงกบอีกจะอัดเสียงธรรมชาติมาฝากก็แล้วกัน

 

  

    ตอนเช้าผู้เขียนตื่นมาเลยไปถ่ายรูปรอบๆๆบ้านสวนยายเฮ้า เพราะเมื่อคืนมาดึกมากแล้ว ดร.ศักดิ์พงษ์ หอมหวล บอกว่าเพิ่งปลูกต้นไม้ได้ทดลองปลูกต้นไม้หลายชนิดปรากฏว่าต้น อุจจาระเหล็ก เอ้ยต้นขี้เหล็กเป็นไม้ที่เติบโตได้ไวกว่าไม้ชนิดอื่น ดร.ศักดิ์พงษ์เลยจะปลูกขี้เหล็กและต้นไผ่เอาไว้กันแรงลม

   

 

   ในระหว่างที่ผู้เขียนกำลังเขียนบันทึกมีเสียงนกเขา นกโพระดก นกกางเขนบ้านร้องรอบๆๆสวน ตอนนี้ผู้เขียนรอเด็กน้อยที่อยู่ในหมู่บ้านมาร่วมกิจกรรมครับ  แล้วจะเอารูปมาให้ดูนะครับ

                  เด็กๆๆเคารพธงชาติ

 

                           The monk ,the ghost,

                            พุทธกะลา ปรับมาจากพุทธสปา อิอิ

    ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…


เจ้าเป็นไผ: ขจิต ฝอยทอง(3)

8 ความคิดเห็น โดย khajitf เมื่อ 18 มีนาคม 2009 เวลา 11:30 (เช้า) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 2833

          ตอนมาเป็นครูชีวิตสนุกสนานมาก ได้เลือกโรงเรียนที่ไกลที่สุดเพราะสอบได้อันดับต้น อยากไปอยู่ไกลๆๆ แต่มีครูที่สอบได้รองจากผมขอเปลี่ยนเนื่องจากบ้านเธออยู่ที่นั่น มีครอบครัวแล้ว เอารูปมาให้ดูด้วย จะให้ผมใจดำไม่ให้เธอเลือกได้อย่างไร ผมเลยไปอยู่อำเภอบ่อพลอย ชาวบ้านแถวโรงเรียนเป็นชาวสุพรรณบุรีอพยพมาอยู่ บางกลุ่มเป็นชาวลาวโซ่ง เป็นกลุ่มที่น่าศึกษามาก มีวัฒนธรรมที่ดีงามของตนเอง ผมเลยมีโอกาสฝึกพูดภาษาโซ่งจากนักเรียน หลังจากได้เรียนภาษาปกากะญอ(กระเหรี่ยง) จากโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก  

   ตอนเป็นคุณครูผมขับมอเตอร์ไซด์ไปเยี่ยมบ้านนักเรียนหลังเลิกเรียนเกือบทุกวัน ไปเยี่ยมนักเรียนที่ขาดเรียน ไปคุยกับผู้ปกครอง มีความสุขดี ผมสอนภาษาอังกฤษไปประมาณ 5 ปี อยากเพิ่มความรู้ของตนเอง  จึงไปสอบเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ปรากฏว่าสอบได้เลยไปเรียน ใช้เวลาเรียนสองปีครึ่ง  แต่ตอนเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงๆๆ ได้ลองสอนจริง หลักสูตรที่เราเรียนกันจะสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ตอนนั้นผู้เขียนไม่มีที่พัก แต่โชคดีมีพระที่เคยทำค่ายด้วยกันที่สงขลาท่านเป็นพระผู้ใหญ่อยู่วัดวิเศษการ ไม่ไกลจากศิริราช ชวนผู้เขียนไปอยู่ด้วย ผู้เขียนเลยไม่ต้องเช่าบ้าน ตอนเช้าถ้าไม่มีเรียนตอนเช้าก็ถือปิ่นโต สะพายย่ามตามหลวงพี่ ไปบิณฑบาต(เป็นเด็กโข่ง ที่ไม่มีใครรู้ อิอิๆ)แถวโรงพยาบาลศิริราช ตลาดรถไฟบางกอกน้อย (บางทีท่านผู้อ่านอาจเคยเห็นผมแถวๆโรงพยาบาลศิริราชก็ได้ แต่ไม่รู้จักเอง ฮ่าๆๆ)

    ผมเองหวังตั้งแต่เด็กแล้วว่าอย่างน้อยผมต้องเรียนจนจบปริญญาเอก เมื่อกลับมาโรงเรียนประมาณสองปี กระทรวงศึกษาธิการก็มีการสอบคัดเลือกครูเพื่อไปเรียนที่ New Zealand ผู้เขียนได้ไปอยู่ที่ New Zealand ในเมือง Aucklandเป็นเมืองที่น่าอยู่ อากาศดีมาก ผู้คนเป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส  เมื่อกลับมาเมืองไทยก็สอนนักเรียนเข้มข้นมากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังไปเป็นวิทยากรให้แก่ศูนย์ ERIC เพื่ออบรมครู และเป็นอาจารย์พิเศษให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ กาญจนบุรี  สองปีต่อมาลูกศิษย์ผู้เขียนที่เป็นลูกภารโรง ก็สอบทุนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนไปเรียนที่เยอรมัน เป็นที่ฮือฮามากในจังหวัดเพราะชนะคู่แข่งที่เป็นลูกข้าราชการ ลูกพ่อค้าในจังหวัด  แต่ก็นั่นแหละ อย่างที่บอกไว้ ผมเองมีความหวัง มีความตั้งใจอยากเรียนจนจบปริญญาเอก เมื่อจบปริญญาโทมาประมาณ 5 ปี ที่โรงเรียนไม่มีครูไปเรียนปริญญาโทและเอก ผู้เขียนขออนุญาตผู้บริหารไปสอบปริญญาเอก  ปรากฏว่าสอบได้ แต่ผู้บริหารไม่ยอมให้ไปเรียน แต่โชคดีทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ให้ทุนไปเรียนต่อปริญญาเอก ผู้เขียนเลยลาออกจากราชการมาเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เรียนสนใจตามที่หวังไว้ 

 

 อยากฝากบอกท่านผู้อ่านทุกๆๆท่านว่า เราต้องเป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา( lifelong learning) โดยเฉพาะคนที่เป็นครู สมควรเรียนรู้ตลอด  เราอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันกับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือเรียนรู้ไปกับภูมิปัญญาของท้องถิ่น อย่าทำตัวเป็นน้ำล้นแก้ว และอย่าทำตัวเป็น dead wood 

  ผมอยากบอกว่า ความหวัง ความตั้งใจจริงเป็นสิ่งสำคัญมาก ตอนนี้สิ่งที่อยากทำคือ อยากสร้างเครือข่ายแบบเฮฮาศาสตร์ให้เกิดมากๆๆในสังคมบ้านเรา อยากเห็นความสันติสุขเกิดในทุกๆๆที่ของเมืองไทย อยากทำความดีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตอนนี้ผมยังมีความฝัน ความหวังที่ไม่สามารถบอกใครได้ เก็บเอาไว้เป็นความลับแต่ผู้เดียว ผมรู้หรอกว่าผู้อ่านอยากทราบ  จ้างก็ไม่บอก ฮ่าๆๆๆ   ผมเองนั้นมีวิธีการเรียนไม่ค่อยเหมือนใคร  อยากเรียนรู้อะไรก็เรียน จะเรียนได้ไม่ดีถ้าอยู่ในระบบ ผมได้เรียนรู้จากการที่ผมออกไปอบรมครู ว่า ระบบการศึกษาบ้านเรามีการพัฒนาในด้านการศึกษาที่ผิดพลาดมาตั้งแต่ต้น ผลของการปรับตำแหน่งความชำนาญการของครู ไม่ได้ส่งผลให้เด็กได้พัฒนา เมื่อไรที่มีการให้เงินครูเพิ่มจากครูชำนาญการเป็นครูเชี่ยวชาญโดยการดูเพียงเอกสารอย่างเดียว มีครูจ้างทำผลงานวิชาการ ไม่ได้ดูการพัฒนานักเรียนในชั้นเรียนรับรองได้ว่า การศึกษาบ้านเราคงไปไม่รอด   ในส่วนการพัฒนาครูภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐานนั้น คนที่น่าสงสารกลับเป็นครูประถมศึกษาและจะส่งผลไปสู่นักเรียนเพราะบ้านเรานั้นครูที่สอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาเราไม่ได้เตรียมความพร้อมของครูเราก่อน ให้ใครก็ได้ไม่ว่าจะเป็นเอกพละศึกษา เอกคหกรรมไปสอนนักเรียน ผลคือ ครูเองขาดความมั่นใจในการสอนภาษาอังกฤษ ขาดเทคนิคการสอน ถึงเวลาสอนครูก็ไม่อยากสอน ทำให้นักเรียนไม่อยากเรียน นี่ถ้ามีการหยุดคอรัปชั่นของคนบางพวกแล้วมาทุ่มที่การศึกษา มาทุ่มที่การพัฒนาครู เอาเรื่องการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ  การศึกษาบ้านเราคงดีกว่านี้นะครับ  หวังว่าตอนนี้ท่านผู้อ่านคงทราบแล้วว่า ผมเป็นไผ…ฮ่าๆๆ

 


เจ้าเป็นไผ: ขจิต ฝอยทอง(2)

2 ความคิดเห็น โดย khajitf เมื่อ 18 มีนาคม 2009 เวลา 10:56 (เช้า) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 4271

ตอนจบประถมศึกษาเพื่อเข้าเรียนต่อมัธยมศึกษาก็เกิดเรื่องจนได้พระที่ผมมาอยู่ด้วยท่านลาสิกขาบท แล้วผมจะอยู่กับใครละต้องกลับมาอยู่บ้าน แต่ก็ดีได้ช่วยแม่เลี้ยงน้องชายสองคน หุงข้าว ทำกับข้าวให้แม่ไปทำงาน แม่ไม่อยากให้เรียนต่อเพราะค่าใช้จ่ายมาก แม่อยากให้ออกมาเป็นช่าง ในวันที่มีสอบเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผมหนีแม่ออกทางหน้าต่างตอนตี 5 กว่า เพื่อไปสอบเรียนต่อ  ผลสอบปรากฏว่าผมสอบได้ครับ  แม่เลยให้เรียน  การเรียนผมอยู่ในเกณฑ์พอใช้

   ตอนมัธยมศึกษาตอนต้นเรียนสายวิทย์-คณิตย์สอบผ่านมาเรื่อยๆ แต่ตอนขึ้นชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายผมเปลี่ยนแผนด้วยที่ตัวผมเองชอบภาษามากกว่าการคำนวณเลยมาเรียนสายภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส ผมฝึกภาษาอังกฤษโดยพูดกับฝรั่งที่มาเที่ยวสะพานข้ามแม่น้ำแคว บางครั้งก็พาฝรั่งไปเที่ยว(เป็นไกด์ผีครับ ถึงแม้นว่าจะหน้าตาดี อิอิๆ) เลยได้ภาษาอังกฤษมาจากการปฏิบัติจริง แต่อย่างว่าตอนเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผมทำกิจกรรมทุกอย่างแล้ว ได้เรียนรู้การทำกิจกรรมจากในโรงเรียน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานนักเรียนตั้งแต่สมัยอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แต่ชีวิตผกผันตอนจบมัธยมศึกษาตอนปลายไม่เคยไปภาคใต้เลย แต่สอบได้ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา

   สมัยผมไปอยู่ใต้ใหม่ๆเริ่มมีการเผาโรงเรียนแล้ว แต่ไม่กี่ที่ตอนเป็นนิสิตที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา เริ่มอ่านหนังสือมากกว่าตอนเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อ่านหนังสือทุกเล่มที่ผ่านมาในสายตา กลุ่มเพื่อนที่ผมอยู่ด้วยเป็นกลุ่มคุรุทายาทเมื่อทุกคนจบการศึกษาต้องกลับไปเป็นครูชดใช้ทุน  ผมได้รับเลือกเป็นประธานคณะศึกษาศาสตร์ และเข้ามาทำงานที่องค์การนิสิต ได้เป็นอุปนายกภายนอกขององค์การนิสิตตอนอยู่ปีสอง 

  ผมเป็นแกนนำในสมัยก่อนเราเรียกกันว่าสหพันธ์นักศึกษาภาคใต้มีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่หาดใหญ่และ ปัตตานี วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช(ชื่อสมัยก่อน) วิทยาลัยครูสงขลา เทคโนโลยีราชมงคล ภาคใต้(ชื่อเดิม)  ผมเลยมีโอกาสไปทำค่ายอาสาที่สุราษฎร์ธานีนราธิวาส นครศรีธรรมราช ปัตตานี ตรัง พัทลุง ฯลฯ  และอีกหลายจังหวัด 

 

   ถ้าจะให้บอกว่าผมมีเพื่อนภาคไหนมากที่สุดผมตอบได้เต็มปากว่ามีเพื่อนอยู่ภาคใต้มากที่สุด  เรียนอยู่ 4 ปี ได้ทั้งความรู้ในห้องเรียนและนอกชั้นเรียน  ตอนเสาร์-อาทิตย์ไปกับเพื่อนมุสลิมสอนหนังสือตามมัสยิด ถ้าปิดเทอมใหญ่ก็จัดค่ายอาสาหรือค่ายที่โรงเรียนวัดทรายขาว แถวตำบลทุ่งหวัง  จังหวัดสงขลา ความประทับใจของผมเองคือเราได้ทำกิจกรรมที่เราชอบ เรามีเพื่อน ค่ายที่ผมชอบจึงเป็นค่ายอาสา ผมเคยเข้าไปสำรวจค่ายที่อำเภอสะบ้าย้อยคนเดียวโดยนั่งรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้าไป ผ่านสวนยาง ผ่านหมู่บ้าน พี่น้องมุสลิมใจดีมาก ผมเข้าไปจัดค่ายให้โรงเรียนประถมศึกษาที่อำเภอสะบ้าย้อย(ถ้าเป็นสมัยนี้จะเป็นอย่างไรหนอ)   ผมเองได้รับการยอมรับจากเพื่อนว่า เป็นผู้นำกิจกรรม แต่การเรียนผมไม่ได้ทิ้ง ผมยังตั้งใจเรียนเหมือนเดิม มีอาจารย์ที่ผมเคารพหลายท่านเช่น ผศ.ดร.พรทิพย์ เสมาภักดี สมัยที่เรียนท่านไปต่างประเทศบ่อย ผมจะไปเฝ้าบ้านให้อาจารย์โดยเอาหนังสือไปอ่านด้วย  บางครั้งก็ชวนเพื่อนๆคุรุทายาทไปบ้านอาจารย์ เรียกว่าเป็นที่รักของเพื่อน ใครให้ช่วยอะไรได้ก็จะช่วย หนังสือที่ผมอ่านสมัยเรียนกลับเป็นเรื่องของครูโกมล คีมทอง(บอกนิสิตสมัยปัจจุบัน นิสิตบอกว่าไม่รู้จัก)  ที่มาถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านส้อง สุราษฎร์ธานี ผมเรียนภาษาอังกฤษแต่วิชาโทรัฐศาสตร์ เรียกว่าสมัยก่อนความคิดเรื่องการเมืองค่อนข้างก้าว แถมเพื่อนๆภาคใต้เราก็คุยกันเรื่องชีวิตของประชาชน เรื่องการเมือง เรื่องการศึกษา จบการศึกษามาค่อนข้างไฟแรงเลยไปอยู่ที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็กกาญจนบุรี แม่แอ๊ว หรือครูรัชนี ธงไชย เป็นครูใหญ่ท่านเป็นภรรยาพ่อเปี๊ยก (พิภพ ธงไชย) ผมได้เรียนรู้เรื่อง summer hill ในบริบทของเมืองไทย อยู่ได้ไม่นาน ทางราชการเรียกตัวให้ไปเป็นครูภาษาอังกฤษเพราะก่อนมาอยู่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ผมไปสอบบรรจุไว้ก่อนแล้วปรากฏว่า ได้เป็นครูก่อนเพื่อนที่เป็นคุรุทายาทอีก  เวรกรรมของระบบราชการ ฮ่าๆๆ


เจ้าเป็นไผ: ขจิต ฝอยทอง(1)

9 ความคิดเห็น โดย khajitf เมื่อ 15 มีนาคม 2009 เวลา 5:01 (เย็น) ในหมวดหมู่ ภาษา #
อ่าน: 3472

  ผมจำความได้ตอนเด็กๆๆว่า พ่อผมมีสองอาชีพคือเป็นทั้งช่างไม้และชาวนา ถึงเวลาหน้านาที่บ้านผมพ่อก็พาไปทำนา แต่เมื่อหมดหน้านาพ่อก็มารับจ้างสร้างบ้าน พ่อเป็นชาวบ้านหนองขาวเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั่งแต่สมัยอยุธยา  พ่อเล่าว่า ก๋งเป็นคนจีนไว้ผมเปียมาจากไหหลำ(ทำไมขจิตหน้าตาไม่มีเค้าหน้าคนจีนเลย อิอิๆ) มารับจ้างแถวๆกาญจนบุรี ตระกูลฝอยทอง ถ้าไปถามแถวๆหมู่บ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ตระกูลนี้จะเป็นนักเลงวัว หรือพ่อค้าที่เลี้ยงวัว(ผมเลยอนุรักษ์อาชีพเดิมไว้) ในหมู่บ้านเรามีภาษาหนองขาวที่สำเนียงเหน่อไปจากจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนแม่นามสกุลเดิม มั่งอะนะ เป็นคนพื้นเพในตัวจังหวัด

 

  ผมจำความได้ว่าบ้านเราจนแต่มีความสุข ผมมีพี่น้องถึง 6 คน  ตอนผมอายุประมาณเกือบ 7 ขวบ พ่อเสียชีวิต พระท่านคงสงสารเลยขอผู้เขียนไปอยู่ที่วัดการเป็นเด็กวัดสมัยก่อนถือว่าโชคดีเพราะผมได้เรียนรู้เรื่องระเบียบวินัยตั่งตั้งเช้าหลังจากกลับมาจากบิณฑบาต อาบน้ำแต่งตัวรอพระฉันเสร็จ ก็รีบกินข้าว เพื่อไปโรงเรียน เด็กวัดทุกๆๆคนรวมทั้งผมด้วยจะกินข้าวไวมาก ฮ่าๆๆ ใช้เวลากินข้าวไม่ถึง 15 นาทีแล้ววิ่งไปโรงเรียนที่อยู่บริเวณวัด ผมเป็นคนนำสวดมนต์ตั่งแต่อยู่ประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่ออยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เลยได้รับเลือกเป็นประธานนักเรียน

  ผมขอบอกก่อนว่าผมเป็นคนเรียนไม่เก่ง แต่ต้องขยันมากกว่าเพื่อนคนอื่นๆๆ ถ้าเพื่อนผมอ่านหนังสือ 2 รอบผมจะต้องอ่าน 4 รอบ ส่วนใหญ่อยากเรียนเอง อยากอ่านเอง ตอนพักกลางวันผมกินข้าวที่วัดแล้วรีบวิ่งมาอ่านหนังสือในห้องสมุด อ่านตั่งแต่หนังสือ หมวด000เบ็ดเตล็ด 100 ปรัชญา 200 ศาสนา 300 สังคมศาสตร์ อ่านไปเรื่อยๆเท่าที่หนังสือในห้องสมุดมี ผลการเรียนออกมาจะเป็นเลขตัวเดียวเสมอ คู่แข่งในการเรียนสมัยเด็กๆๆของผมคือ ลูกคนจีนเจ้าของร้านในตลาด…เสาร์-อาทิตย์โรงเรียนปิด ผมก็ถือหนังสือ สมุด ไปแอบทำการบ้านที่อาคารเรียน ปัญหาคือ ตอนเย็นต้องรีบไปโรงครัว ไปกินข้าว เพราะพระท่านไม่ฉันข้าวเย็น  บางครั้งก็เก็บอาหารจากกลางวันเอาไว้กินตอนเย็น แต่ต้องเลือกอาหารเหมือนกัน ส่วนใหญ่เป็นอาหารแห้ง เช่น ไข่เค็ม ปลาทอด ขืนเก็บ แกงเขียวหวานไก่ไว้ละก็ อดกินฮ่าๆๆ การเป็นเด็กวัดค่อนข้างทำให้เกิดการเรียนรู้ว่า ชีวิตต้องสู้ ต้องขยัน ต้องศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา อยากเรียนรู้อะไร ต้องไปขอความรู้จากคนนั้นๆๆ  ผมสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ตั้งแต่เด็กๆๆ เพราะว่าวัดที่ผมอยู่มีฝรั่งมาเที่ยวบ่อยมากๆๆ ผมพาฝรั่งเข้าไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษา ได้ฝึกเพิ่มเติมตอนเป็นไกด์สมัยเรียนมัธยมศึกษา  ชีวิตมาผกผันเมื่อ



Main: 1.3842868804932 sec
Sidebar: 0.43255996704102 sec