การควบคุมระบบ Ulem มีเรื่องที่จะต้องระมัดระวังหลายอย่างคือ มอเตอร์ที่ใช้จ่ายน้ำ เป็นมอเตอร์ความเร็วสูง ดังนั้นจะเปิดไว้นานไม่ได้ เนื่องจากความร้อน อาจทำให้มอเตอร์ไหม้; ผู้ผลิตแนะนำให้เปิดครั้งละไม่เกิน 3 นาทีต่อชั่วโมง เพื่อให้ระบายความร้อนออกไป (ทดลองเปิดสองนาที ทุกยี่สิบนาที ยังไปไหว) จากข้อแรก ก็หมายความว่าระบบควบคุม จะต้องจ่ายไฟให้มอเตอร์ และจ่ายน้ำในเวลาเดียวกันด้วย; เรื่องจ่ายน้ำตามเวลาเปิดมอเตอร์นี้ลึกลับ ถ้าเอาน้ำจากสายยางจ่ายให้มอเตอร์ตรงๆ น้ำก็จะไหลออกตลอดเวลา ดังนั้นระบบควบคุมนอกจากคุมการจ่ายไฟฟ้าแล้ว จะต้องคุมการจ่ายน้ำด้วย วิธีการที่อาจจะง่ายที่สุด คือซื้อระบบควบคุมสำเร็จรูปที่ตั้งเวลาได้มาเลย แบบติดยี่ห้อราคาห้าร้อยกว่า แบบไม่มียี่ห้อแต่ทำงานได้เท่ากันก็ราคาถูกกว่าเยอะ ตัวควบคุม จ่ายไฟ 220V ออกมาตามเวลาที่ตั้งไว้ เป็นระยะเวลาที่ตั้งไว้ (ไม่เกิน 2-3 นาที): เราเอาไฟ 220V ไปแปลงเป็นไฟกระแสตรง 12V ให้มอเตอร์ และเอาไปจ่ายให้ปัมป์น้ำ (ไม่ว่าจะใช้ไฟ 220V หรือไฟกระแสตรง 12V) ตรงนี้มีโครงสร้างต้นทุนเป็น [อุปกรณ์เบ็ดเตล็ดอื่นๆ... »
Archive for May 6th, 2009
เรื่องราวย่อๆเกี่ยวกับการพัฒนา Power Supply & Control Unit สำหรับ ULEM
เตรียมการไว้ค่อนข้างดี มีภาพถ่ายเพียบ เพื่อการเขียนความเป็นมา เป็นไป ของการพัฒนา ดัดแปลงเครื่องจ่ายกำลังและระบบควบคุม ULEM แต่ไม่ว่างเขียนเพราะความคิดกำลังแล่น มัวแต่ทำๆๆ ครับ อย่างไรก็ตาม เพื่อสนองตอบความต้องการของแควน วัยรุ่นใจร้อนจากเหนือสุดแดนสยาม จึงขอลงรูปให้ดูบางส่วนก่อนดังนี้ ๑. ชุดแรกที่ท่าน Logos ทำเล่นและลองเอาไปดูกันที่สวนป่า ๒. ส่วนหนึ่งของข้าวของที่ผมเตรียมไป และที่ท่าน Logos ซื้อหามาให้ลองทำ ๓. ว่าไปทั้งวันเพราะของไม่ครบ ต้องไปหาซื้อเพิ่มจากเมืองสตึก สว่านก็ไม่มีต้องเจาะรูด้วยหัวแร้ง คว้านให้ได้ขนาดด้วยมีด ฯลฯ ทุลักทุเล จนมาเสร็จเอาตอนค่ำ และแล้วการติดตั้ง ทดลอง Run ก็เริ่มในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ๔. กลับมา กทม.ไม่รอช้า นำความคิดต่อยอดที่ผุดขึ้นมา รีบไปหาของมาลุยทำได้เป็น 3 รุ่น 3 รส ๕. ทันนำเสนอในงานระพีเสวนา ที่ SCB เมื่อ 3 พค. ที่ผ่านมา เหนื่อยเพลินจนลืมสนิทว่าตัวเองเกิดวันที่ 2 พค. (เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง) เพิ่มเติม - รุ่นเล็ก ใช้ Power supply... »