เรื่องราวย่อๆเกี่ยวกับการพัฒนา Power Supply & Control Unit สำหรับ ULEM

Wednesday, May 6, 2009 17:52
By handyman

เตรียมการไว้ค่อนข้างดี  มีภาพถ่ายเพียบ เพื่อการเขียนความเป็นมา เป็นไป ของการพัฒนา ดัดแปลงเครื่องจ่ายกำลังและระบบควบคุม ULEM  แต่ไม่ว่างเขียนเพราะความคิดกำลังแล่น  มัวแต่ทำๆๆ ครับ

อย่างไรก็ตาม เพื่อสนองตอบความต้องการของแควน วัยรุ่นใจร้อนจากเหนือสุดแดนสยาม  จึงขอลงรูปให้ดูบางส่วนก่อนดังนี้

๑. ชุดแรกที่ท่าน Logos ทำเล่นและลองเอาไปดูกันที่สวนป่า

๒. ส่วนหนึ่งของข้าวของที่ผมเตรียมไป และที่ท่าน Logos ซื้อหามาให้ลองทำ

๓. ว่าไปทั้งวันเพราะของไม่ครบ ต้องไปหาซื้อเพิ่มจากเมืองสตึก สว่านก็ไม่มีต้องเจาะรูด้วยหัวแร้ง  คว้านให้ได้ขนาดด้วยมีด ฯลฯ ทุลักทุเล  จนมาเสร็จเอาตอนค่ำ  และแล้วการติดตั้ง ทดลอง Run ก็เริ่มในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น

๔. กลับมา กทม.ไม่รอช้า  นำความคิดต่อยอดที่ผุดขึ้นมา  รีบไปหาของมาลุยทำได้เป็น 3 รุ่น 3 รส

๕. ทันนำเสนอในงานระพีเสวนา ที่ SCB เมื่อ 3 พค. ที่ผ่านมา  เหนื่อยเพลินจนลืมสนิทว่าตัวเองเกิดวันที่ 2 พค. (เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง)

เพิ่มเติม

-  รุ่นเล็ก ใช้ Power supply แบบใช้ Transformer เลือกใช้ 0-9 V. AC. ทำ Bridge Rectify และต่อ Capacitor แล้ว ได้ DC. กว่า 12 V. เล็กน้อย  Transformer ใช้ชิดพันแยกขด 2 ชั้น ขนาด 2 Amp.  ต่อ ULEM ได้ 1 ตัว  ใช้ได้แต่ไม่แรงเท่าอีก 2 รุ่น

-  รุ่นกลาง ใช้ Power supply แบบ Switching 12 V. 4.2 A. เป็นแบบมาตรฐานทั่วไป ต่อ ULEM ได้ 1- 2 ตัว  ได้ผลดีไม่มีปัญหา

-  รุ่นใหญ่ (ความจริงตัวไม่ได้ใหญ่)  ใช้ Power supply แบบ Switching 12 V. 5 A. ที่เป็นแบบ Industrial Grade เพื่อความทนทานยิ่งขึ้น  ต่อ ULEM ได้ 1- 2 ตัว  ได้ผลดีไม่มีปัญหาเช่นกัน

-  ทั้ง 3 รุ่นใช้ Electronic Programable Timer ชนิดตั้ง 0n/Off ได้ 8 โปรแกรม(ครั้ง)  ในรอบ 24 ชั่วโมง  หรือ รอบ 1 สัปดาห์ เลือกวัน หรือกลุ่มวันให้ทำงานได้ตามต้องการ

-  จากประเด็นปัญหาและความต้องการของผู้สนใจ  ตอนนี้กำลังออกแบบ พัฒนา Timer Control  ชนิดใหม่ ใช้กลไกของนาฬิกา และ ระบบ Opto Electronic อยู่ครับ

-  Electric Valve แบบประหยัดก็ออกแบบ และเตรียมของไว้แล้ว  จะออกมาให้ยลโฉมเร็วๆนี้ครับ

Tags:

2 ความคิดเห็น

  • #1 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 May 2009 เวลา 21:03

    สำหรับ power supply รุ่นประหยัด ถ้าอาจารย์ใช้ไดโอดสองตัว (full wave rectifier) ควรจะใช้หม้อแปลง 12-0-12 V ครับ

    แต่ถ้าใช้ไดโอดสี่ตัว (bridge rectifier) ใช้หม้อแปลง 9-0-9 V ถูกต้องแล้ว

    http://www.electronics-tutorials.ws/diode/diode_6.html

  • #2 handyman ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 May 2009 เวลา 23:47

      ทราบแล้ว .. ไม่เปลี่ยน(ใจ) .. ขอบคุณครับ .. อิ อิ อิ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Calendar

    September 2024
    M T W T F S S
    « Mar    
     1
    2345678
    9101112131415
    16171819202122
    23242526272829
    30