ครูเพลิน มือระนาดเอกผู้ล่วงลับ
อ่าน: 8683ครูเพลิน หรือ ครูทนง แจ่มวิมล คือสุดยอดมือระนาดเอกอีกท่านหนึ่งของไทย
แม้ท่านจะจากไปหลายปีแล้วแต่ผลงานยังอยู่เป็นที่ประจักษ์
วันนี้ขอนำผลงานของท่านจาก YouTube มาเผยแพร่ต่อครับ
ครูเพลิน หรือ ครูทนง แจ่มวิมล คือสุดยอดมือระนาดเอกอีกท่านหนึ่งของไทย
แม้ท่านจะจากไปหลายปีแล้วแต่ผลงานยังอยู่เป็นที่ประจักษ์
วันนี้ขอนำผลงานของท่านจาก YouTube มาเผยแพร่ต่อครับ
วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๓ คณะศึกษาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ได้จัดงานกตัญญุตา บูชาครู ขี้น ณ หอประชุมวิทยาเขตปัตตานี โรงเรียนสาธิตฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของคณะศึกษาศาสตร์ ได้จัดวงดนตรีไทยประเภทเครื่องสายผสมปี่พาทย์ (ชื่อประเภทวงตามความหมายที่ตรงตามลักษณะเครื่องดนตรี คือนำเครื่องวงปี่พาทย์มาบรรเลงรวมกับวงเครื่องสาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ วงดนตรีไทยประเภทวงมโหรีแต่ไม่มีซอสามสายนั้นเอง) มาร่วมบรรเลงเพื่อสร้างบรรยากาศในงาน อ่านต่อ »
… นโม อันว่านมัสการ ข้าพเจ้าขอกราบกราน ไหว้เทพเจ้าทั้งสามพระองค์
พระวิษณุกรรมผู้ทรงฤทธิ์ ท่านได้ประสิทธิ์สาปสรรค์เครื่องเล่นสิ่งสารพันในใต้หล้า
อีกทั้งท่านเทวดาพระปัญจสิงขรณ์ พระกรท่านถือพิณ ดีดสำเนียงไพเราะดังเสนาะสนั่น
อีกทั้งพระปรคนธรรพ พระครูเฒ่า พระครูทั้งนั้นเล่า สืบต่อๆกันมาจนถึงทุกวันนี้…
(จากบทไหว้ครูของ ครูสวง ศรีผ่อง)
จากบทไหว้ครูดนตรีไทยข้างต้นสามารถแยกแยะครูดนตรีไทยออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ดุริยเทพ และ ครูมนุษย์ โดยมีรายละเอียดปลีกย่อยของครูดนตรีไทยแต่ละประเภทดังนี้ อ่านต่อ »
งานบำเพ็ญกุศลศพพระสมุห์เจษฎา ฐิตมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดยางทอง อ.เมือง จ.สงขลา กระผมได้รับมอบหมายจากพระมหาชัยวุธ รักษาการเจ้าอาวาส ให้ัจัดวงดนตรีไทยเพื่อใช้ประโคมในพิธี ดังนั้นจึงได้ประสานไปยังครูบรรเทิง แห่งราชภัฏสงขลา ให้ท่านช่วยจัด วงปี่พาทย์มอญ มาใช้ในงานดังกล่าว
ทำไมต้องเป็นวงปี่พาทย์มอญ
วงปี่พาทย์มอญ คือการนำเครื่องดนตรีมอญ 5 ชนิด ได้แก่ ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และฆ้องราว มาประสมกับเครื่องดนตรีไทยชนิดต่างๆ ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น เกิดเป็นวงดนตรีไทยชนิดใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งในลักษณะเครื่องดนตรี บทเพลง วิธีการบรรเลง ตลอดจนการนำวงดนตรีไปใช้ในโอกาสต่างๆ
วงปี่พาทย์มอญแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในงานมงคล แต่คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้บรรเลงในงานศพ สืบเนื่องมาจากมีการนำวงปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในงานพระบรมศพสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระดำริว่า พระราชมารดาของพระองค์นั้นทรงมีเชื้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดให้นำวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลง ด้วยเหตุนี้เองจึงได้เป็นความเชื่อและยึดถือมาโดยตลอดว่า วงปี่พาทย์มอญเล่นเฉพาะงานศพเท่านั้น อีกประการหนึ่งก็คือเสียงดนตรีของวงปี่พาทย์มอญโดยเฉพาะปี่มอญ เพราะเสียงของปี่มอญมีเสียงโหยหวนชวนให้เกิดความเศร้าใจ
ต่อมาโบราณจารย์ทางด้านดนตรีไทย ได้เรียบเรียงเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาใหม่และกำหนดระเบียบการใช้เพลงเพื่อบรรเลงในขั้นตอนต่างๆ ของงานศพ เช่น
นอกจากนี้ยังมีเพลงสำเนียงมอญอื่นๆที่ใช้บรรเลงในงานศพขณะที่ไม่มีพิธีการ หรืออาจจะนำเพลงไทยเดิมต่างๆมาบรรเลงสลับพิธีการก็ได้
ประมวลภาพวงปี่พาทย์มอญงานบำเพ็ญกุศลศพ
พระสมุห์เจษฎา ฐิตมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดยางทอง อ.เมือง จ.สงขลา
ตั้งวงปี่พาทย์มอญในศาลา (ช่องเดียวไม่พอเลยไม่เห็นเปิงมากคอก)
เพลงนาคเกี่ยวพระสุเมรุ โดยครูบรรเทิง สิทธิแพทย์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ครูบรรเทิง คือครูปี่พาทย์ ผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง และเป็นสุดยอดมือระนาดเอก ที่หาผู้ทัดเทียมได้ยากในภาคใต้ และเป็นครูดนตรีไทยอีกท่านหนึ่งที่ผมเรียกว่า “ครู” ได้อย่างเต็มปาก
เพลงนาคเกี่ยวพระสุเมรุชุดนี้คือผลงานในระดับปริญญาโทของท่าน เชิญชมกันนะครับ…
เพลงนาคเกี่ยวพระสุเมรุ ๑
ครูเอก กษมะ จากสุราษฏร์ธานี ส่งเพลงมอญอ้อยอิ่งเถา มาให้ เลยนำมาแบ่งปันกันฟังครับ
เพลงนี้เดิมมีเพียง ๒ ชั้น เป็นเพลงของละครคณะปรีดาลัย ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์เป็นเจ้าของ ซึ่งเข้าใจว่าหม่อมต่วน วรวรรณ จะเป็นผู้แต่ง ซึ่งมีทำนองท่วงทีไพเราะน่าฟังโดยมาก นายเฉลิม บัวทั่ง ได้ยืดขึ้นเป็นเพลงเถา โดยใช้ลีลาของสำเนียงมอญเป็นหลักโดยแต่งทั้งทำนองร้องและทำนองดนตรี
๒ ชั้น
โอ้พุ่มพวงดวงผกามณฑาย้อย
กลิ่นเจ้าลอยล่องมานิจจาเอ๋ย
ช่างหอมเหลือหอมเหมือนเนื้อทรามเชย
มณฑาเอ๋ยหวาดบังอรเจ้าหล่อนมา
ชั้นเดียว
ใจหายมิรู้เว้น
จะนอนหลับนอนเล่นฝันเห็นหน้า
หน้านวลน้องเทียมทันแสงจันทรา
เมื่อเวลาเพ็ญส่องผุดผ่องเอย
(นิราศรักษาตัว พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงค์เธอพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์)
จากการที่ได้นำเสนอประเภทของเครื่องดนตรีไทยว่า แบ่งตามลักษณะการบรรเลงได้ 4 ประเภทคือ ดีด สี ตี และ เป่า ไปแล้วนั้น มีผู้แย้งว่ามีอีก 2 ประเภท คือ “เขย่า” และ “จิ้ม” ทำเอาผมงงไปเป็นพักเลยครับ สุดท้ายมาถึงบางอ้อจากคำเฉลยว่า เขย่า คือ อังกะลุง และ จิ้ม คือ ออร์แกน ดังนั้นจึงอธิบายเพิ่มเติมว่ามันคือเครื่องดนตรีต่างด้าว (อิอิ)
เครื่องดนตรีต่างด้าวก็คือ เครื่องดนตรีของชาติอื่นๆ ที่นำมาบรรเลงร่วมในวงดนตรีไทย แต่พอใช้ไปนานๆเข้า บางประเภทก็ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นเครื่องดนตรีไทย จนบางคนไม่ทราบว่ามันคือเครื่องดนตรีที่มีพื้นฐานมาจากชาติอื่น จึงขอนำมาขยายความเพื่อความเข้าใจกันนิดหน่อยครับ อ่านต่อ »
เครื่องดนตรีของไทยนั้น สามารถจัดแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ เครื่องดนตรีไทยเดิม และเครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง แต่หากพูดโดยทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทยแล้ว จะเข้าใจกันได้ว่าคือเครื่องดนตรีไทยเดิมนั่นเอง
การจัดประเภทของเครื่องดนตรีไทย ส่วนใหญ่จัดโดยยึดวิธีการบรรเลงของเครื่องดนตรีไทย ซึ่งจัดแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า อ่านต่อ »
วันนี้วันลอยกระทง ประจำปี 2552 จึงขอเว้นเรื่องดนตรีไทย มาเล่าเรื่องบรรยากาศการลอยกระทงใน ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก่อนนะครับ
วันลอยกระทงปีนี้ อยู่ที่แฟลตใน มอ.ปัตตานีสองคนกับลูกสาว(น้องคีตา) ส่วนภรรยากับลูกชาย(พี่แคน) อยู่บ้านที่จังหวัดสงขลา ประมาณหนึ่งทุ่มน้องคีตากลับจากเรียนพิเศษ แล้วอ้อนให้พาไปถ่ายรูปในงานลอยกระทงเพื่อส่งเข้าร่วมกิจกรรมในเว็บที่เขาชอบเข้าไปอ่านเป็นประจำ จึงต้องเป็นพ่อที่ดีพาลูกไปตามประสงค์ (กว่าน้องคีตาจะถ่ายรูปได้ดั่งใจ ทำเอาผมยืนคอยจนเหนื่อยเลยครับ)
งานวันลอยกระทงของ มอ.ปัตตานีปีนี้ จัด ณ บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
บริเวณด้านหน้าสถานที่จัดงาน บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา