ตำแหน่งการวางเครื่องในวงดนตรีไทย

โดย ครูฌอง เมื่อ 18 มกราคม 2010 เวลา 11:31 (เย็น) ในหมวดหมู่ เครื่อง-วงดนตรีไทย #
อ่าน: 63084

วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๓ คณะศึกษาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ได้จัดงานกตัญญุตา บูชาครู ขี้น ณ หอประชุมวิทยาเขตปัตตานี  โรงเรียนสาธิตฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของคณะศึกษาศาสตร์ ได้จัดวงดนตรีไทยประเภทเครื่องสายผสมปี่พาทย์ (ชื่อประเภทวงตามความหมายที่ตรงตามลักษณะเครื่องดนตรี คือนำเครื่องวงปี่พาทย์มาบรรเลงรวมกับวงเครื่องสาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ วงดนตรีไทยประเภทวงมโหรีแต่ไม่มีซอสามสายนั้นเอง) มาร่วมบรรเลงเพื่อสร้างบรรยากาศในงาน

ขอนอกเรื่องนิดหน่อยครับ ก่อนจะเข้าประเด็นตามชื่อเรื่อง…

เนื่องจากวงดนตรีไทยของโรงเรียนสาธิตฯ เพิ่งได้รับการพื้นฟูขึ้นมาใหม่ หลังจากครูดนตรีไทยท่านเดิมย้ายไปสอนที่คณะศิลปกรรม จึงห่างหายไปเป็นเวลาพอควร ครูที่ได้รับการบรรจุเข้ามาใหม่ถึงแม้จะจบทางด้านดนตรีสากล แต่ก็มีความพยายามเป็นอย่างยิ่ง จนสามารถตั้งวงดนตรีไทยขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้ง ถึงแม้ว่าจะยังไม่เข้าที่ มีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีและมีคุณค่าต่อการสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย ขอปรบมือดังๆแก่ ครูยศ ครับผม เพราะการได้ริเริ่มแม้จะยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่ดีกว่าการไม่ได้ลงมือทำ

กลับเข้าเรื่องครับ…

การบรรเลงดนตรีไทยของโรงเรียนสาธิตฯ ในวันนี้มีอุปสรรคนิดหน่อย แต่ที่สังเกตเห็นได้ชัด และขอนำมาเล่าสู่กันฟังในที่นี้คือ “ตำแหน่งการวางเครื่องในวงดนตรีไทย” ครับ

เครื่องดนตรีไทยในวงเครื่องสายผสมปี่พาทย์ ประกอบด้วย จะเข้ ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ยหลิบ ขลุ่ยเพียงออ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง และ กลองแขก (ตัวผู้ และ ตัวเมีย) บางครั้งอาจจะมีการนำ ขิม มาประสมในวงด้วย

หลักพื้นฐานการจัดวงดนตรีไทย มีหลักการสำคัญ ๒ ประการคือ หลักการแบ่งกลุ่มเครื่องนำและเครื่องตาม และ หลักความสมดุลตามธรรมชาติ ดังนี้

  • หลักการแบ่งกลุ่มเครื่องนำและเครื่องตาม คือการแบ่งเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องบรรเลงเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องนำ ได้แก่  จะเข้ ซอด้วง ขลุ่ยหลิบ ระนาดเอก และฆ้องวงเล็ก ส่วนกลุ่มเครื่องตาม ได้แก่ ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ระนาดทุ้ม และฆ้องวงใหญ่ หากมีการนำ ขิม มาบรรเลงก็จะอยู่ในกลุ่มเครื่องตามด้วย
  • หลักความสมดุลตามธรรมชาติ คือการจัดวางเครื่องดนตรีไทยตามหลักความสมดุล คล้ายกับความสมดุลของร่างกาย กล่าวคือ หากเครื่องดนตรีไทยในกลุ่มเครื่องนำและกลุ่มเครื่องตามชนิดใดจับคู่กันได้ ก็ให้จัดไว้ ด้านซ้ายและด้านขวาอย่างละชนิด  แต่หากมีชิ้นเดียวหรือจับคู่ไม่ได้ก็ให้จัดวางตรงกลาง นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดให้จัดวางกลุ่มเครื่องนำไว้ทางขวาของวง และกลุ่มเครื่องตามไว้ทางซ้ายของวง (ยกเว้น ฆ้องวงใหญ่ เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงทำนองหลัง จึงจัดวงไว้หลังระนาดเอกเพื่อให้ผู้บรรเลงระนาดเอกสามารถฟังทำนองหลักของเพลงได้อย่างชัดเจน และ ฉิ่ง ซึ่งจะจัดวางไว้กลางวงดนตรีไทย เพื่อให้ผู้บรรเลงทุกคนสามารถฟังเสียงจังหวะได้ชัดเจน)

จากหลักการดังกล่าวข้างต้น สามารถเขียนเป็นแผนผังการจัดวงได้ดังนี้

แผนผังวงเครื่องสายผสมปี่พาทย์ (เครื่องคู่)


แผนผังวงเครื่องสายผสมปี่พาทย์ (เครื่องคู่ กรณีไม่มีฆ้องวงเล็ก และผสมขิม)

« « Prev : ครูดนตรีไทย

Next : ครูเพลิน มือระนาดเอกผู้ล่วงลับ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1010 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 2.2170660495758 sec
Sidebar: 0.38164782524109 sec