กลอย

อ่าน: 2357

“กลอย” ชื่อสั้นๆอย่างนี้จริงๆครับ แต่ก็มีคนเอาไปเปรียบเทียบกับสตรี เช่น สาวน้อยกลอยใจ ไม่ทราบที่ไปที่มา รึกลอยจะมีความสำคัญในอดีต เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ ตั้งแต่คุณรอกอดชวนให้ผมปลูกพืชหัว ผมก็ปลูกไปเรื่อยเท่าที่จะหาได้ เช่น เผือก มันต่างๆ แล้วก็มีกลอยนี่แหละผสมโรงเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง กลอยเป็นพืชหัวก้อนกลมๆขึ้นเป็นกระจุก ถ้าสมบูรณ์ดีก็จะมีหลายหัวและหัวใหญ่ๆ ขุดง่าย เพราะหัวอยู่ผิวดินตื้นๆ ถึงฤดูนี้ถ้าเราไม่ขุดหัวกลอยก็จะเน่า แล้วแตกหน่อขึ้นมาใหม่ ต้นกลอยเป็นเถาว์พันขึ้นตามต้นไม้ใหญ่ ช่วงกลางฝนจะติดเมล็ดปลิวไปเกิดทั่วสวน

นับเป็นพืชอาหารที่เอาใจมนุษย์เป็นพิเศษ

สมัยผมเป็นเด็กๆหน้านี้จะมีชาวบ้านนึ่งกลอบใส่กระทงมาขาย บางเจ้าก็จะขูดมะพร้าวโรยน้ำตาลเติมเกลือพอปะแล่มๆ ถือเป็นอาหารพิเศษประจำฤดูปลายฝนต้นหนาว แต่ชาวเมืองเขาจะเอากลอยมาทำของหวานให้จ๊าบส์ขึ้นไปอีก ทำเป็นกลอยกะทิสด เติมน้ำแข็ง ก็อร่อยดีไปอีกแบบ นอกจากนี้เนื้อกลอยยังเอามาทำอบแห้งไว้ได้ วันหลังนึกอยากจะทานก็เอามาแช่น้ำแล้วเอาไปนึ่ง เราก็จะได้เนื้อกลอยหอมกรุ่นทำของหวาน เนื้อกลอยแห้งยังน้ำมาทำข้าวเกรียบ หรือบดเป็นแป้งทำขนมได้อีกนะครับ

ผมไม่มีความรู้เรื่องการเอากลอยมาทำอาหาร

คนงานเล่าว่า  ขุดมาแล้วเอามาฝานเป็นแว่นๆเคล้าน้ำเกลือ

ใส่ถังแช่น้ำทิ้งไว้ 4-5 วัน

ต้องทำซ้ำอย่างนี้ 2-3 ครั้ง

แสดงว่ากว่าจะได้เจี๊ยะกลอย

จะต้องผ่านกรรมวิธีหลายขั้นตอนและใช้เวลาพอสมควร

แต่ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร

ชาวเขาทางภาคเหนือจะล้างพิษกลอยง่ายกว่าคนอีสาน

กรรมวิธีชาวเขาจะเอาเนื้อกลอยฝานมาแช่ธารน้ำไหล

สารพิษที่อยู่ในเนื้อกลอยจะละลายไปกับน้ำดีกว่าวิธีหมักคนอีสาน

มีคนเล่าว่า..น้ำหมักกลอยเอาไปรดผักหนอนตายเรียบ

กลอยที่สวนป่าปลูกมี 2 สายพันธุ์

ชาวบ้านเรียกกลอยข้าวเจ้าเนื้อจะออกสีขาวๆ

อีกชนิดหนึ่งเรียกกลอยข้าวเหนียวเนื้อจะออกสีเหลืองๆ

เช้านี้ได้ชิมเนื้อกลอยข้าวเหนียว

พรุ่งนี้จะให้คนงานชวนห้วไปขุดกลอยมาสัก4-5เข่ง ฝานแช่น้ำทิ้งไว้

อบให้แห้งเก็บเข้่าขวดโหลไว้ทำของหวานโชว์..รอกอด

เมื่อเราปลูกต้นไม้แล้ว  ก็เอากลอย หัวบุก หัวมันมาฝังไว้โคนต้น  หลังจากนั้นพืชหัวเหล่านี้ก็จะเจริญแพร่พันธุ์ไปเองตามธรรมชาติ คนงานเล่าให้ฟังว่าในสวนมีกลอยขึ้นมากมาย ผมสังเกตเห็นต้นเล็กๆขึ้นประปราย ต่อไปคงพัวพันต้นไม้เต็มไปหมด เพราะเมล็ดกลอยบางเบา แถมยังแขวนตัวอยู่บนต้นไม้สูง โดนลมพัดจึงแตกตัวกระเด็นไปตามลม วันนี้ได้ทราบขั้นตอนมาในระดับหนึ่ง ต่อไปถ้าเกิดสภาพวิกฤติทางธรรมชาติ เราก็สามารถขุดกลอยนี้แหละมานึ่งกินแทนข้าวได้อย่างสบาย จบเรื่องคาร์โบไฮเดรทไปอีกประเปาะหนึ่ง

ส่วนเรื่องสาวน้อยกลอยใจคงต้องติดตามตอนต่อไป

ปลายเดือนนี้สาวๆชาวSCG.ระยอง จะมาช่วยขุดกลอย

รึ..ฟ้าจะส่งกลอยตากลอยใจมาหา

กลอย มีตำนานเล่าขานกันมาว่า กลอย เป็นอาหารที่มีคุณค่าและประโยชน์สามารถนำมาทานแทนข้าวได้ ในสมัยสงครามโลกที่ผู้คนได้อพยพไปซ่อนตัวกันอยู่ในป่านอกจากข้าวแห้งที่ เตรียมไปแล้วยังมี กลอย” เป็นอาหารที่สามารถหาได้ภายในป่านำมาต้มมาหุงกินแทนข้าวได้

กลอย จัดเป็นพืชล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมบริโภคมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในประเทศไทยมักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างโปร่ง หัวกลอยฝังอยู่ใต้ดินตื้น ๆ หัวใหญ่ ๆ โตได้เท่ากับไหกระเทียม กลอยมีอาหารจำพวกแป้ง ( Starch ) อยู่ มาก คนในชนบทหรือชาวป่าจึงขุดหัวกลอยมาต้มกิน หรือในบางทีก็จะหุงรวมกับข้าว ส่วนคนเมืองนิยมทำเป็นอาหารได้หลายรูปแบบเช่น กินกลอยคลุกน้ำตาลกับมะพร้าว หรือนึ่งปนกับข้าวเหนียวมูล ทำเป็นข้าวเหนียวกลอยหน้าสังขยาหรือโรยน้ำตาลป่นปนกับงาก็อร่อย หรือจะหั่นกลอยเป็นชิ้นบาง ๆ นำไปชุบแป้งทอดกินแบบกล้วยแขกอาบน้ำตาลหรือจะทำเป็นกลอยบด กลอยแผ่น ข้าวเกรียบกลอย และบัวลอยกลอยก็น่าอร่อย ทั้งนี้ในประเทศไทยมีกลอยประมาณ 32 ชนิด พบมากในภาคเหนือ ช่วงฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว ในต่างประเทศสามารถพบกลอยได้ทั่วในเขตป่าฝน ในเขตร้อน ตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัย

หัว กลอย ก่อนนำมากินจะต้องล้างสารพิษออกให้หมด โดยฝานหัวกลอยเป็นชิ้นบางๆ นำมาแช่ในน้ำเกลือแล้วถ่ายน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง หรือแช่ในน้ำไหลเพื่อให้น้ำชะล้างสารพิษออกให้หมด เพราะ dioscorine เป็นแอลคาลอยด์ที่ละลายได้ดีในน้ำ ชาวป่าบางเผ่านำน้ำที่คั้นจากหัวกลอยมาผสมกับยางของต้นน่อง (Antiaris toxicaria Lesch.) อาบลูกดอกเพื่อใช้ยิงสัตว์

ชาว บ้านจะแบ่งง่ายๆตามลักษณะของลำต้นและตามสีในเนื้อหัวกลอยกล่าวคือกลอยข้าว เจ้าจะมีลักษณะของ เถาและก้านใบสีเขียวส่วนกลอยข้าวเหนียวมีเถาสีน้ำตาลอมดำ ลักษณะใบของกลอยทั้งสองชนิดมี3 แฉก คล้ายใบถั่ว เส้นใบถี่ส่วนเถาจะมีหนามแหลมตลอดเถาดอกออกเป็นช่อมีดอกย่อยดอกเล็กๆสีขาว จำนวนมากหัวกลอยจะฝังในดิน ตื้นๆ มีหลายหัวติดกันเป็นกลุ่ม เท่าที่พบมีตั้งแต่3หัวถึง14หัวใน1กอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวกลอยวัด ได้ตั้งแต่2.5ซมถึง25ซม.

มี ชื่อพื้นเมืองต่างๆเช่นกลอยมันกลอยกลอยข้าวเหนียวกลอยหัวเหนียวก๋อยนกกอยหัว กลอยและกลอยนก เป็นต้น เมื่อนำหัวกลอยมาปลอกเปลือกและหันเป็นแว่นบางๆ จะพบว่ากลอยข้าวเจ้าจะมีเนื้อสีขาวนวลและเนื้อหยาบกว่ากลอยข้าวเหนียวซึ่ง มีสีเหลืองอ่อมถึงเหลืองเข้ม(สีทอง)เนื้อเหนียวและรสชาดดีกว่ากลอยข้าวเจ้า ซึ่งมีเนื้อร่วยซุย ฉะนั้นชาวบ้านหรือเกษตรกรจึงนิยม รับประทานกลอยข้าวเหนียวมากกว่ากลอยข้าวเจ้า

เนื่องจากกลอยเป็นพืชแป้งที่มีพิษอย่างแรงเพราะในเนื้อแป้งมีสารไดออสคอรีน(Dioscorine)ฉะนั้น ถ้านำมารับประทานโดยไม่ทำลายสารพิษก่อนจะทำให้เกิดอาการเบื่อเมาเพราะสารนี้ จะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้เป็นอัมพาตถ้ารับประทานสดๆ ขนาดเท่าผลมะม่วงอกร่องจะทำให้ตายภายใน6ชั่วโมง วิธีเอาสารพิษ(Dioscorine)ออกจากกลอย ก่อนนำไปบริโภควิธีการทั่วๆไปคือปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด หั่นเป็นแว่น แต่ละแว่นหนาประมาณ1-1.5ซม.นำหัวกลอยที่ หั่นแล้วใส่ในภาชนะ ใส่ชิ้นกลอยที่หั่นแล้วลงไปในภาชนะหนาประมาณ10ซม. โรยเกลือให้ทั่วหน้า1-2ซม.แล้ว ใส่ชิ้นกลอยลงไปทำสลับกับเกลือ จนกว่าจะหมดทิ้งไว้ค้างคืนวันรุ่งขึ้นนำกลอยที่หมักออกมาล้างน้ำ ให้สะอาดใส่ชิ้นกลอยที่ล้างแล้วลงไปในถุงผ้าดิบหรือผ้าขาวบาง นำของหนักทับไว้เพื่อไล่น้ำเบื่อเมาของกลอยออกให้หมดหลังจากนั้นนำชิ้นกลอย จากถุงผ้าเทกลับลงไปในภาชนะเดิมใส่น้ำให้ท่วมเนื้อกลอย ทิ้งไว้ค้างคืนรุ่งเช้าจึงนำชิ้นกลอยมาล้างให้สะอาดและทำเช่นเดิม ประมาณ5-7วัน จึงจะปลอดภัยจากสารพิษและนำมาบริโภคหรือ ปรุงอาหารได้หรือจะผึ่งแดดให้แห้งเก็บตุนไว้เมื่อจะบริโภคจึงนำ ชิ้นกลอยมาแช่น้ำนำไปนึ่งหรือปรุงอาหารอื่นรับประทานได้

:: ข้อมูลค้นจากเน็ท

ส่งข่าวถึงคุณหมอจอมป่วน

ผมมีแพะขบเผาะเหมาะที่ทำแพะตู๋น

หนาวเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น

ถ้าคุณหมอขี่รถจักรยานมาหา

รับรองมีเมนูเด็ดอย่างคาดไม่ถึง

จิบอกไห่ อิ อิ



Main: 0.0263831615448 sec
Sidebar: 0.07362699508667 sec