กลอย

อ่าน: 2346

“กลอย” ชื่อสั้นๆอย่างนี้จริงๆครับ แต่ก็มีคนเอาไปเปรียบเทียบกับสตรี เช่น สาวน้อยกลอยใจ ไม่ทราบที่ไปที่มา รึกลอยจะมีความสำคัญในอดีต เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ ตั้งแต่คุณรอกอดชวนให้ผมปลูกพืชหัว ผมก็ปลูกไปเรื่อยเท่าที่จะหาได้ เช่น เผือก มันต่างๆ แล้วก็มีกลอยนี่แหละผสมโรงเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง กลอยเป็นพืชหัวก้อนกลมๆขึ้นเป็นกระจุก ถ้าสมบูรณ์ดีก็จะมีหลายหัวและหัวใหญ่ๆ ขุดง่าย เพราะหัวอยู่ผิวดินตื้นๆ ถึงฤดูนี้ถ้าเราไม่ขุดหัวกลอยก็จะเน่า แล้วแตกหน่อขึ้นมาใหม่ ต้นกลอยเป็นเถาว์พันขึ้นตามต้นไม้ใหญ่ ช่วงกลางฝนจะติดเมล็ดปลิวไปเกิดทั่วสวน

นับเป็นพืชอาหารที่เอาใจมนุษย์เป็นพิเศษ

สมัยผมเป็นเด็กๆหน้านี้จะมีชาวบ้านนึ่งกลอบใส่กระทงมาขาย บางเจ้าก็จะขูดมะพร้าวโรยน้ำตาลเติมเกลือพอปะแล่มๆ ถือเป็นอาหารพิเศษประจำฤดูปลายฝนต้นหนาว แต่ชาวเมืองเขาจะเอากลอยมาทำของหวานให้จ๊าบส์ขึ้นไปอีก ทำเป็นกลอยกะทิสด เติมน้ำแข็ง ก็อร่อยดีไปอีกแบบ นอกจากนี้เนื้อกลอยยังเอามาทำอบแห้งไว้ได้ วันหลังนึกอยากจะทานก็เอามาแช่น้ำแล้วเอาไปนึ่ง เราก็จะได้เนื้อกลอยหอมกรุ่นทำของหวาน เนื้อกลอยแห้งยังน้ำมาทำข้าวเกรียบ หรือบดเป็นแป้งทำขนมได้อีกนะครับ

ผมไม่มีความรู้เรื่องการเอากลอยมาทำอาหาร

คนงานเล่าว่า  ขุดมาแล้วเอามาฝานเป็นแว่นๆเคล้าน้ำเกลือ

ใส่ถังแช่น้ำทิ้งไว้ 4-5 วัน

ต้องทำซ้ำอย่างนี้ 2-3 ครั้ง

แสดงว่ากว่าจะได้เจี๊ยะกลอย

จะต้องผ่านกรรมวิธีหลายขั้นตอนและใช้เวลาพอสมควร

แต่ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร

ชาวเขาทางภาคเหนือจะล้างพิษกลอยง่ายกว่าคนอีสาน

กรรมวิธีชาวเขาจะเอาเนื้อกลอยฝานมาแช่ธารน้ำไหล

สารพิษที่อยู่ในเนื้อกลอยจะละลายไปกับน้ำดีกว่าวิธีหมักคนอีสาน

มีคนเล่าว่า..น้ำหมักกลอยเอาไปรดผักหนอนตายเรียบ

กลอยที่สวนป่าปลูกมี 2 สายพันธุ์

ชาวบ้านเรียกกลอยข้าวเจ้าเนื้อจะออกสีขาวๆ

อีกชนิดหนึ่งเรียกกลอยข้าวเหนียวเนื้อจะออกสีเหลืองๆ

เช้านี้ได้ชิมเนื้อกลอยข้าวเหนียว

พรุ่งนี้จะให้คนงานชวนห้วไปขุดกลอยมาสัก4-5เข่ง ฝานแช่น้ำทิ้งไว้

อบให้แห้งเก็บเข้่าขวดโหลไว้ทำของหวานโชว์..รอกอด

เมื่อเราปลูกต้นไม้แล้ว  ก็เอากลอย หัวบุก หัวมันมาฝังไว้โคนต้น  หลังจากนั้นพืชหัวเหล่านี้ก็จะเจริญแพร่พันธุ์ไปเองตามธรรมชาติ คนงานเล่าให้ฟังว่าในสวนมีกลอยขึ้นมากมาย ผมสังเกตเห็นต้นเล็กๆขึ้นประปราย ต่อไปคงพัวพันต้นไม้เต็มไปหมด เพราะเมล็ดกลอยบางเบา แถมยังแขวนตัวอยู่บนต้นไม้สูง โดนลมพัดจึงแตกตัวกระเด็นไปตามลม วันนี้ได้ทราบขั้นตอนมาในระดับหนึ่ง ต่อไปถ้าเกิดสภาพวิกฤติทางธรรมชาติ เราก็สามารถขุดกลอยนี้แหละมานึ่งกินแทนข้าวได้อย่างสบาย จบเรื่องคาร์โบไฮเดรทไปอีกประเปาะหนึ่ง

ส่วนเรื่องสาวน้อยกลอยใจคงต้องติดตามตอนต่อไป

ปลายเดือนนี้สาวๆชาวSCG.ระยอง จะมาช่วยขุดกลอย

รึ..ฟ้าจะส่งกลอยตากลอยใจมาหา

กลอย มีตำนานเล่าขานกันมาว่า กลอย เป็นอาหารที่มีคุณค่าและประโยชน์สามารถนำมาทานแทนข้าวได้ ในสมัยสงครามโลกที่ผู้คนได้อพยพไปซ่อนตัวกันอยู่ในป่านอกจากข้าวแห้งที่ เตรียมไปแล้วยังมี กลอย” เป็นอาหารที่สามารถหาได้ภายในป่านำมาต้มมาหุงกินแทนข้าวได้

กลอย จัดเป็นพืชล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมบริโภคมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในประเทศไทยมักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างโปร่ง หัวกลอยฝังอยู่ใต้ดินตื้น ๆ หัวใหญ่ ๆ โตได้เท่ากับไหกระเทียม กลอยมีอาหารจำพวกแป้ง ( Starch ) อยู่ มาก คนในชนบทหรือชาวป่าจึงขุดหัวกลอยมาต้มกิน หรือในบางทีก็จะหุงรวมกับข้าว ส่วนคนเมืองนิยมทำเป็นอาหารได้หลายรูปแบบเช่น กินกลอยคลุกน้ำตาลกับมะพร้าว หรือนึ่งปนกับข้าวเหนียวมูล ทำเป็นข้าวเหนียวกลอยหน้าสังขยาหรือโรยน้ำตาลป่นปนกับงาก็อร่อย หรือจะหั่นกลอยเป็นชิ้นบาง ๆ นำไปชุบแป้งทอดกินแบบกล้วยแขกอาบน้ำตาลหรือจะทำเป็นกลอยบด กลอยแผ่น ข้าวเกรียบกลอย และบัวลอยกลอยก็น่าอร่อย ทั้งนี้ในประเทศไทยมีกลอยประมาณ 32 ชนิด พบมากในภาคเหนือ ช่วงฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว ในต่างประเทศสามารถพบกลอยได้ทั่วในเขตป่าฝน ในเขตร้อน ตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัย

หัว กลอย ก่อนนำมากินจะต้องล้างสารพิษออกให้หมด โดยฝานหัวกลอยเป็นชิ้นบางๆ นำมาแช่ในน้ำเกลือแล้วถ่ายน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง หรือแช่ในน้ำไหลเพื่อให้น้ำชะล้างสารพิษออกให้หมด เพราะ dioscorine เป็นแอลคาลอยด์ที่ละลายได้ดีในน้ำ ชาวป่าบางเผ่านำน้ำที่คั้นจากหัวกลอยมาผสมกับยางของต้นน่อง (Antiaris toxicaria Lesch.) อาบลูกดอกเพื่อใช้ยิงสัตว์

ชาว บ้านจะแบ่งง่ายๆตามลักษณะของลำต้นและตามสีในเนื้อหัวกลอยกล่าวคือกลอยข้าว เจ้าจะมีลักษณะของ เถาและก้านใบสีเขียวส่วนกลอยข้าวเหนียวมีเถาสีน้ำตาลอมดำ ลักษณะใบของกลอยทั้งสองชนิดมี3 แฉก คล้ายใบถั่ว เส้นใบถี่ส่วนเถาจะมีหนามแหลมตลอดเถาดอกออกเป็นช่อมีดอกย่อยดอกเล็กๆสีขาว จำนวนมากหัวกลอยจะฝังในดิน ตื้นๆ มีหลายหัวติดกันเป็นกลุ่ม เท่าที่พบมีตั้งแต่3หัวถึง14หัวใน1กอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวกลอยวัด ได้ตั้งแต่2.5ซมถึง25ซม.

มี ชื่อพื้นเมืองต่างๆเช่นกลอยมันกลอยกลอยข้าวเหนียวกลอยหัวเหนียวก๋อยนกกอยหัว กลอยและกลอยนก เป็นต้น เมื่อนำหัวกลอยมาปลอกเปลือกและหันเป็นแว่นบางๆ จะพบว่ากลอยข้าวเจ้าจะมีเนื้อสีขาวนวลและเนื้อหยาบกว่ากลอยข้าวเหนียวซึ่ง มีสีเหลืองอ่อมถึงเหลืองเข้ม(สีทอง)เนื้อเหนียวและรสชาดดีกว่ากลอยข้าวเจ้า ซึ่งมีเนื้อร่วยซุย ฉะนั้นชาวบ้านหรือเกษตรกรจึงนิยม รับประทานกลอยข้าวเหนียวมากกว่ากลอยข้าวเจ้า

เนื่องจากกลอยเป็นพืชแป้งที่มีพิษอย่างแรงเพราะในเนื้อแป้งมีสารไดออสคอรีน(Dioscorine)ฉะนั้น ถ้านำมารับประทานโดยไม่ทำลายสารพิษก่อนจะทำให้เกิดอาการเบื่อเมาเพราะสารนี้ จะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้เป็นอัมพาตถ้ารับประทานสดๆ ขนาดเท่าผลมะม่วงอกร่องจะทำให้ตายภายใน6ชั่วโมง วิธีเอาสารพิษ(Dioscorine)ออกจากกลอย ก่อนนำไปบริโภควิธีการทั่วๆไปคือปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด หั่นเป็นแว่น แต่ละแว่นหนาประมาณ1-1.5ซม.นำหัวกลอยที่ หั่นแล้วใส่ในภาชนะ ใส่ชิ้นกลอยที่หั่นแล้วลงไปในภาชนะหนาประมาณ10ซม. โรยเกลือให้ทั่วหน้า1-2ซม.แล้ว ใส่ชิ้นกลอยลงไปทำสลับกับเกลือ จนกว่าจะหมดทิ้งไว้ค้างคืนวันรุ่งขึ้นนำกลอยที่หมักออกมาล้างน้ำ ให้สะอาดใส่ชิ้นกลอยที่ล้างแล้วลงไปในถุงผ้าดิบหรือผ้าขาวบาง นำของหนักทับไว้เพื่อไล่น้ำเบื่อเมาของกลอยออกให้หมดหลังจากนั้นนำชิ้นกลอย จากถุงผ้าเทกลับลงไปในภาชนะเดิมใส่น้ำให้ท่วมเนื้อกลอย ทิ้งไว้ค้างคืนรุ่งเช้าจึงนำชิ้นกลอยมาล้างให้สะอาดและทำเช่นเดิม ประมาณ5-7วัน จึงจะปลอดภัยจากสารพิษและนำมาบริโภคหรือ ปรุงอาหารได้หรือจะผึ่งแดดให้แห้งเก็บตุนไว้เมื่อจะบริโภคจึงนำ ชิ้นกลอยมาแช่น้ำนำไปนึ่งหรือปรุงอาหารอื่นรับประทานได้

:: ข้อมูลค้นจากเน็ท

ส่งข่าวถึงคุณหมอจอมป่วน

ผมมีแพะขบเผาะเหมาะที่ทำแพะตู๋น

หนาวเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น

ถ้าคุณหมอขี่รถจักรยานมาหา

รับรองมีเมนูเด็ดอย่างคาดไม่ถึง

จิบอกไห่ อิ อิ

« « Prev : ข้าวต้มหม้อใหญ่

Next : กลอยในใจ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2011 เวลา 15:35

    โห…กินยากกินเย็นอย่างนี้นี่เอง…ถึงไม่ค่อยได้กิน…อิอิ

    ไม่เคยเห็นต้นหัวกลอย ไม่เคยทำอาหารจากกลอยเลยค่ะ ดูกรรมวิธีแล้ว สุดจะทึ่งความสามารถของคนแต่ก่อนที่หาวิธีกินกลอยไม่ให้อันตราย…เขาใช้วิธีอย่างไรนะคะถึงรู้ว่าเมื่อผ่านขั้นตอนขนาดนี้แล้ว ถึงจะไม่โดนพิษ ถ้าไม่ครบจะโดนพิษ….

    เป็นวิธีวิจัยอย่างไรนะคะ กว่าจะตกมาเป็นวิธีให้คนรุ่นหลังได้เจริญรอยตาม

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2011 เวลา 18:10

    ผมก็งึดประเด็นเดี่ยวกับอุ้ยนี่แหละ คนสมุยก่อนไม่ธรรมดาจริงๆ ให้เราคิดยังคิดไม่ออก มีพลังการค้นพบความรู้อย่างไรหนอ หนอ หนอ

  • #3 silt ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2011 เวลา 20:15

    ตอนหน้อยเคยกินข้าวเหนียวมูลใส่กลอย หน้ามืดตาลายวินเวียนอาเจียร แทบตาย
    พอมาอยู่ดงหลวงไปประชุมบ้านยามค่ำคืน แม่บ้านไทบรูนึ่งกลอยพอสุกนิ่ม แล้วเอาลงผัดในกะทะใส่มะพร้าวทึนทึก น้ำตาลทราย เกลือ อร่อยมากกก ไม่มีอาการแพ้อีก
    แสดงว่าขั้นตอนการเตรียมมีผลต่อคุณภาพของกลอย

    แต่ที่ยืนยันได้คือ เอาหัวกลอยสดมาสับๆๆๆๆแช่น้ำไว้หนึ่งคืน กรองเอาน้ำไปพ่นผัก…รับรองหนอนม้วยไม่เหลือสักตัวครับ ทำมากับมือได้ผลมาแล้วครับ

    อ้อ กรอยที่ทอดใส่ในกล้วยแขกเจ้าอร่อยก็แซบหลายๆครับ

  • #4 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2011 เวลา 1:14

    พี่น้องดงหลวงเล่าให้ฟังว่าสมัยยกหมู่บ้านขึ้นป่านั้น ขาดแคลนข้าวก็อาศัยกินกลอยนี่แหละ ป่าดงหลวงมีกลอยเยอะ ชาวบ้านเอาลงมาขายด้วยซ้ำไป

    ประโยชน์อีกอย่างคือเนื่องจากน้ำกลอยหมักเป้นสารพิษที่เอาไปใช้ป้องกันศัตรูพืชอย่าที่อาว์เปลี่ยนใช้นั้น ยังสามารถใช้ฆ่าปลวกได้อีก ผมพบในเอกสาร จึงเอากลอยมาจากดงหลวงและจัดการหมักกลอยแล้วเอาน้ำไปพ่นปลวก อาจเป็นเพราะผมใจร้อนเกินไปที่จะใช้เวลาติดตามว่ามันได้ผลแค่ไหนอย่างไร จึงไม่ได้ติดตามและเปลี่ยนมาจ้างบริษัทกำจัดปลวก แต่ปัจจุบันก็เอากลอยจากดงหลวงมาปลูกไว้ที่รั้วบ้านอยู่ น้ำหมักกลอยที่มีฤทธิ์เป็นสารพิษนี้น่าจะเอาไปใช้ประโยชน์อื่นๆได้อีกนะครับ

    ตอนทำงานที่สุรินทร์แถวชายแดน ผมไปนอนในหมู่บ้าน เห็นพี่น้องเขมรเอากลอยมาฝานแช่น้ำเพื่อเอามาทำขนมและอาหารดังรายละเอียดที่พ่อครูกล่าว พบว่า ชาวบ้านได้ใช้ฤทธิ์ของพิษกลอยเบื่อปลาในลำห้วยแล้วเอาปลามาเป็นอาหาร….? เหมือนโล่ติ้นเลย…

  • #5 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2011 เวลา 11:48

    เรื่องปลวกกำลังเป็นปัญหาหนักอกของผม จะทดลองใช้น้ำกลอยรดทางเดินปลวกทันที่ครับ

  • #6 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2011 เวลา 11:49

    อาว์เปลี่ยน ปลายเดือนมกราคม จะไปเยี่ยมท่านที่หงสานะครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.14144396781921 sec
Sidebar: 0.047192096710205 sec