กลอยในใจ

อ่าน: 2428

หมู่นี้ทำท่าจะเป็นโรคกลัวน้ำไปกับเขาด้วย

ได้ยินแต่ข่าวประกาศ พื้นที่จุดโน้นอพยพ จุดนี้ต้องอพยพ

จะพากันไปกระจุกตัวอยู่จุดไหนของโลกใบนี้หนอ

ตอนบ่ายเลขา อาจารย์วรภัทร กริ๊ง! มาให้คุยกับอาจารย์

เสียงหัวเราะต้นฉบับคิ๊กๆคั๊กๆ มาก่อน

หลังจากเจรจาต้าอวยกัน ..อาจารย์บอกว่าบางทีวันศุกร์นี้อาจจะแวบมาหา

ผมเตรียมเรื่องเจรจา และพาไปดู

ให้เห็นว่ามีแง่คิดอะไรผุดพรายขึ้นมาบ้าง โดยเฉพาะพืชหัวใต้ดิน

บ่ายแก่ๆชวนป้าสอนกับลูกมือลากรถเข็นและจอบเสียม ไปยังสวนข้างบ้านที่ปลูกต้นกลอยไว้2-3ปีแล้ว กลอยเป็นพืชอายุปีต่อปี ปีแรกๆที่ปลูกแต่ละกอจะให้ผลผลิตไม่มากนัก ประมาณหลุมละ 10 ก.ก. ถ้าปล่อยไว้ปีที่2 บางต้นที่สมมบูรณ์อาจจะให้ผลผลิตได้ถึง50 ก.ก. เรื่องอย่างนี้ต้องขุดให้เห็นกับตา แม่เจ้าโวย..ทำไมมันง่ายอย่างนี้ หัวกลอยจะจับก้อนอยู่เรี่ยผิวดิน อยู่ตื้นๆแต่หัวใหญ่ บางหัวก็แทรกเข้าไปใต้รากไม้ เล่นเอาจอบกับเสียงหักไปอย่างละด้าม ขุด 3 ต้นได้กลอยมา 1 รถไสน้ำ

เหลือเชื่อจริงๆ  ไม่นึกมาก่อนว่าผลผลิตจะมากขนาดนี้

พอที่จะแข่งกับการปลูกพืชอาหารอย่างอื่นได้เลยละครับ

ผมได้คืบจะเอาศอก >> แล้วยังไงต่อ

1 ขยายปลูกกลอยกับมันเลือดมาก

2 เอาปุ๋ยคอกไปใส่ต้นต้นละ 1 กระสอบ

3 ทดลองหาวิธีล้างพิษใหม่ ทำให้แห้งเก็บไว้นาน ลองทำอาหารเมนูใหม่

4 ทดลองเอากลอยมาผลิตเป็นแป้งไว้ทำขนม ผสมอาหารอื่นๆ หรือทำเป็นข้าวเกรียบ

5 ทดลองเอาน้ำหมักกลอยไปรดไล่ปลวก ผมอาจจะผลิตยาฆ่าปลวกยี่ห้อใหม่ก็ได้นะ อิอิ

เท่าที่ประเมินผลหยาบๆ

ไม้ยืนต้น 1 เอาต้นกลอยไปปลูกได้ผลผลิตต้นละ 20 ก.ก

ถ้าปลูกไม้ยืนต้นไร่ละ 60 ต้น X20 ก.ก.  = 1,200 ก.ก.

ถ้าปลูก10 ไร่ 600 ต้น X  20 ก.ก. =12,000 ก.ก .

ถ้าช่วยกันปลูก 100 ไร่  = 100X60X20 =120,000 ก.ก.

ถ้าปลูกบริโภคเองไว้แบ่งปันเพื่อนบ้าน ก็ไม่ต้องไปปลูกแบบเป๊ะๆก็ได้ มีต้นไม้ข้างบ้านตรงไหนก็ไปปลูกแทรกลงไว้ ผสมผสานไปทั้งพื้นที่ อย่างที่ผมทดลองทำกับเสาวรสเพียงไม่กี่ต้น แห้วก็เก็บมาคั้นน้ำจนเอวหวานตาหวานไปแล้ว ถ้าเปลี่ยนให้มาขุดเผือกขุดมันสลับบ้างเอวคงกลับคืนสภาพเดิม จุดสำคัญอยู่ที่ การปลูก ช่วยการปลูก ปลูกๆๆ ทุกอย่างก็จะมีเรื่องให้ทำต่อๆๆไปอีกเยอะแยะ

ผมสังเกตเห็นว่าพื้นที่รอบๆหัวกลอย ที่ดินจะร่วนซุยไม่ได้แข็งกระด้างอย่างพื้นที่ทั่วไป เป็นไปได้ไหมที่กลอยกับต้นไม้จะมีส่วนเอื้อต่อกัน ที่สำคัญมันช่วยสนับสนุนเรื่อง “การปลูกต้นไม้แล้วจะกินอะไร” ให้แง่มุมต่างๆไปบ้างแล้ว แต่ยังไกลตัวไกลความคิด ไม่ง่ายๆตรงๆ ไปขุดมันขุดกลอยมาเจี๊ยะทำได้ทั้งอาหารคาวและของหวาน มันโยงคิดให้เห็นว่า ในยามปกติพืชหัวเหล่านี้ผลิตขายเป็นรายได้เสริมอย่างดีเชียวแหละ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแล ปราศจากโรครบกวน ยกเว้นชาวบ้านแอบมาขะโมย แต่ก็มีข้อดีอีก คนยุคใหม่ไม่รู้จักกลอย ไม่รู้วิธีทำกิน จึงยังไม่เป็นปัญหามากนัก งานนี้เป็นการสร้างงานในช่วงว่าง จะขุดพืชหัวได้ตั้งแต่เดือน ตุลาคม-มีนาคม

ผมเปรียบเทียบอย่างนี้ครับ

กลอยหรือมันเลือด 1 หลุม ที่บำรุงใส่ปุ๋ยดีๆ จะได้ผลผลิตเท่ากับข้าวสาร 20 ก.ก.

โห ชาวบ้านกว่าจะทำนาได้ข้าวเปลือก 1 กระสอบปุ๋ย

เราปลูกกลอยต้นเดียวก็ได้คาร์โบไฮเดรทเท่ากันหรือมากกว่า

ข อ ยื น ยั น นั่ ง ยั น ว่ า เ ป็ น ไ ป ไ ด้ แ น่ น อ น

ปลูกทิ้งปลูกขว้างหลุมเดียวยังได้หัวกลอย 40-50 ก.ก.

ถ้าจะมาพิสูจน์ก็พร้อมนะอุ้ย จะแจกจอบแจกเสียมขุดให้เห็น

ผมจะได้ชวนทีวีรายการอาหารบ้านทุ่งมาถ่ายทำ

เร็วๆนี้ ทีวีช่องไทยบีเอส จะมาถ่ายเตาหลุมฟืนที่คอนแนะนำ

โจทย์ที่ชวนระรี่ระริก

เนื้อที่ 1 ไร่ ปลูกไม้ยืนต้น ประดู่ แดง กระถินเทพา ยางนา ฯลฯ

ต้นไม้มีอายุ 2 ปี ก็ลงมือเอากลอย มันมะพร้าว มันมือเสือ ไปปลูกที่โคนต้น

ปีที่3 ขุดขึ้นมาประเมินผลผลผลิต ทดลองการแปรรูปในแบบต่างๆ

ปี 2455 ทำจะทำแปลงสาธิต/วิจัย (รวบรวมพันธุ์ทั่วประเทศมาปลูก/เจาะหลุมใส่ปุ๋ย/ขุดต้นเล็กปลูกให้เต็มแปลง)

ปี 2555 เป็นต้นไป รวมรวมเมล็ดมาเพาะชำในถุง

จะได้รู้ว่า ..ปลูกกลอย เผือก มัน ก็มีของกิน มีงาน มีรายได้ ไม่แพ้การทำนา  บางที่จะดีกว่าด้วยในแง่ที่ไม่เสี่ยงเหมือนการทำนา ไม่ทำนาก็มีอาหารบริโภค บางท่านอาจจะแย้งว่าไม่กินข้าวอยู่ได้รึ โธ่ มนุษย์ในส่วนอื่นเขา กินขนมปัง กินแป้ง กินบะมี่ กินมาม่า แต่คนไทยไม่คุ้นชินจะต้องกินข้าวๆๆ ก็ไม่ว่ากัน ทุกวันนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารของมนุษยชาติเปลี่ยนไป อะไรๆก็จะเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น หลากหลายขึ้น ยามเกิดวิกฤติถึงจะรู้สึก >>

มาช่วยกันทำเรื่อง กลอยเฉยๆ ให้เป็นเรื่อง สาวน้อยกลอยใจ ดีไหมครับ

ปีหน้า เจอกันแน่ การทำนาในป่าไม้ แข่ง กับการทำนาในท้องทุ่ง

ไม่แน่นะครับ >> ปลูกต้นไม้ เลี้ยงแพะ ปลูกพืชหัวต่างๆนี่แหละ

จะเป็นทางเลือกทางวิจัยไทบ้านที่จ๊าบส์สุดๆเด้อนางเด้อ  อิ อิ..

ปล.ท่านให้มีข้อมูลกลอย กรุณาอุปการะข้อมูลด้วยนะครับ

« « Prev : กลอย

Next : นโยบายคลานขึ้นจากน้ำท่วม ฉบับบ้านนอก » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2011 เวลา 19:50

    ผมว่ามันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพึ่งตนเองนะครับ ปลูกก็ง่าย โรคภัยก็ไม่มี ผลผลิตก็ดี ยังแปรรูปเป็นสารพัดอย่าง หากนักโภชนาการ นักเภสัชเอาไปเข้าห้องแลปวิเคราะห์คุณค่าทางอาหาร ทางยาคงได้เรียนรู้อะไรมากทีเดียว หรือศึกษาแล้วแต่เราไม่รู้ก็ได้นะครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.25266313552856 sec
Sidebar: 0.061097860336304 sec