ชวนCottoอยู่กินแบบพื้นถิ่น

อ่าน: 3517

(แนวรั้วไฟฟ้ากำกับแพะให้อยู่เป็นที่เป็นทาง)

เมื่อวานนี้มีรายการเจี๊ยะแพะครับพี่น้อง สุภาษิตเก่าบอกว่าคนเลี้ยงช้างกินขี้ช้าง  เราไม่ได้เลี้ยงช้างก็ไม่อยากจะกล่าวโทษช้าง ชาวCotto ทำกิจกรรมเกี่ยวกับแพะ จึงจัดรายการแพะให้ครบวงจร มีเมนูแกงเผ็ดแพะกับมัสหมั่นแพะมาให้ชิมไปเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนแพะ นักชิมทั้งหลายชมเปาะ ว่าไม่มีกลิ่น อร่อยมาก โจ้กันจนเกลี้ยงทุกโต๊ะ บางคนยังถามหาอีกแน๊ะ วันนี้ชาวค่ายช่วยกันทำรั้วไฟฟ้า รอรับญาติสายสุรินท์บริจาคแพะมาให้อีกชุดหนึ่ง มีตัวพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ท้องโย้ พวงนมโตอย่างกับแพะนม คาดว่าอีกไม่กี่วันก็คงจะมีลูกแพะออกมาสมทบพลเมืองแพะ เรื่องราวจึงสมบูรณ์ตั้งแต่วิธีเลี้ยง วิธีเจี๊ยะ และวืธีแก้ปัญหาในการส่งเสริม  อาจารย์แพะเล่าว่า อุปสรรคของการขยายผลไปสู่คนเลี้ยงในภาคอีสานอยู่ที่

1 แพะดื้อ ควบคุมยาก ต้องมีบริเวณเลี้ยงเพียงพอ

2 เนื้อแพะมีกลิ่นไม่เป็นที่นิยมของคนอีสาน

อ่านต่อ »


รายการคุณขอมา

อ่าน: 2730

ในช่วงการนำเสนอผลงานวิจัยทางวิชาการป่าไม้เมื่อวานนี้ มีเรื่องน่าสนใจมากมาย เรื่องหนึ่งที่โดนใจได้แก่ การจัดตั้งโรงานไฟฟ้าชีวมวลระดับชุมชน มีมุมมองและตัวเลขที่จะต้องศึกษาอีกมาก ทราบว่ากฎระเบียบต่างๆทำท่าว่าจะเปิดกว้างบ้างแล้ว ดังนั้นการทำการบ้านเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงสมควรอย่างยิ่ง บทความข้างล่างนี้คัดมาจากอเอกสารวิจัยของ ดร.มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์  ฝ่ายเทคโนโลยีชีวมวลและพลังงานชีวภาพ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอบขอบคุณและขออนุญาตเอามาแปะไว้ให้ญาติโกทั้งหลายช่วยกันพิจารณา  ส่วนผมนั้นมีโจทย์ในใจไว้บ้างแล้ว อาจจะมีรายละเอียดแตกต่างไปบ้าง ก็ถือว่าเป็นธรรมดาของการเริ่มต้นเรียนรู้ ซึ่งมีเรื่องที่จะคิดและลงมือทำต่อๆไปอีกมากมาย

โปรดติดตามด้วยความระทึกใจ ณ บัดนี้

อ่านต่อ »


ช่วยกันทำมาหากินด้วยครับบบ..

อ่าน: 1555

สมัยนี้มีลายแทงความรู้มากมาย

ที่สะดวกสบายไม่ต้องสืบเสาะค้นหาเหนื่อยยาก

ด้วยระบบการสื่อสารที่ทันสมัยส่งข่าวทุกรูปแบบมาถึงเราทุกเมื่อเชื่อวัน

ติดตามกันแทบไม่ทัน วันต่อวัน..เดือนต่อเดือน..ปีต่อปี

เมื่อวานนี้น้ำชีร้อนปุดๆจนปลาตาย..ที่บอกว่าน้ำร้อนปลาเป็น ต้องมีข้อยกเว้นเสียแล้ว อุณหภูมิแม่น้ำธรรมชาติก็ยังพลิกผัน การแข่งขันกันทางการเมืองกำลังดุเดือน ถามชาวบ้านว่า ทำไมมาฟังปราศัย พี่น้องบอกว่า..เขาจ้างมา ..ใครไม่มาถึงเวลาไม่จ่าย..ขอดูพลังกันหน่อย เลือกตั้งเที่ยวนี้เงินสะพัดมโหราฬ เพราะกลไกประชาธิไตยต้องซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า คะแนนนิยมอาจจะพอมีบ้าง แค่คะแนนซื้อเป็นคะแนนชี้ขาด ซื้อได้มากได้คะแนนเสียงมาก ซื้อประเทศไทยด้วยวิธีนี้ใช้เงินไม่เท่าไหร่หรอกเธอ ผมคิดว่าเทวดากำลังมองดูคนไทยอยู่ ไม่รู้จะออกหัวออกก้อยทางไหน รึ บางทีวิกฤติทางธรรมชาติอาจจะตูมตามขึ้นมาในเร็วๆนี้ก็ได้นะ สังเกตุเห็นธรรมชาติป่วนแปลกๆ เช่น วัวคึกคักทั้งวันทั้งคืน ไม่รู้ว่ามันดีใจ หรือต๊กกะใจ เพราะอะไร

อ่านต่อ »


จดหมายรักถึงท่านจอหงวน

อ่าน: 2259

(อยากจะทำเรื่องมันส์ๆต้องกินถั่วไปด้วย)

:: ตั้งแต่วาสนามาประจวบกัน ท่านจอหงวนกับผมก็สาละวนอยู่ในเขาวงกต พยายามที่จะหาเรื่องขายความรู้ความคิดเชิงกระบวนการ เราโยนหินถามทางถึงกันหลายเรื่อง แต่มันก็ยังเป็นแบบหมูในอวย..ยังแปรรูปให้เป็นหมูแผ่น หมูทุบ หมูผัดเผ็ด หรือลาบหมูรสเด็ดไม่ได้สักกะที ทั้งที่เรากัดไม่ปล่อย..เซ๊าซี่กันมาเป็นระยะ เรื่องมันก็ยังไม่สุกงอม ยังตกร่องปล่องชิ้นทางความคิดไม่ได้ ที่ผ่านมาเราได้แบ่งกันบ่มเพาะความคิด คิดๆๆจนหัวผุ และแล้วสวรรค์ก็มีตา..ช่วงที่กรมป่าไม้และสภาวิจัยฯลงมาจัดฝึกอบรมการใช้ผลงานวิจัยสู่ชุมชน ผู้หลักผู้ใหญ่ในสายงานองค์กรดังกล่าวลงมาเอง มีเวลาได้คุยกันหลายรอบ ก่อนที่จะก้าวขึ้นรถ..ท่านก็หันมาบอกว่า..รีบเขียนๆส่งนะครูบา

:: ช่วงผมไปบางกอกเมื่อเร็วๆนี้ ฝ่ายวิจัยเรื่องการใช้ไม้จากสวนป่าปลูก ก็ประชุมกันเขียนงานวิจัยการสร้างบ้านไม้แบบเล็กๆเก๋ๆเหมือนเรือนรจนากับเจ้าเงาะ โดยอาศัยเทคโนโลยี/เครื่องมือสมัยใหม่ช่วย ซึ่งงานวิจัยหมวดนี้จะมาสอดรับกับที่เราจะทำ และวันที่ 16-17 เดือนมิถุนายน ทีมนี้ก็จะมาจัดฝึกอบรมการกลั่นน้ำมันยูคาลิปตัสที่สวนป่า ถ้าอาจารย์ว่างก็อาจจะมาคุยเรื่องข้อมูลโดยตรง แล้วกลับไปเขียนโครงการวิจัยให้เสร็จภายในวันที่ 25 มิถุนายน เร็วๆด่วนๆอย่างนี้ ไฟลนก้นไปไหมครับ อิ อิ..

เห็นอาจารย์บ่นๆเรื่องเขียนเค้าโครงวิจัยจนมือหงิก

ลองอีกสักตั้ง..มืออาจจะไม่หงิกก็ได้นะครับ

เพราะเราจะเขียนด้วยหัวใจที่หวาบหวาม คิ คิ .

ผมประสานเบื้องต้นไว้บ้างแล้ว วช.เขาก็อยากให้เราส่งโครงการขอทุน หมดกำหนดส่งภายในเดือนมิถุนายน ถ้าจะลุยคงต้องเร่งคุยกัน บังเอิญช่วงนี้ผมก็ไม่ว่าง แต่จะร่างเค้าโครงให้อาจารย์ดู คืนวันที่ 13 ผมนอนโคราช ไม่ทราบอาจารย์ว่างไหม จะชวนมาขึ้นเตียงสักคืน ถ้าไม่จบต่อคืนวันที่ 14อีกสักบ่ายก็ได้ อยากจะทราบว่าหัวใจว่างไหมในวันดังกล่าววววววว..


อยากจะให้เป็นโครงการร่วมระหว่างอาจารย์ ภาควิชา (มหาวิทยาลัย) กับ มหาชีวาลัยอีสาน (ชุมชน) ช่วยกันทำตัวชุดความรู้ให้ชัดๆ แล้วจัดอบรมเชิงประจักษ์ เน้นทำเรื่อง  ปลูกต้นไม้ แล้วเอาใบไม้มาเลี้ยงแพะเลี้ยงวัว-กิ่งไม้เล็กๆทำฟืนเผาถ่าน-กิ่งไม้ใหญ่เอามาทำเครื่องเรือนน็อคดาวน์
ในชั้นแรกเราไม่ต้องตัดต้นไม้ เอาเฉพาะกิ่งใบมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า หลังจากปลูกไม้อาคาเซียได้7ปี เราจะทยอยสางขยายระยะ ลำต้นใหญ่เอามาแปรรูปสร้างบ้าน-แล้วปลูกหมุนเวียนเเติมลงไปให้ครบรอบตัดฟัน พื้นที่ก็จะมีต้นไม้อยู่ตลอดไป ชาวบ้านก็จะมีวัตถุดิบต่อเนื่องตลอดไป ทุกขั้นตอนผมมีตัวอย่างแสดงบ้างแล้ว ไม่ใช่นับหนึ่งใหม่

-ในแผนจะมีการอบรมกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายประมาณ 1,000 ครัวเรือน ใน3-4จังหวัด

-จัดพิมพ์ตำราคู่มือ

-ชักชวนคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆมาร่วมเป็นภาคี

-วันนี้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัติริย์มา

-เดือนหน้า วันที่ 2-3จุฬามาฯ วันที่ 27 คณาจารย์ม.สุโขไทยธรรมธิราชมา

-วันที่ 29 ผมจะโม้ที่งานประชุมกรมป่าไม้

-จัดทำแปลงสาธิต-คอกสาธิตเลี้ยงแพะ-โคขุน

-เชื่อมโยงการปลูกต้นไม้แบบยั่งยืนร่วมกับการยกระดับเลี้ยงปศุสัตว์ต้นทุนต่ำ แต่ได้ผลลัพธ์ดีกว่าแบบเดิมๆ

-มูลสัตว์ นอกจากจะทำปุ๋ย -ยังทำแก๊สชีวภาพ

-งานหมักจุลินทรีย์ จะนำไปสู่การผลิตอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ ผลิตไวน์เลี้ยงโคขุน

-งานปรับปรุงพันธุ์สัตว์จะนำไปสู่การเลี้ยงโคขุน เลี้ยงแพะ แกะ


(รับภาพจากหัวหน้าฝ่ายบริหารชุมชนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)

:: จะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้าไปสู่วิธีทำมาหากินของกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย เช่น การใช้เครื่องสับใบไม้-สว่านเจาะหลุมดิน-การตากวัตถุดิบด้วยกระโจมพลาสติกที่อาจารย์คิด โดยภาพรวมงานนี้ช่วยลดความเสี่ยงการประกอบอาชีพของชาวบ้านได้ค่อนข้างชัดเจน ลดต้นทุนได้อย่างชัดเจน สร้างความหลากหลายได้อย่างชัดเจน สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน เราเน้นการฝึกอบรมจากการฝึกทำให้เป็น เชื่อหัวไอ้เรืองแล้ว..อาจารย์ทำได้

:: ในช่วงการฝึกอบรมก็จะชวนสมาชิกแซ่เฮมาร่วมเป็นวิทยากร ใครว่างก็มา ใครไม่ว่าง..ก็รออ่านแล้วให้ความคิดเห็น เป็นกระบวนการพัฒนาเชิงกระบวนการที่สอดรับกับวัฒนธรรมพื้นถิ่น ที่สถาบันหรือองค์กรไหนสนใจเอาไปปรับใช้ได้ ผมขายความคิดนี้ในงานประชุมนักวิจัยระดับชาติไปแล้วที่มหาวิทยาลัยทักษิณ

และจะไป..โม้สะบัดในงานประชุม แ ผ น พั ฒ น า เ ศ ร ษ ฐ กิ จ สั ง ค ม แ ห่ ง ช า ติ

ที่ เ มื อ ง  ท อ ง ธ า นี   ใ น วั น ที่   7   เ ดื อ น มิ ถุ น า ย น

ไอ่พวกเราต้อง โ ม้ ขี้ .. ไม่ใช่ ขี้ โ ม้

พูดด้วยทำด้วย แปรวิชาการให้เป็นวิชาชีพ วิชา-กิน-จูง-อุ้ม-ร้อง-ขายได้

ความรู้ที่ขายได้ ย่อมกว่าดี ความรู้ขายไม่ออก

ถ้างานวิจัยของประเทศ .. วัดกันที่จุดนี้..

งานวิจัยของไทยก็จะไม่โหล่ยโท้ยหรอกนะครับ

เ ร า ม า ทำ ง า น วิ จั ย ที่ ดิ้ น ไ ด้ กั น ดี ก ว่ า ท่ า น จ อ ห ง ว น

โปรด ทำตัวและหัวใจในเดือนมิถุนายนให้ว่าง ว่าง และ ว่างที่สุด

คิ คิ คิ..


ขออนุญาตปลูกต้นไม้ในหัวใจได้ไหมเธอ?

อ่าน: 4420

หัวอกของคนมีอาชีพปลูกสร้างสวนป่าในประเทศไทยนั้น ต้องฝ่าด่านความไม่รู้มาอย่างแสนสาหัส ลองผิดลองถูก-ลองดู -ดูดำดูดี -บางเรื่องก็ดูยังไม่ดี แต่ถอยและท้อไม่ได้ เกียร์ถอยสวนป่าชำรุดมานานแล้ว ต้องเดินหน้าลุยลูกเดียว เริ่มตั้งแต่การตอบคำถาม..จะปลูกต้นไม้บนพื้นที่แห้งแล้งดินเลวอย่างไร ปลูกต้นอะไร การเจริญเติบโตเป็นอย่างไร ปลูกเพื่อไปทำอะไร คนซื้ออยู่ที่ไหน คุ้มทุนไหม มีการสนับสนุนไหม ต้องใช้เงินทุนเท่าไหร่ ระหว่างที่ไม้ไม่โตจะกินอะไร ไม้โตแล้วตลาดเป็นอย่างไร กฎระเบียบกฎหมายเอื้อแค่ไหน การยอมรับของเพื่อนเกษตรกรเป็นอย่างไร

อ่านต่อ »



Main: 0.7926390171051 sec
Sidebar: 0.1964750289917 sec